คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งคำร้องคุ้มครองสิทธิระหว่างอุทธรณ์: ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคำร้องก่อนศาลอุทธรณ์
โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นและยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิของโจทก์มาพร้อมอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งคำร้องขอของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254 วรรคท้าย การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์สั่งและศาลอุทธรณ์สั่งยกคำร้องของโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งเลิกสหกรณ์: เมื่อสหกรณ์ดำเนินการไม่ได้ผล หรือก่อให้เกิดความเสียหาย
โจทก์จำเลยตกลงกันขอให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นข้อเดียวว่า จำเลยมีสิทธิสั่งเลิกสหกรณ์โจทก์ตามกฎหมายหรือไม่ โดยโจทก์จำเลยขอสละข้อต่อสู้อื่นๆ และไม่ติดใจสืบพยานกันต่อไป ย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์ต่อไปอีก
เมื่อได้ความว่าสหกรณ์จำกัดไม่อาจดำเนินการให้ได้ผลดี หรือการดำเนินการของสหกรณ์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์หรือประโยชน์ส่วนรวมดังระบุไว้ในมาตรา 51 (3) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 แล้ว นายทะเบียนสหกรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งเลิกสหกรณ์ได้ทันทีโดยไม่จำต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องตามมาตรา 47 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งเลิกสหกรณ์: เมื่อสหกรณ์ดำเนินกิจการไม่ได้ผลหรือก่อให้เกิดความเสียหาย
โจทก์จำเลยตกลงกันขอให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นข้อเดียวว่าจำเลยมีสิทธิสั่งเลิกสหกรณ์โจทก์ตามกฎหมายหรือไม่ โดยโจทก์จำเลยขอสละข้อต่อสู้อื่น ๆ และไม่ติดใจสืบพยานกันต่อไป ย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้วไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์ต่อไปอีก
เมื่อได้ความว่าสหกรณ์จำกัดไม่อาจดำเนินกิจการให้ได้ผลดี หรือการดำเนินการของสหกรณ์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์หรือประโยชน์ส่วนรวมดังระบุไว้ในมาตรา 51(3) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 แล้ว นายทะเบียนสหกรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งเลิกสหกรณ์ได้ทันทีโดยไม่จำต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องตามมาตรา 47 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งคืนทรัพย์ในคดีอาญา แม้ศาลยกฟ้อง คำขอส่วนแพ่งยังคงมีผล
ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์กับขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายด้วยนั้น แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา แต่เมื่อคำขอส่วนแพ่ง เป็นคำขอที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งยังคงมีต่อไป ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งดำเนินคดีอาญาของนายอำเภอในฐานะกรรมการสุขาภิบาล: ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอมีอำนาจสั่งดำเนินคดีได้
จำเลยฎีกาว่า การดำเนินคดีอาญากับจำเลย นายอำเภอสั่งในตำแหน่งนายอำเภอไม่ได้ เพราะสุขาภิบาลเป็นนิติบุคคล ต้องสั่งในนามประธานกรรมการสุขาภิบาล ดังนี้ เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยย่อมฎีกาได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวาดำรงตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ และโดยคำสั่งทางราชการให้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่กรรมการสุขาภิบาลอีกด้วย หากฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้แล้วไม่ลงบัญชี เป็นเหตุให้เงินขาดหายไปจากบัญชีซึ่งถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเอาทรัพย์ไป เมื่อจำเลยไม่ใช้เงินที่ขาดหายไป อันอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสั่งให้นายอำเภอดำเนินคดีกับจำเลย นายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีก็ย่อมกระทำได้เพราะพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 นายอำเภอเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง ที่นายอำเภอสั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลย จะถือว่านายอำเภอไม่ใช่สั่งในตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบภาษีและการสั่งให้ชำระเงินเพิ่ม กรณีพบภาษีชำระขาด
โจทก์ชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ไว้ที่อำเภอเป็นจำนวนน้อยผิดสังเกตุเจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจพบเข้ามีความสงสัย จึงได้สั่งให้หมายเรียกโจทก์มาชี้แจงและนำบัญชีมาให้ตรวจสอบ โจทก์รู้ตัว จึงทำบัญชีขึ้นใหม่และนำภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ที่ยังชำระขาดอยู่ไปชำระต่ออำเภอ ซึ่งถ้าเจ้าพนักงานไม่ออกหมายเรียกดังกล่าว โจทก์ก็คงไม่นำเงินภาษีที่ขาดอยู่ไปชำระให้ เช่นนี้เรียกได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพบว่า โจทก์ยังชำระเงินภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ขาดอยู่ตามความหมายในประมวลรัษฎากร ม.191 แล้ว ทางสรรพากรย่อมมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีก 5 เท่า ของภาษีที่ชำระขาดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งคืนของกลาง: กรณีโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในคดีอาญา
ในคดีที่อัยยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร จำเลยต่อสู้ว่าของกลางเป็นของจำเลยเมื่อศาลไม่ฟังว่าจำเลยมีความผิด แต่ฟังว่าของกลางเป็นของเจ้าทรัพย์ก็สั่งคืนของกลางให้เจ้าทรัพย์ได้
อ้างฎีกาที่ 647/2478,
ที่ 1102/2481
ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.48 วรรค 3 เป็นเรื่องโต้แย้งระหว่างผู้อื่น ไม่เกี่ยวกับจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579-580/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาสั่งสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาคดีอาญา
ฎีกาอุทธรณ์
อำนาจศาลฏีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลขั้นต้นสืบพะยานเพิ่มเติมแล้วส่งมายังศาลฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งให้ราษฎรซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์เพื่อป้องกันภัย และประโยชน์สาธารณะ
อำเภอสั่งให้จำเลยไปทำการซ่อมแซมพะนังซึ่งพังลงซึ่งเป็นการสาธารณประโยชน์เมื่อจำเลยไม่ไปมีผิดฐานขัดคำสั่งตาม ม.334 ข้อ 2 (เทียบฎีกาที่ 1333/2462)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุ แม้ลงโทษอาญาแล้ว
จำเลยกับพวกเข้าไปขุด ถาง ปรับสภาพพื้นดิน และปลูกสร้างบ้านพักอาศัยพร้อมล้อมรั้วลวดหนาม ในที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความปกครองดูแลและใช้ประโยชน์ของกรมสวัสดิการทหารเรือ กองทัพเรือ การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท กล่าวคือ นอกจากจำเลยจะมีความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) แล้ว จำเลยยังมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างและทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดินของรัฐอันเป็นความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้างและบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินนั้นได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐอันเป็นเจ้าของที่ดินสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยเร็วโดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่เมื่อการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินของรัฐได้
of 3