คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจเจ้าหน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโฉนดที่ดินก่อนการส่งมอบไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากอยู่ในอำนาจแก้ไขของเจ้าหน้าที่
โจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานได้ทำเสร็จเรียบร้อย และประกาศแจกโฉนดให้ราษฎรแล้วโจทก์มาขอรับ เซ็นชื่อรับและเสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้มอบโฉนดให้โจทก์ไป ต่อมามีผู้มาขออายัดการออกโฉนด จำเลยจึงไม่แจกโฉนดและลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อซึ่งจำเลยได้เซ็นในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินเสียเพราะเกรงว่าจะเป็นโฉนดที่สมบูรณ์การที่จำเลยลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อของตนเองเช่นนี้ไม่เป็นการปลอมเอกสาร เพราะว่าเมื่อยังไม่ได้ส่งมอบโฉนดให้โจทก์ถือไม่ได้ว่าที่ดินรายนี้ได้ออกโฉนดแล้ว และโฉนดรายนี้ยังเป็นเอกสารที่อยู่ในความยึดถือหรือในความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ และถือได้ว่ายังอยู่ในระหว่างดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เมื่อมีเหตุเปลี่ยนแปลงจำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการออกโฉนด ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการสั่งรื้ออาคารและการตรวจสอบดุลพินิจ ศาลไม่แทรกแซงหากชอบด้วยกฎหมาย
การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารได้แจ้งให้โจทก์เลิกใช้และรื้อถอนอาคารเพราะอยู่ในสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่ปลอดภัยซึ่งน่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกาย ชีวิตหรือทรัพย์สิน และโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้มีมติให้ยกอุทธรณ์แล้วนั้น โจทก์จะมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้นโดยอ้างแต่เพียงว่าอาคารของโจทก์ยังมั่นคงแข็งแรงมิได้ เพราะไม่ปรากฏว่าในการวินิจฉัยเช่นนั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและคณะกรรมการได้กระทำการนอกเหนือความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารอย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าการวินิจฉัยของจำเลยหรือคณะกรรมการเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน และการวินิจฉัยของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยตามอำนาจในมาตรา 12 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504 มิใช่เป็นการใช้อำนาจศาล จึงไม่ขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและการไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารที่นายช่างตรวจพบว่าไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้ หากเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามหรือไม่อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคารภายใน 15 วัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็มีอำนาจรื้อถอนอาคารนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา11 ทวิ วรรคสาม การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรื้อถอนอาคารจึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหายฯ เช่นรื้อถอนตึกแถวลง ย่อมเป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้ว ไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของจนวัตถุก่อสร้างสูญหายไปนั้นหาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการประเมินค่ารายปีสำหรับภาษีโรงเรือน แม้ค่าเช่าเดิมจะสูงขึ้น และการใช้ค่ารายปีที่สูงขึ้นเป็นหลักในการประเมินภาษีปีต่อ
ถ้ามีเหตุอันบ่งให้เห็นว่า ค่าเช่าอันเป็นหลักคำนวณค่ารายปีมิใช่จำนวนเงินอันสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจแก้หรือคำนวณค่ารายปีเสียใหม่ได้ แม้จะสูงขึ้นจากเดิมก็ตาม เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วสูงขึ้น ดังนี้ ค่ารายปีนั้นก็คงนำมาใช้เป็นหลักสำหรับคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมาโดยไม่จำกัดว่าโรงเรือนที่ถูกประเมินนั้นจะได้ให้เช่ามาแล้วหรือเพิ่งจะให้เช่าเป็นครั้งแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญายอมความรื้ออาคาร: ไม่ผูกพันผู้เช่า, คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า, เจ้าหน้าที่ยังมีอำนาจตามกฎหมาย
การที่เจ้าของที่ดินและอาคารได้รับคำสั่งจากเทศบาลให้รื้อและเลิกใช้อาคาร และอัยการได้ฟ้องเจ้าของที่ดินเป็นคดีให้รื้อและเลิกใช้อาคาร เจ้าของที่ดินจึงทำยอมไว้ต่อศาลว่า ตนและบุคคลที่ได้รับสิทธิจากตนยอมรื้อและยอมเลิกใช้อาคาร ดังนี้ สัญญายอมความนี้ไม่ผูกพันผู้เช่าอาคารอยู่อาศัย ผู้เช่าอาคารอยู่อาศัยยังคงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯลฯเป็นปกติ แต่ถ้าอาคารหมดอายุจะเป็นภัย เจ้าหน้าที่ก็ยังมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5-6/96)
of 3