พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ใช่ขอรับจากคำพิพากษา
บทบัญญัติมาตรา 93 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ หมายความว่า กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แทนลูกหนี้และศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนกระทั่งพิพากษาตามประเด็นแห่งคดีนั้น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็จะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่การที่ศาลจังหวัดเชียงรายซึ่งผู้ร้องทั้งสิบสองได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยออกจากสารบบความนั้น ย่อมไม่มีคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาระหว่างโจทก์ (ผู้ร้องในคดีนี้) กับจำเลยอีกต่อไปไม่มีการแพ้ชนะคดี และการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 25 หรือไม่นั้นย่อมเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอประการใดต่อศาล ศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควรดังที่ศาลจังหวัดเชียงรายได้ใช้ดุลพินิจสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยออกจากสารบบความ ซึ่งมิใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี ผู้ร้องทั้งสิบสองจึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 93 แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสิบสองต้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาแทนจำเลยตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) และ 122
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7152/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามกฎหมาย
การยื่นขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ กฎหมายกำหนดขั้นตอนไว้ชัดแจ้งว่าเจ่าหนี้ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตามต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง หลังจากนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเป็นผู้พิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แล้วมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/32 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หากเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งต่อศาลได้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/32 วรรคสาม ดังนั้น เจ้าหนี้จะยื่นคำร้องต่อศาลเกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ต้องเป็นกรณีคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วย เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้หรือมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามที่ยื่นคำร้อง โดยเจ้าหนี้ยังไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้มีคำสั่งใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของเจ้าหนี้อันเจ้าหนี้จะใช้สิทธิคัดค้านต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/32 วรรคสามแม้เจ้าหนี้จะอ้างว่าลูกหนี้ปิดบังมิได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้ก็ยังคงต้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หากเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ก็ชอบที่จะใช้สิทธิตามมาตรา 146 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขคำสั่งศาลในคดีล้มละลายตามมาตรา 108 พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 108 ได้ให้อำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่งของศาลที่อนุญาตคำขอชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้แม้คำสั่งศาลจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม ถ้าต่อมาปรากฏว่าศาลได้สั่งไปโดยหลงผิดตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ โดยความจริงลูกหนี้ไม่ได้เป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนตามที่อนุญาตไปแล้ว แต่ทั้งนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คัดค้านบัญชีส่วนแบ่งของเจ้าหนี้รายหนึ่ง อ้างว่า คำขอรับชำระหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่กรรมการของจำเลยเคยให้การยอมรับว่าเป็นหนี้จริงโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้มา เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าหนี้ที่จำเลยคัดค้านซึ่งศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วนั้นเป็นคำสั่งที่ศาลสั่งไปโดยหลงผิด จึงไม่ใช้อำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้แก้ไขคำสั่งตามมาตรา 108 ดังนี้ จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลได้ด้วยตนเอง ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลยจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยหลงผิดด้วยเช่นกัน เพราะหากให้จำเลยยื่นคำร้องขอเช่นว่านั้นได้ ก็เท่ากับว่าศาลต้องพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซ้ำในปัญหาเดียวกันอีก โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้เห็นเป็นอย่างอื่นและมิใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องดังกล่าวขึ้นมาเอง และก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายตามมาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจาก พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชนชนฯ มาตรา 10 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดตามมาตรา 4 หรือ 5 ของกฎหมายดังกล่าวเป็นบุคคลล้มละลายได้ เป็นการให้อำนาจฟ้องได้ในขณะที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดเท่านั้น ไม่ต้องรอให้ฟ้องคดีอาญาเป็นจำเลยต่อศาลก่อนและไม่ต้องรอให้ศาลพิพากษาถึงที่สุดก่อนว่าผู้กู้ยืมกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ได้ เพราะความผิดตามกฎหมายดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ รัฐต้องการให้กฎหมายมีสภาพบังคับโดยเร็ว เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนที่ร้ายแรงมากขึ้นจากความเนิ่นช้าในการบังคับใช้กฎหมายรัฐจึงเลือกใช้ช่องทางให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าว เพราะกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นจะต้องดำเนินการเป็นการด่วนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 13 และในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าวบัญญัติต่อไปว่า ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่งให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด มิใช่ต้องได้ความจริงว่าลูกหนี้กระทำผิดตามคำพิพากษาถึงที่สุด คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสิบเด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบต่อมาตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ จนศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบล้มละลายและเข้าสู่ขั้นตอนการจำหน่ายทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123 แล้ว ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มีเจตนารมณ์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายจนสิ้นสุด ไม่อาจขอทุเลาการบังคับอย่างคดีแพ่งธรรมดาและไม่อาจขอให้งดหรือระงับการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดและอายัดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลายของโจทก์ไม่ทำให้คดีอาญาที่ฟ้องไว้ระงับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีแทนได้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 ถึงมาตรา 25 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์แล้ว กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โจทก์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ รวมทั้งการดำเนินคดีฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น และถึงแม้โจทก์สิ้นสภาพบุคคลและเป็นคดีความผิดอันยอมความกันได้ก็ตาม ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าในคดีอาญานั้น เมื่อโจทก์สิ้นสภาพบุคคลหรือตายแล้วให้คดีอาญาระงับไปไม่ คงมีแต่คดีอาญาเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 และมาตรา 39 กับคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 เท่านั้น คดีนี้เป็นคดีอาญาอยู่ระหว่างรออ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังอยู่จะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3) มาใช้บังคับมิได้ เมื่อโจทก์มิได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันหรือมีเหตุทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ และจำเลยทั้งสองมิได้นำเงินตามจำนวนในเช็คมาชำระภายในสามสิบวัน นับแต่ได้รับหนังสือจากผู้ทรงว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คหรือมูลหนี้ที่ออกเช็คสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยทั้งสองจะขอให้ศาลจำหน่ายคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล และผู้ซื้อไม่สามารถเลิกสัญญาซื้อขายได้หากการโอนกรรมสิทธิ์ล่าช้าจากกระบวนการทางกฎหมาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ รวมทั้งกระทำการต่างๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด ซึ่งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน และประกาศขายทอดตลาด ไม่ได้กำหนดเวลาไว้โดยแจ้งชัดว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหกแปลงให้ผู้ร้องเมื่อใด แม้ผู้ร้องมีความประสงค์จะนำที่ดินทั้งหกแปลงไปพัตนาทำธุรกิจก็เป็นเหตุผลเฉพาะตัวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตกลงด้วย จึงไม่อาจนำมาผูกมัดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ อีกทั้งผู้ร้องได้เข้าเป็นคู่ความในการร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เป็นการยอมรับถึงเหตุที่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องล่าช้าโดยเฉพาะเหตุแห่งความล่าช้านี้เป็นการที่จะต้องดำเนินตามกระบวนพิจารณาที่ ป.วิ.พ. ได้บัญญัติไว้ ยังฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผิดสัญญา จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาใช้ได้ และเมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุดแล้ว โดยศาลยกคำร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องได้ การชำระหนี้หาได้ตกเป็นพ้นวิสัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องเลิกสัญญาและขอเงินคืนได้ไม่
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด ซึ่งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน และประกาศขายทอดตลาด ไม่ได้กำหนดเวลาไว้โดยแจ้งชัดว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหกแปลงให้ผู้ร้องเมื่อใด แม้ผู้ร้องมีความประสงค์จะนำที่ดินทั้งหกแปลงไปพัตนาทำธุรกิจก็เป็นเหตุผลเฉพาะตัวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตกลงด้วย จึงไม่อาจนำมาผูกมัดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ อีกทั้งผู้ร้องได้เข้าเป็นคู่ความในการร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เป็นการยอมรับถึงเหตุที่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องล่าช้าโดยเฉพาะเหตุแห่งความล่าช้านี้เป็นการที่จะต้องดำเนินตามกระบวนพิจารณาที่ ป.วิ.พ. ได้บัญญัติไว้ ยังฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผิดสัญญา จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาใช้ได้ และเมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุดแล้ว โดยศาลยกคำร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องได้ การชำระหนี้หาได้ตกเป็นพ้นวิสัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องเลิกสัญญาและขอเงินคืนได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องทายาทในฐานะผู้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหลังการล้มละลาย: อำนาจศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ผู้ตายทำไว้กับโจทก์เพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของบริษัท ท. เป็นการฟ้องกองมรดกของผู้ตายเป็นลูกหนี้ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ผู้ตายทำไว้กับโจทก์ เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เฉพาะของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น มิได้มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องผู้ตายให้ล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ตายเด็ดขาด ทั้งมิได้มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 82 แต่อย่างใด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายหรือเข้ามาต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายแทนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1) และ (2) จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงมีสิทธิต่อสู้คดีที่โจทก์ฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้
แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 เพื่อให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ต่อไปมาด้วย แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 เพื่อให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ต่อไปมาด้วย แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสอบสวนและรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/26 วรรคสาม บัญญัติให้นำบทบัญญัติในเรื่องการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 91 วรรคสอง มาใช้บังคับเกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการโดยอนุโลม ดังนั้น ในชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าหนี้มีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สิน และข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบแล้ว หากมีผู้โต้แย้งย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนตามมาตรา 90/32 วรรคสองเพื่อค้นหาความจริงว่าหนี้นั้นขอรับชำระได้หรือต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ทั้งนี้ ย่อมใช้อำนาจดังกล่าวในการค้นหาความจริงได้อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม มิใช่เคร่งครัดจำกัดเพียงดูจากหลักฐานในคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เท่านั้น ดังนั้น นอกจากพยานหลักฐานของฝ่ายเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ที่จะนำอ้างส่งประกอบคำขอรับชำระหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นใดนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพิ่มเติมก่อนมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 90/32 วรรคสอง ได้ และในกรณีที่มีการคัดค้านคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลตามมาตรา 90/32 วรรคสาม ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยโดยรับฟังพยานหลักฐานทุกอย่างทั้งที่ยื่นในชั้นขอรับชำระหนี้และยื่นเพิ่มเติมในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากศาลเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าหนี้รายนั้นขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ หาใช่เป็นกรณีวินิจฉัยและรับฟังพยานหลักฐานเกินกว่าคำขอชำระหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด: อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขอให้ล้มละลาย และอายุความ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ เนื่องจากผู้คัดค้านต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070,1077(2) ผู้คัดค้านจึงไม่อาจต่อสู้คดีหรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือพิสูจน์ว่าตนมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดและผู้คัดค้านเด็ดขาดโดยอ้างว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดและผู้คัดค้านมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาด แต่ยกฟ้องผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ผู้คัดค้านล้มละลายต่อมาศาลพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 89ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำร้องขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลายได้ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำฟ้องและคำร้องขออาศัยเหตุต่างกันจึงมิใช่ฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดในหนี้สินของห้าง มิใช่เป็นหนี้สินส่วนตัวของผู้คัดค้าน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดชำระหนี้แก่โจทก์วันที่ 22 มิถุนายน 2531 และโจทก์ยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นคดีล้มละลายวันที่ 20 เมษายน 2541 ยังไม่พ้น 10 ปีนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งย่อมทำให้อายุความหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) ดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างดังกล่าว คำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายจึงไม่ขาดอายุความ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเด็ดขาดแล้วพิพากษาให้ล้มละลายตามห้างนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 89 โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงเหตุตามมาตรา 9
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดและผู้คัดค้านเด็ดขาดโดยอ้างว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดและผู้คัดค้านมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาด แต่ยกฟ้องผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ผู้คัดค้านล้มละลายต่อมาศาลพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 89ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำร้องขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลายได้ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำฟ้องและคำร้องขออาศัยเหตุต่างกันจึงมิใช่ฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดในหนี้สินของห้าง มิใช่เป็นหนี้สินส่วนตัวของผู้คัดค้าน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดชำระหนี้แก่โจทก์วันที่ 22 มิถุนายน 2531 และโจทก์ยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นคดีล้มละลายวันที่ 20 เมษายน 2541 ยังไม่พ้น 10 ปีนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งย่อมทำให้อายุความหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) ดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างดังกล่าว คำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายจึงไม่ขาดอายุความ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเด็ดขาดแล้วพิพากษาให้ล้มละลายตามห้างนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 89 โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงเหตุตามมาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5971/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีฟื้นฟูกิจการ และการสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการวินิจฉัย
ในการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนหรือบางส่วน หรือให้ยกคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/32 วรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/32 วรรคสาม กำหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองต่อศาลได้ภายในกำหนด 14 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เมื่อคดีมาสู่ศาลตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว กฎหมายให้อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องคัดค้านโดยในการพิจารณานั้น ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่ปรากฏในคำร้อง คำคัดค้านเพื่อจะทราบว่ามีประเด็นพิพาทใดที่คู่ความโต้เถียงกันอยู่ หากมีข้อเท็จจริงใดเป็นที่โต้เถียงกันอยู่และกรณีจำต้องรับฟังพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว ศาลต้องให้คู่ความที่เกี่ยวข้องแสดงหรือนำสืบพยานหลักฐานนั้น เมื่อคดีนี้ผู้ทำแผนและเจ้าหนี้ได้โต้เถียงกันอยู่และผู้ทำแผนมีความประสงค์จะสืบพยานเพิ่มเติมและได้ความว่าลูกหนี้ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาเจ้าหนี้กับพวกเป็นคดีอาญาในข้อหายักยอกและได้ยื่นฟ้องเจ้าหนี้กับพวกต่อศาลแรงงานกลางเรียกเงินที่ทุจริตคืนแก่ลูกหนี้เป็นจำนวนมาก คดียังไม่ถึงที่สุด ทั้งศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานจากสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวแล้ว ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นที่โต้เถียงกันอยู่ยังไม่พอแก่การวินิจฉัย กรณีสมควรให้ผู้ทำแผนนำสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นพิจารณาได้จนสิ้นกระแสความ จึงต้องย้อนสำนวนคืนไปยังศาลล้มละลายกลางเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28