คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,471 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาความเสียหาย แม้จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามอุทธรณ์
ในคดีที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. แม้โจทก์อุทธรณ์เพียงประการเดียวว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน และศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกระทำเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะจึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวต่อไปได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า vs. พยายามทำร้าย: การหลบหนีการจับกุมและการเล็งเห็นอันตรายต่อเจ้าพนักงาน
การที่จำเลยขับรถยนต์บรรทุกแซงออกไปทางด้านขวาเพื่อหลบหนีการจับกุมโดยมิได้ชนผู้เสียหายทั้งสองและรถที่จอดขวางทางนั้น มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสองหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองแต่การที่จำเลยขับรถแซงออกทางด้านขวาเพื่อหลบหนีการจับกุมดังกล่าว จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าอาจชนผู้เสียหายทั้งสองให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ อันเป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ และเป็นการกระทำรวมอยู่ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่จึงลงโทษจำเลยฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษสำหรับเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การมีครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 100
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามพ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10
ตามพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า " กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.นี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.นี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น " ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ด โทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การมีเมทแอมเฟตามีนครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่เข้าข่ายโทษสามเท่า
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า"กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ดโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดี ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149
พฤติการณ์ที่จำเลยจับกุมผู้เสียหายในข้อหาลักทรัพย์ของ ส. แล้วให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม จากนั้นนำผู้เสียหายไปควบคุมไว้ที่สถานีตำรวจประมาณ30 นาที จึงเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวไม่ดำเนินคดีโดยนำผู้เสียหายออกมาโทรศัพท์หา ก. ภริยาผู้เสียหาย ต่อมาเมื่อจำเลยได้รับเงิน3,000 บาท จากผู้เสียหายแล้ว จึงปล่อยผู้เสียหายไปนั้น เป็นกรณีไม่กระทำการในตำแหน่งโดยมิชอบด้วยหน้าที่ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก แม้ว่าการกระทำของจำเลยจะเข้าหลักเกณฑ์อันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 157 ด้วยก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังเงินค่าผ่านทาง แม้ไม่มีพยานบุคคล แต่มีพยานหลักฐานและข้อมูลจากเครื่องตรวจจับยืนยันการทุจริต
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเก็บเงินทุกคน โดยให้พนักงานเก็บเงินกดแป้นพิมพ์เครื่องคอมพิวเตอร์ตามประเภทของรถที่ผ่านและประเภทของการจ่ายเงิน หากไม่กดจะไม่มีจำนวนเงินปรากฏในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่เครื่องตรวจจับที่พื้นถนนจะเป็นตัวฟ้องว่ามีรถผ่านโดยมีเสียงสัญญาณดังขึ้น และพนักงานควบคุมจะทราบเพราะเครื่องทำงานไม่ครบวงจร ดังนั้น การที่จำเลยรับเงินจากรถที่วิ่งผ่านทางด่วนแล้วไม่กดแป้นพิมพ์เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือกดแป้นพิมพ์แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงานตามที่จำเลยกล่าวอ้าง เครื่องตรวจจับที่พื้นถนนจะตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งผ่านเอง แต่เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าจำเลยส่งเงินขาดจำนวน8 ครั้ง เป็นเงิน 153,700 บาท แม้ว่าจะไม่มีพยานบุคคลมายืนยันว่าจำเลยเบียดบังเงินค่าผ่านทาง แต่เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รักษาเงินโดยชอบแม้จะเป็นระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งเป็นผู้รับเงินและรวบรวมนำส่งต่อไปอันถือว่าเป็นการจัดการทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ได้รับเงินค่าผ่านทางมาแล้วและไม่ส่งเงินให้ครบ จึงถือว่าเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริตแล้ว ที่จำเลยอ้างว่าจำนวนเงินตามใบส่งตรงกับต้นขั้วใบเสร็จรับเงินอันเป็นสิ่งแสดงว่าจำเลยมิได้ทุจริตนั้นก็เป็นเรื่องที่จำเลยได้รับใบเสร็จรับเงินมาเพื่อจ่ายให้แก่รถที่ใช้ทางด่วนทุกคัน หากผู้ใช้ทางด่วนไม่ต้องการใบเสร็จรับเงิน จำเลยต้องฉีกใบเสร็จรับเงินนั้นด้วย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่าจำนวนรถที่วิ่งผ่านมาปริมาณมากกว่าจำนวนใบเสร็จรับเงินที่จำเลยฉีกแสดงว่าจำเลยรับเงินมามากกว่าจำนวนใบเสร็จรับเงินที่จำเลยฉีกออกไป ฉะนั้น แม้จำนวนเงินที่จำเลยส่งจะตรงกับจำนวนใบเสร็จรับเงินก็มิได้เป็นการยืนยันว่าจำเลยไม่ได้ทุจริตแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9590/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมผู้ต้องหาในสภาพเมามายและการใช้กำลังเกินความจำเป็นของเจ้าพนักงาน
โจทก์เมาสุราส่งเสียงดัง เดินเตะเก้าอี้และพูดจาระรานจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ทั้งขณะที่อยู่ในร้านอาหารและขณะเดินกลับออกจากร้านเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 378 จำเลยทั้งสามจึงมีอำนาจจับกุมโจทก์ โจทก์ดิ้นรนขัดขืนไม่ยอมให้จับกุมโดยดี จึงเป็นมูลความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้ การที่จำเลยทั้งสามแจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีต่อโจทก์ในข้อหาเสพสุราจนเป็นเหตุให้เมาประพฤติวุ่นวายในสาธารณสถานและต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงาน จึงมิใช่การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 310 แต่ในการจับกุมโจทก์ซึ่งอยู่ในสภาพเมามายครองสติไม่ได้และโจทก์ขัดขวางการจับกุม จำเลยทั้งสามมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับกุมซึ่งจำเลยทั้งสามควรใช้วิธีการจับตัวและจับมือโจทก์เพื่อใส่เครื่องพันธนาการไม่ให้หลบหนีเท่านั้น จำเลยที่ 1 หาได้มีอำนาจที่จะชกต่อยทำร้าย ร่างกายโจทก์ไม่ การที่โจทก์ได้รับบาดเจ็บโดยมีบาดแผลบวมที่โหนกแก้มขวาและตามัว ซึ่งเกิดจากการที่ถูกจำเลยที่ 1
ชกในขณะจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9083/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งที่กระทำทุจริต แม้ลงโทษตามกฎหมายอาญาแล้ว
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท กล่าวคือนอกจากจำเลยมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป.อ. มาตรา 157 แล้ว ยังมีความผิดต่อ พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 59 , 60 , 71 , 72 โดยเหตุที่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นมาตรการที่มุ่งจะจำกัดสิทธิของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งซึ่งกระทำหน้าที่โดยทุจริต มิใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อศาลลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 157 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแต่เพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยได้ มิฉะนั้นแล้วการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวย่อมไร้ผลอันเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8600/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ซ่อนเร้นคนต่างด้าว vs. ให้สินบนเจ้าพนักงาน
ความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และความผิดฐานร่วมกันให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 144 เป็นความผิดที่ผู้กระทำการจะต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลต่างกัน กฎหมายจึงได้บัญญัติเป็นความผิดและมีบทลงโทษสำหรับความผิดแต่ละอย่างแตกต่างกัน และลักษณะแห่งการกระทำความผิดสามารถแยกส่วนจากกันได้ แสดงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดในแต่ละการกระทำเป็นกรณีไป แม้เหตุการณ์ที่จำเลยทั้งสองถูกจับกุมจะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกับการกระทำผิดอีกฐานหนึ่งก็ตาม จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานปลอมเอกสารราชการและช่วยเหลือการหลีกเลี่ยงภาษี การกระทำความผิดร่วมกัน
การที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตอบหนังสือแจ้งให้กรมการขนส่งทราบตามความเป็นจริงว่ารถยนต์คันที่จดทะเบียนเป็นรถยนต์ใหม่ไม่ตรงกับรายงานการยึดว่าเป็นรถยนต์เก่า แต่ปรากฏว่าลายมือชื่อในหนังสือถึงกรมการขนส่งเป็นลายมือชื่อของผู้พิพากษาซึ่งเป็นลายมือชื่อปลอมเป็นผลให้กรมการขนส่งจดทะเบียนโอนรถให้แก่ผู้ประมูลซื้อได้ แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะที่จำเลยกระทำการปลอมและใช้เอกสารปลอมดังกล่าว แต่จากพฤติการณ์แวดล้อมกรณีย่อมเชื่อว่า จำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมด้วย เนื่องจากจำเลยเป็นจ่าศาลมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบังคับคดีโดยตรง จำเลยได้ทราบและติดตามเรื่องนี้มาตลอด หากจำเลยไม่เกี่ยวข้อง หลังจากไปยึดทรัพย์แล้วจำเลยก็ไม่ควรไปปรึกษาหารือผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเกี่ยวกับเรื่องการตอบหนังสือ หลังจากที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ตอบหนังสือแล้ว จำเลยก็ไม่นำสืบให้ปรากฏว่า จำเลยไม่ได้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกหรือบุคคลอื่นได้มากระทำการปลอมหนังสือและใช้เอกสารปลอมดังกล่าว เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการตอบเอกสารแล้ว พฤติการณ์แห่งคดีเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนร่วมในการทำเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารราชการปลอมและใช้เอกสารดังกล่าวในการดำเนินการให้บุคคลอื่นเสียหาย
จำเลยเป็นจ่าศาลมีหน้าที่ตามกฎหมายเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการยึดทรัพย์ตามคำพิพากษา จำเลยไปยึดทรัพย์ลูกหนี้ตามคำพิพากษายึดได้รถยนต์ของกลาง รายงานผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนว่าเป็นรถเก่าไม่มีหมายเลขทะเบียน เมื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนสั่งให้ตรวจสอบก็ยืนยันว่าไม่สามารถตรวจสอบหมายเลขทะเบียนได้ ทั้งนี้เพื่อนำไปขอเลขทะเบียนใหม่ได้ตามความต้องการ เมื่อกรมการขนส่งมีหนังสือสอบถามเพื่อให้ยืนยันถึงเรื่องการจดทะเบียนรถยนต์ของกลางก็มีการร่วมกันทำเอกสารราชการปลอมขึ้นเพื่อให้กรมการขนส่งออกทะเบียนรถให้ พฤติการณ์ทั้งหมดแสดงว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นในการช่วยจำหน่ายซึ่งสิ่งของที่จำเลยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากรตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ
of 148