คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินเดือน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3339/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการหักเงินเดือน: สมุดเซ็นรับเงินเดือนเป็นหลักฐานการใช้เงิน
ในการชำระหนี้เงินยืม ผู้ยืมให้ผู้ให้ยืมรับเงินเดือนแทนผู้ยืมแล้วหักเงินเดือนชำระหนี้ดังกล่าว สมุดเซ็นรับเงินเดือนของทางราชการที่ผู้ให้ยืมลงชื่อรับเงินเดือนแทนผู้ยืมจึงเป็นหลักฐานการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3339/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการชำระหนี้จากการหักเงินเดือน: สมุดจ่ายเงินเดือนทางราชการใช้ได้ตามกฎหมาย
ในการชำระหนี้เงินยืม ผู้ยืมให้ผู้ให้ยืมรับเงินเดือนแทนผู้ยืมแล้วหักเงินเดือนชำระหนี้ ดังนี้ สมุดจ่ายเงินเดือนของทางราชการที่ผู้ให้ยืมลงชื่อรับเงินเดือนแทนผู้ยืมนั้นเป็นหลักฐานการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391-1442/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยของรัฐวิสาหกิจ: ข้อบังคับใหม่แทนที่ระเบียบเดิม และการคำนวณเงินบำเหน็จรวมค่าครองชีพ
เดิมจำเลยไม่มีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างเป็นของตนเอง จึงนำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับโดยอนุโลมตลอดมา จนถึง พ.ศ. 2521 จำเลยจึงได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จประกาศใช้บังคับ แต่ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 กำหนดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้แก่ราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหลายเป็นการทั่วไป จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งจึงหามีอำนาจที่จะยกเลิกเพิกถอนระเบียบดังกล่าวไม่ แต่มีอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจำเลย มาตรา 15(3)และมาตรา 18 ที่จะวางข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จและเงินรางวัลของจำเลยเอง ซึ่งเมื่อได้ประกาศใช้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 แล้วย่อมมีผลเท่ากับไม่นำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป ดังนั้น จะนำความในข้อ 5 วรรคท้าย และข้อ 6 ของระเบียบปี พ.ศ. 2502 ของกระทรวงการคลังมาใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงาน: การจ่ายเงินเดือนให้ยามรักษาการณ์ของบริษัทลูกหนี้ ไม่ถือเป็นการจ้างงาน
คดีมีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ ที่โจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัท ข. เป็นผู้รักษาทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวเนื่องจากจำเลยนำยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ และจำเลยได้จ่ายเงินเดือนให้โจทก์เป็นค่ารักษาทรัพย์นั้น เป็นการแถลงรับกันในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เพียงพอจะวินิจฉัยได้แล้วว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ แม้โจทก์จะมีพยานมาสืบข้อเท็จจริงอย่างใดก็หาอาจรับฟังนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันไม่ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยาน จึงชอบแล้ว
เมื่อเดือนสิงหาคม 2528 จำเลยฟ้องบริษัท ข. ให้ชำระหนี้กรรมการผู้จัดการหลบหนี และบริษัท ข. หยุดกิจการ จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้ ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบริษัท ข. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2529 เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์อีก ดังนี้ จำเลยเพียงแต่ตกลงให้โจทก์รับทำหน้าที่เฉพาะอย่าง คือ การดูแลทรัพย์สินของบริษัท ข. มิให้สูญหายหรือเสียหาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่งานของจำเลยโดยตรง ทั้งโจทก์มิได้อยู่ในการบังคับบัญชาของจำเลย เมื่อมีการยึดทรัพย์ส่ินของบริษัท ข. ขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์ก็เป็นการมอบตามอำนาจและหน้าที่ แม้จำเลยจะให้เงินเดือนแก่โจทก์จำนวนเดิมก็ตามยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนในการคำนวณเงินบำเหน็จ และสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จมีอายุความ 10 ปี
นายจ้างจ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอน เป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนเช่นเดียวกับเงินเดือน เป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเพื่อคำนวณในการจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์ตามข้อบังคับของนายจ้างด้วย
การที่ลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างยังไม่ครบถ้วนแม้จะไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้โต้แย้งคัดค้านการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จในส่วนที่ยังขาดจากนายจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องให้นายจ้างชำระเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายขาดไปนั้นได้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 191 ลูกจ้างฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นายจ้างจะยกข้อบังคับของนายจ้างขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่
เงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้างดังเช่นค่าชดเชย นายจ้างจะผิดนัดก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างรับผิดชำระเงินบำเหน็จเมื่อใด ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197-1206/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยเลี้ยงไม่ใช่ค่าจ้างเมื่อลูกจ้างกลับประจำบริษัทรอคำสั่ง ค่าชดเชยคำนวณจากเงินเดือน
เมื่อการก่อสร้างอาคารในต่างจังหวัดเสร็จลง โจทก์ต้องเดินทางกลับมาประจำบริษัทจำเลยเพื่อรอฟังคำสั่งให้ไปควบคุมงานในโครงการอื่นต่อไประหว่างรองานที่บริษัทจำเลย โจทก์คงได้รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงเบี้ยเลี้ยงจึงเป็นเงินตอบแทนในการทำงานเฉพาะในเวลาที่โจทก์ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเท่านั้น มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ระหว่างรองานอยู่ที่บริษัทจำเลย จึงไม่ต้องนำเบี้ยเลี้ยงมารวมคำนวณค่าชดเชยด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน ต้องนำมารวมคำนวณเงินบำเหน็จ
แม้ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า 'เงินเดือน' หรือ 'ค่าจ้าง'หมายถึงเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเป็นรายเดือนหรือรายวันเพื่อตอบแทนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส หรือประโยชน์อย่างอื่นก็ตาม เมื่อได้ความว่านายจ้างได้จ่ายค่าครองชีพให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน ซึ่งถือว่าเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง หาใช่ประโยชน์อย่างอื่นตามข้อบังคับดังกล่าวไม่ นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานในการคำนวณบำเหน็จเพื่อจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามที่ลูกจ้างมีสิทธิตามข้อบังคับด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างกำหนดผลงานขั้นต่ำ แม้ไม่ทำตามก็ยังต้องจ่ายเงินเดือน หากไม่ได้ยกเลิกสัญญา
สัญญาจ้างข้อ 5 กำหนดเงินเดือนโจทก์ไว้เป็นจำนวนแน่นอนข้อ 6 กำหนดเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องทำผลงานขั้นต่ำขายเครื่องรับโทรทัศน์ให้ได้ 5 เครื่องต่อเดือน และข้อ 9 กำหนดว่าถ้าไม่สามารถทำผลงานได้ตามเงื่อนไขสัญญาจ้างถือเป็นการยกเลิกโดยอัตโนมัติ ดังนี้แม้สัญญาข้อ 6 จะมีเงื่อนไขการทำผลงานไว้แต่ก็มิได้กำหนดว่าหากเดือนใดโจทก์ทำไม่ได้ตามเงื่อนไข จำเลยจะไม่จ่ายเงินเดือนสำหรับเดือนนั้นแก่โจทก์ส่วนความในข้อ 9 นั้น มีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์เท่านั้น มิได้หมายความว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ฉะนั้นแม้โจทก์ทำผลงานไม่ได้ตามสัญญา จำเลยก็ยังต้องจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-998/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคำนวณเงินบำเหน็จ: ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน/ค่าจ้าง, เงินเพิ่มกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษ
ค่าครองชีพเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนหรือค่าจ้างจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนหรือค่าจ้างแต่การที่จะนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จหรือไม่ย่อมแล้วแต่หลักเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนดเพราะเงินบำเหน็จกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเพียงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วยความสมัครใจ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า"เงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษไม่นำไปรวมเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง"เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินเพิ่มพิเศษจะนำไปรวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จด้วยมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-998/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพและเงินค่ากะเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน/ค่าจ้างหรือไม่ และมีผลต่อการคำนวณเงินบำเหน็จอย่างไร
ค่าครองชีพเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนหรือค่าจ้างจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนหรือค่าจ้างแต่การที่จะนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จหรือไม่ย่อมแล้วแต่หลักเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนดเพราะเงินบำเหน็จกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเพียงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วยความสมัครใจ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า'เงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษไม่นำไปรวมเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง'เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินเพิ่มพิเศษจะนำไปรวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จด้วยมิได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 7