คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดี, การหักชำระหนี้ด้วยเงินประกัน, และเบี้ยปรับจากสัญญาเช่า
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยได้กำหนดนัดไว้ก่อนวันนัดถึง 2 เดือนเศษ และคดีนี้จำเลยได้ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้วจนกระทั่งศาลชั้นต้นต้องกำชับจำเลยว่าจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก การที่ทนายจำเลยจะขอเลื่อนคดีไปอีก จึงต้องเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งและไม่อาจก้าวล่วงได้ เมื่อตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยดังกล่าวไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนและสำคัญยิ่งไปกว่ากำหนดที่ได้นัดกับศาลชั้นต้นและคู่ความอีกฝ่าย การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีจึงชอบแล้ว
ในคดีก่อนคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีสิทธิขอรับเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลยมีสิทธิเรียกเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท คืนจากโจทก์หรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิขอให้นำเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท มาหักชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ประเด็นจึงต่างกัน ไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนมาผูกพันจำเลยในคดีนี้ได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ลูกหนี้จึงมีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ เงินประกันการเช่าดังกล่าวแม้ในสัญญาเช่าจะไม่เรียกเบี้ยปรับ แต่ข้อที่กำหนดไว้ในสัญญาที่ให้ลูกหนี้อาจใช้สิทธิริบเอาได้นั้นมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากเงินประกันการเช่าหลังผิดสัญญาเช่า และการหักชำระหนี้ค่าเช่าและค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยได้กำหนดนัดไว้ก่อนวันนัดถึง 2 เดือนเศษและคดีนี้จำเลยได้ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้วจนกระทั่งศาลชั้นต้นต้องกำชับจำเลยว่าจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก ดังนี้ การที่ทนายจำเลยจะขอเลื่อนคดีไปอีก จึงต้องเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งและไม่อาจก้าวล่วงได้ เมื่อตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยดังกล่าวไม่ได้แสดงให้เห็นว่า การขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนและสำคัญยิ่งไปกว่ากำหนดที่ได้นัดกับศาลชั้นต้นและคู่ความอีกฝ่าย การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีจึงชอบแล้ว
คดีก่อนคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีสิทธิขอรับเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลยมีสิทธิเรียกเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท คืนจากโจทก์หรือไม่ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิขอให้นำเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาทมาหักชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ประเด็นจึงต่างกัน ไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนมาผูกพันจำเลยในคดีนี้ได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ลูกหนี้จึงมีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ เงินประกันการเช่าดังกล่าวแม้ในสัญญาเช่าจะไม่เรียกเบี้ยปรับ แต่ข้อที่กำหนดไว้ในสัญญาที่ให้ลูกหนี้อาจใช้สิทธิริบเอาได้นั้นมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับเงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญารับฝากขาย การหักกลบลบหนี้ค่าเสียหาย และสิทธิในการได้รับเงินประกันคืน
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงิน ไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้า จำเลยเช่ามาจากบริษัทซ.ต่อมาบริษัทซ.บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การชำระหนี้ ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทน มาใช้บังคับโจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมแต่โจทก์เมื่อยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยก ขึ้นมาวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อ จำเลยได้ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับ จำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์ แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการ ไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลาที่ยังไม่ส่งมอบ พื้นที่พิพาทคืนหักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย ดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่ จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหาย ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาทนั้นเป็นฎีกาที่เกินกว่า คำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้เพราะฟ้องแย้ง เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา, ค่าปรับ, เบี้ยปรับ, การริบเงินประกัน, ความล่าช้าของเจ้าของงาน
++ เรื่อง จ้างทำของ ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งกันว่า
++ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม2532 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนประชาบำรุงตามแบบ สปช.105/29 ขนาด 1 ชั้น 4ห้องเรียน 1 หลัง กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 20 มกราคม 2533 ในราคา1,036,000 บาท ตกลงจ่ายค่าจ้างเป็น 3 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน250,000 บาท งวดที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท และงวดที่ 3เป็นเงิน 486,000 บาท โดยจะเริ่มลงมือทำงานในวันที่ 1 สิงหาคม2532 หากจำเลยที่ 1 มิได้ลงมือทำงานภายในกำหนด หรือมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาหรือล่วงเลยกำหนดเวลาแล้วเสร็จไปแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีอำนาจว่าจ้างผู้อื่นทำงานต่อไปให้แล้วเสร็จ โดยจำเลยที่ 1ยอมจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าสิ่งของ ค่าคุมงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามจำนวนที่โจทก์จ่ายไปโดยสิ้นเชิง ถ้าจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดแต่โจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้ปรับเป็นรายวันวันละ 1,036 บาท นับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาถึงวันที่ทำงานเสร็จบริบูรณ์ ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าเห็นว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญา ข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญา และถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาและเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะโจทก์ต้องจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อจนแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมาทำการก่อสร้างเอกสารหมาย จ.3
++ ต่อมาวันที่ 19มกราคม 2533 จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาจ้างออกไปมีกำหนด 150 วันโจทก์อนุมัติเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่วนราชการขยายเวลาสัญญาก่อสร้างเพราะปัญหาปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นขาดแคลน วันที่ 19เมษายน 2533 จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้แก่โจทก์คณะกรรมการตรวจรับงานของโจทก์ได้ตรวจรับงานเมื่อวันที่ 23เมษายน 2533 และได้จ่ายค่าจ้างงวดที่ 1 เป็นเงิน 250,000 บาทให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว ต่อมาวันที่ 25 มิถุนายน 2533 จำเลยที่ 1ขอขยายเวลาการสร้างออกไปอีก 180 วัน โจทก์ก็อนุมัติเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการก่อสร้างหลังจากส่งมอบงานงวดที่ 1 แล้ว จำเลยทั้งสองมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างอีก โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองเร่งรัดการก่อสร้างต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 และริบเงินประกันตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 วางไว้ต่อโจทก์จำนวน 51,800 บาท เป็นค่าปรับ
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องคดีเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2535 อันเป็นวันที่โจทก์ว่าจ้างผู้รับเหมารายใหม่ให้ทำงานก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองหรือไม่
++ เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแก่จำเลยทั้งสองและขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาดังกล่าวเป็นค่าปรับและค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นแก่โจทก์จากการที่โจทก์ต้องจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อไปให้แล้วเสร็จ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง มิใช่เรื่องที่ผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงานเรียกเอาคืนซึ่งเงินทดรองที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (17) ซึ่งในเรื่องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มิใช่มีกำหนด 2 ปี
++ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 26 กันยายน 2537จึงยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องตามสัญญา คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
++
++ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการที่ 2 มีว่าค่าว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างดำเนินการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคา 1,429,200 บาท สูงเกินไปหรือไม่
++ พยานโจทก์มีนายณรงค์ ธรรมวิชิต หัวหน้าฝ่ายการเงินและพัสดุ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี เบิกความตอบทนายความจำเลยทั้งสองถามค้านว่าในการว่าจ้างผู้อื่นมาดำเนินการก่อสร้างแทนจำเลยทั้งสองได้ดำเนินการโดยวิธีพิเศษและมิได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบเพราะมีความจำเป็นต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อเด็กนักเรียนจะได้ใช้เป็นอาคารเรียนและเบิกความตอบทนายความโจทก์ถามติงว่า ช่วงที่โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างนั้น ภาวะขาดแคลนปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นเริ่มผ่อนคลายลงบ้าง แต่ราคาก็ยังสูงอยู่ และนายสุรพลประเสริฐชัยกุล หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างเบิกความว่า ช่วงที่พยานเข้าทำสัญญากับโจทก์ ราคาวัสดุก่อสร้างสูงกว่าราคาเมื่อต้นปี 2532 ประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 และในช่วงปี 2533วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นยังขาดแคลนอยู่บ้าง และเบิกความตอบทนายความจำเลยทั้งสองถามค้านว่า วัสดุก่อสร้างขาดแคลนถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาและมีมติให้ปรับราคาค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากสัญญาที่ตกลงกันไว้ด้วย
++ ส่วนนายสุรพล ชัยสดมภ์ ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายความโจทก์ถามค้านว่า ในช่วงปี 2538 วัสดุก่อสร้างไม่ขาดแคลนและมีราคาถูกลงด้วย จำเลยทั้งสองรับเหมาก่อสร้างอาคารแก่โจทก์ในราคาต่ำกว่าที่โจทก์ว่าจ้างบริษัททรีอาร์คอน จำกัด เนื่องจากขณะนั้นไม่มีผู้ใดรับเหมาและโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองช่วยรับเหมา
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อจำเลยทั้งสองยอมรับว่าตกลงรับจ้างเหมาจากโจทก์ในราคาต่ำกว่าปกติ และขณะนั้นไม่มีผู้ใดยอมรับเหมา ประกอบกับเมื่อปี 2535 ในช่วงที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้าง แม้ภาวะขาดแคลนวัสดุก่อสร้างจะผ่อนคลายลงบ้าง แต่ราคายังสูงอยู่ จึงไม่อาจนำราคาที่จ้างเหมาจำเลยทั้งสองมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดค่าว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างได้ ส่วนค่าว่าจ้างบริษัททรีอาร์คอน จำกัดเมื่อปี 2538 แม้จะมีราคาต่ำกว่าราคาที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้าง ก็เนื่องจากในขณะนั้นวัสดุก่อสร้างไม่ขาดแคลนและมีราคาถูกลงด้วย ภาวะการตลาดย่อมแตกต่างกัน และคำเบิกความของนายสุรพลในเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างมิได้สับสนดังจำเลยทั้งสองอ้างจึงไม่อาจนำค่าว่าจ้างดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งการว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างมิใช่กรณีตามปกติ แต่เป็นการว่าจ้างด้วยวิธีพิเศษต้องดำเนินงานต่อจากผู้รับเหมาเดิมซึ่งละทิ้งงาน 2 งวดเดิมไว้ และต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ย่อมต้องมีราคาสูงขึ้น
++ ประกอบกับในการตกลงว่าจ้างก็ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการโจทก์ด้วยแล้ว และเมื่อพิจารณารายละเอียดในใบเสนอราคาเกี่ยวกับบัญชีปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างตามเอกสารหมาย จ.33 และจ.34 ราคาที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างจึงมิได้สูงเกินไปดังจำเลยทั้งสองอ้าง แต่เหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
++ ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างในราคาตามอำเภอใจเพื่อให้จำเลยทั้งสองได้รับความเสียหาย
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าปรับรายวันนับแต่วันครบกำหนดตามที่โจทก์ขยายเวลาให้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาหรือไม่
++ เห็นว่าสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 19 (1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน นอกจากนั้นในวรรคท้ายของสัญญาข้อ 19 ดังกล่าวยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์ผู้ว่าจ้างเห็นว่าจำเลยทั้งสองผู้รับจ้างไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วย
++ ซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายใดบ้างที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสองหากโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญาจ้างเหมาข้อ 19และข้อ 20 ดังกล่าว
++ เห็นได้ว่า หากจำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นหากโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยทั้งสองตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายได้อีกด้วย
++ ซึ่งสิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจ้างเหมาข้อเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิทุกกรณีก็ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ทั้งสองครั้ง
++ ปรากฏข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของพยานโจทก์ คือ นายณรงค์ธรรมวิชิต หัวหน้าฝ่ายการเงินและพัสดุของโจทก์ประกอบหนังสือของโจทก์ถึงจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.15 ว่า ก่อนที่โจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3
++ ดังนี้ย่อมถือได้ว่า การสงวนสิทธิเรียกค่าปรับดังกล่าวเป็นการที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว
++ เพราะปรากฏตามคำเบิกความของนายณรงค์พยานโจทก์ว่า หลังจากครบกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ทั้งสองครั้ง โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง
++ ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ได้
++ อย่างไรก็ดี ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า สัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 มีกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 20 มกราคม 2533 จ้างเหมากันในราคา 1,036,000 บาทตกลงจ่ายค่าจ้างเป็น 3 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน 250,000 บาทงวดที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท และงวดที่ 3 เป็นเงิน 486,000 บาทเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2533 จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาจ้างออกไปมีกำหนด 150 วัน โจทก์อนุมัติ ต่อมาวันที่ 19 เมษายน 2533 จำเลยที่ 1ส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้แก่โจทก์ คณะกรรมการตรวจรับงานของโจทก์ตรวจรับงานเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2533 และได้จ่ายค่าจ้างงวดที่ 1เป็นเงิน 250,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว ต่อมาวันที่ 25มิถุนายน 2533 จำเลยที่ 1 ขอขยายเวลาการก่อสร้างออกไปอีก180 วัน โจทก์อนุมัติและกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 16 ธันวาคม 2533
++ หลังจากส่งมอบงานงวดที่ 1 แล้ว จำเลยทั้งสามมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างอีก ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่ขยายให้ได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 จากนั้นวันที่ 22มิถุนายน 2535 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างเข้าดำเนินการก่อสร้างที่ค้างอยู่ในราคา 1,439,200 บาท
++ ดังนี้ เห็นได้ว่า หลังจากครบกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ครั้งสุดท้ายเป็นเวลาถึง 1 ปีเศษ โจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาทั้ง ๆ ที่โจทก์ทราบถึงการที่จำเลยทั้งสองมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ดังกล่าวแล้ว ทั้งไม่ปรากฏเหตุผลสมควรที่แสดงให้เห็นถึงเหตุที่ต้องล่าช้าในการว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างให้เข้าดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ค้างอยู่ในงวดที่ 2 และที่ 3ความล่าช้าดังกล่าวจึงเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์เองรวมอยู่ด้วยแม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมายจ.3 ข้อ 19 (1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการต่อจากจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่เงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 19 (1) และเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 20 (2)ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อบรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคหนึ่ง และ 383 วรรคหนึ่ง
++ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 2 และที่ 3 ที่ค้างอยู่ตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ถึงเกือบเท่าตัวประกอบกับเหตุแห่งความล่าช้าของโจทก์ในการดำเนินงานของโจทก์เองแล้ว เห็นว่า เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั้นมีจำนวนสูงพอสมควรแล้วไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) ให้โจทก์อีก
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์มีว่า โจทก์จะต้องนำเงินประกันตามสัญญาที่โจทก์รับไว้มาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่
++ เห็นว่า หลักประกันดังกล่าวเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ซึ่งจำเลยทั้งสองนำมามอบแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา ตามข้อตกลงในสัญญาข้อ 3โดยธนาคารจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น หากจำเลยทั้งสองพ้นจากความรับผิดตามสัญญาแล้ว โจทก์จะต้องคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งมอบไว้เป็นหลักประกันแก่จำเลยทั้งสอง
++ ฉะนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญาและโจทก์ริบหลักประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว เงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแก่โจทก์จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ มิใช่ว่าเมื่อโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 20 (1) จึงไม่อาจนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากค่าเสียหาย ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเริ่มนับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ แม้โจทก์ชะลอการใช้สิทธิบังคับชำระหนี้ด้วยเงินประกัน
สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน คือภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2528 เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ในวันดังกล่าว อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2528 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไป ส่วนที่จำเลยนำเงินฝากประจำเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาและยินยอมให้นำจำนวนเงินดังกล่าวไปหักทอนหนี้หรือชำระหนี้ได้ทันทีเมื่อครบกำหนดชำระเงินตามสัญญาแล้วจำเลยผิดนัด การที่โจทก์ไม่นำเงินฝากประจำของจำเลยมาชำระหนี้ในทันทีกลับปล่อยให้ล่วงเลยไปถึง 6 เดือน แล้วจึงนำเงินฝากดังกล่าวมาชำระหนี้นั้นก็เป็นเรื่องการปฏิบัติงานของพนักงานโจทก์ ไม่มีผลทำให้วันเริ่มนับอายุความคดีนี้เปลี่ยนแปลงไปได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 จึงเกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินประกันค่าเสียหาย: พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะพิจารณา
คำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพิ่มภายใน45 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลกำหนดระยะเวลาโดยอาศัยอำนาจศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร แต่เมื่ออ่านคำพิพากษาฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอีกครั้งหนึ่งให้โจทก์วางประกันเพิ่มภายในกำหนด 45 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของศาลชั้นต้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องอขยายระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวได้แต่การขยายระยะเวลาเช่นว่านี้ให้พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย
โจทก์อ้างเหตุผลตามคำร้องของโจทก์ในการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 แต่เพียงว่า จำนวนเงินที่ต้องวางศาลมีจำนวนสูงถึง70,000,000 บาท โจทก์พยายามหาเงินเพื่อนำมาวางศาลให้ทันในกำหนดแต่หาไม่ทัน ทั้งโจทก์ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ นอกจากรายได้พอใช้จ่ายเป็นเดือน ๆ เท่านั้นเหตุผลในคำร้องของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาการวางเงินประกันค่าเสียหายให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 572/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลลดเบี้ยปรับได้เมื่อพิจารณาความเสียหายที่แท้จริงและเงินประกันที่ได้รับแล้ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคแรกกำหนดไว้ว่าถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ซึ่งในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้นจำต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่แต่เพียงทางเสียในเชิงทรัพย์สินเมื่อได้ใช้เงินตามเบี้ยปรับแล้วสิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอันขาดไปการที่โจทก์ใช้สิทธิต้องการเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาเป็นรายวันอีกนั้นแม้เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่1ทำสัญญาตกลงกันก็เป็นเรื่องเงินค่าปรับที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายเป็นเงิน538,000บาทโจทก์ได้รับเงินมัดจำร้อยละ10ของราคาสิ่งของทั้งหมดไปแล้วโจทก์มาฟ้องจำเลยที่1ที่ไม่ส่งมอบของให้โจทก์ตามสัญญาโดยคำนวณเบี้ยปรับรายวันอัตราร้อยละ0.20ของราคาสิ่งของที่จำเลยที่1ไม่ได้ส่งมอบนับจากวันครบกำหนดส่งมอบสิ่งของจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแต่โจทก์ไม่อาจพิสูจน์ค่าเสียหายเพื่อการไม่ชำระหนี้อันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่1ได้อีกและโจทก์ได้รับเงินประกันคิดเป็นเงินร้อยละ10ของราคาสิ่งของทั้งหมดซึ่งถือว่าเป็นค่าเสียหายพอสมควรไปแล้วจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาจ้างเหมา, เงินประกันค่าเสียหาย, การหักกลบ, ค่าเสียหายจากการจ้างใหม่, ศาลลดค่าปรับเหมาะสม
เงินประกันความรับผิดตามสัญญาข้อ 3 ซึ่งได้ระบุไว้ว่าเพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติการรับจ้างของจำเลยที่ 1ตามสัญญา จำเลยที่ 1 ได้นำหนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคารภายในวงเงิน 295,000 บาท มาวางเป็นประกันไว้แก่โจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาแล้ว เงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ดังนั้น เงินจำนวนนี้จำเลยที่ 1ผู้รับจ้างจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายที่เป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ได้ สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องจ้างผู้รับเหมารายใหม่แพงขึ้นจากสัญญาเดิมที่โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 แต่เงินจำนวนนี้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ข้อ 2 ของข้อความทั่วไปว่าด้วยการจ้างผู้อื่นทำงานต่อซึ่งกำหนดไว้ว่า "ค่าเสียหายในเบื้องต้นก็คือเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างคนใหม่ที่เกินกว่าจำนวนเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างที่เหลือซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชดใช้แก่ผู้ว่าจ้าง" เงินจำนวนดังกล่าวนี้จึงถือว่าเป็นค่าเสียหายในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาเช่นกัน ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 4 วรรคสุดท้าย ที่กำหนดไว้ว่าโจทก์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้แต่ค่าปรับอย่างเดียวหรือค่าเสียหายกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 380 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ความเสียหายยิ่งกว่าค่าปรับที่ศาลกำหนดให้ ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้โจทก์อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: การเสนอสัญญา, คำสนอง, และผลของการไม่ตกลงกัน
ประกาศประกวดราคาเช่าสะพานท่าเทียบเรือของจำเลยที่1เป็นเพียงคำเชิญให้ทำคำเสนอโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาสูงสุดประสงค์จะเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่1มีหนังสือถึงจำเลยที่1ให้จำเลยที่1ทำสัญญาเช่าหนังสือดังกล่าวเป็นคำเสนอของโจทก์แต่จำเลยที่1ขอเลื่อนการทำสัญญาออกไปหนังสือของจำเลยที่1จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา359วรรคสองต่อมาโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่1ให้ทำสัญญาเช่าภายใน7วันหากทำสัญญาเช่าไม่ได้ให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาทันทีนับแต่วันครบกำหนดและต้องคืนเงินค่าประจำซองในการประมูลพร้อมค่าเสียหายให้โจทก์จำเลยที่1มีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปทำสัญญากับจำเลยที่1ภายใน15วันซึ่งโจทก์ยืนยันไม่ประสงค์จะเข้าทำสัญญากับจำเลยที่1อีกต่อไปเห็นได้ว่าการแสดงเจตนาระหว่างโจทก์กับจำเลยที1จะต้องบังคับให้เป็นไปตามเจตนาทำนิติกรรมสองฝ่ายเมื่อสัญญาเกิดขึ้นไม่ได้เพราะขาดความตกลงกันความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมสิ้นสุดลงจำเลยที่1ต้องคืนเงินประจำซองให้โจทก์จำเลยที่2และที่3ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการประมูลราคาจึงไม่ต้องมีส่วนร่วมในการคืนเงินด้วยและเมื่อยังไม่มีสัญญาเช่าต่อกันจำเลยที่1ก็ยังไม่มีความผูกพันตามสัญญาเช่าให้โจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1ใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง: กรณีหลอกลวงรับสมัครงานและเรียกเก็บเงินประกัน/หุ้น
บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงานโดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัวกรรมการของบริษัทเองหรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำโดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วยแสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทำงานแต่บริษัทหามีงานให้ทำไม่จำเลยที่1และที่2ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทำแต่ก็ยังร่วมดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนและในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุทำให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัครการกระทำของจำเลยที่1และที่2จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341,343วรรคแรก การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ30หุ้นเป็นเงิน3,000บาทมีลักษณะเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงินค่าครองชีพเดือนละ135บาทจึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา3เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบหรือจ่ายหรือตกลงหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าวและในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ135บาทหรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ54ต่อปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา5แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527เมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวจึงมีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา5 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สามโดยจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกันการกระทำของจำเลยที่1และที่2ที่ได้กระทำในนามของบริษัทโดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดีการรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดีการคืนเงินประกันการทำงานเมื่อครบกำหนด6เดือนแล้วก็ดีล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและมอบเงินให้แสดงว่าจำเลยที่1และที่2หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่1และที่2เท่านั้นมิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อมิให้มาทำงานเพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำที่จำเลยที่1และที่2จัดให้มีการทำงานในช่วงแรกๆและจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่งซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้กรณีจึงมิให้เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทงแล้วปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(2)ทั้งที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง20ปีนั้นไม่ถูกต้องที่ถูกต้องปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(3)รวมจำคุกคนละ50ปีแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งห้าคงแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น
of 13