พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกณฑ์แรงงาน/สิ่งของจากราษฎรโดยปลัดอำเภอ: อำนาจตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่
ปลัดอำเภอสั่งให้ราษฎรหาไม้มาซ่อมแซมสะพานสาธารณ แต่ราษฎรไม่ยอมนำมาดังนี้ ไม่ถือว่าราษฎรขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ม.118 มิได้ให้อำนาจกรมการอำเภอเกณฑ์วัตถุสิ่งของจากราษฎรมาใช้ในการซ่อมแซมทางสาธารณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีชิงทรัพย์ทำร้ายร่างกายสาหัส: เกณฑ์การพิจารณาบาดเจ็บสาหัสตามกฎหมาย และการเพิ่มโทษซ้ำ
ในชันสูตร์บาดแผลคำรับสารภาพโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพยายามชิงทรัพย์แลทำร้ายเจ้าเทรัพย์มีบาดเจ็บสาหัส จำเลย จะให้การรับสารภาพ ในใบชันสูตร์ว่าสาหัสแต่ไม่ปรากฏอาการที่เป็นลักษรสาหัสตามกฎหมายดังนี้ ศาลไม่ลงโทษตาม ม. 300 ตอน 2 โทษครั้งก่อนต้องเกินกว่า 6 เดือนจึงจะเพิ่มโทษตาม ม. 73 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งมรดกของญาติภรรยาเมื่อไม่มีบุตรและสินสมรสไม่ถึงเกณฑ์
มฤดกหญิงมีสามีแต่ไม่มีบุตรมีไม่ถึง 2 เท่าหรือกว่า 2+ทุนสินเดิม ญาติข้างหญิงไม่มีสิทธิขอแบ่งมฤดกนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับคดีมูลฝิ่น ให้ใช้ราคายาฝิ่นเป็นเกณฑ์
การคำนวณค่าปรับฐานมีมูลฝิ่นนั้นให้ถือเอาราคาฝิ่นเป็นเกณฑ์คำนวณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บาดแผลไม่สาหัส: เกณฑ์การพิจารณาความรุนแรงของบาดแผลต่อร่างกาย
อย่างไรเรียกว่าบาดแผลสาหัส ถูกทำร้ายบาดแผลตรงแสกหน้ายาว 2 นิ้วครึ่ง กว้าง 1 กะเบียด แผลหายแล้วอยู่ห่างกัน 4 วา มองเห็นแผลไม่ชัด ห่างกัน 2 วาเห็นถนัด ดังนี้ยังไม่เรียกว่าบาดแผลสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8302/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องพิจารณาขนาดทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะ การใช้เกณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกันถือว่าไม่ถูกต้อง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีประจำปีภาษี 2552 ที่พิพาท เท่ากับปีภาษี 2551 ซึ่งเป็นปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว แต่ค่ารายปีของทรัพย์สินแต่ละรายอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้แล้วแต่ข้อเท็จจริงของแต่ละปี ทั้งนี้การพิจารณาเพิ่มหรือลดค่ารายปีต้องมีเหตุผลและต้องคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนพิพาทครั้งแรกเมื่อปีภาษี 2548 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์ตามอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางที่จำเลยกำหนดในบันทึกข้อความที่ กท 7000/2912 ซึ่งโรงเรือนของโจทก์จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ต่อมาจำเลยมีบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 จัดกลุ่มตามพื้นที่ที่ตั้งเขตใหม่ ทำให้โรงเรือนของโจทก์จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 และมีอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางต่ำลง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เท่ากับค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วและนำไปเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 455/1-2 ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 3 ซึ่งมีความกว้างกว่าถนนเจริญราษฎร์ที่โรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ อีกทั้งมีราคาประเมินที่ดินที่สูงกว่า และนำไปเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 3609/9 ซึ่งไม่ได้ประกอบธุรกิจในลักษณะเดียวกันกับโจทก์ โดยไม่นำไปเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 358/1 และโรงเรือนเลขที่ 299/10 ซึ่งเป็นอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันกับโจทก์ และเจ้าพนักงานของจำเลยประเมินค่ารายปีโรงเรือนทั้งสองแห่งดังกล่าวโดยใช้อัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางตามบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 อันแสดงให้เห็นว่าการกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยสำหรับอาคารลักษณะพิเศษในเขตเดียวกันใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ทำให้โจทก์ต้องรับภาระภาษีมากกว่าโรงเรือนรายอื่นที่มีลักษณะทรัพย์สินคล้ายคลึงกับโจทก์ที่ตั้งอยู่ในเขตเดียวกัน อันก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของผู้เสียภาษี การกำหนด ค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยสำหรับโรงเรือนของโจทก์จึงยังไม่เหมาะสมและไม่มีเหตุผลเพียงพอ กรณีจึงมีพฤติการณ์และเหตุผลอันสมควรให้ประเมินค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์โดยใช้อัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางตามบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 ซึ่งเป็นคุณแก่โจทก์มากกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกณฑ์รอการลงโทษมาตรา 56: พิจารณาโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษคดีอื่น
หลักเกณฑ์การรอการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ต้องพิจารณาโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีนั้น ๆ ว่าต้องคำพิพากษาให้จำคุกเกิน 6 เดือนหรือไม่ ซึ่งหมายถึงโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษที่รอการลงโทษในคดีอื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำเลยที่ 5 ให้จำคุกไม่เกิน 6 เดือน แม้ศาลคดีก่อนจะนำโทษจำคุกของจำเลยที่ 5 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกคดีละ 4 เดือน เป็นจำคุก 14 เดือน ก็ยังถือว่าอยู่ในเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ได้