คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจแก้ไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนหนี้: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย vs. จำนวนหนี้ที่ต่างกัน
คำร้องของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระถึงวันฟ้องมีมากกว่าจำนวนหนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนเงินเพิ่มจากเดิมถึงสองหมื่นบาทเศษมิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาคดีไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเกินคำขอ และการลงโทษฐานชิงทรัพย์
จำเลยถูกฟ้องหลายข้อหาในคดีที่มีข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย เมื่อจำเลยฎีกาในข้อหาที่ไม่ต้องห้ามฎีกาหากศาลฎีกาเห็นว่า คดีมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนร้าย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาที่ต้องห้ามฎีกาได้ด้วย เมื่อคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายมาว่าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ไม่มีรายงานการตรวจชันสูตรบาดแผลแนบท้ายฟ้องทั้งผู้เสียหายก็มิได้เบิกความว่าได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ดังนี้จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง,340 ตรี เท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสาม,340 ตรี จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษโดยเพียงแต่ระบุมาตรา มิได้ระบุวรรคให้ชัดเจนนั้น แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาแต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องและชัดเจนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการใช้ค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 41(4) ให้อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องตามมาตรา 125และในกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ก็ให้มีอำนาจให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายได้ คำสั่งชี้ขาดดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าให้ถึงที่สุด คู่ความที่ไม่พอใจคำสั่งนั้น จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลแรงงานให้วินิจฉัยว่าคำสั่งดังกล่าวชอบหรือไม่อีกได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 8(4) หากศาลแรงงานเห็นว่า คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์หลังมีคำสั่งงดบังคับคดี: ศาลมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่ง
ฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ประการใดเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้ถอนการยึดทรัพย์โดยวินิจฉัยว่าการยึดทรัพย์จำเลยกระทำก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งศาลที่ให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เป็นการยึดทรัพย์ที่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้ ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาแต่เป็นคำสั่งโดยทั่วไป ซึ่งคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เพราะไม่มีบทกฎหมายจำกัดห้ามไว้
ในวันที่ศาลชั้นต้นแจ้งให้ศาลซึ่งได้รับมอบหมายให้บังคับคดีแทนให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยตามคำแถลงของผู้แทนโจทก์ จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องขอให้งดหรือยกเลิกการออกหมายบังคับคดีเพราะได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นว่าให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เรื่องทุเลาการบังคับคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(2) และมีความหมายเพียงว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งดังกล่าวก็ให้งดการบังคับคดีตามคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีงดการบังคับคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมเกิดผลแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนทำการยึดทรัพย์ในภายหลัง แม้จะอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งให้งดการบังคับคดี ก็เป็นการยึดทรัพย์ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้งดการบังคับคดีของศาลชั้นต้น ศาลย่อมมีอำนาจยกเลิกเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแก้ไขการประเมินภาษีที่ผิดพลาด: กรมสรรพากรมีอำนาจตรวจสอบและแก้ไขการประเมินภาษีที่ผิดพลาดได้ แม้ผู้เสียภาษีจะชำระภาษีตามการประเมินเดิมแล้ว
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าของโจทก์และโจทก์ได้ชำระภาษีตามที่ประเมินแล้วต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบว่าการประเมินภาษีนั้นไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะแก้การประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ตามอำนาจที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากรมาตรา19และมาตรา20.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ส่งเอกสารตามคำสั่งศาล & อำนาจแก้ไขคำสั่งที่ไม่ถูกต้องของศาลชั้นต้น
การที่โจทก์ไม่ส่งเอกสารตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกจากโจทก์เพื่อให้จำเลยตรวจดูก่อนจำเลยยื่นคำให้การนั้น ชอบที่ศาลจะสอบถามหรือไต่สวนให้ได้ความว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ศาลกำหนด หรือเป็นการขัดขืนไม่ส่งเอกสารในการพิจารณาคดี และดำเนินการต่อไปตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่อนุโลมให้ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าไม่มีเอกสารเช่นว่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยประสงค์จะอ้างเอกสารเพื่อจะสืบข้อเท็จจริงเรื่องใดจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงนั้นหรือไม่มีเอกสารเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 124
การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเข้าใจโดยผิดหลงศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ส่วนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์นั้น เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการที่ผู้อุทธรณ์จะปฏิบัติได้อีกทางหนึ่งเท่านั้นหาใช่เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นสั่งแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยผิดหลงเช่นนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์/ฎีกา ทำให้ศาลไม่มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าพร้อมทั้งดอกเบี้ยเป็นเงิน 47,339.95 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเพียง 46,591.95 บาท ตามคำฟ้องเดิมจึงเท่ากับว่าศาลพิพากษาให้จำเลยชำระไม่เต็มตามคำฟ้องโจทก์ เงินที่ขาดไปไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาไปตามลำดับ เมื่อโจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ ศาลย่อมไม่มีอำนาจแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขจำนวนเงินพิพากษาที่ผิดพลาด: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขจำนวนเงินในคำพิพากษาให้ถูกต้องตามที่ฟ้องและพยานหลักฐานนำสืบ
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิมพ์ตัวเลขจำนวนเงินผิด โจทก์ยื่นคำร้องในชั้นฎีกา ศาลฎีกาแก้จำนวนเงินที่พิมพ์ผิดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพลาดในคำฟ้องและบทลงโทษ ศาลมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายที่อ้างได้
ฟ้องกล่าวข้อเท็จจริงเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510แต่อ้างบทลงโทษเป็นบทใน พระราชบัญญัติ พ.ศ.2490ศาลชั้นต้นจึงลงโทษตามกฎหมายที่อ้างผิดไปด้วย ดังนี้ไม่ใช่อ้างบทกฎหมายที่ไม่มีมาใช้บังคับ ศาลพิพากษาแก้โดยใช้ พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลกรณีเยาวชนกระทำผิด – อำนาจแก้ไขเมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
ศาลพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยซึ่งมีอายุ 15 ปีไปสถานฝึกและอบรมจนกว่าจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์. ต่อมาบิดาจำเลยร้องขอรับจำเลยไปดูแลเอง โดยยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่ศาลจะกำหนด. ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้. ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 วรรคท้าย.
of 5