คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจจัดการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทในการครอบครองทรัพย์มรดก vs. อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
จำเลยทั้งสองเป็นบุตรและเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและพักอาศัยอยู่ที่บ้านของผู้ตาย ย่อมมีสิทธิอยู่ในบ้านของผู้ตายซึ่งเป็นทรัพย์มรดกได้ โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารออกไปจากบ้านดังกล่าว แต่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายมีอำนาจจัดการมรดกของผู้ตายได้ตามกฎหมายรวมทั้งมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทส่งมอบโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เพื่อจัดการต่อไปตามหน้าที่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองเป็นของบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินตามโฉนดและ น.ส.3 ก. เพียงแต่โจทก์ให้ ศ. ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายถือไว้แทนโจทก์เท่านั้น ดังนั้นเมื่อ ศ. มีชื่อในโฉนดที่ดิน และ น.ส.3 ก.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 109(1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1)ศ. บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24 ศ. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินในคดีล้มละลาย และสิทธิการเข้าเป็นคู่ความของผู้รับจำนอง
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดแล้วอำนาจในการจัดการทรัพย์สินทั้งปวงตลอดจนการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมตกอยู่แก่ผู้คัดค้าน ตามบทบัญญัติมาตรา 22,23,24 และ 25 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บรรดาเจ้าหนี้ของจำเลยทั้งสองจะขอรับชำระหนี้ได้ แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 เท่านั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยทรัพย์พิพาทโดยเหตุที่ผู้คัดค้านไม่ให้ถอนการยึดตามคำคัดค้านของผู้ร้องที่ได้ดำเนินการตามมาตรา 158 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483แล้วนั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่จะเข้าเป็นคู่ความในคดี ผู้คัดค้านร่วมหามีสิทธิเจ้ามาต่อสู้คดีด้วยการร้องสอดเพื่อยังให้ได้รับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) แต่อย่างใดไม่ การวางเงินเพื่อประกันความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) นั้นศาลจะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ต่อเมื่อมีการร้องขอ เมื่อผู้คัดค้านร่วมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับผู้คัดค้านผู้ร้องก็ไม่ต้องวางเงินประกันความเสียหายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งตามคำร้องขอของผู้คัดค้านร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้มีอำนาจจัดการเมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างทายาทและผู้จัดการมรดก
เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน เป็นผู้เยาว์3 คน ผู้ร้องเป็นมารดา และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้าน ทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดก ซึ่งถ้าถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระทำการในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ตามที่แสดงไว้นั้นผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วย ศาลฎีกาจึงกำหนดเงื่อนไขในการตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไว้ด้วยว่า ในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลที่มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคน จะต้องขออนุญาตจากศาลเป็นกรณีไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดก: ศาลสั่งตั้งแล้ว มีอำนาจจัดการทั้งหมด ผู้ร้องขอตั้งซ้ำมิได้ แม้มีพินัยกรรม
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ไว้ แล้วโดยมิได้จำกัดให้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกเฉพาะ สิ่ง เฉพาะอย่าง ผู้คัดค้านก็ย่อมมีอำนาจที่จะจัดการเกี่ยวกับทรัพย์ มรดกของผู้ตายได้ทั้งหมด หากผู้ตายทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์เฉพาะ สิ่งไว้ ผู้ร้องก็อาจขอให้ผู้คัดค้านจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรม นั้นได้ กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นและสมควรที่ผู้ร้องจะมาร้องขอให้ ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายเดียวกันซ้อนขึ้นมาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดก, การจัดการทรัพย์มรดก, และสิทธิในการถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพียงไม่เป็นบุคคลซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 แล้วก็อาจถูกร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องก็มีอำนาจกระทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกซึ่งได้แก่การรวบรวมทรัพย์มรดกแล้วดำเนินการแบ่งปันให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกต่อไป ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน การทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องร่วมกันจัดการและถือเอาเสียงข้างมาก จะจัดการโดยลำพังไม่ได้หากผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือมีเหตุให้ถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านทั้งสองออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ และหากมีเหตุอันเกิดจากฝ่ายผู้ร้องในทำนองเดียวกันผู้คัดค้านทั้งสองก็มีสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกันกับผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานผู้ร้องภายหลังที่ผู้ร้องสืบพยานได้เพียง 2 ปาก ข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสองจึงยังฟังไม่ได้ว่ามีเหตุต้องถอนฝ่ายใดจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ศาลชั้นต้นจึงไม่ควรด่วนสั่งงดสืบพยานดังกล่าวควรสืบพยานต่อไปให้เสร็จสิ้นกระแสความแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: การแต่งตั้งทนายความแทนจำเลยที่เป็นนิติบุคคล
บทบัญญัติมาตรา 24 พระราชบัญญัติล้มละลาย ไม่ได้บัญญัติห้ามผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือกระทำกิจการแทนผู้อื่น จำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรสและการจำหน่ายที่ดิน: อำนาจของสามีในการจำหน่ายสินบริคณห์ที่ได้มาก่อนใช้กฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1477บัญญัติว่าอำนาจจัดการสินสมรส รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้นที่มาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ฯ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วยเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 1473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม สามีซึ่งมีอำนาจจัดการสินบริคณห์หาแต่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ คงมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ต่อไปภายหลังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับแล้ว หากการจำหน่ายสินบริคณห์นั้นไม่ใช่กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกมีอำนาจจัดการโดยไม่ต้องยินยอมทายาท แต่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและแบ่งมรดกให้ถูกต้อง
ผู้จัดการมรดกอาจกระทำการตามหน้าที่ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาท คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้จัดการมรดกไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและจัดการแบ่งปันมรดกไม่ถูกต้อง เมื่อปรากฏจากบัญชีเครือญาติว่าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม9 คน แต่ผู้จัดการมรดกแถลงรับต่อศาลว่าแบ่งมรดกให้ทายาทเพียง8 คน โดยไม่แจ้งเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาทอีกคนหนึ่งศาลต้องไต่สวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การจัดการมรดกถูกต้องและเป็นการละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรส: การจำนองที่ดินโดยสามีแต่ผู้เดียวเมื่อไม่มีสัญญาก่อนสมรส
สามีจำนองที่ดินสินสมรสไว้กับธนาคาร ขณะ ป.พ.พ. มาตรา 1468เดิม มีผลใช้บังคับอยู่ และไม่มีสัญญาก่อนสมรสกำหนดให้ภริยาเป็นผู้จัดการสินบริคณห์หรือให้จัดการร่วมกัน สามีจึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ได้แต่ผู้เดียว ดังนั้น การที่สามีนำที่ดินสินสมรสไปจำนองกับธนาคารจึงมีผลสมบูรณ์ผูกพันที่ดินที่จำนอง ภริยาไม่มีสิทธิขอกันส่วน.
of 7