คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินกู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์: หน้าที่ของคู่สัญญาในการจัดหาเงินกู้และการโอนกรรมสิทธิ์
ตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญามีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การชำระเงินงวดสุดท้ายชำระในวันที่โจทก์ทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย โดยโจทก์จะพาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคาร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพาจำเลยไปจดทะเบียนจำนองกู้เงินจากธนาคารตามสัญญา เมื่อโจทก์เพียงแต่แนะนำให้จำเลยไปติดต่อกับธนาคารเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารมาชำระหนี้ค่าซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทเท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้เป็นผู้พาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาดังกล่าวอีกทั้งโจทก์ได้นัดหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทที่สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 25 ธันวาคม 2534 โดยให้จำเลยชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 420,750 บาท ในวันดังกล่าวด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามนัด และได้ทำบันทึกโต้แย้งว่าจำนวนเงิน 420,750 บาท นั้น โจทก์ต้องเป็นผู้จัดการนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินเข้าจำนองแก่ธนาคารให้จำเลย แสดงว่าจำเลยถือเอาข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญในการทำสัญญาซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทจากโจทก์ แม้จำเลยนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเอง และขอยืมจากผู้อื่นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพราะจำเลยต้องการจะได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทและกลัวว่าจะถูกโจทก์ยึดไปเท่านั้น จะถือว่าจำเลยสละข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินกับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, การมอบอำนาจ, และการพิสูจน์หนี้เงินกู้: การรับฟังพยานหลักฐานและการค้ำประกัน
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1144,1158 และ 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกัน แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจ ให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นมาฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้ บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้ แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการ มอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใด โดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็น พยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาต คัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้ คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังพยานหลักฐานได้ ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้ด้วยการโอนเงินทางโทรศัพท์ทำให้หนี้ระงับ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยโอนเงินทางโทรศัพท์เข้าบัญชีโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653แต่เป็นการชำระหนี้อย่างอื่น เมื่อโจทก์ยอมรับแล้วหนี้เงินกู้จึงระงับลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการมอบสิทธิถอนเงินจากบัญชี และการรับชำระหนี้บางส่วนโดยเจ้าหนี้
ล.ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์รวม 275,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 1ค้ำประกัน และ ล.ได้มอบสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้ไว้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปถอนเงินเดือนของ ล.จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โจทก์ถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติรวม 345,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนนี้หักชำระหนี้จากเงินที่ ล.กู้จากโจทก์จำนวน 275,000 บาท แต่เงินที่โจทก์ถอนมาทั้งหมดอันจะนำไปหักชำระหนี้นั้นเป็นการชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้ความว่าคงเหลือต้นเงินเท่าใด และโจทก์ก็อ้างว่า ล.ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์เลยดังนั้นจึงกำหนดต้นเงินตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การยอมรับว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนไปแล้วเป็นเงิน 210,000 บาท
การที่ ล.มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 แม้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ก็รับฟังได้ว่า ล.ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7863/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ทรัพย์สินแทนเงินกู้: โมฆะหากราคาไม่สมเหตุสมผล
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีใจความว่า ถ้าโจทก์ผู้กู้ไม่นำเงินมาชำระคืนแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ตามกำหนด ผู้กู้ยืนยอมยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง และสัญญากู้ยืมไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินคืนไว้ ความตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ได้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินนั้น ในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบซึ่งขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง ความตกลงของโจทก์และผู้ร้องตามสัญญาข้อนี้จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม ดังนั้น แม้โจทก์ยื่นคำแถลงรวมทั้งเบิกความยืนยันว่าขอยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ บ้านจึงยังคงเป็นของโจทก์ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7302/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยเงินกู้: โจทก์ต้องนำสืบประกาศกระทรวงการคลังเพื่ออ้างสิทธิ
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2524ข้อ 3 ที่ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีนั้น แม้จะออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 (4) และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ก็ตาม ก็มิใช่เป็นข้อกฎหมายอันถือเป็นเรื่องที่ศาลจะรับรู้ได้เอง คงถือได้แต่เพียงเป็นประกาศที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงประกาศดังกล่าวโจทก์จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 และ 19 ต่อปี โดยอาศัยประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวหาได้ไม่
ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองไม่แก้อุทธรณ์จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้ 2,000 บาท นั้นเห็นได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งน่าจะเกิดจากการพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขข้อผิดผลาดหรือข้อผิดหลงดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินวางมัดจำซื้อขายที่ดิน vs. เงินกู้: การนำสืบข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ความไม่มีมูลหนี้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้จำนวน277,000บาทตามเอกสารสัญญากู้ยืมเงินจำเลยให้การว่าโจทก์จะซื้อที่ดินจากจำเลยได้วางเงินมัดจำ277,000บาทแก่จำเลยเอกสารสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่หลักฐานการกู้เงินจำเลยจึงนำสืบข้อเท็จจริงตามคำให้การได้ว่าเงินตามที่ระบุไว้ในเอกสารดังกล่าวเป็นเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยเพราะเป็นการนำสืบถึงความไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดหรืออีกนัยหนึ่งหนี้ที่ระบุในสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้รับจำนอง: แม้เงินกู้มาจากบิดา โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้ก็มีอำนาจฟ้องผู้กู้ได้
โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองซึ่งเป็นผู้ให้กู้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้จำนองหรือผู้กู้ได้แม้เงินกู้ที่ผู้จำนองรับไปจะเป็นเงินของบิดาโจทก์เพราะเป็นเรื่องที่บิดาโจทก์เจตนาช่วยออกเงินกู้ให้แทนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3337/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การชำระหนี้เงินกู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653: หลักฐานลายมือชื่อผู้ให้ยืม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริง แต่ได้ชำระหนี้บางส่วนให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยย่อมมีภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบว่าได้ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์แล้วบางส่วนตามคำให้การ แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง การที่จำเลยจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงเมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานเอกสารลงลายมือชื่อของโจทก์มาแสดงเป็นพยานหลักฐานในคดี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้นำสืบเรื่องการชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ แม้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมสมควรอย่างยิ่งที่จะให้จำเลยนำพยานบุคคลและเอกสารการชำระเงินที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์มานำสืบก็ตาม แต่ศาลก็ไม่อาจอนุญาตหรือรับฟังพยาน-หลักฐานเช่นนั้นได้ เพราะต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 94 อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6153/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความระยะเวลาค้างชำระดอกเบี้ยเงินกู้ และการทบต้นดอกเบี้ย
ข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กับข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี มีความหมายแตกต่างกัน หามีความหมายเหมือนกันไม่ กล่าวคือ ข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นั้น หมายความว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยระยะเวลาตั้งแต่วันครบ 1 ปี เป็นต้นไป ส่วนข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปีหมายความว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยระยะเวลาถัดจากวันครบ 1 ปี เป็นต้นไปดังนั้น ที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองผิดนัดค้างชำระงวดที่สามและงวดที่สี่มาทบต้นในวันครบกำหนด 1 ปี พอดี จึงถือได้ว่าโจทก์ได้นำดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองผิดนัดค้างชำระเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี มาทบต้นเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาแล้ว ดอกเบี้ยหาตกเป็นโมฆะไม่
of 11