พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีอาญา: พนักงานอัยการมีอำนาจขอให้บังคับคดีได้ แม้ไม่ใช่เจ้าหนี้ตาม ป.วิ.พ.
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทนและบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีอาญา เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วศาลชั้นต้นชอบที่จะบังคับคดีให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา พนักงานอัยการโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความชอบที่จะขอให้ดำเนินการบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ โดยการบังคับคดีของพนักงานอัยการโจทก์นอกจากที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 249 (เดิม) แล้ว กรณีที่ ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติเกี่ยวกับการบังคับคดีไว้โดยเฉพาะ ก็อาจดำเนินการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้ด้วย ทั้งนี้ มิต้องคำนึงว่าพนักงานอัยการโจทก์จะเป็นคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีภายในกำหนดเวลา และสิทธิในการสวมสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้รายใหม่
โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่ดินของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2538 และทรัพย์ที่ยึดอยู่ระหว่างประกาศขายทอดตลาด เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายในกำหนดสิบปีแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์ที่ยึดไว้ให้เสร็จได้ แม้จะเกินกำหนดสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ผู้ร้องอ้างว่าเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องรายนี้ได้จากการขายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งหากเป็นจริงผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้รายนี้แทนโจทก์ และมีความจำเป็นต้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อบังคับคดีให้เสร็จสิ้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีหลังศาลสั่งล้มละลาย ผู้ประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องมีสิทธิบังคับคดีแทนเจ้าหนี้เดิม
โจทก์ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่ดินของจำเลยที่ 2 อยู่ระหว่างประกาศขายทอดตลาด เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายในกำหนดสิบปีแล้ว โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์ที่ยึดไว้ให้เสร็จได้แม้จะเกินกำหนดสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ต่อมาโจทก์ถูกศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นำสิทธิเรียกร้องของโจทก์คดีนี้ออกขายทอดตลาด ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องรายนี้ได้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้รายนี้แทนโจทก์และกรณีมีความจำเป็นต้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อบังคับคดีต่อไปให้เสร็จสิ้นจึงร้องสอดเข้ามาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ซื้อมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมิติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีหมายเลขคดีแดงที่ 317/2544 ของศาลล้มละลายกลางเป็นการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตาม เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการซื้อขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริษัทเลิกแล้วยังถูกฟ้องได้: เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้สินก่อนการชำระบัญชี แม้บริษัทจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดและได้จดทะเบียนเลิกบริษัท แม้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว แต่ก็หาทำให้หนี้สินต่างๆ ของจำเลยที่ 1 สิ้นสุดไปด้วยไม่ เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้เงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ได้ และไม่มีบทกฎหมายใดที่จะต้องให้มีการดำเนินการจดชื่อจำเลยที่ 1 เข้าสู่ทะเบียนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้จากบริษัทที่เลิกบริษัทแล้ว แม้มีการชำระบัญชีแล้ว เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องได้
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดและได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 แม้ต่อมาได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายหลังก็ตาม ก็ไม่ทำให้หนี้สินของจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลง เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระเป็นหนี้ที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1272 แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้ได้ คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้วก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6217/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ: ความจำเป็นและหลักความเท่าเทียม
มูลหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการผู้ร้องจึงได้รับการคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 อยู่แล้ว ทั้งหนี้ของผู้ร้องเกิดจากการชำระเงินซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากการประกาศขายของลูกหนี้ แต่ไม่มีการส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ให้ซึ่งเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ โดยมีเจ้าหนี้อีกหลายรายที่อยู่ในฐานะเดียวกับผู้ร้องที่ต้องจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้เดียวกันและตามมาตรา 90/42 ทวิ และมาตรา 90/42 ตรี สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน การยกเลิกข้อจำกัดสิทธิให้แก่ผู้ร้องจึงก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหนี้รายอื่นในกลุ่มเดียวกัน การจำกัดสิทธิของผู้ร้องจึงยังมีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเจ้าหนี้เรียกร้องจากทายาทหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้ถึงการเสียชีวิต
นอกจากโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นการสบคบกันฉ้อฉลเพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้อง โจทก์ยังฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ ส. เจ้ามรดกได้ทำไว้กับโจทก์ด้วย จึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ฟ้องร้องคดีนี้หลังจากได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกเกินกว่า 1 ปี แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5190/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ฟ้องทายาทได้ แม้ไม่ได้ร่วมโอน
โจทก์บรรยายฟ้องตอนแรกว่า ย. เป็นหนี้ภาษีอากรแก่โจทก์ ก่อนตาย ย. โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่ 1 โดยเสน่หาเพื่อให้พ้นการยึด โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่าง ย. กับจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องเพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันเป็นความรับผิดส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับการให้แล้ว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นบุตรและเป็นทายาทโดยธรรมของ ย. เป็นการบรรยายฟ้องแสดงถึงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในฐานะทายาทซึ่งกองมรดกของ ย. ตกทอดแก่บุคคลดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1600 เมื่อคดีร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ ย. ได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเป็นความรับผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน จึงเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทซึ่งทายาทคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดอาจถูกเจ้าหนี้ฟ้องให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ ฟ้องโจทก์เท่านี้เพียงพอที่จะทำให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่แล้วว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องรับผิดในฐานะทายาทโดยธรรม มิใช่รับผิดในฐานะส่วนตัวอย่างจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นผู้รับการให้โดยเสน่หา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แม้ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4956/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระของเจ้าหนี้หลังการประมูลหุ้นกู้และฟื้นฟูกิจการลูกหนี้
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเป็นผู้ถือหุ้นกู้ของลูกหนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าลูกหนี้จะชำระดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และวันที่ 2 สิงหาคม ลูกหนี้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2540 ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2541 ต่อมาเจ้าหนี้ถูกระงับการดำเนินกิจการและไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้และองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. ได้นำหุ้นกู้ของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ถือไว้ออกประมูลขาย ในการขายหุ้นกู้ดังกล่าว ปรส. ได้ออกข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์การประมูลหุ้นกู้และหุ้นกู้แปลงสภาพภาคเอกชน ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2541 กำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลต้องกรอกราคาประมูลต่อหน่วยของหุ้นกู้ที่ต้องการจะประมูล โดยต้องแสดงด้วยราคาที่รวมดอกเบี้ยค้างรับต่อหน่วยตามสูตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้อธิบายถึงคำว่าดอกเบี้ยค้างรับในกรณีที่การซื้อขายหุ้นกู้ไม่ได้อยู่ในช่วงปิดพักทะเบียนว่าหมายถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ต้องชดเชยแก่ผู้ขายตามสัดส่วน โดยคิดตามจำนวนวันนับจากวันกำหนดจ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุดก่อนส่งมอบจนถึงวันที่ส่งมอบในการประมูลขายหุ้นกู้ดังกล่าวจึงเป็นการประมูลไปซึ่งมูลค่าของหุ้นกู้รวมถึงสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยเพียงนับจากวันกำหนดจ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุดก่อนส่งมอบหุ้นกู้จนถึงกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้อันผู้ประมูลมีสิทธิได้รับ แต่มิได้ประมูลขายดอกเบี้ยค้างชำระที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้รวมไปด้วย ทั้งตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ มาตรา 54 ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ แก่บุคคลที่มิได้มีชื่อในทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ ประกอบกับในหนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นกู้ของลูกหนี้ยังกำหนดให้นายทะเบียนหุ้นกู้จ่ายดอกเบี้ยแต่ละงวดให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นเช็คขีดคร่อมห้ามเปลี่ยนมือสั่งจ่ายในนามผู้ถือหุ้นที่ปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ เช่นนี้ ย่อมหมายความว่าในวันกำหนดจ่ายดอกเบี้ยในแต่ละงวด นายทะเบียนจะต้องจ่ายให้แก่บุคคลที่มีชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ เมื่อขณะที่ถึงกำหนดจ่ายดอกเบี้ยเจ้าหนี้ยังมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นกู้อยู่ยังมิได้โอนไปยังผู้ประมูลซื้อได้ สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่ค้างชำระดังกล่าวจึงเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย