พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันกับการบังคับคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดียังมีอำนาจดำเนินการได้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22(2)บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นแม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตามเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา110วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา112ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วนแต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา110วรรคท้าย ผู้คัดค้านที่1เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลายเพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่งแม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่1จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค4ลักษณะ2การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483แต่ประการใดไม่โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา306
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซึ่งมีตราสารกับการจำนำ: ข้อจำกัดสิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
สิทธิซึ่งมีตราสารหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่ได้หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้ (จำเลย) มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามนัยมาตรา 750 แห่ง ป.พ.พ. เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96 (3) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ไม่เป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกัน
สิทธิซึ่งมีตราสารย่อมหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้น หาได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสารในความหมายดังกล่าวไม่ แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 96(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกัน: เจตนาและหลักฐาน
ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันด้วยความพลั้งเผลอ ไม่ได้มีเจตนาปกปิดเรื่องการจำนองเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่นเนื่องจากผู้ร้องได้ระบุหมายเลขคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองมาในช่องหลักฐานประกอบหนี้ของคำขอรับชำระหนี้ ซึ่งปรากฏรายการจำนองทรัพย์ในคำพิพากษาดังกล่าว และผู้ที่ผู้ร้องมอบหมายก็ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้น-สอบสวนว่า หนี้ของผู้ร้องเป็นหนี้มีประกัน และอ้างส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์และสัญญาจำนองต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้เป็นขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นมีประกัน: ศาลอนุญาตได้หากเกิดจากความพลั้งเผลอ
ผู้ร้องโดย ธ.ผู้รับมอบอำนาจและส. ซึ่งผู้ร้องมอบหมายให้ไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ได้ปิดบังเรื่องการจำนองเป็นประกันหนี้ที่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากผู้ร้องมีเจตนาที่จะปิดบังเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องคงไม่ระบุหมายเลขคดีของคำพิพากษาในช่องหลักฐานประกอบหนี้ของคำขอรับชำระหนี้ เพราะจะปรากฏรายการจำนองทรัพย์ในคำพิพากษาและ ส. ก็คงจะไม่ให้ถ้อยคำชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ว่าเป็นหนี้มีที่ดินจำนองเป็นประกันและคงจะไม่อ้างส่งต้นฉบับน.ส.3 ก. และสัญญาจำนองต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ทำการสอบสวนถือว่าผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันเนื่องจากความพลั้งเผลอ สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 97
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกัน: ศาลอนุญาตได้หากเกิดจากความพลั้งเผลอ ไม่ได้มีเจตนาปกปิด
ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันด้วยความพลั้งเผลอ ไม่ได้มีเจตนาปกปิดเรื่องการจำนองเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่นเนื่องจากผู้ร้องได้ระบุหมายเลขคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองมาในช่องหลักฐานประกอบหนี้ของคำขอรับชำระหนี้ซึ่งปรากฏรายการจำนองทรัพย์ในคำพิพากษาดังกล่าว และผู้ที่ผู้ร้องมอบหมายก็ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนว่า หนี้ของผู้ร้องเป็นหนี้มีประกัน และอ้างส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์และสัญญาจำนองต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้เป็นขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำเงินฝาก vs. เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: สิทธิการหักกลบลบหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 ในการจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำและยินยอมให้ผู้ร้อง นำเงินจำนวน 1,396,774.06 บาท ที่ฝากไว้ตามใบรับฝากเงินประจำของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่ค้างชำระต่อผู้ร้อง แต่เงินฝากประจำจำนวนดังกล่าวที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้น ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้และผู้ร้อง คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้นจึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงหามีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ของจำเลยในทางจำนำหรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำไม่ ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำเงินฝาก vs. เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: สิทธิหักกลบลบหนี้
แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำให้ผู้ร้องไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีขึ้นในอนาคตและตกลงยอมให้ผู้ร้องหักเงินฝากดังกล่าวชำระหนี้ของจำเลยที่ค้างชำระต่อผู้ร้องได้ แต่เงินฝากประจำที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินฝากไปได้ และผู้ร้องคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้น จึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 ผู้ร้องมีสิทธิขอนำเงินฝากประจำของจำเลยมาหักกลบลบหนี้กับจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102แต่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ผู้ร้องนำเข้าฝากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยเรื่อยมาจนถึงเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดอกเบี้ยและเงินฝากตามบัญชีกระแสรายวันที่ผู้ร้องนำมาขอหักกลบลบหนี้ จึงมิใช่เป็นเงินที่ผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมายล้มละลาย: ทรัพย์สินที่จำนองต้องเป็นของจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายด้วยหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีบุคคลอื่นจำนองที่ดินเป็นประกัน โจทก์ย่อมไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6 เพราะที่ดินที่จำนองไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนอง จึงสามารถฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตามมาตรา 9 โดยมิต้องปฏิบัติตาม มาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: ทรัพย์สินจำนองต้องเป็นของจำเลย
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ โดยมี จ.นำที่ดิน 2 แปลงจำนองเป็นประกัน ที่ดินที่จำนองไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนอง โจทก์จึงไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6