คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจตามกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงราคาชิ้นส่วนนำเข้า การเพิ่มราคาโดยคณะกรรมการศุลกากร และอำนาจตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 10 บัญญัติว่าบรรดาค่าภาษีนั้นให้เก็บตามบทพระราชบัญญัติและตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร นั่นก็คือ เก็บภาษีอากรตามราคาตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 มาตรา 8(2) และราคาหรือราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามวิเคราะห์ศัพท์ในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2468 มาตรา 2 หมายถึง ราคาขายส่งหรือราคาที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ การที่จำเลยสั่งชิ้นส่วนรถยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงราคาในใบขนตามราคาที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งจะต่ำกว่าราคาอะไหล่ประมาณร้อยละ 75 ราคาที่จำเลยแสดงในใบขนจึงเป็นราคาส่งหรือราคาสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ จึงถูกต้องตรงตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เป็นการสำแดงราคาอันเป็นเท็จ
เมื่อจำเลยผู้นำเข้าได้สำแดงราคาหรือแสดงราคาอันแท้จริงในท้องตลาด คณะกรรมการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับราคาทางศุลกากรหามีอำนาจที่จะกำหนดให้จำเลยเพิ่มราคาสินค้าที่นำเข้าให้สูงผิดไปจากราคาหรือราคาอันแท้จริงในท้องตลาดไม่เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจแก่คณะกรรมการฯที่จะกระทำได้เช่นนั้น อำนาจของคณะกรรมการ ฯ ที่จะกระทำได้เพียงเฉพาะกรณีที่มีปัญหาว่า ผู้นำเข้าสำแดงราคาสินค้าในใบขนต่ำไปกว่าราคาหรือราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือไม่เท่านั้น
การที่ทางราชการสืบทราบว่า ผู้นำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์หาได้นำชิ้นส่วนไปประกอบรถยนต์ทั้งหมดไม่ แต่ได้นำบางส่วนมาจำหน่ายในลักษณะของอะไหล่ที่มีราคาสูงกว่า เป็นผลให้รายได้ภาษีอากรต้องขาดไปนั้น วิธีแก้ไขก็ด้วยทางราชการจะต้องกำหนดอัตราภาษีอากรชิ้นส่วนให้สูงกว่าอะไหล่มิใช่แก้ไขโดยมติของคณะกรรมการ ฯ ให้เพิ่มราคาชิ้นส่วนในการนำเข้าอีกร้อยละ 75 เพื่อให้เท่ากับราคาของอะไหล่ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจแก่คณะกรรมการที่จะทำได้เช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญญาจ้างเลี้ยงรักษาสัตว์ยึด: ต้องเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
นายอำเภอเป็นนายทะเบียนสัตว์พาหนะและเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะยึดสัตว์พาหนะส่งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ที่ครอบครองสัตว์พาหนะไว้โดยไม่มีตั๋วรูปพรรณหรือมีแต่ไม่ถูกต้องกับตัวสัตว์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 4 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 และนายอำเภอเป็นพนักงานสอบสวน มีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดตาม พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ การที่นายอำเภอเมืองในฐานะ พนักงานสอบสวนได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 เลี้ยงโคที่ไม่มีตั๋วรูปพรรณที่ยึดไว้โดยไม่ปรากฏว่านายอำเภอเมืองได้ทำสัญญาแทนหรือในนามของอำเภอหรือจังหวัดนั้น การทำสัญญา ของนายอำเภอเมืองดังกล่าวจึงทำไปตามอำนาจและหน้าที่ ของพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ โดยเฉพาะซึ่งไม่มีบทกฎหมายใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจหน้าที่นี้แทนฉะนั้นจังหวัด ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงาน ตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ และมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อบังคับตามสัญญาจ้างเลี้ยงรักษาสัตว์ที่ยึดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารดัดแปลง ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติเฉพาะ ไม่ใช่การตีความขยายอำนาจ
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารฝ่าฝืนมาตรา 22 นั้น จะต้องเป็นเรื่องให้ระงับการกระทำ และห้ามการใช้อาคารเท่านั้น มิใช่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารซึ่งมีวิธีการบัญญัติไว้ต่างหากในมาตราอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278-279/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและควบคุมตัวโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายและการปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานเข้าไปค้นกุฏิของโจทก์ที่ 1 โดยไม่มีหมายค้นค้นไม่พบของผิดกฎหมาย แล้วคุมตัวโจทก์ทั้งสองไปสถานีตำรวจโดยไม่มีหมายจับไม่แจ้งข้อหา โดยโจทก์ทั้งสองไม่เต็มใจไป เมื่อไปถึงสถานีตำรวจก็กำหนดให้นั่งจนถึงเวลา 14 นาฬิกาจึงให้กลับได้ พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการจับโดยไม่มีอำนาจจะทำได้ ซึ่งอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ได้ แต่กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 309เพราะเป็นการที่โจทก์ทั้งสองถูกจับพาไป มิใช่ถูกจำเลยข่มขืนใจให้ไปโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง เกียรติยศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการร้องทุกข์: การที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อหน่วยงานที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
รองเลขาธิการ ก.ต.ป. (คณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิบัติราชการ) ไม่มีอำนาจหน้าที่อย่างเช่นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและมิได้เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งจะรับคำร้องทุกข์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้เสียหายร้องเรียนไปยังรองเลขาธิการ ก.ต.ป. ในคดีความผิดต่อส่วนตัว จึงมิใช่เป็นการร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องและเมื่อพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง คำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินต่างประเทศ: อำนาจตามกฎหมายไทยและหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต้องมีกฎหมายรองรับ
ผู้ใดจะยึดทรัพย์สินของบุคคลอื่นในประเทศไทยได้โดยชอบนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่อาศัยอำนาจของกฎหมายไทยหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลไทย
หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติตอบแทนกันระหว่างประเทศ ถ้าจะให้มีผลบังคับได้จะต้องมีกฎหมายไทยรับรองไว้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 เป็นเรื่องอำนาจของเจ้าพนักงานเกี่ยวกับการที่จะดำเนินคดีในศาลไทยเจ้าพนักงานหาอาจอาศัยอำนาจตามมาตรานี้ยึดทรัพย์ของผู้ใดเพื่อส่งไปให้รัฐบาลต่างประเทศสำหรับใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีในศาลต่างประเทศไม่
โจทก์เป็นชาวต่างประเทศถูกคนร้ายชิงทรัพย์ เจ้าพนักงานตำรวจจับคนร้ายได้พร้อมด้วยเงินตราต่างประเทศที่ถูกชิงทรัพย์ไปเป็นของกลาง ศาลพิพากษาคดีอาญาให้คืนเงินของกลางแก่โจทก์แล้ว จำเลยคือกรมตำรวจและเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินของกลางให้โจทก์ การที่โจทก์ถูกศาลสั่งให้ส่งตัวข้ามแดนไปตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 นั้น พระราชบัญญัติดังกล่าวหาได้บัญญัติเกี่ยวกับการส่งพยานหลักฐานไปให้ศาลต่างประเทศด้วยไม่ ทั้งคำพิพากษาของศาลที่ให้ส่งตัวโจทก์ไปให้รัฐบาลต่างประเทศก็มิได้สั่งให้ส่งพยานหลักฐานใด ๆ ไปด้วย เมื่อจำเลยไม่สามารถอ้างและนำสืบให้เห็นว่ามีอำนาจตามกฎหมายใดที่จะยึดเงินของกลางไว้ เพื่อส่งให้รัฐบาลต่างประเทศตามที่รัฐบาลต่างประเทศขอมา ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยคืนเงินของกลางแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343-2344/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยเพื่อป้องกันการหลบหนีเป็นไปตามอำนาจตามกฎหมาย
โจทก์ร่วมถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกขว้างปารถยนต์โดยสารเสียหาย และถูกผู้โดยสารบาดเจ็บ ผู้ใหญ่บ้านจับกุมโจทก์ร่วมได้แล้วมอบตัวให้จำเลยซึ่งเป็นกำนันท้องที่ที่เกิดเหตุเมื่อเวลา 1 นาฬิกา การนำตัวโจทก์ร่วมไปส่งสถานีตำรวจในคืนนั้นไม่เป็นการปลอดภัย และบ้านของจำเลยไม่มีห้องขังหรือที่ควบคุมผู้ต้องหา จำเลยจึงนำโจทก์ร่วมไปใช้โซ่ล่ามขาไว้กับเสาชานเรือนจำเลย พอรุ่งเช้าก็ปล่อยตัวไปเมื่อมีผู้มาขอรับตัว ดังนี้การกระทำของจำเลยเป็นวิธีการควบคุมเท่าที่จำเป็นเพื่อมิให้หลบหนี เป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 86 ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการส่วนจังหวัดในการควบคุมราคาสินค้าและห้ามนำเข้าสินค้าเพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร
คณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควร ได้ออกประกาศระบุชื่อหรือประเภทสิ่งของและกำหนดราคาสูงสุดของสิ่งของนั้นตามข้อ 1 มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรพ.ศ. 2490 กับห้ามขายสิ่งของที่ระบุชื่อนั้นเกินราคาที่กำหนดย่อมเท่ากับสั่งห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรในสิ่งของนั้นในเขตท้องที่ที่อยู่ในอำนาจไว้ก่อนแล้ว แล้วได้ออกประกาศห้ามนำสิ่งของที่ระบุชื่อไว้แล้วนั้น นอกเขตท้องที่เข้ามาในท้องที่ อันเป็นการสั่งการเกี่ยวกับสิ่งของที่ห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรตามข้อ 6 ในมาตรา 8แม้ต่อมาจะได้ออกประกาศอีกฉบับหนึ่งยกเลิกประกาศฉบับแรกแต่ก็เป็นเรื่องและมีข้อความอย่างเดียวกัน เว้นแต่ราคาสูงสุดของสิ่งของที่ห้ามค้ากำไรเกินควรเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ถือได้ว่าคณะกรรมการฯ ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามลำดับดังที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ประกาศห้ามนำสิ่งของนอกเขตจังหวัดเข้ามาในเขตจังหวัดจึงมีผลบังคับใช้ได้
ประกาศระบุข้อความไว้แล้วว่าเพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควรเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนจะให้ฟังได้เป็นอย่างอื่นก็ต้องฟังว่าประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลใช้อำนาจสั่งรื้ออาคารชำรุดไม่ได้ หากอาคารยังมั่นคงแข็งแรง และสภาพแวดล้อมโดยรวมไม่น่ารังเกียจ
อำนาจของเทศบาลที่จะสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจ และไม่อาจแก้ไขได้ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2503 นั้น หมายความถึงตัวอาคารชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ มิใช่หมายความถึงบริเวณ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า อาคารของโจทก์ยังไม่ชำรุดทรุดโทรม เป็นแต่ตั้งปะปนอยู่กับอาคารอื่นเมื่อรื้ออาคารอื่นแล้วทำให้เกิดที่ว่างคั่นอาคารของโจทก์ ทำให้มีสภาพไม่น่าดูเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นเหตุให้อาคารของโจทก์ตกเป็นอาคารที่อยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ เช่นนี้ เทศบาลจึงจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งกฎหมายดังกล่าวมาบังคับไม่ได้
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเทศบาลสั่งรื้ออาคารต้องพิจารณาตัวอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมจริง มิใช่แค่บริเวณที่ดูไม่น่าดู
อำนาจของเทศบาลที่จะสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2503 นั้น หมายความถึงตัวอาคารชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ มิใช่หมายความถึงบริเวณ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาคารของโจทก์ยังไม่ชำรุดทรุดโทรม เป็นแต่ตั้งปะปนอยู่กับอาคารอื่นเมื่อรื้ออาคารอื่นแล้วทำให้เกิดที่ว่างคั่นอาคารของโจทก์ ทำให้มีสภาพไม่น่าดูเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นเหตุให้อาคารของโจทก์ตกเป็นอาคารที่อยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ เช่นนี้ เทศบาลจึงจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งกฎหมายดังกล่าวมาบังคับไม่ได้
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด
of 8