คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้ามรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องสัญญาต่างตอบแทนหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ไม่ใช่การฟ้องเจ้ามรดกโดยตรง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้ปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์ทำไว้กับเจ้ามรดก มิใช่ฟ้องอ้างว่าเจ้ามรดกผิดสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อเจ้ามรดกจึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามมาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ไม่ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องภายใน 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาต่างตอบแทนหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ไม่ใช่อายุความเรียกร้องต่อเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้ปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์ทำไว้กับเจ้ามรดก มิใช่ฟ้องอ้างว่าเจ้ามรดกผิดสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อเจ้ามรดกจึงนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ไม่ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องภายใน 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2284/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกของทายาท
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ตกทอดแก่ทายาทคือโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสอง เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยโจทก์ทั้งสามไม่ได้ครอบครองร่วมด้วย อ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2521 โจทก์ทั้งสามทราบแล้ว แต่เพิ่มมาฟ้องคดีมรดกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 พ้น 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องคดีมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748, 1754เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความฟ้องคดีมรดกเสียแล้ว ปัญหาที่โจทก์ทั้งสามอ้างว่าเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2526 จำเลยทั้งสองไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานให้ใส่ชื่อ จำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทเพียงสองคน เป็นการปิดบังทรัพย์มรดก ต้องถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยให้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างโมฆียกรรมของทายาท: ต้องรอจนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายก่อน
คำว่า "ทายาทของบุคคลเช่นว่านั้น" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 อันจะมีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรมซึ่งผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตได้กระทำลง จะมีได้ก็ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวถึงแก่ความตายไปแล้วดังนั้น เมื่อบุคคลดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่และได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆียะ ผู้สืบสันดานของบุคคลเช่นว่านั้นจึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะได้ และไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบอกล้างโมฆียะกรรม: ทายาทมีสิทธิหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น
คำว่า "ทายาทของบุคคลเช่นว่านั้น" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 อันจะมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมซึ่งผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตได้กระทำลง จะมีได้ก็ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวถึงแก่ความตายไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุคคลดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่และได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆียะ ผู้สืบสันดานของบุคคลเช่นว่านั้นจึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะได้ และไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาค้ำประกันหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: สิทธิโจทก์ในการยึดทรัพย์จากกองมรดก
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีในส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับ โดยให้จำเลยหาประกันสำหรับจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ร. ได้เข้ามาทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่าเมื่อคดีถึงที่สุด หากจำเลยแพ้คดีและไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ร.ยอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินของ ร. แปลงที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน ดังนี้ จึงเป็นการที่ ร.ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันหนี้ของจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ร.จะพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยกลับเป็นฝ่ายชนะคดีหรือจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วเท่านั้น ระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด ร.ไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาค้ำประกันโดยที่โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยเพราะมิใช่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ซึ่งผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699 และแม้ ร.จะถึงแก่กรรมไปก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้น โจทก์ก็มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินอันเป็นกองมรดกของ ร.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1782/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้จัดการมรดก: การพิจารณาความเป็นผู้สืบสกุลเจ้ามรดกจากบุตร
พินัยกรรมระบุเงื่อนไขของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกว่าต้องเป็นผู้ที่อยู่ในสกุลของเจ้ามรดก มารดาโจทก์เป็นบุตรเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การครอบครองและระยะเวลาหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีผลต่ออายุความ
โจทก์มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องถือสิทธิครอบครองในที่ดินมรดกร่วมกับ ทายาทอื่นเป็นเวลาประมาณ 30 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งมรดกเกินกว่า1 ปี หลังจากเจ้ามรดก ถึงแก่ความตายคดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ ต. ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตาย โดยขอให้ทายาทของ ต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น แม้ปรากฏว่า ขณะฟ้อง ต. ไม่มีทรัพย์มรดกและทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่น นั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต. ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว แต่ ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่
หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจาก ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิดชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิมหรือมาตรา 1490 ใหม่
ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับ ต.แล้ว และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง.
กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต.มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อมเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อจำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อขายหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต สิทธิเรียกร้องตกเป็นของกองมรดก
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำเลยในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายให้จัดการให้ผู้ที่อยู่อาศัยในห้องแถวออกไปจากห้องและให้โอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินกองมรดกของผู้ตายที่ผู้ตายได้ทำสัญญาจะซื้อขายให้ไว้แก่โจทก์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์อันมีต่อเจ้ามรดกจึงตกอยู่ภายในบังคับของอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 วรรคสาม โจทก์ต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปีนับแต่เมื่อโจทก์ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
of 8