พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบและประเมินภาษี แม้จะเคยตรวจสอบแล้ว และการประเมินภาษีจากเอกสารที่ไม่สมบูรณ์
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 ถึง 2519 สรรพากรจังหวัดขอนแก่นได้เคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มเติมมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อในระยะเวลา 5 ปี เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขตครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่น ตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ครบถ้วน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2517ถึง 2519 เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ย่อมมีอำนาจแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มได้ โดยอาศัยอำนาจตามป.รัษฎากร มาตรา 19,20 โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างให้ลูกจ้างโจทก์โดยมิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินที่จ่ายโดยโจทก์ยินยอมและไม่ปรากฏว่าการคำนวณตามที่โจทก์ยินยอม โจทก์ต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเกินกว่าความเป็นจริงตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีดังกล่าวไม่ถูกต้องย่อมไม่ได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีป้าย: การประเมินถูกต้องตามอำนาจ แม้ผู้ประเมินเป็นข้าราชการรักษาการ และการมอบอำนาจชำระภาษี
ตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510มิได้ระบุว่า ป้ายจะต้องแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะทั่วไป ก็เป็นป้ายตามความหมายแห่งมาตราดังกล่าวป้ายของโจทก์ซึ่งมีข้อความว่า "สำนักงานแพทย์ สิวฝ้า โรคผิวหนังและโรคทั่วไป" เป็นป้ายแสดงชื่อซึ่งมีลักษณะทั่วไปจึงเป็นป้ายที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน เมื่อนายกเทศมนตรีได้แจ้งเตือนให้โจทก์ไปชำระภาษีป้ายย้อนหลัง5 ปี โจทก์มอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้นำเงินไปชำระค่าภาษีป้ายอ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายประจำปี เอกสารทุกฉบับระบุว่าอ.เป็นผู้มายื่นแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของป้ายการกระทำของอ.ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนโจทก์หรือในนามของโจทก์ ด้านหลังเอกสารดังกล่าวทุกฉบับ มีรายการประเมินภาษีป้ายลงนามโดย ร. ผู้รักษาการแทนสมุห์บัญชีซึ่งนายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีหรือผู้รักษาการแทนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีป้าย ร. จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีป้ายและถือว่ามีการประเมินภาษีป้ายโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีการค้า เจ้าพนักงานประเมินมิอาจกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าตามมาตรา 87 ทวิ (7) แต่มีอำนาจภายหลังไม่ยื่นแบบ
มาตรา 83 ทวิ (7) แห่งประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าหรือยื่นไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินนั้นเป็นการให้อำนาจประเมินภาษีที่ถึงกำหนดชำระแล้ว มิใช่ให้อำนาจประเมินภาษีกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเมื่อขณะเกิดเหตุคดีนี้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มเติมมาตรา 86 เบญจที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้เป็นการล่วงหน้าได้คราวละไม่เกิน 24 เดือน ยังไม่ใช้บังคับการที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าของโจทก์โดยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้า จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำนั้น.
การที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษี: เหตุผลที่ยกขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลไม่จำกัดตามที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ และอำนาจการประเมินภาษีเมื่อไม่ยื่นรายการ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) มิได้บัญญัติไว้ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยยกขึ้นอุทธรณ์ไว้ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีใจความสำคัญว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโจทก์โดยมิชอบและขอให้ยกเลิกการประเมินดังกล่าว การที่โจทก์กล่าวอ้างในชั้นศาลถึงการส่งหมายเรียกและการกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถูกต้องนั้น ก็เป็นเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าการประเมินภาษีดังกล่าวไม่ชอบนั่นเอง จึงเป็นการกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว
ที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการเสียภาษีอากรมาไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 นั้น ใช้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ แต่กรณีที่ไม่ยื่นรายการตามมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาบังคับ ดังนี้ แม้หมายเรียกจะออกมาเกิน 5 ปี และระบุทั้งมาตรา19 และ 23 มาด้วยก็หาทำให้การประเมินขาดอายุความไม่
รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคมถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่อาจตรวจสอบในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์จากแบบที่โจทก์ยื่นเพื่อเสียภาษีในปีก่อน ๆ ได้ และเจ้าพนักงานประเมินย่อมเข้าใจว่ารอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์เป็นไปตามปกติคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ทั้งการประเมินดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการคำนวณภาษีซ้ำซ้อนกันหรือต้องทำให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นแต่ประการใด การประเมินภาษีอากรจึงชอบแล้ว
ที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการเสียภาษีอากรมาไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 นั้น ใช้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ แต่กรณีที่ไม่ยื่นรายการตามมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาบังคับ ดังนี้ แม้หมายเรียกจะออกมาเกิน 5 ปี และระบุทั้งมาตรา19 และ 23 มาด้วยก็หาทำให้การประเมินขาดอายุความไม่
รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคมถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่อาจตรวจสอบในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์จากแบบที่โจทก์ยื่นเพื่อเสียภาษีในปีก่อน ๆ ได้ และเจ้าพนักงานประเมินย่อมเข้าใจว่ารอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์เป็นไปตามปกติคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ทั้งการประเมินดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการคำนวณภาษีซ้ำซ้อนกันหรือต้องทำให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นแต่ประการใด การประเมินภาษีอากรจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มิได้หมายความว่าผู้เสียภาษีไม่ต้องส่งเอกสารใดๆ เลย แม้ส่งเอกสารบางส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจ
เมื่อนำความในมาตรา 19 และมาตรา 71(1) แห่ง ป.รัษฎากรมาพิเคราะห์ประกอบกันแล้ว มิได้หมายความถึงกับว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องมิได้นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานใด ๆ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินเลย เจ้าพนักงานประเมินจึงจะใช้อำนาจประเมินตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วหากผู้ยื่นรายการนำเอกสารหลักฐานแต่เพียงบางส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของแบบรายการที่ยื่นมาแสดงเจ้าพนักงานประเมินก็ไม่มีโอกาสที่จะใช้อำนาจประเมินตามมาตรา 71(1)ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาการยื่นภาษี, เหตุสุดวิสัย, ความรับผิดของผู้เสียภาษี, และอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงาน
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาตามคำร้องของโจทก์โดยปริยายไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ มิได้บัญญัติบังคับให้ต้องแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบ เหมือนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 (ข)
การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้ขยายเวลาโดยอ้างว่าผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่ยอมรับรองบัญชีงบดุลซึ่งจะต้องยื่นพร้อมแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เนื่องจากสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีอยู่ที่จำเลยที่ 1 ผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่สามารถตรวจสอบได้นั้น ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัยและไม่ใช่ความบกพร่องของพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด เพราะผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์สามารถจะไปขออนุญาตตรวจสอบหรือขอถ่ายบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ณ ที่ทำการของจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ขยายให้ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงมีอำนาจทำการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) ได้.
การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้ขยายเวลาโดยอ้างว่าผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่ยอมรับรองบัญชีงบดุลซึ่งจะต้องยื่นพร้อมแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เนื่องจากสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีอยู่ที่จำเลยที่ 1 ผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่สามารถตรวจสอบได้นั้น ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัยและไม่ใช่ความบกพร่องของพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด เพราะผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์สามารถจะไปขออนุญาตตรวจสอบหรือขอถ่ายบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ณ ที่ทำการของจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ขยายให้ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงมีอำนาจทำการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาการยื่นภาษี, เหตุสุดวิสัย, ความรับผิดของผู้เสียภาษี, อำนาจประเมินภาษี
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาตามคำร้องของโจทก์โดยปริยายไม่ได้เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ มิได้บัญญัติบังคับให้ต้องแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบ เหมือนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65(ข)
การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้ขยายเวลาโดยอ้างว่าผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่ยอมรับรองบัญชีงบดุลซึ่งจะต้องยื่นพร้อมแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เนื่องจากสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีอยู่ที่จำเลยที่ 1ผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่สามารถตรวจสอบได้นั้น ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัยและไม่ใช่ความบกพร่องของพนักงานของจำเลยที่ 1แต่อย่างใด เพราะผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์สามารถจะไปขออนุญาตตรวจสอบหรือขอถ่ายบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ณ ที่ทำการของจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ขยายให้ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงมีอำนาจทำการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ได้.
การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้ขยายเวลาโดยอ้างว่าผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่ยอมรับรองบัญชีงบดุลซึ่งจะต้องยื่นพร้อมแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เนื่องจากสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีอยู่ที่จำเลยที่ 1ผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่สามารถตรวจสอบได้นั้น ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัยและไม่ใช่ความบกพร่องของพนักงานของจำเลยที่ 1แต่อย่างใด เพราะผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์สามารถจะไปขออนุญาตตรวจสอบหรือขอถ่ายบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ณ ที่ทำการของจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ขยายให้ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงมีอำนาจทำการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4458/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากกำไรจากการขายหุ้น พิจารณาเจตนาในการได้มาซึ่งหุ้น และขอบเขตอำนาจประเมินภาษี
บริษัทย่อมมีวัตถุประสงค์ในการหากำไรมาแบ่งปันกัน ในระหว่างผู้ถือหุ้น การได้หุ้นมาย่อมถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร รายได้จากการขายหุ้นจึงเป็นเงินได้พึงประเมินในการเสียภาษีเงินได้ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ว่า หุ้นนั้นได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรโดยแท้จริง จึงจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลกฎหมาย รัษฎากร มาตรา 42(9) เมื่อโจทก์ได้หุ้นมาตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัทเนื่องจาก การรับมรดก มิใช่รับโอนหรือซื้อจากผู้ใด แม้หุ้นดังกล่าวจะไม่ใช่มรดก แต่เป็นการได้มาเนื่องจากการแบ่งมรดก หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้มา โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากการจำหน่ายหุ้นจำนวนนี้ตาม มาตรา 42(9)
การเอาที่ดินซึ่งเป็นมรดกโอนให้บริษัท ช. แล้วบริษัทออกหุ้นให้แทน แม้บริษัทจะมีข้อจำกัดในการโอนหุ้นเพื่อสงวนหุ้นไว้กับผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นคนในตระกูลของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่จะสงวนผลประโยชน์ที่เกิดจากกิจการของบริษัท ไว้ให้แก่บุคคลในตระกูลของโจทก์มากกว่าเป็นการรักษาทรัพย์สิน ของตระกูลไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของการค้าหากำไรนั้นเอง เมื่อโจทก์ รับโอนหุ้นจำนวนนี้มา จึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตาม มาตรา 42(9) การที่จะพิจารณาว่าสังหาริมทรัพย์ใดได้มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตาม มาตรา 42(9) ต้องพิจารณา ในตอนที่ได้มาว่าเป็นการได้มาเพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือ หากำไรหรือไม่ หุ้นของบริษัท ช.ที่ส. ภริยาโจทก์โอนให้โจทก์เพื่อให้โจทก์ ฟ้องคดีเลิกบริษัท ช.นั้นต้องถือว่าส.ยังเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงอยู่ เมื่อ ส. รับโอนหุ้นมาจากผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง และไม่ปรากฏว่า ได้หุ้นมา โดยมิได้มุ่งในทางการหรือหากำไร จึงต้องถือว่า เป็นการได้มาโดยมุ่ง ในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อมีการ ขายหุ้นดังกล่าวจึงต้องเสีย ภาษีเงินได้โดยไม่ได้รับการยกเว้น ตาม มาตรา42(9) เมื่อโจทก์เป็น สามีโดยชอบด้วยกฎหมาย ของเจ้าของหุ้น โจทก์ก็ต้องรับผิด ในการชำระภาษีตาม มาตรา 57ตรี
แม้ ป. รัษฎากร มาตรา 19 ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่น อันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ พ้นกำหนดนี้แล้วเจ้าพนักงานประเมินจะไม่มีอำนาจออกหมายเรียก หรือคำสั่งดังกล่าวก็ตาม แต่ก็หาได้มีบทบัญญัติกำหนดว่า เจ้าพนักงานประเมินต้องทำการประเมินภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการไม่
การเอาที่ดินซึ่งเป็นมรดกโอนให้บริษัท ช. แล้วบริษัทออกหุ้นให้แทน แม้บริษัทจะมีข้อจำกัดในการโอนหุ้นเพื่อสงวนหุ้นไว้กับผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นคนในตระกูลของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่จะสงวนผลประโยชน์ที่เกิดจากกิจการของบริษัท ไว้ให้แก่บุคคลในตระกูลของโจทก์มากกว่าเป็นการรักษาทรัพย์สิน ของตระกูลไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของการค้าหากำไรนั้นเอง เมื่อโจทก์ รับโอนหุ้นจำนวนนี้มา จึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตาม มาตรา 42(9) การที่จะพิจารณาว่าสังหาริมทรัพย์ใดได้มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตาม มาตรา 42(9) ต้องพิจารณา ในตอนที่ได้มาว่าเป็นการได้มาเพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือ หากำไรหรือไม่ หุ้นของบริษัท ช.ที่ส. ภริยาโจทก์โอนให้โจทก์เพื่อให้โจทก์ ฟ้องคดีเลิกบริษัท ช.นั้นต้องถือว่าส.ยังเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงอยู่ เมื่อ ส. รับโอนหุ้นมาจากผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง และไม่ปรากฏว่า ได้หุ้นมา โดยมิได้มุ่งในทางการหรือหากำไร จึงต้องถือว่า เป็นการได้มาโดยมุ่ง ในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อมีการ ขายหุ้นดังกล่าวจึงต้องเสีย ภาษีเงินได้โดยไม่ได้รับการยกเว้น ตาม มาตรา42(9) เมื่อโจทก์เป็น สามีโดยชอบด้วยกฎหมาย ของเจ้าของหุ้น โจทก์ก็ต้องรับผิด ในการชำระภาษีตาม มาตรา 57ตรี
แม้ ป. รัษฎากร มาตรา 19 ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่น อันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ พ้นกำหนดนี้แล้วเจ้าพนักงานประเมินจะไม่มีอำนาจออกหมายเรียก หรือคำสั่งดังกล่าวก็ตาม แต่ก็หาได้มีบทบัญญัติกำหนดว่า เจ้าพนักงานประเมินต้องทำการประเมินภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร และสิทธิในการโต้แย้งการประเมิน
หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ ประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินทั้งนี้โดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้ส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วนและมิได้ให้ถ้อยคำชี้แจงประกอบการตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียกซึ่งออกตามมาตรา 19 โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งเป็นคดีต่อศาล เพราะการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นอันยุติไปแล้ว คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องโดยชัดแจ้งว่า โจทก์หาได้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19 แต่อย่างใดไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากรย่อมเป็นการไม่ชอบ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ได้ ในกรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่ยุติโดยโจทก์จำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ ชอบที่จะฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความก่อนพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีโรงเรือน: การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และการปฏิบัติตามขั้นตอนไต่สวน
โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้ ส. พนักงานเทศบาลสามัญชั้นโทดำรงตำแหน่งพนักงานประเมินภาษีโทและต่อมาโจทก์มีคำสั่งอีกฉบับหนึ่งแต่งตั้งให้บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งพนักงานประเมินภาษีโทเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษี เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ดังนี้ ย่อมฟังได้ว่า ส. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษีตามบทบัญญัติ มาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ส. จึงมีอำนาจที่จะประเมินภาษีโรงเรือนและแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีจากจำเลยได้และเมื่อ ส. ได้ไต่สวนตรวจตราก่อนทำการประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา24 โดยการไปตรวจดูบ้านทั้งสองหลังของจำเลยที่ทำเป็นหอพักและสอบถามจำนวนห้องกับอัตราค่าเช่าพร้อมทั้งมีหนังสือสอบถามไปทางกรมประชาสงเคราะห์ด้วยแล้วจึงทำการประเมินและส่งใบแจ้งการประเมินไปยังจำเลยการประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย