คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงานประเมิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร การจำกัดสิทธิฟ้อง และอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบแก้ไข
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด และตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ฉะนั้น โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์ยื่นแบบรายการชำระภาษีรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ปี 2517ถึง 2521 ไว้ต่อจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรหัก ณ ที่จ่าย จำเลยที่ 2 จึงได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปให้คำชี้แจงประกอบการไต่สวนตรวจสอบ พร้อมทั้งให้นำสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปตรวจสอบด้วย ดังนี้ การที่โจทก์ขอคืนเงินภาษีอากรหัก ณ ที่จ่ายเป็นจำนวนสูงถึง 2,700,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นเจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ออกหมายเรียกโจทก์ไปตรวจสอบไต่สวนดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเพียงการเรียกไปตรวจสอบเพื่อประกอบคำร้องขอคืนภาษีอากรหัก ณ ที่จ่ายตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133(พ.ศ. 2516) ลงวันที่ 22 มีนาคม 2516แต่ประการเดียว แต่ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ใช้อำนาจตามมาตรา 19หมายเรียกโจทก์ไปตรวจสอบไต่สวนและได้ทราบข้อความแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่โจทก์ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบและประเมินภาษีซ้ำภายใน 5 ปี และการประเมินภาษีจากหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์
เจ้าพนักงานประเมินท้องที่จังหวัดขอนแก่นเคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มมาแล้ว ต่อมาภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขต ครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่นตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ชอบที่จะแจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 ข้อความตามมาตรา 19 ตอนต้นที่ว่า "เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้" นั้นหาได้เป็นบทห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินผู้มีอำนาจทำการเรียกตรวจสอบซ้ำอีก ดังที่โจทก์ฎีกาไม่
ในชั้นไต่สวนภาษีอากรโจทก์ไม่มีหลักฐานประกอบการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาให้ตรวจ แต่โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของลูกจ้างโจทก์ (ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ครั้งที่ 1/2518) เช่นนี้ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่า การคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องไม่ได้
โจทก์อ้างว่าไม่อาจนำสมุดบัญชีและเอกสารการลงบัญชีของตนไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้เพราะถูกน้ำพัดเสียหายไปแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ตามข้ออ้างของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 สำหรับรอบระยะบัญชีปีพ.ศ. 2517-2519 และร้อยละ 5 สำหรับรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบภาษีจากเอกสารของนิติบุคคลอื่นเป็นไปตามกฎหมาย หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้เสียภาษีแสดงรายการไม่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า หากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน โดยไม่จำกัดว่าเหตุอันควรเชื่อดังกล่าวจะเกิดจากเอกสารของผู้ยื่นรายการนั้นเองหรือของผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากราคาซื้อขายที่ต่ำกว่าราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาตามราคาที่พึงได้รับ
ค. โอนที่ดินตามฟ้องทั้งสี่แปลงชำระหนี้โจทก์ โดยที่ดิน 3 แปลงแรกตีใช้หนี้ 2,971,500 บาท ที่ดินแปลงที่ 4 ตีใช้หนี้ 731,000 บาท ซึ่งเป็นการโอนโดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาที่พึงได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามปกติ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดราคาขายที่ดินทั้งสี่แปลงตามราคาที่พึงได้รับจากการขายตามปกติตามราคาในวันที่โอน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ทวิ ค. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันโอนว่าที่ดิน 3 แปลงแรกตกลงโอนในราคา 4,700,000 บาท และแปลงที่ 4 ตกลงโอนในราคา 2,000,000 บาท พนักงานเจ้าหน้าที่จึงกำหนดเอาราคาที่ ค. แจ้งเป็นราคา ที่พึงได้รับจากการขายตามปกติตามราคาในวันที่โอนนั้น ซึ่งเป็นการชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ทวิแล้ว เพราะราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรด้วยได้กำหนดนั้นไม่เกินจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากราคาซื้อขายที่ต่ำกว่าราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาตามปกติได้
ค. โอนที่ดินตามฟ้องทั้งสี่แปลงชำระหนี้โจทก์ โดยที่ดิน3 แปลงแรกตีใช้หนี้ 2,971,500 บาท ที่ดินแปลงที่ 4 ตีใช้หนี้731,000 บาท ซึ่งเป็นการโอนโดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาที่พึงได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามปกติ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดราคาขายที่ดินทั้งสี่แปลงตามราคาที่พึงได้รับจากการขายตามปกติตามราคาในวันที่โอน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ทวิ ค. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันโอนว่าที่ดิน 3 แปลงแรกตกลงโอนในราคา 4,700,000 บาท และแปลงที่ 4 ตกลงโอนในราคา 2,000,000 บาท พนักงานเจ้าหน้าที่จึงกำหนดเอาราคาที่ ค. แจ้งเป็นราคา ที่พึงได้รับจากการขายตามปกติตามราคาในวันที่โอนนั้น ซึ่งเป็นการชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ทวิแล้ว เพราะราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรด้วยได้กำหนดนั้นไม่เกินจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อผู้เสียภาษีไม่แสดงบัญชีสินค้าคงเหลือ เจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิคำนวณภาษีตามความจำเป็นและสมควร
โจทก์มิได้ทำและนำบัญชีมาแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิที่จะถือ ว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปี ดัง นั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอายอด เงินที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปีมาคำนวณภาษีและหักค่าใช้จ่ายให้ตาม ความจำเป็นและสมควร โดย นำเอามาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมจึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์ตกลง ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย ให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสองแห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11)พ.ศ. 2502 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้า: การกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าขัดต่อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (7) ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้าได้นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการค้าชำระภาษีการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ยื่นแบบแสดงรายการค้าในปีที่ล่วงมาแล้ว กล่าวคือในปีที่ถึงกำหนดชำระภาษีการค้าแล้ว และต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมาตรวจสอบพบในภายหลัง เจ้าพนักงานประเมินจึงจะมีอำนาจกำหนดรายรับขึ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 87 ทวิ (7)เพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้านั้นได้ มิใช่เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อจะใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าในปีที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้า ทั้งในขณะเกิดเหตุคดีนี้ พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มเติม มาตรา 86 เบญจ ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้เป็นการล่วงหน้าได้คราวละไม่เกิน 24 เดือนยังไม่ใช้บังคับดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์โดยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้า จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4223/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้โดยวิธีเหมาจ่าย เจ้าพนักงานประเมินต้องปฏิบัติตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
เจ้าพนักงานประเมินเรียกตรวจสอบภาษีเงินได้ของโจทก์ โจทก์อ้างว่ามีรายจ่ายที่จำเป็นและสมควรที่จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ขอหักตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์โดยคิดหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ตามประมวลรัษฎากรพระราชกฤษฎีกา ษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 70 พ.ศ. 2520 มาตรา 3บัญญัติไว้ว่าให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70 และมิได้มีบทบัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่มเติมหรือลดอัตราดังกล่าวได้ ดังนั้นแม้จะมีระเบียบปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์ภายในให้ลดอัตราเหมาลงเสียร้อยละ 10 ของอัตราเหมาที่กฎหมายกำหนดก็ไม่มีผลใช้บังคับได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 60 ไม่ได้ ต้องหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70ของรายรับ โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่า การที่ทางราชการกรมสรรพากรได้ประเมินภาษีเป็นอัตราเปอร์เซนต์ ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้อ้างว่าการประเมินโดยวิธีหักค่าใช้จ่ายโดยเหมาเป็นการไม่ชอบไว้ตั้งแต่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว ศาลจึงวินิจฉัยในปัญหานี้ได้ การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 60 เป็นการชอบหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น โจทก์ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรค 2 และศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจถัวเฉลี่ยกำไรได้
แม้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องจัดเก็บจากกำไรสุทธิที่คำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและต้องเป็นรายได้ที่นิติบุคคลนั้นได้รับจริง ๆก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ากำไรของนิติบุคคลนั้นมีหลายจำนวนแตกต่างกันเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจถัวเฉลี่ยกำไรที่โจทก์ได้รับ นำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิได้ โจทก์มีกำไรจากการขายเบียร์และโซดาลังละ 3 บาทขึ้นไปถึง10 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่โจทก์มีกำไรลังละ 3 บาท ซึ่งเป็นกำไรต่ำสุดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจไต่สวนและประเมินภาษีใหม่ได้เมื่อผู้เสียภาษีแสดงรายการไม่ถูกต้องหรือไม่บริบูรณ์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยระบุจำนวนเงินได้ถูกต้อง แต่ระบุประเภทของเงินได้ผิด ทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์คำนวณไว้ผิดไปด้วย จึงถือว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตรงความเป็นจริง หรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนแล้วประเมินภาษีอากรให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 19 และ 20 แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่จำเป็นต้องประเมินภาษีอากรของโจทก์ทันทีตามมาตรา 18
of 5