พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยขยายเวลายื่นอุทธรณ์: อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ไม่ใช่เหตุจำเป็นที่คาดไม่ถึง
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะต้องยื่น ก่อนสิ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัย การที่รถจักรยานยนต์ที่จำเลยนั่งมาประสบอุบัติเหตุ จนไม่สามารถไปพบทนายความคนใหม่ได้และไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นเวลาราชการในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยสามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายหลังที่สิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8663/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ขับรถที่หยุดรอโดยสารหลังเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับไม่ถือเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย
ผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่ต้องหยุดรถให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ ตาม พ.ร.บ.จราจร ทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 หมายถึง ผู้ควบคุมรถที่กำลังแล่นอยู่และมีความเสียหายเกิดขึ้น หาใช่ผู้ขับรถที่จอดอยู่หรือหยุดอยู่ไม่
จำเลยหยุดรถในช่องเดินรถด้ายซ้ายอยู่แล้ว โดยมีผู้โดยสารกำลังขึ้นรถ มิใช่ขับมาแล้วหยุดกะทันหัน การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์มาด้วยความประมาทเฉี่ยวชนท้ายรถแท๊กซี่ที่จำเลยขับ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อความเสียหายอันจะต้องหยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 วรรคหนึ่ง
จำเลยหยุดรถในช่องเดินรถด้ายซ้ายอยู่แล้ว โดยมีผู้โดยสารกำลังขึ้นรถ มิใช่ขับมาแล้วหยุดกะทันหัน การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์มาด้วยความประมาทเฉี่ยวชนท้ายรถแท๊กซี่ที่จำเลยขับ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อความเสียหายอันจะต้องหยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7285/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถในที่มืดโดยประมาทและการหลบหนีหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แต่ยังคงมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4) และมาตรา 78 วรรคหนึ่ง ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ขับขี่ซึ่งขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และลงโทษผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่ไม่
จำเลยกระทำโดยประมาทจอดรถยนต์บนถนนในที่มืดโดยไม่เปิดสัญญาณไฟและไม่ทำสัญญาณแสดงว่ามี รถยนต์จอดอยู่ เป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองซึ่งขับรถจักรยานยนต์นั่งซ้อนท้ายกันมาชนท้ายรถยนต์ของจำเลย แล้วจำเลยหลบหนีไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4), 78 วรรคหนึ่ง ตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
จำเลยกระทำโดยประมาทจอดรถยนต์บนถนนในที่มืดโดยไม่เปิดสัญญาณไฟและไม่ทำสัญญาณแสดงว่ามี รถยนต์จอดอยู่ เป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองซึ่งขับรถจักรยานยนต์นั่งซ้อนท้ายกันมาชนท้ายรถยนต์ของจำเลย แล้วจำเลยหลบหนีไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4), 78 วรรคหนึ่ง ตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุทางรถยนต์ และความรับผิดชอบทางกฎหมาย
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงรถโดยสารประจำทางที่จำเลยขับห่าง 1 เมตรเศษ แล้วรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับได้เสียหลักล้มลงรถยนต์โดยสารประจำทางที่จำเลยขับจึงได้แล่นทับผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับแซงแล้วเสียหลักล้มลงอย่างกะทันหันหน้ารถยนต์โดยสารประจำทางที่จำเลยขับห่าง 1 เมตรเศษ เป็นระยะกระชั้นชิดจนเหลือวิสัยที่จำเลยจะหยุดรถได้ทัน กรณีเป็นเหตุสุดวิสัยที่บุคคลในภาวะเช่นจำเลยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงมิใช่เกิดจากความประมาทของจำเลย
หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีไปโดยไม่ได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทันทีเพราะไปแจ้งให้เจ้าของรถทราบเหตุหาได้ไม่
หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีไปโดยไม่ได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทันทีเพราะไปแจ้งให้เจ้าของรถทราบเหตุหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการร่วมรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง
คู่สัญญามีความประสงค์จะทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กันตามหมายเลขทะเบียนของรถยนต์เป็นสำคัญ แม้ตามสัญญาประกันภัยที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยเป็นผู้ทำจะระบุเลขตัวถังของรถยนต์ผิดมาตลอดจนเกิดเหตุ แต่ในระหว่างนั้น จำเลยที่ 2 ก็จ่ายเบี้ยประกันภัยมาตลอด เมื่อเกิดเหตุขึ้นจำเลยที่ 4 ก็จ่ายค่าเสียหายตามสัญญาทุกครั้ง มิได้ยกขึ้นเป็นข้อโต้แย้ง จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4ได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2
กรมธรรม์ประกันภัยระบุความรับผิดต่อความมรณะไว้ว่า"เกิน 50,000 บาท ถึง 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน" ดังนี้ ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 4 ไว้ในความเสียหายส่วนที่เกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งความเสียหายส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท โจทก์ทั้งสองมีสิทธิที่จะได้รับจากจำเลยที่ 4 ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอยู่แล้วและจำเลยที่ 4 ยังต้องรับผิดในความเสียหายส่วนที่เกิน 50,000 บาท ด้วย แต่ความรับผิดทั้งหมดเมื่อรวมความรับผิดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้วต้องไม่เกินคนละ 100,000 บาท
กรมธรรม์ประกันภัยระบุความรับผิดต่อความมรณะไว้ว่า"เกิน 50,000 บาท ถึง 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน" ดังนี้ ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 4 ไว้ในความเสียหายส่วนที่เกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งความเสียหายส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท โจทก์ทั้งสองมีสิทธิที่จะได้รับจากจำเลยที่ 4 ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอยู่แล้วและจำเลยที่ 4 ยังต้องรับผิดในความเสียหายส่วนที่เกิน 50,000 บาท ด้วย แต่ความรับผิดทั้งหมดเมื่อรวมความรับผิดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้วต้องไม่เกินคนละ 100,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ – อุบัติเหตุทางรถยนต์ทำให้ไม่สามารถยื่นภายในกำหนดได้ ศาลอนุญาตให้ยื่นต่อศาลในเขตที่อยู่
ทนายจำเลยไปดูที่เกิดเหตุคดีอื่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา เวลา 8 นาฬิกา รถยนต์ที่ทนายจำเลยขับไปกระทบก้อนหิน ทำให้ก้นถังน้ำมันเครื่องแตกไม่สามารถซ่อมให้เสร็จในวันที่ครบกำหนดอุทธรณ์หรือหากเสร็จก็จะเป็นเวลาเย็น การที่ทนายจำเลยไปคนเดียวและรถของทนายจำเลยมีราคาสองล้านบาท ทั้งไม่รู้จักกับเจ้าของอู่ซ่อมรถจึงไม่อาจทิ้งรถไว้ได้ ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทนายจำเลยไม่อาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดลพบุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้ ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทนายจำเลยอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับผู้ขับขี่
โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ไว้กับจำเลย ตามกรมธรรม์ประกันภัยโจทก์ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลต่อการเสียชีวิตของบุคคลผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยมิได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์ไว้ แม้จะเป็นการประกันชีวิตแบบหนึ่ง แต่ก็มิใช่กรณีที่ผู้ตายเอาประกันชีวิตตนเองไว้ จึงแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่าประสงค์ที่จะให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ตกได้แก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยโดยตรง หาใช่เป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้ตายไม่ โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อการเสียชีวิตของผู้ตายซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ของโจทก์ในขณะเกิดเหตุจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล: สิทธิของผู้เอาประกันภัยโดยตรง
ตามกรมธรรม์ประกันภัยโจทก์ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลต่อการเสียชีวิตของบุคคลผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยมิได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์ไว้ แม้จะเป็นการประกันชีวิตแบบหนึ่ง แต่ก็มิใช่กรณีที่ผู้ตายเอาประกันชีวิตตนเองจึงแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่าประสงค์ที่จะให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ตกได้แก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยโดยตรง มิใช่เป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้นโจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อการเสียชีวิตของผู้ขับรถยนต์ของโจทก์ในขณะเกิดเหตุจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7470/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของบริษัทประกันภัยต่อค่าซ่อมรถและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หลังเกิดอุบัติเหตุ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ 15 ธันวาคม 2540 ทนายโจทก์และทนายจำเลยตกลงนัดวันสืบพยานไว้ล่วงหน้า 2 นัด คือวันที่ 22 มกราคมและ 23 กุมภาพันธ์ 2541 ชอบที่ทนายจำเลยจะเอาใจใส่ไม่นัดความซ้ำซ้อนหากพลั้งเผลอไปนัดวันซ้ำซ้อนก็ควรรีบร้องขอเลื่อนคดีแต่เนิ่น ๆ เพราะศาลชั้นต้นในคดีนี้อาจไม่ให้เลื่อนคดีก็ได้ ซึ่งทนายจำเลยก็ยังไปร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลชั้นต้นในคดีอื่นที่ตนนัดซ้ำซ้อนกับคดีนี้ไว้ได้ อีกทั้งวันที่ 22 มกราคม 2541 ทนายจำเลยก็หาได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีในนัดหน้าต่อศาลชั้นต้นไม่ การที่เพิ่งมอบหมายให้ผู้รับมอบฉันทะมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2541 โดยอ้างว่าทนายจำเลยติดว่าความอยู่ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และในวันใกล้เคียงกันก่อนหน้านี้ก็ติดว่าความอยู่ที่ศาลจังหวัดเชียงรายด้วย จึงจำต้องขอเลื่อนคดีเพื่อสะดวกแก่การเดินทางไปขึ้นศาลทางภาคเหนือในคราวเดียวกันแสดงว่าทนายจำเลยมุ่งแต่คำนึงถึงความสะดวกของตนฝ่ายเดียว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีชอบแล้ว
แม้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้วก็ไม่ตัดอำนาจของทายาทที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกได้
แม้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้วก็ไม่ตัดอำนาจของทายาทที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานหลบหนีหลังเกิดอุบัติเหตุ ต้องระบุถึงผลกระทบต่อผู้เสียหายหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่จำเป็น
กรณีที่ต้องบรรยายฟ้องว่า การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย เป็นกรณีที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคสอง แต่คดีนี้ฟ้องโจทก์ข้อ ข. กล่าวว่า "เมื่อจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่นดังกล่าวในฟ้องข้อ 1(ก) แล้วจำเลยได้หลบหนีไปทันทีไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่ไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ" และคำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78,160 เป็นการบรรยายฟ้องและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)(6) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคหนึ่งได้