คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งซื้อที่ดินรุกล้ำไม่ชอบ ศาลไม่รับ เหตุมีเงื่อนไขและขัด กม.แพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การในตอนแรกว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยถูกต้องตามกฎหมายและตามที่โจทก์นำชี้ระวังแนวเขตที่ดิน มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นการปฏิเสธว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ตอนท้ายให้การว่า หากฟังว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริงแล้วก็เป็นการกระทำโดยสุจริตและขอฟ้องแย้งให้โจทก์ขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยนอกจากจะมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย แล้ว คำขอท้ายฟ้องแย้งยังเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การซื้อขายไม่เป็นเจตนาลวง สิทธิขับไล่เมื่อไม่ผ่อนชำระ
เดิมจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทที่จดทะเบียนจำนองแก่ธนาคาร ก. และจำเลยเป็นหนี้เงินกู้ยืมโจทก์จำนวนหนึ่ง ต่อมาธนาคาร ก. ทวงให้จำเลยชำระหนี้จำนอง จำเลยจึงตกลงทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ แล้วโจทก์นำไปจำนองธนาคาร ท. โดยมีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้แทนโจทก์เมื่อชำระครบถ้วนแล้วโจทก์จะโอนที่ดินและบ้านพิพาทคืนจำเลย ดังนั้น สัญญาขายบ้านและที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทำขึ้นโดยมีเจตนาที่แท้จริง แต่มีเงื่อนไขในการโอนกลับคืนอันถือเป็นข้อตกลงที่บังคับได้ การซื้อขายบ้านและที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่การแสดงเจตนาลวง แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ผ่อนชำระหนี้แทนโจทก์ และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทอีกต่อไป โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้มีเงื่อนไขในคดีล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้เมื่อเงื่อนไข (การถอนคำขอรับชำระหนี้) ยังไม่สำเร็จ
สัญญาจ้างว่าความระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับเจ้าหนี้ทั้งสองที่ว่าหากมีการถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษสำหรับการว่าความเป็นเงินไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาท ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นผลต่อเมื่อมีการถอนคำขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ จึงเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 182 ทั้งมูลหนี้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด ถือได้ว่าสิทธิของเจ้าหนี้ทั้งสองมีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แต่เนื่องจากขณะที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ยังไม่มีการถอนคำขอรับชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 และไม่แน่ว่าจะมีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้นั้นหรือไม่ เจ้าหนี้ทั้งสองจึงยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 จ่ายค่าตอบแทนพิเศษนั้นได้ทันที แต่ถือได้ว่าเป็นหนี้มีเงื่อนไขและเงื่อนไขยังไม่สำเร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าตอบแทนพิเศษจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: คำพิพากษาตามยอมตกไปเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความมีเงื่อนไขไม่สำเร็จ ทำให้ฟ้องคดีใหม่ได้
คดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิรวมในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจะนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสินสมรสไปขายให้แก่ผู้มีชื่อในราคา 2,000,000 บาท ภายใน 1 เดือนแล้วนำเงินมาแบ่งกัน โดยถือว่าเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย ศาลพิพากษาตามยอมต่อมาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ โดยอ้างว่าผู้ซื้อเปลี่ยนใจไม่ซื้อจึงมีการทำข้อตกลงเพื่อจัดการสินสมรสกันใหม่ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเพื่อจัดการสินสมรสใหม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามข้อตกลงใหม่เป็นคดีที่สอง คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความคดีแรกเป็นสัญญามีเงื่อนไขไม่สามารถสำเร็จผล อันมีผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตกไปไม่มีผลบังคับส่วนข้อตกลงจัดการสินสมรสกันใหม่เป็นสัญญาระหว่างสมรส เมื่อคู่สมรสบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสจึงเป็นอันสิ้นผล โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสเดียวกับที่ฟ้องคดีแรก ดังนี้ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมเช่นนี้ คำพิพากษาตามยอมในคดีแรกเป็นอันตกไปไม่มีผลบังคับเช่นเดียวกับสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าคดีแรกได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้ ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรกอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหลังพ.ร.ก.ใหม่ สัญญาเพิ่มเติมหลังสัญญาเดิมไม่เข้าเกณฑ์อัตรา 7%
แม้ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0ต่อไป ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 และพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538 และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวทุกฉบับมิได้บัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรออกประกาศกำหนดว่าถ้ามีปัญหาในการปฏิบัติและอธิบดีมีคำวินิจฉัยแล้วให้ถือเป็นที่สุดฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ซึ่งคำว่า "คำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" ตามประกาศฉบับดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า เป็นที่สุดในขั้นตอนการปฏิบัติงานในชั้นวินิจฉัยว่าผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไปได้รับสิทธินั้นหรือไม่เท่านั้น เพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป เมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
บริษัท ม. จ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารชุดก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236)ฯ แต่ต่อมาโจทก์กับบริษัท ม. ทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาดังกล่าวโดยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่เป็นการทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 จึงมิใช่สัญญาที่ได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไป โดยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ9.0 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309)ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินประกันการทำงานของลูกจ้างภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: เงื่อนไขและข้อยกเว้น
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10 ไม่ได้ห้ามนายจ้างเรียกเงินประกันการทำงานอย่างเด็ดขาดในทุกกรณี บางกรณีนายจ้างก็ยังมีสิทธิเรียกเงินประกันการทำงานได้ ถ้าลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ดังนั้น เมื่อได้ความว่า นางสาว อ. มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมทรัพย์สินภายในร้านสะดวกซื้อของโจทก์ จึงเข้าลักษณะงานที่โจทก์จะเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ โจทก์ได้หักค่าจ้างของนางสาว อ. ไว้เป็นเงินประกันและได้นำเงินประกันดังกล่าวไปฝากไว้ที่บริษัท ก. จำกัด อันเป็นสถาบันการเงินในนามนางสาว อ. แม้โจทก์ไม่ได้แจ้งชื่อสถาบันการเงิน ชื่อบัญชี และเลขบัญชีให้นางสาว อ. ทราบซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมก็ไม่มีผลกระทบต่อการเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานที่โจทก์ เรียกเก็บจากนางสาว อ. โดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำเงินประกันดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายที่นางสาว อ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในการทำงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวในคดีละเมิดสิทธิบัตร: ขอบเขตการห้ามดำเนินคดีอาญาและการวางเงื่อนไขเพื่อป้องกันความเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มที่เจ้าพนักงานออกให้แก่จำเลย โดยอ้างว่าสิทธิบัตรนั้นได้ออกไปโดยไม่ชอบ การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มที่โจทก์ใช้งานอยู่ในระหว่างพิจารณา ทั้ง ๆ ที่ก่อนฟ้องได้นำเจ้าพนักงานตำรวจยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มอันอื่นไปเป็นพยานหลักฐานบ้างแล้ว ถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์ในสถานที่ก่อสร้างที่โจทก์รับเหมาตอกเสาเข็มก่อนพิพากษาได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 255 (2)
การที่ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยเพื่อนำชี้ให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์ อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ว่าศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยไม่ให้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยได้ ทั้ง ๆ ที่สิทธิบัตรของจำเลยยังไม่ถูกเพิกถอน และสิทธิในการดำเนินคดียังคงเป็นของจำเลยตราบเท่าที่สิทธิบัตรยังไม่ถูกเพิกถอน และศาลไม่อาจห้ามการกระทำใด ๆ ในการดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ที่จำเลยได้ดำเนินการไปแล้วได้ ศาลจึงชอบ ที่จะมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์ในสถานที่ก่อสร้างก่อนพิพากษาเท่านั้น แต่ไม่ห้ามจำเลยดำเนินคดีอาญาในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย
เมื่อจำเลยอาจได้รับความเสียหายในอนาคตจากการใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์เป็นฝ่ายละเมิดสิทธิตามสิทธิบัตรของจำเลย ศาลจึงกำหนดเงื่อนไขในคำสั่งโดยให้โจทก์ทำบัญชีการใช้วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์เสนอศาลทุกเดือนนับแต่เดือนที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและให้โจทก์วางเงินประกันต่อศาลเพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่จำเลยในกรณีที่ปรากฏต่อมาภายหลังว่าสิทธิบัตรของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการผลิตเพื่อส่งออก
จำเลยได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิและประโยชน์แก่จำเลยโดยให้จำเลยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าว แต่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องนำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวนั้นไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก และไม่ปรากฏข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าในกรณีอื่น นอกเหนือจากข้อที่ให้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศไปทำการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกไว้ จึงต้องถือว่าจำเลยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าวเพียงกรณีเดียวเป็นเด็ดขาดกล่าวคือ จำเลยต้องนำไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเท่านั้น
พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 54 วรรคสองใช้ถ้อยคำว่า คณะกรรมการจะสั่งให้สำนักงานเตือนผู้ได้รับการส่งเสริมก่อนก็ได้ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข แสดงว่านอกจากในกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยจงใจ ซึ่งคณะกรรมการต้องเพิกถอนสิทธิและประโยชน์แล้ว แม้เป็นกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข กฎหมายก็ยังให้อำนาจคณะกรรมการสามารถสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ เมื่อจำเลยนำเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าตามฟ้อง 2 ครั้งหากจำเลยไม่ใช่ผู้ได้รับการส่งเสริมโดยได้รับสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าตามฟ้องตั้งแต่ขณะนำเข้าเพราะวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ตามปกติแล้วผู้นำเข้าจะต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า เมื่อจำเลยเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้าในกรณีเช่นนี้ไปแล้ว แม้ต่อมาสินค้าดังกล่าวจะสูญหาย ถูกทำลาย หรือเกิดเหตุเพลิงไหม้เสียหายจำเลยก็หาอาจร้องขอคืนอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับสินค้าที่เสียหายไปได้ไม่
จำเลยเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับสิทธิและประโยชน์โดยไม่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้า แต่จำเลยไม่ได้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกเนื่องจากเกิดเพลิงไหม้ จึงไม่อาจนำไปผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกรณีก็ต้องถือว่าจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามเงื่อนไขบัตรส่งเสริมการลงทุน การไม่นำวัตถุดิบไปใช้ผลิตเพื่อส่งออกทำให้ต้องเสียอากรและภาษี
จำเลยเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ได้รับสิทธิและประโยชน์โดยไม่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้าตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฯ แต่จำเลยไม่ได้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก เนื่องจากเกิดเพลิงไหม้จึงไม่อาจนำไปผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรณีก็ต้องถือว่าจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดและมีหน้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นเงื่อนไขสำคัญก่อนฟ้อง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอในคำสั่งพนักงาน ตรวจแรงงานสามารถนำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้ นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แล้วโจทก์เป็นฝ่ายนำคดีมาฟ้อง ขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โจทก์ก็ต้องนำเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานมาวางศาล เมื่อโจทก์ไม่นำเงินดังกล่าวมาวางต่อศาลแรงงานภายในเวลาที่ศาลแรงงานกำหนด โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 48