คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินฝาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝาก vs. เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: สิทธิการหักกลบลบหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 ในการจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำและยินยอมให้ผู้ร้อง นำเงินจำนวน 1,396,774.06 บาท ที่ฝากไว้ตามใบรับฝากเงินประจำของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่ค้างชำระต่อผู้ร้อง แต่เงินฝากประจำจำนวนดังกล่าวที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้น ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้และผู้ร้อง คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้นจึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงหามีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ของจำเลยในทางจำนำหรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำไม่ ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝาก vs. เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: สิทธิหักกลบลบหนี้
แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำให้ผู้ร้องไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีขึ้นในอนาคตและตกลงยอมให้ผู้ร้องหักเงินฝากดังกล่าวชำระหนี้ของจำเลยที่ค้างชำระต่อผู้ร้องได้ แต่เงินฝากประจำที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินฝากไปได้ และผู้ร้องคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้น จึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 ผู้ร้องมีสิทธิขอนำเงินฝากประจำของจำเลยมาหักกลบลบหนี้กับจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102แต่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ผู้ร้องนำเข้าฝากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยเรื่อยมาจนถึงเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดอกเบี้ยและเงินฝากตามบัญชีกระแสรายวันที่ผู้ร้องนำมาขอหักกลบลบหนี้ จึงมิใช่เป็นเงินที่ผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการรับเงินของหุ้นส่วนผู้จัดการหลังผู้จัดการอีกคนเสียชีวิต เงินฝากเป็นของห้างฯ
การที่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งนำเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดไปฝากไว้กับจำเลย ในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการคนดังกล่าวถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งย่อมมีอำนาจรับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินพระภิกษุ: เงินที่ได้ระหว่างสมณเพศเป็นสมบัติของวัด, ทายาทโดยธรรมไม่มีสิทธิ
เมื่อเจ้ามรดกเป็นพระภิกษุถึงแก่มรณภาพโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้เงินของเจ้ามรดกที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นสมบัติของผู้คัดค้านซึ่งเป็นวัดที่เป็นภูมิลำเนาของเจ้ามรดก แม้ผู้ร้องที่ 2 จะเป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้วและเป็นทายาทโดยธรรมก็หามีสิทธิในเงินดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่ทายาทสำหรับเงินจำนวนนี้ และมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมาร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษี และดอกเบี้ยเงินฝากสมทบทุนที่ไม่เป็นเงินได้ของนิติบุคคล
มีการติดตามหาตัวลูกหนี้และทวงหนี้แล้วหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับชำระถือว่าได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วจึงจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) โดยไม่จำต้องฟ้องร้องบังคับคดีจนถึงที่สุดเสียก่อน โจทก์หักเงินเดือนของพนักงานที่เป็นสมาชิกทุกเดือน ตามข้อบังคับว่าด้วยเงินทุนสะสมแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีสมทบทุนที่เปิดไว้ในชื่อของสมาชิกเป็นรายบุคคล โจทก์จะจ่ายยอดเงินทั้งสิ้นในบัญชีสมทบทุนของสมาชิกให้แก่สมาชิกเมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลงโดยมีกรรมการผู้จัดการและพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นผู้ควบคุมในการถอนเงินจากธนาคาร โจทก์มิได้ครอบครองตัวเงินไว้เองและไม่มีสิทธิได้รับเงินในบัญชีสมทบทุนดังกล่าว ดังนั้น ดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้แก่เงินฝากตามบัญชีสมทบทุนจึงไม่ใช่เงินได้ของโจทก์ไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกองมรดกจากสัญญาค้ำประกันและมอบสิทธิในเงินฝากเพื่อประกันหนี้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระและกำหนดเวลาชำระกับหากผิดนัดให้ชำระกันอย่างไรไว้ให้สามารถเข้าใจได้ ส่วนดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เมื่อใด เกินกฎหมายหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม คดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่จำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยขอเพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ภริยาจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ คดีดังกล่าวจำเลยที่ 2 ฟ้องในฐานะส่วนตัว แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยาจำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นการส่วนตัวโจทก์ในคดีแพ่งดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้มิได้อยู่ในฐานะเดียวกัน ถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยา มิใช่คู่ความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ บันทึกการจำนำเงินฝากประจำ ระบุว่าภริยาจำเลยที่ 2 จำนำเงินฝากประจำของตนไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของตนและ/หรือจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการจำนำเงินฝากเพราะเงินที่ภริยาจำเลยที่ 2ฝากประจำไว้ดังกล่าวตกแก่ผู้รับฝากไปแล้ว การที่ภริยาจำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่โจทก์จึงมิใช่การจำนำเงินฝาก แต่เป็นการตกลงมอบสิทธิที่จะได้รับเงินฝากคืนให้ไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของตนและของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสัญญาต่างหากจากสัญญาค้ำประกันที่ภริยาจำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ อันเป็นสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 สัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลนี้ผูกพันตัวภริยาจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับสินสมรส จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1476,1477,1480 ที่จำเลยที่ 2จะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 จำเลยที่ 2ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยา จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินฝากเพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่การจำนำสิทธิ และการหักเงินหลังมีหมายอายัดเป็นข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินอันเดียวกันกับที่รับฝากผู้รับฝากมีสิทธิจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้รับฝากซึ่งคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวน เมื่อผู้ฝากฝากเงินไว้กับผู้รับฝากและตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จะพึงมีต่อผู้รับฝาก แล้วยินยอมให้นำเงินจากบัญชีไปชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกัน หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของผู้ฝาก อันผู้รับฝากได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ส่วนใบรับฝากประจำเป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสารการมอบใบฝากประจำให้ผู้รับฝากยึดถือไว้เป็นประกันหนี้จึงมิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 750 เมื่อผู้รับฝากเงินมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ (จำนำ) ใช้สิทธิหักเงินของผู้ฝากไปชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างผู้ฝาก หลังจากที่ได้รับหมายอายัดของศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 วรรคสาม ผู้รับฝากจะอ้าง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 และการกระทำไปโดยสุจริตตามประเพณีปฏิบัติของธนาคาร หรือเป็นการอายัดซ้ำกันมาเป็นเหตุไม่ต้องนำเงินตามจำนวนที่อายัดไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้หนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และสิทธิในการเรียกคืนเงินที่นำฝากบัญชีในฐานลาภมิควรได้
ในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์จำเลย โจทก์รับเงินมาแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีของจำเลยโดยมิได้นำมาลงบัญชีสมุดเงินสดรับเป็นเหตุให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าเงินขาดบัญชีไป จำเลยจึงได้ให้โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยได้ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากโจทก์ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์รับผิดชดใช้เงินนั้น แสดงว่าโจทก์ต้องชดใช้เงินให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่ปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ยังอยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลย เงินดังกล่าวแม้จะตกเป็นของธนาคารแต่จำเลยในฐานะเจ้าของบัญชีก็มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยเมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันกับเงินที่ฝากธนาคารไปจากโจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเงินที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้: หลักฐานการรับฝากเงินไม่ชัดเจน เจ้าพนักงานประเมินถือยอดฝากจริงได้
โจทก์นำสืบพยานบุคคลที่อ้างว่ารู้เห็นเกี่ยวกับเงินฝากในธนาคารว่าเป็นของผู้อื่นหลายปากเพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยได้แล้วทั้งไม่ได้ความว่าพยานที่โจทก์จะนำสืบมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากพยานโจทก์ที่นำสืบมาแล้วอย่างไร ศาลชั้นต้นมีอำนาจไม่อนุญาตให้โจทก์นำสืบพยานบุคคลในประเด็นดังกล่าวของโจทก์ต่อไป เมื่อฟังไม่ได้ว่าเงินในบัญชีธนาคารเป็นเงินที่โจทก์รับฝากบุคคลอื่น เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบที่จะถือเอายอดเงินสดที่โจทก์นำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ทั้งหมดเป็นหลักในการคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์ โดยเปรียบเทียบกิจการค้าของโจทก์กับร้านค้าซึ่งมีสถานการค้าอยู่ในทำเลเดียวกันและค้าขายสินค้าประเภทเดียวกันกับโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้ การถือเอาเงินฝากทั้งหมดเป็นเงินได้พึงประเมิน และการพิสูจน์ที่มาของเงิน
โจทก์อ้างว่าเงินในบัญชีกระแสรายวันของโจทก์รวมเงินอื่นซึ่งไม่ใช่เงินได้พึงประเมินไว้ด้วย เงินดังกล่าวมีเป็นจำนวนมากและเป็นของบุคคลหลายคน บุคคลในฐานะเช่นโจทก์น่าจะจัดทำหลักฐานการรับจ่ายไว้ แต่โจทก์ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับไปกลับมาจนฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าโจทก์ได้จัดทำหลักฐานไว้หรือไม่ ที่อ้างว่าเงินเป็นของบุคคลใดบ้างนั้นก็ล้วนมีข้อพิรุธ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอายอดเงินสดที่โจทก์นำเข้าฝากในบัญชีของโจทก์เป็นหลักในการคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์ โดยคิดเปรียบเทียบกับกิจการค้าขายของร้านอื่นซึ่งมีสถานการค้าอยู่ในทำเลเดียวกันและค้าขายสินค้าประเภทเดียวกัน แต่มียอดการเสียภาษีเงินได้แตกต่างกับโจทก์จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) แล้ว
of 9