พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8363/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเพิกถอนสัมปทานป่าไม้ และการปฏิบัติตามขั้นตอนการขอรับเงินชดเชย
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า การประกาศยกเลิกสัมปทานทำไม้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่มีต่อโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นการจงใจกระทำผิดกฎหมายผิดสัญญาและเป็นการละเมิดต่อโจทก์และเรียกค่าเสียหาย อันเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในลักษณะละเมิดและผิดสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเงินชดเชยความเสียหายเพียงประการเดียวจึงไม่อยู่ในบังคับของเงื่อนไขในการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 68 ทศโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ สัมปทานทำไม้เป็นการอนุญาตให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยออกคำสั่งให้สัมปทานการทำไม้หวงห้ามทุกชนิดทั่วประเทศรวมทั้งของโจทก์สิ้นสุดลง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ เงินประกันการปฏิบัติตามสัมปทานการทำไม้หวงห้ามเป็นเงิน ที่โจทก์ผู้รับสัมปทานวางไว้เพื่อเป็นประกันในการที่โจทก์ จะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัมปทาน ผู้ให้ สัมปทานจะริบได้ต้องเป็นกรณีมีการเพิกถอนสัมปทานโดย ผู้รับสัมปทานปฏิบัติผิดข้อกำหนดหรือเงื่อนไขตามสัมปทานการทำไม้ ข้อ 33 เท่านั้น แต่กรณีที่รัฐบาลออกกฎหมายและมีคำสั่งให้สัมปทานการทำไม้ทั่วประเทศสิ้นสุดลง มิใช่เป็นการสั่งเพิกถอนตามสัมปทานข้อ 33 จึงไม่มีสิทธิที่จะริบเงินประกันต้องคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 68 อัฏฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยตามมาตรา 68 ทศเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2533 และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยในวันที่ 22 มกราคม 2533 ซึ่งรัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัยเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5330/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชยค่าพาหนะส่วนตัวของพนักงานไม่ได้รับยกเว้นภาษี หากไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปโดยสุจริตและเบิกคืนทั้งหมด
เงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายแก่พนักงานที่นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้แก่โจทก์ ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) เพราะมิใช่จำนวนเงินที่พนักงานได้จ่ายเป็นค่าพาหนะไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นตามความเป็นจริงแล้วเบิกคืนจากโจทก์ตามจำนวนที่ถูกต้องตรงกันไม่เหลือเป็นประโยชน์แก่พนักงาน อย่างไรก็ดี เงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกิโลเมตรละ 90 สตางค์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(2) โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 และ 52เฉพาะเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายส่วนที่เกินกิโลเมตรละ 90 สตางค์เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ โจทก์จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'เงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า' ไม่รวมถึงค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่า "อัตราการจ่ายเงินจำนวนเท่ากับอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างปกติในขณะนั้นหนึ่งเดือนทุกเวลาหนึ่งปีเต็มที่ผู้นั้นได้ทำงานกับบริษัทโดยติดต่อกัน หักด้วยเงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าหรือเงินทดแทนอื่นใดในการสูญเสียงาน ซึ่งพนักงานผู้นั้นมีสิทธิได้รับตามข้อความในสัญญาจ้างหรือกฎหมาย" คำว่า "เงินชดเชยการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า" นั้นมีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงเงินที่ให้แทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า ไม่อาจแปลว่าเป็นเงิน "ค่าชดเชย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบข้อบังคับนายจ้างจ่ายเงินชดเชยมากกว่ากฎหมาย เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
แม้ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างจะกำหนดให้จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างในกรณีลาออกไว้ด้วย ก็เป็นการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ซึ่งเป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่า เมื่อหลักเกณฑ์การคำนวณเงินชดเชยในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างคล้ายกับหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ การจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบข้อบังคับเช่นว่านั้น จึงเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดคดีเนื่องจากจำเลยถึงแก่กรรมก่อนศาลพิจารณาฟ้องแย้งเรื่องการหย่าและการแบ่งเงินชดเชย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนหย่าให้จำเลยตามข้อตกลง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยยื่นฎีกาขอให้รับฟ้องแย้งไว้พิจารณา เมื่อจำเลยถึงแก่กรรม การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลง จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชยและเงินกินเปล่าจากการจัดสรรที่ดินถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินและได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา ๔๒ (๙)
โจทก์ทำสัญญาร่วมพัฒนาที่ดินเพื่อแบ่งขายกับบริษัท ท. และบริษัท บ. โดยมีข้อตกลงว่าให้บริษัททั้งสองเป็นผู้ลงทุนแบ่งที่ดินของโจทก์เป็นแปลงย่อย ตัดถนนสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ปลูกสร้างบ้านและขายที่ดินของโจทก์ โดยบริษัททั้งสองจะขายที่ดินของโจทก์ได้ในราคาตามที่เห็นสมควร แต่ต้องชำระราคาที่ดินให้โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ ส่วนที่ดินที่ใช้ในการตัดถนนและสร้างสิ่งสาธารณูปโภคซึ่งไม่อาจขายให้แก่ผู้ใดบริษัททั้งสองตกลงชดเชยราคาแห่งที่ดินที่เสียไปให้ อีกทั้งได้จ่ายเงินกินเปล่าให้โจทก์อีกจำนวนหนึ่งตอยแทนการที่โจทก์มอบสิทธิในการจัดสรรที่ดินให้ ดังนี้ การจัดสรรที่ดินจำเป็นต้องสร้างถนนและสิ่งสาธารณูปโภค และเมื่อได้กระทำแล้วทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นและมูลค่าดังกล่าวตกอยู่แก่ที่ดินที่เหลือ เมื่อโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินเอง จึงรวมมูลค่าที่ดินที่เสียไปดังกล่าวเข้าไปในราคาที่ดินที่เหลือไม่ได้ ดังนั้น เงินค่าชดเชยราคาที่ดินที่เสียไปจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดิน และตามข้อสัญญายินยอมให้บริษัท ท.และบริษัท บ. ขายที่ดินที่พัฒนาแล้วราคาเท่าใดก็ได้ เพียงแต่ต้องชำระที่ดินให้โจทก์ตามราคาที่ตกลงกันไว้ และเมื่อมีการเลิกสัญญากับบริษัททั้งสองมีสิทธิขอซื้อที่ดินที่ยังไม่มีผู้ซื้อตามราคาดังกล่าว ดังนั้นการที่บริษัททั้งสองให้เงินกินเปล่าแก่โจทก์ก็เป็นเพราะเหตุที่โจทก์ตกลงรับเงินค่าที่ดินในราคาที่ตกลงกันไว้ เงินกินเปล่าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินของโจทก์ เงินทั้งสองรายการดังกล่าวโจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความทางภาษี: เงินชดเชยที่ดินและเงินกินเปล่าจากการจัดสรรที่ดินถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาขายที่ดินและได้รับการยกเว้นภาษี
โจทก์ทำสัญญาร่วมพัฒนาที่ดินเพื่อแบ่งขายกับบริษัท ท.และบริษัท บ. โดยมีข้อตกลงว่าให้บริษัททั้งสองเป็นผู้ลงทุนแบ่งที่ดินของโจทก์เป็นแปลงย่อย ตัดถนนสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ปลูกสร้างบ้านและขายที่ดินของโจทก์ โดยบริษัททั้งสองจะขายที่ดินของโจทก์ได้ในราคาตามที่เห็นสมควร แต่ต้องชำระราคาที่ดินให้โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ ส่วนที่ดินที่ใช้ในการตัดถนนและสร้างสิ่งสาธารณูปโภคซึ่งไม่อาจขายให้แก่ผู้ใดบริษัททั้งสองตกลงชดเชยราคาแห่งที่ดินที่เสียไปให้ อีกทั้งได้จ่ายเงินกินเปล่าให้โจทก์อีกจำนวนหนึ่งตอบแทนการที่โจทก์มอบสิทธิในการจัดสรรที่ดินให้ ดังนี้ การจัดสรรที่ดินจำเป็นต้องสร้างถนนและสิ่งสาธารณูปโภคและเมื่อได้กระทำแล้วทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นและมูลค่าดังกล่าวตกอยู่แก่ที่ดินที่เหลือ เมื่อโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินเอง จึงรวมมูลค่าที่ดินที่เสียไปดังกล่าวเข้าไปในราคาที่ดินที่เหลือไม่ได้ ดังนั้นเงินค่าชดเชยราคาที่ดินที่เสียไปจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินและตามข้อสัญญาโจทก์ยินยอมให้บริษัท ท. และบริษัท บ.ขายที่ดินที่พัฒนาแล้วราคาเท่าใดก็ได้ เพียงแต่ต้องชำระที่ดินให้โจทก์ตามราคาที่ตกลงกันไว้ และเมื่อมีการเลิกสัญญากันบริษัททั้งสองมีสิทธิขอซื้อที่ดินที่ยังไม่มีผู้ซื้อตามราคาดังกล่าวดังนั้นการที่บริษัททั้งสองให้เงินกินเปล่าแก่โจทก์ก็เป็นเพราะเหตุที่โจทก์ตกลงรับเงินค่าที่ดินในราคาที่ตกลงกันไว้ เงินกินเปล่าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินของโจทก์ เงินทั้งสองรายการดังกล่าวจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ และการคิดดอกเบี้ยจากวันฟ้องในคดีแรงงาน
เงินบำเหน็จเป็นผลประโยชน์นอกเหนือไปจากค่าชดเชย ซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น ข้อบังคับของนายจ้างที่ให้หักค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ จึงหาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ แต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยไว้ด้วย นายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างเมื่อใดจะถือว่านายจ้างผิดนัดแล้วหาได้ไม่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่ายซ้ำซ้อนจากเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและขัดกฎหมาย
การหักภาษี ณ ที่จ่ายส่งอำเภอตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 50,52 นั้นย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าหมายถึงกรณีที่เงินได้นั้นยังไม่มีการหักภาษีไว้แต่เงินได้จากค่าชดเชยของคนงานรายนี้ได้มีการหักภาษีเงินได้ไว้ที่กระทรวงการคลังตั้งแต่ตอนที่เบิกเงินค่าชดเชยนั้นมาเพื่อจ่ายให้คนงานแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เลิกจ้างคนงานเหล่านั้นจะหักภาษีจากเงินได้รายนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งในตอนจ่าย ซึ่งถ้าหากทำเช่นนั้นก็จะกลายเป็นการหักภาษีจากผู้มีเงินได้ซ้ำสองหนจากรายได้ค่าชดเชยจำนวนเดียวกัน อันไม่เป็นธรรมแก่ผู้มีเงินได้ และไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำเช่นนั้นได้ดังนั้นการที่โจทก์ไม่หักภาษีเงินได้จากค่าชดเชยดังกล่าวส่งอำเภอจึงไม่มีเหตุที่จะเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินเดือนชำระหนี้จากการเบียดบังยักยอก และสิทธิเรียกร้องเงินชดเชยจากนายจ้าง ฟ้องแย้งเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
บริษัทโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ได้เบียดบังยักยอกเอาเงินของโจทก์ไป โจทก์ได้หักเงินเดือน เงินโบนัส และเงินสะสม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิได้จากโจทก์เอาชำระหนี้บางส่วนแล้ว จึงขอให้ชำระเงินที่เหลือให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธว่ามิได้เบียดบังยักยอกเงินของโจทก์ คดีจึงมีประเด็นจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ได้เบียดบังยักยอกเงินของโจทก์หรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด ที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้บังคับให้โจทก์ส่งมอบคืนเงินของจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์หักเอาไว้ชำระหนี้นั้นจึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จ่ายเงินชดเชยให้จำเลยที่ 1 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) และคืนเงินที่จำเลยที่ 1ได้วางเป็นประกันกับโจทก์ก่อนเข้ารับตำแหน่งเป็นพนักงานขายปลีกของโจทก์นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากโจทก์หรือไม่เป็นจำนวนเท่าใด จำเลยที่ 1 ได้วางเงินประกันไว้กับโจทก์หรือไม่เป็นจำนวนเท่าใด ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมจึงไม่รับฟ้องแย้งส่วนนี้