พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและการพิจารณาเจตนาของผู้กระทำ หากไม่มีเจตนาทำร้ายผู้ถูกกระทำ การเข้าไปในบ้านเพื่อเจรจาผลประโยชน์ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยทั้งสองรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อน เคยไปหาผู้เสียหายที่บ้านเพื่อขอแบ่งผลประโยชน์จากวินรถจักรยานยนต์รับจ้างในวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองไปหาผู้เสียหายที่บ้านเพื่อทวงเสื้อวินแต่จำเลยที่ 1 กับผู้เสียหายโต้เถียงกันจนเกิดการยิงกันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาจะเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายมาก่อนกรณีจะถือว่าจำเลยที่ 2 เข้าไปในบ้านของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควรหาได้ไม่จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าไปในบ้านเพื่อเจรจาปัญหาธุรกิจและการมีอาวุธไม่ถือเป็นเหตุบุกรุก หากมีเหตุอันสมควร
จำเลยเข้าไปในบ้านของโจทก์โดยมีปืนเป็นอาวุธ เพื่อจะตกลงกับโจทก์เรื่องดำเนินกิจการต้มหอยแล้วปล่อยให้มีกลิ่นเหม็นนับว่าเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร แม้จะมีปืนติดตัวไปด้วยก็ไม่ทำให้การเข้าไปนั้นกลับไม่มีเหตุอันสมควรอันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่าหลังสัญญาหมดอายุ และผลของการเจรจาทำสัญญาใหม่ที่ไม่เป็นผล
โจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดลงในที่ดินที่เช่าจากจำเลยที่ 3 ก่อนที่สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง 3 เดือน เป็นการก่อสร้างภายในกำหนดสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดยจำเลย-ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อจากจำเลยที่ 3 ไม่ต่อสัญญาให้โจทก์ โจทก์ต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปภายในกำหนด 2 เดือน ตามสัญญาเช่าข้อ 5 ดังนั้นอาคารพาณิชย์และตลาดสดจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามป.พ.พ. มาตรา 109 เดิม (มาตรา 146) กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 และมาตรา 1311
หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กัน โจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญาพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169 /1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กัน โจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญาพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169 /1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว: ลดค่าปรับตามสมควรเมื่อจำเลยเจรจาตกลงกับผู้เสียหายได้
การที่จำเลยทำสัญญาประกันตัวไว้ต่อโจทก์ในคดีที่จำเลยตกเป็นผู้ต้องหาแล้วผิดนัดไม่มาพบโจทก์เป็นเวลานานประมาณ 3 เดือนทำให้การดำเนินคดีของโจทก์ต้องล่าช้า แต่จำเลยกับผู้เสียหายก็ตกลงยอมความกันได้ และผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ไปจากโจทก์แล้วแสดงว่าในช่วงระยะเวลาที่จำเลยผิดนัดจำเลยได้ไปติดต่อเจรจากับผู้เสียหายจนสำเร็จ พฤติการณ์เช่นนี้หากจะให้จำเลยต้องรับผิดชำระค่าปรับเต็มตามสัญญาประกันก็จะสูงเกินไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน หลังเจรจาหนี้ไม่สำเร็จ ศาลพิพากษาคดีได้
ในวันนัดสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยแถลงว่าจำเลยไม่มีประเด็นอื่นที่จะสืบตามคำให้การอีก จึงไม่ติดใจสืบพยาน แต่ขอเลื่อนคดีเพื่อไปตกลงยอดหนี้กับโจทก์ก่อน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีไปนัดพร้อมในวันนัดพร้อมเพื่อฟังผลการเจรจา โจทก์และจำเลยยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องยอดหนี้ ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด: การมีส่วนร่วมในการเจรจาและขับรถส่งมอบถือเป็นตัวการร่วม
จำเลยที่ 3 ได้ร่วมนั่งอยู่ด้วยในโต๊ะ เดียวกันระหว่างที่มีการเจรจาซื้อขายเฮโรอีนกันก่อนที่จะมีการจับกุม และในวันถูกจับกุมจำเลยที่ 3 ก็เป็นคนขับรถมาให้จำเลยที่ 1 ไปยังที่นัดหมายเพื่อส่งมอบเฮโรอีน เช่นนี้แสดงให้เห็นได้โดยชัดเจนว่า จำเลยที่ 3ร่วมมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเฮโรอีนของกลางด้วย จึงเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องมิใช่เพียงแต่เป็นผู้สนับสนุนให้มีการกระทำผิดเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานเป็นซ่องโจร ต้องมีการสมคบคิดร่วมกัน ไม่ใช่แค่การเจรจาต่อบุคคลภายนอก
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรนั้น ผู้กระทำจะต้องสมคบกันเพื่อกระทำความผิด คือร่วมคบคิดกัน ประชุมปรึกษาหารือกัน หรือการแสดงออกซึ่งความตกลงจะกระทำผิดร่วมกัน อันมีสภาพเป็นการกระทำระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันเจรจากับเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปล่อซื้อเสนอขายรถจักรยานยนต์ที่ถูกลักมาให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ มีลักษณะที่เป็นการกระทำต่อบุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานซ่องโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบเพื่อกระทำผิดฐานซ่องโจร ต้องมีการคบคิดหรือตกลงร่วมกัน การเจรจาซื้อขายกับเจ้าพนักงานล่อซื้อไม่ถือเป็นซ่องโจร
ความผิดฐานซ่องโจรตาม ป.อ. มาตรา 210 นั้น ผู้กระทำจะต้องสมคบกันเพื่อกระทำความผิด กล่าวคือ จะต้องมีการร่วมคบคิดหรือประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อกระทำความผิด หรือการแสดงออกซึ่งความตกลงจะทำความผิดร่วมกัน ซึ่งมีสภาพเป็นการกระทำระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5เพียงแต่ร่วมกันเจรจากับเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปล่อ ซื้อเสนอขายรถจักรยานยนต์ที่ถูกลักมาให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเท่านั้นจึงเป็นลักษณะที่เป็นการกระทำต่อบุคคลภายนอก เมื่อข้อเท็จจริงในคดีไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้มีการคบคิดกันว่าจะกระทำความผิดร่วมกันรับของโจรตามที่โจทก์ฟ้อง จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 กระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นซ่อง โจรและเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 4 ซึ่งมิได้ฎีกาขึ้นมาด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การเจรจาเพื่อระงับคดีไม่ถือเป็นการยอมรับหนี้ หากเงื่อนไขไม่สำเร็จ
การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ในระหว่างที่จำเลยกำลังถูกดำเนินคดีอาญา "...บริษัท ฯ มีความประสงค์จะขอทำความตกลงเพื่อให้กรม ฯ ระงับคดีในชั้นศุลกากรโดยยอมชำระภาษีอากรที่ขาด..." และยังมีข้อความที่จำเลยขอลดหย่อนเบี้ยปรับและเงินเพิ่มอยู่ด้วยนั้น มีความหมายว่า จำเลยจะยอมชำระค่าภาษีอากรที่ขาดโดยขอลดหย่อนเบี้ยปรับและเงินเพิ่มก็เพื่อที่จะขอให้โจทก์ระงับคดีในชั้นศุลกากร โดยมีเงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนว่าหากโจทก์ยอมระงับคดีในชั้นศุลกากรแล้ว จำเลยก็จะยอมชำระค่าภาษีอากรที่ขาดให้โจทก์ ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ยังยืนยันให้ดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป เงื่อนไขบังคับก่อนจึงยังไม่สำเร็จความยินยอมชำระภาษีอากรที่ขาดจึงยังไม่เกิดขึ้น จำเลยจึงยังมิได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 192.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การเจรจาระงับคดีและการละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้อง
เมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับจากวันที่จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แต่อยู่ในระหว่างที่จำเลยถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากร บริษัทจำเลยมีหนังสือถึงกรมศุลกากรโจทก์ ความว่า '...บริษัท ฯ มีความประสงค์จะขอทำความตกลงเพื่อให้กรม ฯ ระงับคดีในชั้นศุลกากรโดยยอมชำระภาษีอากรที่ขาด ...' ข้อความดังกล่าวมีความหมายเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนว่าหากโจทก์ยอมระงับคดีในชั้นศุลกากรแล้วจำเลยก็จะยอมชำระค่าภาษีอากรที่ขาดให้โจทก์ เมื่อโจทก์ยืนยันให้ดำเนินคดีกับจำเลย เงื่อนไขบังคับก่อนจึงยังไม่สำเร็จ ความยินยอมชำระค่าภาษีอากรที่ขาดยังไม่เกิดขึ้น จำเลยจึงยังมิได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว.