พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการแสดงอำนาจพิเศษ: ข้อจำกัดในการฎีกาคดีครอบครัวและที่อยู่อาศัย
คดีของผู้ร้องเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีที่ฟ้องขับไล่บุคคลใดๆออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจวิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสาม ฎีกาผู้ร้องที่ว่าแม้ผู้ร้องจะเข้ามาอยู่ในบ้านพิพาทในฐานะบุตรสะใภ้จำเลยแต่จากการนำสืบผู้ร้องได้หย่าขาดกับบุตรจำเลยและอาศัยในบ้านพิพาทในลักษณะแยกครอบครัวจากครอบครัวจำเลยไม่เกี่ยวข้องกันมาเป็นเวลา20ปีแล้วโดยผู้ร้องไม่ได้แยกทะเบียนบ้านใหม่สำเนาทะเบียนบ้านไม่อาจนำมาวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยได้เมื่อผู้ร้องได้รับสิทธิให้เข้าอยู่ในแฟลตก็เป็นการยืนยันว่าผู้ร้องมีครอบครัวแยกต่างหากมิได้อยู่อาศัยสิทธิของจำเลยและฎีกาผู้ร้องต่อมาที่ว่าเมื่อโจทก์หรือทางราชการยังมิได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลงโดยหาที่อยู่ชั่วคราวให้แก่ผู้ร้องก่อนซึ่งเป็นการต่างตอบแทนตามข้อตกลงและผู้ร้องยังไม่ถูกตัดสิทธิและมีสิทธิได้รับการพิจารณาถึงสิทธิตามบัตรสิทธิผู้ร้องจึงมีอำนาจพิเศษที่จะอยู่อาศัยในบ้านพิพาทต่อไปได้ล้วนเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่ว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้นั่นเองจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 กรณีคดีขับไล่และอำนาจพิเศษ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างกับขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินของโจทก์อันเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆออกจากอสังหาริมทรัพย์แม้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเดิมเดือนละหนึ่งหมื่นบาทก็ตามแต่ตามคำฟ้องได้ความว่าที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในชนบทมีเนื้อที่เพียง300ตารางวาใช้ปลูกเรือนอยู่อาศัยและปลูกพืชผักมิใช่อยู่ในทำเลการค้าอันจะทำให้ได้ค่าเช่าที่ดินสูงเป็นพิเศษแต่อย่างใดตามลักษณะและสภาพแห่งที่ดินดังกล่าวถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทคู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมนั้นจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองเมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่และศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ก็ตามคดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสามที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาทมิใช่บริวารของจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าช่วงที่ไม่ได้รับความยินยอม: ไม่มีอำนาจพิเศษเหนือทรัพย์สิน
ผู้ร้องเป็นผู้เช่าตึกแถวพิพาทจากจำเลย แต่มิได้เป็น ผู้เช่าช่วงโดยชอบด้วยความยินยอมจากโจทก์และเจ้าของตึกแถวพิพาท ทั้ง ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยห้ามมิให้จำเลยนำตึกแถวพิพาท ไป ให้เช่าช่วงด้วย ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย ผู้ร้อง จึง ไม่มี อำนาจพิเศษเหนือตึกแถวพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเฉลี่ยทรัพย์ของกรมแรงงาน แม้มิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จากอำนาจตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคแรกที่บัญญัติให้เจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น หมายถึงเจ้าหนี้ผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ส่วนกรณีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 10 ที่ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษให้อธบดีกรมแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ไม่จ่ายเงินสมทบ และหรือเงินเพิ่มได้ กรมแรงงานผู้ร้องจึงเป็นบุคคลผู้มีอำนาจดังกล่าวด้วยโดยมีสิทธิจะบังคับเหนือทรัพย์สินของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 แม้ผู้ร้องจะไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ตาม ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องเรียกเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน แม้มีอำนาจพิเศษให้อธิบดีกรมแรงงาน
นายจ้างค้างชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและเงินเพิ่มกรมแรงงานทวงถามแล้วก็ไม่ชำระ ดังนี้ ย่อมมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 31 แล้ว แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 10 จะกำหนดให้อธิบดีกรมแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งให้ยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ไม่จ่ายเงินสมทบ และหรือเงินเพิ่มเอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระเงินที่ค้างจ่ายได้ก็เป็นเรื่องให้อำนาจพิเศษแก่อธิบดีกรมแรงงาน มิใช่เพื่อตัดสิทธิกรมแรงงานที่จะเสนอคดีต่อศาล กรมแรงงานมีอำนาจฟ้องเรียกเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและเงินเพิ่มจากนายจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามอำนาจพิเศษมีผลผูกพัน คุ้มครองทรัพย์สินของรัฐ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร. 39/2517 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 13 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2519 นั้น เมื่อได้สั่งให้ทรัพย์สินของ ณ และภริยาที่ถูกอายัดหรือยึดไว้แล้วทั้งหมดตกเป็นของรัฐตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทก็ต้องถือว่าได้โอนมาเป็นของรัฐแล้วในทันทีที่มีคำสั่ง และคำสั่งดังกล่าวระบุว่าการจะคืน ทรัพย์สินใดซึ่ง ณ และภริยา หรือบุคคลใดได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ จะต้องพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจของคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเสียก่อน หากมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามคำสั่ง ก็ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้ขาดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวนี้ได้บัญญัติวิธีการที่จะชี้ขาดข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากคำสั่งไว้โดยเฉพาะและเป็นคำสั่งที่ออกมาตามอำนาจแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2519 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่กำหนดเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยในขณะนั้น ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ซึ่งตราขึ้นภายหลังก็ยังบัญญัติให้มีผลใช้บังคับต่อไป ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการได้ชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หัวหน้าการชลประทานราษฎร์ไม่มีอำนาจฟ้องละเมิดต่อการชลประทานที่ตนกำกับดูแล ต้องมีอำนาจพิเศษตามกฎหมาย
หัวหน้าการชลประทานส่วนราษฎร์ไม่มีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดต่อการชลประทานราษฎร์ที่ตนเป็นหัวหน้า
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2515)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพิเศษของบริวารเช่าช่วงหลังขับไล่ และความหมายของ 'บริวาร' ตาม ป.วิ.แพ่ง
ข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในฎีกานั้นคู่ความจะต้องได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ข้อที่โจทก์ยังไม่ได้ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญายอมความจะบังคับบริวารของจำเลยได้หรือยังนั้นไม่เกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 249
อำนาจพิเศษซึ่งวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์จะใช้บันโจทก์ได้ภายหลังที่ศาลได้ พิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ของโจทก์แล้วนั้นต้องเป็นอำนาจที่จะใช้ยันตัวโจทก์ได้เอง
คำว่า "บริวาร" ตามป.วิ.แพ่ง.ม.142(1) กับ "ครอบครัว" นั้นต่างกัน "บริวาร" ตรงกับคำว่า "+" หมายถึงผู้ที่อาศัยสิทธิของผู้อื่น อาจจะเป็นบุคคลในหรือนอกครอบครัวของผู้นั้นก็ได้
ข้อที่โจทก์ยังไม่ได้ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญายอมความจะบังคับบริวารของจำเลยได้หรือยังนั้นไม่เกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 249
อำนาจพิเศษซึ่งวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์จะใช้บันโจทก์ได้ภายหลังที่ศาลได้ พิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ของโจทก์แล้วนั้นต้องเป็นอำนาจที่จะใช้ยันตัวโจทก์ได้เอง
คำว่า "บริวาร" ตามป.วิ.แพ่ง.ม.142(1) กับ "ครอบครัว" นั้นต่างกัน "บริวาร" ตรงกับคำว่า "+" หมายถึงผู้ที่อาศัยสิทธิของผู้อื่น อาจจะเป็นบุคคลในหรือนอกครอบครัวของผู้นั้นก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพิเศษบริวาร-ผู้เช่าช่วง: สิทธิยันโจทก์ต้องใช้ได้เอง, 'บริวาร'ต่างจาก'ครอบครัว'
ข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในฎีกานั้นคู่ความจะต้องได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ข้อที่โจทก์ยังไม่ได้ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญายอมความจะบังคับบริวารของจำเลยได้หรือยังนั้นไม่เกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
อำนาจพิเศษซึ่งวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์จะใช้ยันโจทก์ได้ภายหลังที่ศาลได้พิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ของโจทก์แล้วนั้นต้องเป็นอำนาจที่จะใช้ยันตัวโจทก์ได้เอง
คำว่า "บริวาร"ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) กับ"ครอบครัว"(FAMILY)นั้นต่างกัน "บริวาร"ตรงกับคำว่า"DEPANDANT""หมายถึงผู้ที่อาศัยสิทธิของผู้อื่น อาจจะเป็นบุคคลในหรือนอกครอบครัวของผู้นั้นก็ได้
ข้อที่โจทก์ยังไม่ได้ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญายอมความจะบังคับบริวารของจำเลยได้หรือยังนั้นไม่เกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
อำนาจพิเศษซึ่งวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์จะใช้ยันโจทก์ได้ภายหลังที่ศาลได้พิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ของโจทก์แล้วนั้นต้องเป็นอำนาจที่จะใช้ยันตัวโจทก์ได้เอง
คำว่า "บริวาร"ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) กับ"ครอบครัว"(FAMILY)นั้นต่างกัน "บริวาร"ตรงกับคำว่า"DEPANDANT""หมายถึงผู้ที่อาศัยสิทธิของผู้อื่น อาจจะเป็นบุคคลในหรือนอกครอบครัวของผู้นั้นก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับบุคคลภายนอกคดี: อำนาจพิเศษในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์
ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในการเช่าตึกของกระทรวงการคลัง จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัยให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกพิพาท ในชั้นแรกผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย ศาลได้มีคำสั่งให้ผู้ร้องออกจากตึกเช่าของโจทก์ ซึ่งเช่าจากกระทรวงการคลังในฐานะเป็นบริวารของจำเลยแล้ว ต่อมาถ้าปรากฎว่าผู้ร้องได้เป็นผู้เช่าตึกรายนี้จากกระทรวงการคลังแล้ว ดังนี้ ถือว่าผู้ร้องมีอำนาจพิเศษในการที่จะอยู่ในที่ดินนั้นได้ โดยไม่อาศัยอำนาจของจำเลยแล้ว ก็เป็นอันนำเอาคำพิพากษานั้นมาบังคับผู้ร้องไม่ได้ต่อไป
การบังคับขับไล่บุคคลนอกคดีนั้น จะบังคับได้ก็ฉะเพาะที่เป็นบริวารของจำเลยและไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษได้ตามมาตรา 142(1) ป.ม.วิ.แพ่ง แต่ถ้าผู้นั้นแสดงอำนาจพิเศษได้ว่าอยู่ในที่ดินโดยไม่ได้อาศัยอำนาจของจำเลยไม่ว่าในขณะใดแล้ว ก็จะนำเอาคำพิพากษานั้นมาบังคับผู้นั้นไม่ได้อีกต่อไป.
การบังคับขับไล่บุคคลนอกคดีนั้น จะบังคับได้ก็ฉะเพาะที่เป็นบริวารของจำเลยและไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษได้ตามมาตรา 142(1) ป.ม.วิ.แพ่ง แต่ถ้าผู้นั้นแสดงอำนาจพิเศษได้ว่าอยู่ในที่ดินโดยไม่ได้อาศัยอำนาจของจำเลยไม่ว่าในขณะใดแล้ว ก็จะนำเอาคำพิพากษานั้นมาบังคับผู้นั้นไม่ได้อีกต่อไป.