พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การหักค่าลดหย่อน และอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดราคาทรัพย์สิน
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินประกอบโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำต่อเจ้าพนักงานต่างระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีชื่อถือแทนบิดาซึ่งเป็นคนจีนนั้น ฟังได้ว่าที่ดินเป็นของโจทก์ การขายที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่ขายทรัพย์อันเป็นมรดกโจทก์ได้ขายที่ดินดังกล่าวไปในเวลาอันรวดเร็ว แสดงเจตนาว่าซื้อมาเพื่อหากำไร การขายที่ดินทั้ง 4 แปลงของโจทก์จึงมุ่งในทางค้าหรือหากำไร ป.รัษฎากร มาตรา 20 และ 30(2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวต่อศาล จะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นเหตุผลเช่นเดียวกัน ดังนั้น โจทก์จึงอ้างเหตุที่มิได้อ้างไว้ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างว่าการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ไม่ชอบ อันเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นศาลได้ เมื่อจำเลยนำสืบได้ว่าการโอนขายที่ดินของโจทก์มีค่าตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินโดยอาศัย ป.รัษฎากรมาตรา 87 ทวิ(6) ได้และเมื่อเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยทำการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์โดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 หาได้ใช้อำนาจตามมาตรา 29ทวิไม่ เมื่อได้จัดการตามมาตรา 19 และทราบข้อความแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่ประเมิน หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏตามมาตรา 20.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าของเจ้าพนักงานประเมินก่อนยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นอำนาจที่มิชอบ การประเมินภาษีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่มาตรา 87 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากรให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินนั้น เป็นการให้อำนาจกำหนดสำหรับภาษีที่ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้น มิใช่ให้อำนาจประเมินภาษีโดยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้า การที่เจ้าพนักงานกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์ครั้งแรกล่วงหน้าแล้ว แม้ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ เจ้าพนักงานได้กำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์ใหม่ ก็เป็นกรณีที่เกิดจากการโต้แย้งของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนรายรับที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเดิมนั่นเอง อันเป็นเรื่องของการต่อรองสำหรับจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ซึ่งในหนังสือแจ้งกำหนดรายรับขั้นต่ำใหม่ก็ได้อ้างถึงหนังสือที่แจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำที่กำหนดครั้งก่อน จึงมีผลเป็นการกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าเช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5218/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินภาษี การประเมินจากรายได้ที่แท้จริง แม้ไม่มีเอกสารหลักฐานครบถ้วน และการพิจารณาเงินได้ของภริยาและบุตร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยประเมินภาษีโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 49 เป็นการไม่ชอบเพราะได้นำเอาทรัพย์สินซึ่งมิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของ โจทก์มาเป็นฐานในการคำนวณภาษี กับได้เอาค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้ของโจทก์มาเป็นรายได้ของโจทก์ แม้จะไม่ได้ระบุ ว่าทรัพย์สินเป็นอะไร ราคาเท่าใดและค่าใช้จ่ายนั้นมีจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่คดีพิพาทกันเฉพาะภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2514-2517เจ้าพนักงานประเมินได้หมายเรียกโจทก์ไปทำการตรวจสอบ ไต่สวน เกี่ยวกับทรัพย์สินและค่าใช้จ่ายของโจทก์แล้วทำการประเมิน ภาษีเพิ่มจากหลักฐานดังกล่าว ทั้งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมิน จำเลยย่อมทราบเรื่องดีมิใช่เพิ่งจะมากล่าวอ้างเมื่อฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอ บังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็น หลัก แห่งข้อหาเช่นว่านั้นเพียงพอที่ จำเลยจะให้การต่อสู้คดีแล้ว ฟ้อง โจทก์ จึงไม่เคลือบคลุม เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกโจทก์นำเอกสารหลักฐานไป ทำ การตรวจสอบ แต่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารการรับจ่ายไปให้ ทำการ ตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่า โจทก์มีเงินได้แท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด เจ้าพนักงานประเมินย่อมมี อำนาจทำการประเมินภาษีโจทก์เพิ่มได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 49 โดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเมื่อเอกสารทางบัญชีเสียหาย เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนดได้
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปให้ถ้อยคำและให้นำบัญชีและเอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีมาแสดงเพื่อตรวจสอบไต่สวนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19 ผู้แทนโจทก์ไปให้ถ้อยคำ แต่ไม่นำบัญชีและเอกสารมาให้ตรวจสอบ อ้างว่าบัญชีและเอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีถูกปลวกกัดกินเสียหายหมด ดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ดังที่กล่าวอ้างเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามมาตรา 71(1) ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบรายได้จากหลักฐานอื่นได้หากผู้เสียภาษีไม่สามารถแสดงหลักฐานได้
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้นเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล และประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)ก็มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ฉะนั้นโจทก์จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ขอคืนเงินภาษีอากรที่หัก ณ ที่จ่ายเป็นจำนวนสูงถึง 2,700,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ไปตรวจสอบไต่สวนโดยอ้างอำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19 ได้ และเมื่อจำเลยที่ 2 ได้ทราบข้อความจากการตรวจสอบไต่สวนดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ จำนวนเงินที่ยื่นรายการไว้เดิม โดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ตามมาตรา 20.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีทายาท: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีจากผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ยื่นรายการเดิมถึงแก่ความตาย
การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกไปยัง อ. ซึ่ง เป็นผู้ยื่นรายการเสียภาษีเพื่อจะทำการตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แต่ ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการตรวจสอบไต่สวนเสร็จและแจ้งการประเมินไปให้ อ. ทราบ อ. ได้ถึง แก่ความตายเสียก่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการตรวจสอบไต่สวนโจทก์ซึ่ง เป็นภรรยาของ อ. ในฐานะ ทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ.แล้วแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ ในชั้น อุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้อง เสียภาษีเงินได้ของ อ.แต่ เพื่อความเป็นธรรมให้ปรับปรุงวิธีคำนวณภาษีใหม่ได้ ผลประการใดโจทก์ยินยอมชำระภาษีโดย ไม่โต้แย้ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อนุโลมใช้ วิธีคำนวณตาม ที่โจทก์ขอแล้วมีคำวินิจฉัยไปตาม นั้น ดังนี้โจทก์จะอุทธรณ์ต่อ ศาลว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีเจ้าพนักงานไม่สามารถแสดงเอกสารหลักฐานการตรวจสอบได้ ศาลฎีกายกประโยชน์ให้โจทก์
โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลถูกต้อง มิได้ยื่นรายการเสียภาษีต่ำ กว่ารายได้ ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นตาม ที่แจ้งการประเมิน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งถอนใบอนุญาตหนังสือพิมพ์: เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจหากข้อความที่โฆษณาเป็นความจริงและไม่สร้างความตื่นตระหนก
เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัด อุตรดิตถ์ เคยมีหนังสือเตือนไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของ บรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ให้ยุติการโฆษณาเสนอข้อความที่มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวและวิจารณ์ข้อที่ไม่เป็นความจริงมาครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งหลังนี้ผู้ร้องได้ลงข่าวโฆษณาพาด หัวว่า "ห่วงหลุด เสียเงินหมื่น เลือดไหลไม่หยุด เจ็บปวดทรมาน" แต่ข้อความตามข่าวนั้นเป็นความจริงและมิใช่ข้อความในลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตกใจหรือวิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัว การลงข่าวโฆษณาครั้งหลังนี้ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42ข้อ 2(6) และด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับดังกล่าว ข้อ 4 ซ้ำอีกเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัด อุตรดิตถ์ ไม่มีอำนาจสั่งถอนใบอนุญาตผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องตามข้อ 7 วรรคสอง ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัด อุตรดิตถ์ ที่สั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาขายสุราตามราคาตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตามกฎหมาย
โจทก์เป็นเอเยนต์จำหน่ายสุราขาวและสุราผสมในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และเป็นผู้ขายส่งสุราแม่โขงและสุรากวางทองในเขตจังหวัดนั้นด้วย การที่โจทก์อ้างว่าได้ขายสุราแม่โขงและสุรากวางทองให้แก่บริษัท ป. ซึ่งเป็นตัวแทนช่วงอีกทอดหนึ่งของโจทก์ไปในราคาเท่าทุน เพราะโจทก์ไม่ได้ไปตั้งร้านค้าในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อจูงใจให้บริษัท ป. ซื้อสุราขาวและสุราผสมของโจทก์ในราคาขายปลีกนั้น ก็เพื่อผลประโยชน์ของโจทก์ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตั้งร้านค้าเท่ากับเป็นกำไรส่วนหนึ่งของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเอเยนต์สุราขาวและสุราผสมในเขตจังหวัดสมุทรปราการแล้วอื่นก็ไม่สามารถนำสุราขาวและสุราผสมมาจำหน่ายในเขตจังหวัดนั้นได้ จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่โจทก์จะจำหน่ายสุราแม่โขงและสุรากวางทองแก่บริษัท ป. ไปในราคาเท่าทุนราคาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นราคาตลาดและเป็นการขายไปในราคาต่ำ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงค่าภาษีหรือชำระค่าภาษีให้น้อยลง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาขายสุราแม่โขงและสุรากวางทองตามราคาตลาดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4468/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไขอาคารหลังก่อสร้างเสร็จ และการไม่เป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง
บทบัญญัติมาตรา 40 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ว่าในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24 หรือมีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี ระงับการกระทำนั้นได้นั้นมีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีที่การดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสีย
ในกรณีที่การกระทำหรือการก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติในมาตรา 42 วรรคแรก และมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 แต่ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป
เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของระงับการก่อสร้างอาคารเพื่อพานิชยกรรมและพักอาศัยที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแก้ไขอาคารที่ทำการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตภายใน 45 วันนั้น เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคแรก เมื่อมีคำสั่งภายหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จไปแล้ว ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในกรณีที่การกระทำหรือการก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติในมาตรา 42 วรรคแรก และมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 แต่ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป
เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของระงับการก่อสร้างอาคารเพื่อพานิชยกรรมและพักอาศัยที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแก้ไขอาคารที่ทำการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตภายใน 45 วันนั้น เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคแรก เมื่อมีคำสั่งภายหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จไปแล้ว ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น