พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนเจ้าของจากการทำสัญญาขายฝากโมฆะ และการแสดงเจตนาครอบครองเพื่อตน
จำเลยทำสัญญาขายฝากนาพิพาทไว้กับโจทก์ โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และมีเงื่อนไขว่า ถ้าจำเลยไม่นำเงินมาไถ่ ก็ให้โจทก์ทำนาเรื่อยไป การขายฝากจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ที่โจทก์เข้าครอบครองนาพิพาทจึงเป็นการครอบครองแทนจำเลย และการที่โจทก์ครอบครองจนกว่าจำเลยจะใช้เงินคืนเช่นนี้ ถึงจะนานสักกี่ปีก็ยังถือว่าครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของนาพิพาทอยู่นั่นเองแม้โจทก์จะมีชื่อในแบบ ส.ค.1 และเสียภาษีเงินบำรุงท้องที่มาก็ตามก็ต้องถือว่าทำแทนจำเลยเช่นกัน
กรณีดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องจำเลยสละเจตนาการครอบครองดังนั้น หากโจทก์จะถือว่าครอบครองเพื่อตน ก็ต้องแสดงเจตนาต่อจำเลยว่าจะครอบครองเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
กรณีดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องจำเลยสละเจตนาการครอบครองดังนั้น หากโจทก์จะถือว่าครอบครองเพื่อตน ก็ต้องแสดงเจตนาต่อจำเลยว่าจะครอบครองเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และเจตนาในการครอบครอง แม้มีอุปสรรคชั่วคราวก็ไม่ถือเป็นการสละการครอบครอง
ที่พิพาทเนื้อที่ 12 ไร่เศษ ไม่มีโฉนด เดิมเป็นของมารดาจำเลย มารดาจำเลยได้ยกที่พิพาทตีใช้หนี้เงินกู้ให้โจทก์ใน พ.ศ.2494 โจทก์จึงจ้างคนถางที่พิพาทจนเตียนหมด แล้วใน พ.ศ.2495 และ 2496 โจทก์ก็ทำนาและปลูกถั่วในที่พิพาท โดยทำนา 2 ไร่ ปลูกถั่ว 2 ไร่นอกนั้นเป็นที่ดอนน้ำไม่ถึง ปลูกอะไรไม่ได้ ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการยึดถือโดยเจตนาเป็นเจ้าของโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองที่พิพาทหมดทั้งแปลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 ในปีต่อๆ มาจนถึง พ.ศ.2501 โจทก์และผู้ดูแลที่พิพาทแทนโจทก์ได้ปล่อยที่พิพาทว่างไว้เนื่องจากขาดน้ำ ทำผลประโยชน์ไม่ได้จะถือว่าโจทก์สละเจตนาครอบครองหรือไม่ยึดถือที่พิพาทตามมาตรา 1377 วรรคแรก หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีเหตุชั่วคราวมาขัดขวางมิให้โจทก์เข้ายึดถือทำประโยชน์อันเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1377 วรรคสอง การครอบครองของโจทก์จึงไม่สุดสิ้นลง(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 41/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาครอบครองที่ดิน: การครอบครองโดยตั้งใจคืนที่ดินให้รัฐ ไม่ถือเป็นการยึดถือเพื่อตน
เข้าครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่าโดยตั้งใจว่า เมื่อทางราชการต้องการก็จะคืนไป เพียงมีเจตนาเท่านี้จะถือว่าไม่ได้ยืดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนตามมาตรา 1367 หรือสละเจตนาครอบครองตามมาตรา 1377 ยังไม่ได้ เพราะตราบใดที่ทางราชการยังไม่ต้องการผู้นั้นก็ยังต้องการเอาไว้อยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาครอบครองที่ดิน: การครอบครองโดยตั้งใจคืนเมื่อราชการต้องการ ยังไม่ถือเป็นการยึดถือเพื่อตน
เข้าครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่าโดยตั้งใจว่า เมื่อทางราชการต้องการก็จะคืนไป เพียงมีเจตนาเท่านี้จะถือว่าไม่ได้ยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนตามมาตรา 1367 หรือสละเจตนาครอบครองตามมาตรา 1377 ยังไม่ได้ เพราะตราบใดที่ทางราชการยังไม่ต้องการผู้นั้นก็ยังต้องการเอาไว้อยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สิทธิครอบครองต้องมีพฤติการณ์แสดงเจตนาครอบครองชัดเจน การตัดไม้ไผ่/เก็บผลไม้ไม่ถือเป็นการครอบครอง
พฤตติการณ์ที่ยังไม่ถือว่าได้สิทธิครอบครองตาม ม.1367
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องมีเจตนาครอบครองเป็นกรรมสิทธิ การมอบที่ดินให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ถือเป็นการสละเจตนาครอบครอง
ที่ดิน อย่างไรเรียกว่าปกครองปรปักษ์ ที่ดินมือเปล่าเจ้าของที่มอบให้เจ้าหนี้ปกครองเพื่อเป็นประกันหนี้ แม้เจ้าหนี้จะปกครองมาเกินปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ
อย่างไรเรียกว่าสละเจตนาครอบครอง
อย่างไรเรียกว่าสละเจตนาครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์หลังพ้นกำหนดห้ามโอน และการขาดเจตนาครอบครองของผู้จัดการมรดก
ที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ นับแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2519 โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจาก ค. และเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2525 ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย มีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ป. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2522 ก่อนครบกำหนดห้ามโอน แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 เพิ่งยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. เพื่อกล่าวอ้างสิทธิที่ดินพิพาทในปี 2540 โดยก่อนหน้านั้นผู้ร้องสอดที่ 1 และทายาทของ ป. รวมทั้ง พ. ที่อ้างว่าครอบครองที่ดินพิพาทแทนไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวอ้างสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ประการใด แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องสอดที่ 1 และทายาทของ ป. สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี นับแต่ระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายล่วงเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทตลอดมา การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน คือนับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2529 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของ ป. และผู้ร้องสอดที่ 1 มีลักษณะเป็นการแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว และกรณีดังกล่าวโจทก์ที่ 1 มิได้ครอบครองแทน ป. หรือทายาทของ ป. จึงไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง ป. หรือทายาท เมื่อผู้ร้องสอดที่ 1 ยื่นคำร้องสอดเข้ามาครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2529 ที่โจทก์ที่ 1 แย่งการครอบครอง ผู้ร้องสอดที่ 1 จึงไม่มีอำนาจร้องสอดหรือฟ้องโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง
ป. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2522 ก่อนครบกำหนดห้ามโอน แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 เพิ่งยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. เพื่อกล่าวอ้างสิทธิที่ดินพิพาทในปี 2540 โดยก่อนหน้านั้นผู้ร้องสอดที่ 1 และทายาทของ ป. รวมทั้ง พ. ที่อ้างว่าครอบครองที่ดินพิพาทแทนไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวอ้างสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ประการใด แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องสอดที่ 1 และทายาทของ ป. สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี นับแต่ระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายล่วงเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทตลอดมา การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน คือนับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2529 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของ ป. และผู้ร้องสอดที่ 1 มีลักษณะเป็นการแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว และกรณีดังกล่าวโจทก์ที่ 1 มิได้ครอบครองแทน ป. หรือทายาทของ ป. จึงไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง ป. หรือทายาท เมื่อผู้ร้องสอดที่ 1 ยื่นคำร้องสอดเข้ามาครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2529 ที่โจทก์ที่ 1 แย่งการครอบครอง ผู้ร้องสอดที่ 1 จึงไม่มีอำนาจร้องสอดหรือฟ้องโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16513/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หลังจากการชำระหนี้และเปลี่ยนเจตนาครอบครอง
จำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินกับโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองชำระเงินดาวน์งวดสุดท้ายแล้วได้แสดงเจตนาที่จะให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้ แต่โจทก์ไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เนื่องจากโจทก์นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร อ. จึงได้นัดโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2526 ต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาด จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองที่เรียกร้องให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทและการยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ได้ทราบเรื่องดังกล่าวแล้วเป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาจะยึดถือที่ดินและบ้านแทนโจทก์อีกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เมื่อจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทโดยชอบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีความเห็นคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว ดังนี้ ถือว่าจำเลยทั้งสองได้แสดงเจตนายึดถือเพื่อตน เมื่อนับถึงวันฟ้อง เป็นเวลาติดต่อกันเกิน 10 ปี จำเลยทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ครอบครองปรปักษ์ - การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม - เจตนาครอบครอง - สิทธิเดิม - การซื้อที่ดินโดยรู้มีผู้ครอบครอง
จำเลยทั้งสิบสามคนมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งต้องถือตามราคาที่ดินในส่วนที่จำเลยสืบสิทธิมา มิใช่แยกคำนวณตามส่วนที่จำเลยแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์ระบุในคำแก้ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทตามฟ้องโจทก์และตามฟ้องแย้งราคาตารางวาละ 125 บาท เท่ากับไร่ละ 50,000 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งในส่วนของจำเลยทุกคน จึงเกิน 200,000 บาท จำเลยทั้งสิบสามไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
การที่ ก. ย. และ อ. ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท และร่วมกันยื่นคำร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว แม้จะยังไม่มีการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่ไม่ปรากฏว่า ก. ย. และ อ. แสดงเจตนาจะยกเลิก จึงต้องถือว่าข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง ย่อมผูกพัน ก. ย. และ อ.
ก. ย. และ อ. ได้แบ่งการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว จึงถือไม่ได้ว่า ก. ย. อ. และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดพิพาทตลอดมา เมื่อ ย. อ. และจำเลยทั้งสิบสามครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อจาก ก. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ธ. และโจทก์ซื้อที่ดินโดยรู้ว่ามีผู้ครอบครอง กรณีถือไม่ได้ว่า ธ. และโจทก์รับโอนที่ดินไว้โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
การที่ ก. ย. และ อ. ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท และร่วมกันยื่นคำร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว แม้จะยังไม่มีการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่ไม่ปรากฏว่า ก. ย. และ อ. แสดงเจตนาจะยกเลิก จึงต้องถือว่าข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง ย่อมผูกพัน ก. ย. และ อ.
ก. ย. และ อ. ได้แบ่งการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว จึงถือไม่ได้ว่า ก. ย. อ. และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดพิพาทตลอดมา เมื่อ ย. อ. และจำเลยทั้งสิบสามครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อจาก ก. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ธ. และโจทก์ซื้อที่ดินโดยรู้ว่ามีผู้ครอบครอง กรณีถือไม่ได้ว่า ธ. และโจทก์รับโอนที่ดินไว้โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง