คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินตราต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารซื้อขายสิทธิเรียกร้องเงินตราต่างประเทศ ไม่ใช่ตั๋วเงิน อายุความ 3 ปี, การค้า, การรับชำระหนี้
โจทก์ขายสิทธิเรียกร้องเงินเหรียญฮ่องกง ให้จำเลยโดยโจทก์ออกตั๋วแสดงว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจำนวนเงินเหรียญดังกล่าวจากอีกบริษัทหนึ่งและจำเลยสัญญาจะจ่ายเงินไทยให้โจทก์ตามอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเอกสารนั้นไม่ระบุว่าเป็นตั๋วแลกเงินประเภทใดและไม่มีลักษณะให้เห็นว่าเปลี่ยนมือกันได้จึงไม่มีสภาพเป็นตั๋วเงินและถืออายุความ3 ปี อย่างตั๋วเงินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาตและผลของการไม่โต้แย้งคดีถึงที่สุด
นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น เมื่อศาลพิพากษาลงโทษและริบเงินตราต่างประเทศของกลางทั้งหมดแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งประการใด แล้วภายหลังจะมาร้องขอเงินตราต่างประเทศของกลางคืนบางส่วน โดยอ้างว่าเป็นจำนวนเงินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาตให้นำติดตัวเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น ย่อมไม่ได้ เพราะคดีถึงที่สุดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศและการหักกลบหนี้ตามสัญญาซื้อขาย
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยผิดสัญญาให้ใช้ค่าเสียหายจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาขอให้ยกฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าต่างผิดสัญญาฝ่ายโจทก์ต้องให้ใช้จำเลยเป็นเงินเหรียญต่างประเทศ ฝ่ายจำเลยต้องใช้ให้โจทก์เป็นเงินบาทและเงินเหรียญ ดังนี้เป็นเรื่องต่างฝ่ายต่างจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้โดยทรัพย์สินต่างประเภทอันจะหักทอนกันมิได้ แม้จำเลยจะยกข้อผิดสัญญาขึ้นต่อสู้เพียงให้ยกฟ้องก็ดี ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับได้เพียงเท่าที่ไม่เกินคำขอของโจทก์ คือพิพากษาให้ต่างฝ่ายต่างชำระหนี้แก่กันเป็นเงินตราคนละประเภท แต่สำหรับเงินตราต่างประเทศนั้นให้คิดแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทเสียตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชในกรุงเทพฯ เมื่อคำนวณได้เท่าใดให้หักกลบลบกัน ถ้าจำนวนที่จำเลยจะต้องชำระยังเหลืออีกก็ให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์จนครบถ้าไม่มีเหลือหรือจำนวนที่โจทก์จะต้องชำระมากกว่าก็ให้ยกฟ้องโจทก์เสีย
สัญญากันว่าจะชำระหนี้เป็นเงินเหรียญมะลายู และชำระที่สิงคโปร์แต่สถานเดียวดังนี้จะต้องชำระหนี้กันเป็นเงินเหรียญมลายู จะชำระเป็นเงินไทยไม่ได้ เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมมิฉะนั้นย่อมถือว่าฝ่ายชำระหนี้ผิดสัญญา
หนี้เป็นเงินตราต่างประเทศนั้นเมื่อจะต้องชำระตามคำบังคับของศาลในประเทศไทยก็จะต้องเปลี่ยนเป็นเงินตรา ของประเทศไทยซึ่งมาตรา 196 แห่ง ป.ม.แพ่งฯ บัญญัติให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 196 นั้น ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีซึ่งโดยปกติก็คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชในกรุงเทพฯ
ในกรณีที่จะต้องชำระหนี้กันเป็นเงินตามต่างประเทศนั้นเพื่อสดวกแก่การบังคับคดี ศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินเป็นเงินตามต่างประเทศ หรือมิฉะนั้นให้คิดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นเป็นเงินไทย โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิช ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้น ก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ และผลของการผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยผิดสัญญาให้ใช้ค่าเสียหายจำเลยต่อสู้ว่า โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา ขอให้ยกฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าต่างฝ่ายต่างผิดสัญญาฝ่ายโจทก์ต้องใช้ให้จำเลยเป็นเงินเหรียญต่างประเทศ ฝ่ายจำเลยต้องใช้ให้โจทก์เป็นเงินบาทและเงินเหรียญ ดังนี้ เป็นเรื่องต่างฝ่ายต่างจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ โดยทรัพย์สินต่างประเภทอันจะหักทอนกันมิได้ แม้จำเลยจะยกข้อผิดสัญญาขึ้นต่อสู้เพียงให้ยกฟ้องก็ดี ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับได้เพียงเท่าที่ไม่เกินคำขอของโจทก์ คือพิพากษาให้ต่างฝ่ายต่างชำระหนี้แก่กันเป็นเงินตราคนละประเภท แต่สำหรับเงินตราต่างประเทศนั้น ให้คิดแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทเสียตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพฯ เมื่อคำนวณได้เท่าใดให้หักกลบลบกัน ถ้าจำนวนที่จำเลยจะต้องชำระยังเหลืออีกก็ให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์จนครบ ถ้าไม่มีเหลือ หรือจำนวนที่โจทก์จะต้องชำระมากกว่า ก็ให้ยกฟ้องโจทก์เสีย
สัญญากันว่าจะชำระหนี้เป็นเงินเหรียญมะลายู และชำระที่สิงคโปร์แต่สถานเดียว ดังนี้ จะต้องชำระหนี้กันเป็นเงินเหรียญมลายู จะชำระเป็นเงินไทยไม่ได้ เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอม มิฉะนั้นย่อมถือว่า ฝ่ายชำระหนี้ผิดสัญญา
หนี้เป็นเงินตราต่างประเทศนั้น เมื่อจะต้องชำระตามคำบังคับของศาลในประเทศไทยก็จะต้องเปลี่ยนเป็นเงินตราของประเทศไทยซึ่ง มาตรา 196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา196 นั้น ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งโดยปกติก็คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพฯ
ในกรณีที่จะต้องชำระหนี้กันเป็นเงินตราต่างประเทศนั้นเพื่อสะดวกแก่การบังคับคดี ศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินเป็นเงินตราต่างประเทศ หรือมิฉะนั้นให้คิดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นเป็นเงินไทย โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ฯ ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้น ก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าเงินตราต่างประเทศเกินกำหนด และการริบของกลางตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
เงินตราต่างประเทศ ที่เกินกว่า 1000 บาท ซึ่งจำเลยพยายามนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร 2469 และตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉะบับที่ 9) 2482 ด้วย จึงเป็นของต้องริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉะบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 17.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าเงินตราต่างประเทศเกินกำหนดและผลทางกฎหมายการริบของกลาง
เงินตราต่างประเทศ ที่เกินกว่า 1000 บาท ซึ่งจำเลยพยายามนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร 2469และตามมาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9)2482 ด้วย จึงเป็นของต้องริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่9) พ.ศ.2482 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: ใช้ราคาทางการสุดท้ายก่อนมีควบคุม แม้ตลาดมืดมีราคาต่าง
ในกรณีที่ไม่ปรากฎอัตราแลกเปลี่ยนเงินอันแน่นอนเพราะเหตุทางการห้ามการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้น ต้องถือเอาอัตราแลกเปลี่ยนครั้งสุดท้ายที่ทางการกำหนดไว้ก่อนมีการควบคุม จะถือเอาอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในตลาดมืดมาใช้ไม่ได้
ศาลชั้นต้นตัดสินให้จำเลยใช้เงินอัตรารูเปียละหนึ่งบาท จำเลยยอมไม่อุทธรณ์แม้ศาลอุทธรณ์จะเห็นว่าจำเลยควรต้องใช้น้อยกว่านี้ ก็ไม่อาจแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: ใช้ราคาทางการล่าสุดก่อนมีกฎหมายควบคุม แม้มีการเปลี่ยนแปลงในตลาดมืด
ในกรณีที่ไม่ปรากฏอัตราแลกเปลี่ยนเงินอันแน่นอนเพราะเหตุทางการห้ามการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้น ต้องถือเอาอัตราแลกเปลี่ยนครั้งสุดท้ายที่ทางการกำหนดไว้ก่อนมีการควบคุม จะถือเอาอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในตลาดมืดมาใช้ไม่ได้
ศาลชั้นต้นตัดสินให้จำเลยใช้เงินในอัตรารูเปียละหนึ่งบาทจำเลยยอมไม่อุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะเห็นว่าจำเลยควรต้องใช้น้อยกว่านี้ ก็ไม่อาจแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต: การรับสารภาพและข้อเท็จจริงที่ยุติ
ประกาสกะซวงการคลังว่าด้วยการนำเงินตราต่างประเทสเข้ามาไนราชอานาจักรฉบับวันที่ 24 มกราคม 2485
ไนคดีที่โจทฟ้องว่าจำเลยเปนผู้นำเงินตราต่างประเทสเข้ามาไนราชอานาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยไห้การรับสารภาพตามฟ้อง ไม่มีการสืบพยานกันนั้น สาลต้องพิพากสาลงโทสจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร การจับกุมก่อนถึงด่าน การไม่มีความผิด
เมื่อสาลเห็นว่าการกะทำของจำเลยไม่เปนผิด แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ สาลก็ยกขึ้นวินิฉัยไม่เอาผิดแก่จำเลยได้
จำเลยถูกจับถานนำเงินตราต่างประเทสเข้ามาไนราชอานาจักรก่อนถึงถานพรมแดน คือยังมิทันนำเงินล่วงพ้นด่านเข้ามานั้น ยังไม่มีความผิด แต่เงินตราต่างประเทสต้องยึดไว้ไห้โอกาสจำเลยปติบัติตามกดหมายว่าด้วยการนำเงินตราต่างประเทสเข้ามาไนราชอานาจักร
อ้างดีกาที่ 811/2483
ธนบัตรไทยของจำเลยที่ถูกจับรวมกับเงินตามต่างประเทศนั้น ก็ยังเปนธนบัตรไทยหยู่นั่นเอง เงินตราต่างประเทสที่จะนำเข้ามาไนราชอานาจักรและจะ+ไห้โอกาสแก่จำเลยขออนุญาต+ไว้ทั้งหมด ไม่ใช่ยึดไว้ฉเพาะส่วนที่เกินพันบาท
of 5