พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเรียกคืนบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครอง และผลของการยื่นเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเกินกำหนด
บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4)หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดา มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมายย่อมไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1)ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้ คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นจากฎีกาเดิมจะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวนี้แล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้ จำเลยยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาของจำเลยไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษ: อำนาจของฝ่ายปกครองและการคุ้มครองสิทธิของเอกชน
การกระทำของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง แม้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่เมื่อเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่ รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำได้ โดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้เพิกถอน การกระทำดังกล่าวของจำเลยได้ ขณะเกิดเหตุ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม บัญญัติว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิ บรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ตาม ที่ระบุไว้ในกฎหมาย และมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับมาตรา 5 บัญญัติให้รัฐเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ส่วนในกรณีที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนไว้ในกฎหมายอื่นโดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ และสำหรับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุความประสงค์ของการเวนคืน เจ้าหน้าที่เวนคืน กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น กับให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น"และสำหรับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่มเขตบางกะปิเขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2533 ก็ได้ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ทุกประการ ซึ่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ของการเวนคืนไว้ว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยกำหนด ให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และมีแผนที่แผนผัง ประเมินเขตที่ดินติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมีมติของ คณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางดังกล่าว เมื่อปรากฏว่า ทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างซึ่งอยู่ในแนวเขต ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ และประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 1 ได้กำหนดความหมายของ"ทางพิเศษ" ไว้ว่า หมายถึงทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือ พื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างทางพิเศษในรูป ทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวก็ยังถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290นั้นอยู่นั่นเอง และต่อมาเมื่อได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ และโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว กับจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กจากอำนาจปกครองโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เมื่อจำเลยออกมาพบเด็กหญิง ม.อายุ 13 ปีเศษ ที่ปากซอยนั้นจิตใจของเด็กหญิง ม.กำลังอยู่ในภาวะว้าวุ่นสับสน จะกลับบ้านตามคำสั่งของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาก็ไม่อยากกลับเพราะกลัวจะถูกทำโทษ ครั้นจะไปที่อื่นก็ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน จึงบอกให้จำเลยพาไปที่ใดก็ได้สุดแล้วแต่ใจของจำเลย หากจำเลยไม่พาเด็กหญิง ม.ไป เด็กหญิง ม.อาจจะกลับไปบ้านก็ได้ อีกทั้งเมื่อโจทก์ร่วมออกมาดู เห็นจำเลยพาเด็กหญิง ม.นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไป ดังนั้น หากจำเลยไม่พาเด็กหญิง ม.ไป โจทก์ร่วมก็ต้องออกมาพบเด็กหญิง ม.และพาเด็กหญิง ม.กลับบ้าน การที่จำเลยพาเด็กหญิง ม.ไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนของจำเลย จึงเป็นการพรากเด็กหญิง ม.ไปเสียจากอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กจากอำนาจปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควร กรณีเด็กต้องการความช่วยเหลือจากจำเลย
เมื่อจำเลยพบเด็กหญิงม.ที่ปากซอยนั้นจิตใจของเด็กหญิงม.กำลังอยู่ในภาวะว้าวุ้นสับสนจะกลับบ้านตามคำสั่งของโจทก์ร่วมก็ไม่อยากกลับเพราะกลัวจะถูกทำโทษครั้นจะไปที่อื่นก็ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนจึงบอกให้จำเลยพาไปที่ใดก็ได้สุดแล้วแต่ใจของจำเลยหากจำเลยไม่พาเด็กหญิงม.ไปเด็กหญิงม.อาจจะกลับไปบ้านก็ได้เมื่อโจทก์ร่วมออกมาดูเห็นจำเลยพาเด็กหญิงม. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปซึ่งหากจำเลยไม่พาไปโจทก์ร่วมก็ต้องออกมาพบและพาเด็กหญิงม. กลับบ้านการที่จำเลยพาเด็กหญิงม.ไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนของจำเลยจึงเป็นการพรากเด็กหญิงม.ไปเสียจากอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กจากอำนาจปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้เด็กต้องการความช่วยเหลือ
เมื่อจำเลยออกมาพบเด็กหญิงม. อายุ13ปีเศษที่ปากซอยนั้นจิตใจของเด็กหญิงม. กำลังอยู่ในภาวะว้าวุ้นสับสนจะกลับบ้านตามคำสั่งของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาก็ไม่อยากกลับเพราะกลัวจะถูกทำโทษครั้นจะไปที่อื่นก็ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนจึงบอกให้จำเลยพาไปที่ใดก็ได้สุดแล้วแต่ใจของจำเลยหากจำเลยไม่พาเด็กหญิงม.ไปเด็กหญิงม. อาจจะกลับไปบ้านก็ได้อีกทั้งเมื่อโจทก์ร่วมออกมาดูเห็นจำเลยพาเด็กหญิงม. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปดังนั้นหากจำเลยไม่พาเด็กหญิงม. ไปโจทก์ร่วมก็ต้องออกมาพบเด็กหญิงม. และพาเด็กหญิงม.กลับบ้านการที่จำเลยพาเด็กหญิงม. ไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนของจำเลยจึงเป็นการพรากเด็กหญิงม. ไปเสียจากอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลถอนอำนาจปกครองผู้เยาว์กรณีมารดาใช้อำนาจมิชอบ แม้ผู้ร้องยังมิได้เป็นบิดา
ในการถอนอำนาจปกครองนั้น กฎหมายให้อำนาจศาลถอนเสียได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้ผู้ใดร้องขอก็ได้ หากมีเหตุตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ในขณะผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องยังมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลว่ามารดาของผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ที่อื่นและสมรสใหม่ตั้งแต่ผู้เยาว์อายุได้เพียงปีเศษและไม่เคยกลับมาดูแลผู้เยาว์อีกเลย กรณีจึงเป็นการที่มารดาผู้เยาว์ใช้อำนาจปกครองแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาถอนอำนาจปกครองจากมารดาผู้เยาว์ และเมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้ร้องมาโดยตลอด การให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ย่อมเหมาะสมกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: ผลการรับบุตรบุญธรรมและการกลับคืนสู่บิดามารดาโดยกำเนิด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1598/28 เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม บิดามารดาโดยกำเนิดของบุตรบุญธรรมนั้นย่อมหมดอำนาจปกครองไปตั้งแต่วันเวลาที่เป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้ร้องยกเด็กชาย ส.ให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ร้อยตรี บ.แล้ว ผู้ร้องกับ อ.ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของเด็กชายส.ก็หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กชาย ส.เป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรี บ.และแม้ภายหลังร้อยตรี บ.ถึงแก่กรรม ก็หาได้มีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมต้องเลิกหรือสิ้นสุดไปด้วยไม่ เด็กชาย ส.ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรี บ.อยู่ ผู้ร้องกับ อ.หาได้กลับมีอำนาจปกครองขึ้นมาใหม่ได้ไม่ อำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะกลับคืนมาก็ต่อเมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา1598/37 เท่านั้น เมื่อเด็กชาย ส.บุตรผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองและผู้ร้องกับ อ.ก็มิใช่เป็นผู้ได้อำนาจปกครองเด็กชาย ส.กลับคืนมาเช่นนี้ จึงมีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้มีอำนาจปกครองเด็กชาย ส.ได้เมื่อผู้ร้องเป็นบิดาโดยกำเนิดและโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ส.บุตรผู้เยาว์ศาลฎีกาเห็นสมควรตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชาย ส.บุตรผู้เยาว์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: การสิ้นสุดและกลับคืนสู่บิดามารดาโดยกำเนิดเมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่กรรม
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบิดามารดาโดยกำเนิดของบุตรบุญธรรมย่อมหมดอำนาจปกครองไปตั้งแต่เวลาที่เป็นบุตรบุญธรรมแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/28ดังนั้นเมื่อผู้ร้องยกส. ให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่บ. แล้วผู้ร้องกับอ. ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของส. ก็หมดอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ส. เป็นบุตรบุญธรรมของบ. แม้ภายหลังบ.ถึงแก่กรรมก็ไม่มีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมต้องเลิกหรือสิ้นสุดไปด้วยส. ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของบ. อยู่ผู้ร้องกับอ.หาได้กลับมีอำนาจปกครองขึ้นมาใหม่ไม่อำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะกลับคืนมาก็ต่อเมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/37เท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าส. บุตรผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองและผู้ร้องกับอ. ก็มิใช่เป็นผู้ได้อำนาจปกครองส. กลับคืนมาจึงมีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้มีอำนาจปกครองส. ได้เมื่อผู้ร้องเป็นบิดาโดยกำเนิดและโดยชอบด้วยกฎหมายของส. จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้มีอำนาจปกครองส. บุตรผู้เยาว์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจเมื่อรับบุตรบุญธรรม และไม่กลับคืนมาจนกว่าจะมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/28เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบิดามารดาโดยกำเนิดของบุตรบุญธรรมนั้นย่อมหมดอำนาจปกครองไปตั้งแต่วันเวลาที่เป็นบุตรบุญธรรมแล้วดังนั้นเมื่อผู้ร้องยกเด็กชายส. ให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ร้อยตรีบ. แล้วผู้ร้องกับอ. ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของเด็กชายส. ก็หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กชายส.เป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรีบ. และแม้ภายหลังร้อยตรีบ. ถึงแก่กรรมก็หาได้มีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมต้องเลิกหรือสิ้นสุดไปด้วยไม่เด็กชายส. ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรีบ. อยู่ผู้ร้องกับอ. หาได้กลับมีอำนาจปกครองขึ้นมาใหม่ได้ไม่อำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะกลับคืนมาก็ต่อเมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/37เท่านั้นเมื่อเด็กชายส. บุตรผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองและผู้ร้องกับอ. ก็มิใช่เป็นผู้ได้อำนาจปกครองเด็กชายส. กลับคืนมาเช่นนี้จึงมีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายส. ได้เมื่อผู้ร้องเป็นบิดาโดยกำเนิดและโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชายส. บุตรผู้เยาว์ศาลฎีกาเห็นสมควรตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายส. บุตรผู้เยาว์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์และการรบกวนสิทธิในการดูแลจากผู้มีอำนาจปกครอง
ตาม ป.อ.มาตรา 319 คำว่า ผู้ปกครองหมายถึงผู้มีฐานะทางกฎหมายเกี่ยวพันกับเด็ก เช่น เป็นบิดามารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองส่วนผู้ดูแลหมายถึงผู้ควบคุมระวังรักษาเด็กโดยข้อเท็จจริง เช่น ครูอาจารย์นายจ้าง เป็นต้น
ผู้เสียหายเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งในฐานะเป็นน้าและนายจ้าง โดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาของผู้เยาว์ด้วย ในขณะที่ผู้เยาว์ทำงานอยู่กับผู้เสียหาย การที่จำเลยขออนุญาตจากผู้เสียหายพาผู้เยาว์ออกไปข้างนอกหรือพาไปดูภาพยนตร์ แต่ผู้เสียหายไม่อนุญาต นับเป็นการใช้อำนาจปกครองและดูแลผู้เยาว์ตามที่ได้รับมอบหมายจากบิดามารดาผู้เยาว์และตามความเป็นจริงเมื่อผู้เสียหายทราบว่าผู้เยาว์ถูกจำเลยพาไปร่วมประเวณี ก็ได้เอาใจใส่ให้ น.ไปตามจำเลยมาเจรจากัน เมื่อได้รับการปฏิเสธก็ได้ติดตามไปพบจำเลย เมื่อเจรจาตกลงกันไม่ได้ก็พาผู้เยาว์ไปแจ้งความ ล้วนเป็นการแสดงตนใช้อำนาจปกครองดูแลผู้เยาว์ตามความเป็นจริง แม้ต่อมาภายหลังผู้เยาว์จะไปทำงานที่อื่น ก็เป็นเวลาภายหลังเกิดเหตุ แต่ขณะเกิดเหตุผู้เยาว์ยังอยู่ในความดูแลของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่พาผู้เยาว์ไปร่วมประเวณีจึงเป็นการรบกวนสิทธิหรือแยกสิทธิในการควบคุมดูแลผู้เยาว์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากความดูแลของผู้เสียหาย ตาม ป.อ.มาตรา 319
ผู้เสียหายเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งในฐานะเป็นน้าและนายจ้าง โดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาของผู้เยาว์ด้วย ในขณะที่ผู้เยาว์ทำงานอยู่กับผู้เสียหาย การที่จำเลยขออนุญาตจากผู้เสียหายพาผู้เยาว์ออกไปข้างนอกหรือพาไปดูภาพยนตร์ แต่ผู้เสียหายไม่อนุญาต นับเป็นการใช้อำนาจปกครองและดูแลผู้เยาว์ตามที่ได้รับมอบหมายจากบิดามารดาผู้เยาว์และตามความเป็นจริงเมื่อผู้เสียหายทราบว่าผู้เยาว์ถูกจำเลยพาไปร่วมประเวณี ก็ได้เอาใจใส่ให้ น.ไปตามจำเลยมาเจรจากัน เมื่อได้รับการปฏิเสธก็ได้ติดตามไปพบจำเลย เมื่อเจรจาตกลงกันไม่ได้ก็พาผู้เยาว์ไปแจ้งความ ล้วนเป็นการแสดงตนใช้อำนาจปกครองดูแลผู้เยาว์ตามความเป็นจริง แม้ต่อมาภายหลังผู้เยาว์จะไปทำงานที่อื่น ก็เป็นเวลาภายหลังเกิดเหตุ แต่ขณะเกิดเหตุผู้เยาว์ยังอยู่ในความดูแลของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่พาผู้เยาว์ไปร่วมประเวณีจึงเป็นการรบกวนสิทธิหรือแยกสิทธิในการควบคุมดูแลผู้เยาว์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากความดูแลของผู้เสียหาย ตาม ป.อ.มาตรา 319