พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6601/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจพนักงานสอบสวนในการรวบรวมหลักฐานคดีอาญา และการตรวจค้นโดยชอบ
แม้การรวบรวมหลักฐานจะเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131 แต่พนักงานสอบสวนจะรวบรวมหลักฐานใดบ้าง อย่างไร เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะพิจารณาและใช้ดุลพินิจดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น จนสามารถพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้เท่านั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 132 เมื่อการรวบรวมหลักฐานของพนักงานสอบสวนได้ความชัดว่าตรวจพบเมทแอมเฟตามีนของกลางในห้องนอนของจำเลยแล้ว พนักงานสอบสวนอาจมีความเห็นว่ากรณีไม่จำต้องดำเนินการจัดทำบันทึกภาพถ่ายของกลางที่ตรวจพบ ตลอดจนไม่ทำแผนที่แสดงจุดตรวจพบเมทแอมเฟตามีนของกลางก็ได้ หาทำให้การสอบสวนไม่ชอบไม่ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจทำบันทึกการจับกุมโดยมีรายละเอียดแห่งการค้นและสิ่งของที่ค้นได้ กับมีการจัดทำบัญชีทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึด ถือว่าเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 103 แล้ว จึงเป็นการตรวจค้นโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4154/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการไม่อนุญาตถอนคำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญา แม้มีการตกลงกันระหว่างคู่ความ
คดีความผิดต่อส่วนตัว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ทำคำพิพากษาเสร็จแล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟัง ก่อนวันอ่านคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องว่าคู่ความตกลงกันได้ขอถอนฟ้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ทำคำสั่งเสร็จแล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟัง ก่อนอ่านคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอถอนฟ้อง และขอให้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้โจทก์ขอถอนคำร้องขอถอนฟ้องก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เมื่อไม่มีเหตุสมควร ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำร้องขอถอนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7942-7988/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการจ่ายโบนัสเป็นดุลพินิจของนายจ้างตามข้อตกลงสภาพการจ้าง ศาลแรงงานไม่อาจกำหนดหลักเกณฑ์เองได้
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด นายจ้างจะจ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจ่ายจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็ต้องแล้วแต่นายจ้างจะกำหนด หรือตามสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่กรณี เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ศาลแรงงานภาค 5 จึงไม่อาจกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสแทนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง หรือนอกเหนือจากสัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์ทั้งเก้าสิบเจ็ด หรือนอกเหนือจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้ เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดเงื่อนไขการจ่ายโบนัสประจำปี 2556 ไว้เพียงให้จำเลยประเมินผลงานของลูกจ้างก่อนสิ้นปี 2 สัปดาห์ และให้จำเลยจ่ายตั้งแต่ 0 ถึง 3 เท่าของรายได้แสดงได้ว่าหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสดังกล่าวขึ้นอยู่กับผลการประเมินผลงานที่จำเลยได้จัดทำไว้ และเป็นอำนาจของจำเลยในการใช้ดุลพินิจพิจารณาจ่ายโบนัส โดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานของลูกจ้าง เมื่อแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์แต่ละคนและหนังสือเตือนที่จำเลยใช้เป็นเหตุสำคัญในการไม่จ่ายโบนัสประจำปี 2556 โจทก์แต่ละคนต่างมีวันลา วันขาดงาน วันมาทำงานสายและถูกจำเลยตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งเป็นโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์ดังกล่าวปฏิบัติงานไม่เต็มกำลังความสามารถหรือบกพร่องไม่สมดังที่จำเลยคาดหวังไว้ จำเลยย่อมมีอำนาจตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จะใช้ดุลพินิจไม่จ่ายโบนัสประจำปี 2556 แก่โจทก์ดังกล่าวได้ การที่ศาลแรงงานภาค 5 เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสประจำปี 2556 และให้จำเลยจ่ายโบนัสแก่โจทก์แต่ละคนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลมีอำนาจดุลพินิจในการงดการบังคับคดีและพิจารณาความชอบด้วยกฎหมาย
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่า คำร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีกับคำร้องของดการบังคับคดีที่จำเลยทั้งสี่ยื่นต่อศาลชั้นต้นถือเป็นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 วรรคหนึ่งและวรรคสาม ซึ่งชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการบังคับคดี นั้น เมื่อพิจารณา ป.วิ.พ. มาตรา 295 วรรคสาม บัญญัติว่า "การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองอาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำร้องต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้นแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำนั้น และในกรณีเช่นว่านี้ผู้ยื่นคำร้องจะขอต่อศาลในขณะเดียวกันนั้น ให้มีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้" บทบัญญัติดังกล่าวในตอนท้ายอันเกี่ยวกับการที่ผู้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีจะขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ก็ได้ในระหว่างวินิจฉัยชี้ขาดคำร้อง มิได้เป็นบทบังคับศาลให้ต้องมีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีแต่ประการใด การพิจารณาว่าในระหว่างนั้นมีเหตุสมควรงดการบังคับคดีหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งตามดุลพินิจที่เห็นสมควรเป็นรายกรณีไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องของดการบังคับคดีของจำเลยทั้งสี่ว่า "ศาลได้มีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีคำร้องนี้จึงตกไปในตัว" จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นยกคำร้องของดการบังคับคดีของจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นตามที่เห็นสมควร และเมื่อศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดไว้ตามคำขอของจำเลยทั้งสี่ ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยเหตุใด ๆ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการบังคับคดีไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 (1) ถึง (4) กับมาตรา 290 แล้ว การบังคับคดีและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำไปเพื่อบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีเหตุต้องเพิกถอนการขายทอดตลาด