คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องโทรศัพท์ไร้สาย และอำนาจประเมินภาษีเพิ่มเติมของเจ้าหน้าที่
สินค้าพิพาทต้องใช้คู่สายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงจะใช้งานได้ จึงต้องจัดเข้าอยู่ในประเภทพิกัดที่ 8517.10เพราะพิกัดนี้เป็นพิกัดย่อยของพิกัดใหญ่ประเภทที่ 85.17ซึ่งระบุว่าได้แก่เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์หรือโทรเลขแบบใช้สาย เมื่อสินค้าพิพาทจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 8517.10 อัตราภาษีร้อยละ 40 แต่จำเลยที่ 1 สำแดงและชำระภาษีอากรในประเภทพิกัดที่ 8525.20 อัตราภาษีร้อยละ 5จำเลยที่ 1 จึงชำระภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระเพิ่มเติมเสียให้ถูกต้องได้ มิพักต้องคำนึงว่าการประเมินผิดพลาดในชั้นแรกที่ตรวจปล่อยสินค้านั้นเป็นการกระทำโดยสุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ ทั้งมิใช่เป็นการบังคับใช้กฎหมายให้มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่จำเลย เนื่องจากหน้าที่เสียค่าภาษีของจำเลยเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ละเว้นการแจ้งป่าสงวนก่อนออก น.ส.3ก. ทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ
ที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อออก น.ส.3 ก. ไม่มีการแจ้งให้เจ้าพนักงานป่าไม้ไประวางแนวเขต เมื่อนายอำเภอมีคำสั่งให้ตรวจสอบแนวเขตที่ดิน เพราะมีเหตุสงสัยว่าที่ดินที่ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตติดต่อกับเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอมีหน้าที่ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานป่าไม้ไประวางแนวเขตตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินกับกรมป่าไม้ว่าด้วยการพิสูจน์ที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เกี่ยวกับเขตป่าไม้ พ.ศ. 2424 จำเลยไม่ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานป่าไม้ไประวางแนวเขตแต่กลับรายงานต่อนายอำเภอที่เกิดเหตุทั้งสามแปลงไม่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นเหตุให้นายอำเภอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ให้แก่ ส. เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตร 157,162(4) แต่การกระทำดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากหน้าที่ตรวจสอบการจัดซื้อพัสดุ: ความรับผิดของเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจอนุมัติ
หน้าที่ของคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ คือต้องตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายละเอียดของพัสดุที่เสนอขึ้นไป และคัดเลือกพัสดุซึ่งเสนอขึ้นไปนั้นให้ถูกต้องตรงกับที่กำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตรวจคุณลักษณะของสมุดตัวอย่างที่ร้านพัฒนาพานิชเสนอขายแต่เพียงใช้มือจับและตาดูเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะไม่มีความรู้ในเรื่องคุณลักษณะของเนื้อในของสมุดที่ต้องตรวจคุณลักษณะก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับการแต่งตั้งมอบหมายให้เป็นกรรมการเปิดซองประกวดราคาจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ขวนขวายดำเนินการศึกษางานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพียงแต่ตรวจคุณลักษณะเนื้อในของสมุดโดยการจับด้วยมือและดูด้วยตาเท่านั้นยังไม่เพียงพอ และเมื่อปรากฏว่าสมุดที่ร้าน พ.เสนอขายไม่ใช่ขนาดตามที่กำหนดไว้ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ และเป็นผู้เห็นชอบให้ซื้อสมุดที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสนอมา ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2524 ข้อ 22 ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุไว้ว่า ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธีนอกจากการซื้อที่ดินตามข้อ23 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42 (4) กำหนดว่า เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใดให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงที่จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของพัสดุที่จะซื้อ แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4ปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
จำเลยที่ 5 ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดจำเลยที่ 6 ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด จำเลยที่ 7 รองผู้ว่าราชการจังหวัด และจำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัด มีหน้าที่เพียงแต่เสนอความเห็นตามลำดับชั้นว่าควรจัดซื้อพัสดุหรือไม่ โดยไม่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณลักษณะเนื้อในของสมุดดังกล่าว การที่จำเลยที่ 8 เป็นผู้อนุมัติให้จัดซื้อซึ่งหากไม่มีการเสนอความเห็นตามขั้นตอนจากคณะกรรมการรับซอง คณะกรรมการเปิดซองและตรวจรับพัสดุแล้ว จำเลยที่ 8 ก็ไม่อาจสั่งการจัดซื้อได้เพราะไม่ผ่านขั้นตอนในการจัดซื้อตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนจำเลยที่ 7 เมื่อจำเลยที่ 8 อนุมัติให้จัดซื้อเพียงแต่ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ซื้อเท่านั้นเองดังนี้ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุมีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2524 ข้อ 22 ซึ่งกำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องซื้อหรือจ้าง รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42 (4) ให้คณะกรรมการเปิดซองหรือกรรมการจัดซื้อเสนอความเห็นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนั้นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุจึงมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะอ้างว่าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นหาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ของเงินค่าเสียหายดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 3 ทำบันทึกเสนอจำเลยที่ 4ซึ่งเป็นวันทำละเมิด
จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นผู้เสนอความเห็นตามที่จำเลยที่ 3ที่ 4 เสนอผ่านมาเท่านั้น ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษ และได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วไม่ได้ประมาทเลินเล่อแต่ประการใด จึงไม่เป็นการละเมิด
แม้สัญญาซื้อขายฉบับพิพาทไม่ได้ระบุรายละเอียดคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อว่ามีขนาด 60 แกรม อาจเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องผู้ขายไม่ได้เมื่อปรากฏว่าจำเลยผู้ทำสัญญาได้ระบุไว้ในสัญญาไว้แล้วว่า ผู้ขายยอมรับว่าสิ่งของที่ขายให้ตามสัญญานี้มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างของผู้ขายที่จำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว ดังนี้จำเลยผู้ทำสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทจึงไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะทำตามคำสั่งอนุมัติของจำเลยที่ 8 แล้ว
การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่รายงานการที่ผู้ขายนำสมุดไปส่งตามสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอต่าง ๆ ล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จังหวัดไม่ได้ปรับผู้ขายนั้น แม้ตามสัญญาซื้อขายจะระบุให้ผู้ขายนำสมุดไปส่งมอบ ณ ที่ทำการการประถมศึกษาประจำอำเภอต่าง ๆ แต่เมื่อปรากฏว่ามีข้อขัดข้องคือทางแผนกศึกษานิเทศไม่ได้กำหนดว่าอำเภอใดจะได้จำนวนกี่เล่ม และคณะกรรมการตรวจรับสมุดดินสอก็ไม่ได้แต่งตั้ง การที่จำเลยที่ 3ตรวจรับสมุด ณ ที่ทำการประถมศึกษาจังหวัด เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการรับมอบสมุดไว้แทนอำเภอต่าง ๆ ซึ่งต่อมาทางอำเภอต่าง ๆ ได้ตรวจรับถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
จังหวัดได้ส่งสำนวนการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์โดยเลขานุการกรมโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2529 ทางสำนักงานเลขานุการกรมส่งเรื่องทั้งหมดไปให้งานนิติการโจทก์เพื่อทำการตรวจสำนวน งานนิติการรับเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2529 งานนิติการได้สรุปสำนวนและเสนอความเห็นมายังรองเลขาธิการโจทก์เมื่อเดือนตุลาคม 2529 นอกจากนี้ยังได้ขอทราบราคากระดาษว่าต่างกันอย่างไร ต่อมาได้ส่งเรื่องไปกรมบัญชีกลางเพื่อทราบค่าเสียหาย ในที่สุดได้เสนอเรื่องไปยังเลขาธิการโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2530 ดังนี้ เมื่อสำนวนการสอบสวนมาถึงสำนักงานโจทก์ครั้งแรก ไม่ได้นำเสนอเลขาธิการโจทก์ในทันทีเพราะมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานอีกมากมาย แต่เพิ่งเสนอเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 เมื่อนับถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตเวนคืนชอบด้วยกฎหมาย หากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามขั้นตอน เว้นแต่มีเหตุให้ตกเป็นโมฆะ
เมื่อมีประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนงเขตยานนาวาเขตปทุมวันเขตบางรักเขตสัมพันธ์วงศ์เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเขตพระนครเขตดุสิตเขตบางเขนเขตพญาไทและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครพ.ศ.2530ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16มิถุนายน2530เป็นต้นไปมีกำหนด5ปีกำหนดให้อสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ดังกล่าวภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาอยู่ในเขตที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนโดยให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่2เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองได้ทำการสำรวจที่ดินโฉนดเลขที่1948ของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตที่จะเวนคืนและได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นคณะกรรมการฯได้วางหลักเกณฑ์การคิดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะเวนคืนโดยมีมติให้ใช้บัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ.2535ในการคิดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่2ได้ทำการสำรวจที่ดินของโจทก์แล้วซึ่งเป็นการสำรวจก่อนที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2530จะสิ้นอายุในวันที่16มิถุนายน2535ต่อมาเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักรเขตบางซื่อ ฯลฯพ.ศ.2535กำหนดให้อสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ดังกล่าวภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาอยู่ในเขตที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบรถไฟขนส่งมวลชนประกาศใช้อันมีผลบังคับใช้ในวันที่29สิงหาคม2535โดยกำหนดให้จำเลยที่2เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฉบับก่อนซึ่งเหตุผลในการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2535ก็เนื่องจากการเวนคืนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2530ยังไม่แล้วเสร็จดังนั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2535จึงเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกต่อเนื่องในกิจการเดียวกันทั้งนี้เมื่อไม่มีการกำหนดแนวเวนคืนเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงแนวเวนคืนเดิมจึงไม่มีเหตุจำเป็นอย่างใดที่จำเลยที่2จะต้องดำเนินการสำรวจที่ดินของโจทก์ใหม่อีกเพราะจำเลยที่2ได้ดำเนินการไปเรียบร้อยตามอำนาจหน้าที่โดยมีกฎหมายรองรับอยู่โดยชอบแล้วในขณะนั้นแล้วนอกจากนั้นในการคิดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2535ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนแล้วซึ่งคณะกรรมการได้ถือเอาราคาตามบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ.2535มาเป็นราคาเบื้องต้นที่กำหนดสำหรับที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองกำหนดให้ใช้บัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ.2535อันเป็นราคาประเมินที่สูงกว่าและจำเลยทั้งสองเห็นว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ซึ่งโจทก์ก็ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยตามมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ดังนั้นถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์แล้วสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในเขตที่จะเวนคืนจึงชอบด้วยกฎหมายเพราะหลังจากได้ปฏิบัติตามขั้นตอนมาดังกล่าวแล้วสัญญาซื้อขายนั้นก็ได้กระทำในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2535ใช้บังคับโดยจำเลยที่2มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวกับโจทก์ได้ตามมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งถ้าโจทก์เห็นว่าค่าทดแทนตามสัญญาดังกล่าวไม่เป็นธรรมก็ยังมีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดวิธีแก้ไขให้โจทก์ขอความเป็นธรรมต่อไปได้โดยยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและถ้ายังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยในกำหนดเวลาโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา25และ26แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหนังสือค้ำประกันสัญญา และความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้คืน แม้ธนาคารคืนหลักประกันแล้ว
แม้ผู้ค้ำประกันสัญญาว่าจ้างจะได้รับการเวนคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างซึ่งเป็นเอกสารแห่งหนี้ เข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม ว่า หนี้เป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อผู้รับจ้างยังมิได้ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างแก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวระงับไปด้วยเหตุประการอื่น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างได้ก็ตาม แต่หากธนาคารคืนหลักทรัพย์ที่ผู้รับจ้างนำมาวางเป็นหลักประกัน เนื่องจากผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันมาคืนธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันโดยเฉพาะคดีนี้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของโจทก์คือจำเลยทั้งสามคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้รับจ้างไปเองยากที่โจทก์จะให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิด ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยทั้งสามจึงต้องมีส่วนรับผิดตามสัญญาว่าจ้างร่วมกับผู้รับจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ออกบัตรประชาชนปลอมโดยละเว้นการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
จำเลยเป็นหัวหน้างานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาลเทศบาลเมือง มีหน้าที่สอบสวนให้ได้ความจริงกรณีมีประชาชนมาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในกรณีบัตรสูญหาย เพื่อตรวจสอบ ให้ได้ความจริงว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ แต่จำเลย กลับสอบสวน ร. ผู้มาขอบัตรใหม่เพียงคนเดียว แล้วฟังว่าร. กับ จ. เป็นคนเดียวกัน ซึ่งไม่เป็นความจริง ทั้งนี้โดยจำเลยได้ทราบมาก่อนจาก ส. พยานโจทก์แล้วว่าร. กับ จ. เป็นคนละคนกัน เมื่อจำเลยสอบสวนแล้วก็ได้อนุมัติออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ร. ในนาม จ.โดยปราศจากอำนาจ และจำเลยมิได้นำเสนอหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลหรือปลัดเทศบาลหรือรองปลัดเทศบาลผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติออกบัตรประจำตัวประชาชนตามระเบียบของทางราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ จ. สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลเมืองและกรมการปกครอง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจอนุมัติต่ออายุสัญญาถูกต้อง ไม่ถือเป็นการละเมิด
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุข้อ 52(2) ได้กำหนดให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างในกรณีการจ้างเหมาเกินกว่า2,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 8,000,000 บาท และ ข้อ 64กำหนดให้มีการต่ออายุสัญญาสำหรับวงเงินสั่งซื้อหรือสั่งจ้างที่เกิดอำนาจหน้าที่หัวหน้าส่วนราชการให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ดังนั้น การแสดงความเห็นของจำเลยที่ 1 ถึง 7 เกี่ยวกับขอต่ออายุสัญญา จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของ การพิจารณาว่าจะต่ออายุสัญญาให้หรือไม่เท่านั้น จำเลยที่ 1 ถึง 7เป็นเพียงอาจารย์ของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง จึงมิใช่ผู้มีอำนาจในการนี้การเสนอความเห็นดังกล่าวขึ้นมาก็เพราะโจทก์เป็นผู้สั่งให้ทำความเห็นผู้มีอำนาจอนุญาตหาจำต้องเห็นด้วยเสมอไปไม่ในเมื่อการปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างของจำเลยที่ 1 ถึง 7 นั้นได้ดำเนินการตรวจสอบอาคารโดยเคร่งครัดอยู่แล้ว และไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7 ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย เพราะในการพิจารณา ให้ความเห็นอาศัยข้อมูลที่พบเห็นในการควบคุมดูแลการก่อสร้างและข้อมูลที่ผู้รับจ้างส่งมา ส่วนเรื่องไม้แบบนั้นเมื่อตามสัญญาจ้าง มิได้ระบุชัดแจ้งว่าต้องใช้ไม้ใดทำแบบ และกรณีเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงรายการไม้วงกบ เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่ จะต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชนิดไม้เอง ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 8 ซึ่งมาช่วยราชการกองคลังของโจทก์ฝ่ายพัสดุจำเลยที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 10เป็นเจ้าหน้าที่บริการการเงินและบัญชีของโจทก์ จำเลยที่ 11เป็นผู้อำนวยการกองคลังของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 8 ถึง 11เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ผู้กลั่นกรองงานเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับนั้น โดยหาข้อเท็จจริงและนำเสนอรายละเอียดของเรื่องราวต่าง ๆ ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือให้สั่งการพร้อมความเห็นตามที่ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุสัญญาซึ่งมิใช่การอนุญาตให้ต่ออายุสัญญา และเหตุเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งก็มีความเห็นให้เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาเท่านั้น มิได้ลงความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาหรือไม่แล้วจำเลยที่ 11 ได้รายงาน เสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป พร้อมด้วยหลักฐานและที่ว่า มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตได้ก็เป็นการลงความเห็นตาม พยานหลักฐานที่ปรากฏ มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึง 11 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 12 เป็นรองอธิบดีฝ่ายวิชาการ ขณะเกิดเหตุรองอธิบดีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไม่อยู่ จำเลยที่ 12 จึงได้ตรวจงานแทนแล้วเสนอผ่านขึ้นไปยังอธิบดีเพื่อให้พิจารณาข้อเสนอ ตามที่กองคลังเสนอมาตามลำดับชั้น จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 12 จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 13 เพิ่งมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโจทก์ภายหลังอธิบดีคนเดิมซึ่งได้เคยพิจารณาการต่ออายุสัญญาจ้างรายนี้มาก่อนและเคยมีหนังสือหารือไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องไปให้กรมอัยการพิจารณา กรมอัยการแจ้งผลการพิจารณาว่าการต่ออายุสัญญาอยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการหรือปลัดกระทรวงแล้วแต่กรณีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ข้อ 64 และการต่ออายุสัญญากระทำได้เฉพาะกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเพราะความผิดของผู้ว่าจ้างเท่านั้น กรณีตามข้อหารือคงมีปัญหาแต่เพียงว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อกรณีถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างได้และเมื่อจำเลยที่ 13 ได้รับเรื่องราวดังกล่าวเสนอมาเมื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีแล้ว ยังได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาประชุมชี้แจงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีข้อหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างเป็นอย่างอื่น จึงได้เสนอเรื่องต่อไปยังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่ออนุญาตให้ต่อสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างตามที่คณะกรรมการตรวจการจ้างเสนอและจำเลยที่ 13 ยังได้มีความเห็นที่ไม่ควรต่ออายุสัญญากรณีเปลี่ยนแปลงรายการไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างด้วย ซึ่งเป็นการใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและพิจารณาคำขออย่างรอบคอบตามสมควรแล้ว มิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายเช่นกัน จำเลยที่ 14 ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการเมื่อจำเลยที่ 13 เสนอความเห็นมาเป็น 2 ข้อ คือข้อแรกควรอนุญาตให้ต่ออายุสัญญาก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 138 วันข้อสองกรณีขออนุมัติเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างว่าน่าจะถือเป็นความบกพร่องของผู้รับจ้างเองที่ไม่ขออนุญาติให้ถูกต้องก่อนนำมาใช้ น่าจะไม่อนุญาต จำเลยที่ 14 ก็ได้ตรวจสอบเรื่องราวที่ขออนุญาตในเอกสารที่เกี่ยวข้องและพบว่ากรมโจทก์เคยมีหนังสือหารือเรื่องเหตุสุดวิสัยไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี ได้หารือเรื่องดังกล่าวไปยังกรมอัยการกรมอัยการตอบมาว่าหากผู้รับจ้างได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรและไม่อาจป้องกันได้ และกรมโจทก์ไม่อาจหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างให้รับฟังเป็นอย่างอื่นกรณีก็ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างการต่ออายุสัญญาเนื่องจากเหตุสุดวิสัยซึ่งทำได้ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรีก่อนตัดสินใจจำเลยที่ 14 ยังได้เชิญผู้อำนวยการกองคลัง และนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมปรึกษาหารือแล้วจึงมีความเห็นอนุมัติ ส่วนข้อสองจำเลยที่ 14 คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ผู้รับจ้างอ้างว่ารายการไม้กำหนดไว้ไม่ชัดแจ้ง และสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ทำวงกบนั้นไม่ชัดแจ้งจริง และก่อนที่จะพิจารณาได้รับแจ้งจากโจทก์ว่าอาคารตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างนั้น โจทก์ได้ใช้ประโยชน์เรียบร้อยแล้ว จึงเชื่อว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ประกอบกับได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการขอเปลี่ยนแปลงวงกบประตูหน้าต่าง เป็นงานที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายแล้ว การรอให้มีการอนุญาตก่อนแล้วจึงเปลี่ยนทำให้ผู้รับจ้างต้องรอเรื่องอนุญาตจากโจทก์นานถึง 86 วัน โดยไม่อาจดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้ และไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้างเป็นเหตุสุดวิสัย จึงสมควรต่ออายุสัญญาให้โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามหนังสือเวียนของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และโจทก์ได้ยอมรับว่าสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ทำวงกบไม่ชัดแจ้ง ทั้งก่อนตัดสินใจได้เชิญผู้อำนวยการกองคลังและนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาร่วมปรึกษาหารือแล้ว จึงมีความเห็น เมื่อจำเลยที่ 14 มิได้ดำเนินการโดยพลการ แต่ได้ติดต่อประสานงานกับสำนักนายกรัฐมนตรีกรมอัยการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสิบสี่มิได้ทุจริต ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาหากซื้อเก็บไว้นานเกิน 30 วัน ก็จะเสื่อมคุณภาพ ประกอบกับการขอต่ออายุสัญญาภายหลังสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็อาจกระทำได้ตามหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และแม้ไม่อยู่ในช่วงที่คณะรัฐมนตรีอนุญาตให้ต่อสัญญาได้เพราะขาดแคลนปูนซีเมนต์ แต่ก็อาจมีปัญหาด้านการกักตุนและเก็งกำไรในบางท้องที่ได้ ซึ่งย่อมอยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการคู่สัญญาที่จะได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ผู้มีอำนาจตามระเบียบการพัสดุย่อมสามารถพิจารณาวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ของตนได้เมื่อมีเหตุสุดวิสัย ตามหนังสือของสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ จำเลยที่ 14 ใช้ดุลพินิจสั่งการตามอำนาจหน้าที่ไปโดยสุจริต มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุเบียดบังเงินค่าเช่ารายการ ถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 ไม่ได้บัญญัติให้สถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรเป็นส่วนราชการของกรมส่งเสริมการเกษตรแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8วิทยุการเกษตรตามคำสั่งแต่งตั้งของอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรมิใช่ถูกแต่งตั้งอย่างข้าราชการไม่มีการสอบคัดเลือกและไม่ต้องรับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งก็เป็นไปตามที่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเห็นสมควร ดังนี้ ฐานะของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ดำเนินงานของสถานีวิทยุปชส.8 วิทยุการเกษตร ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร จำเลยที่ 1จึงไม่ใช่เจ้าพนักงาน โจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 รวมอยู่ด้วย ทั้งความผิดตามมาตรา 353 ก็มีโทษเบากว่าความผิดตามมาตรา 151 และ 157ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และหากทางพิจารณาได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 353 หรือไม่ ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตนำเอาเวลาออกอากาศให้บ.เช่าจัดรายการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรและเบียดบังเอาเงินค่าเช่าจาก บ.ไปเป็นของตนโดยไม่นำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของสถานีวิทยุดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้รับมอบหมายและมิได้มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่ได้ช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนและขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 และการกระทำของจำเลยที่ 2เป็นความผิดตามมาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่เรียกรับเงินจากผู้รับเหมาช่วงตรวจรับงาน เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ขณะเกิดเหตุจำเลยได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยา1หลังและปรับปรุงต่อเติมบ้านพักแถวเรือนแฝด1หลังผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดและได้รับจ้างเหมาดังกล่าวก่อนมีการทำสัญญาจ้างจำเลยขอยืมเงินผู้เสียหายจำนวน5,000บาทและในวันที่20พฤษภาคม2530ผู้เสียหายได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยอีกจำนวน15,000บาทการที่จำเลยทราบอยู่แล้วว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดซึ่งจำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างอยู่ด้วยย่อมอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมได้และการที่ผู้เสียหายยอมให้จำเลยยืมเงินดังกล่าวก็เพราะไม่อาจปฏิเสธได้การกระทำของจำเลยส่อไปในทางทุจริตและเป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการตามมาตรา85แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2518ว่าด้วยเรื่องบริจาคทั้งต่อมาเมื่อมีการออกเช็คสั่งจ่ายค่าจ้างเหมาจำนวน123,453บาทและจำเลยได้นำเช็คไปขึ้นเงินสดที่ธนาคารระหว่างรอรับเงินผู้เสียหายได้ตามไปที่ธนาคารและขอให้โอนเงินตามเช็คเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายจากนั้นจำเลยได้ตามผู้เสียหายไปที่บ้านเพื่อขอใบรับเงินจากผู้เสียหายจำเลยได้เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายอีกจำนวน29,000บาทโดยหักจากเงินที่ขอยืมไปจำนวน5,000บาทและให้ผู้เสียหายจ่ายให้จำนวน24,000บาทจึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้นในที่สุดผู้เสียหายก็ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยเพียง15,000บาทพฤติการณ์ที่จำเลยรับเงินจากผู้เสียหายดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการที่ผู้เสียหายรับจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยาที่จำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างอันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยการที่จำเลยเรียกร้องจากผู้เสียหายดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และความรับผิดจากละเมิดของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกลักทรัพย์โจทก์ไปครั้งเดียวข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 และมาตรา 44 และในการพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังกล่าวป.วิ.อ.มาตรา 40 และมาตรา 47 กำหนดว่าต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.และกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อศาลสั่งให้จำเลยที่ 1และที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ ป.วิ.อ.มาตรา 50 ให้ถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 249 ฉะนั้น การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาและในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้มีคำขอให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหาย จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีส่วนอาญาดังกล่าวด้วย ดังนั้น โจทก์จะรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 148 จำเลยที่ 3 ละทิ้งหน้าที่เฝ้ายามไปเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 148
of 26