พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงาน กรณีละเลยดูแลทรัพย์ของกลางจนสูญหาย
จำเลยที่2กับที่3ต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่1ได้ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่1และมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่1จำเลยที่1มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่2กับที่3มิให้เกิดความเสียหายส่วนจำเลยที่2กับที่3มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตนเมื่อประมาทเลินเล่อไม่ได้ดูแลรักษาตามสมควรเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคหนึ่งจำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2กับที่3รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์จะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดชอบของตนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ: การบังคับใช้กฎหมายและการตกเป็นของแผ่นดิน
การที่นายกรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ ไม่เป็นการตัดอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่จะส่งเรื่องให้พนักงาน-อัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาผู้คัดค้านที่ 1 ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ป.ในระหว่างที่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติคณะกรรมการ ป.ป.ป. จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนเรื่อยมาและได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาล เป็นการกระทำเกี่ยวพันสืบต่อกันมาโดยมุ่งหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ขณะยื่นคำร้องผู้คัดค้านที่ 1 เกษียณอายุราชการแล้วก็ตาม ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 20 ที่บัญญัติให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาโดยมิชอบตกเป็นของแผ่นดินนั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอันเป็นวิธีการทางวินัยเท่านั้น มิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ ดังนั้น กฎหมายนี้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ในขณะที่กฎหมายนี้ใช้บังคับได้เพราะการได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบด้วยหน้าที่นั้นเป็นการผิดวินัยตั้งแต่ที่ได้รับมา
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 21 จัตวา เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลา มิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้ว
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน แม้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่ได้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2524 ก็ตาม
มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาผู้คัดค้านที่ 1 ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ป.ในระหว่างที่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติคณะกรรมการ ป.ป.ป. จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนเรื่อยมาและได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาล เป็นการกระทำเกี่ยวพันสืบต่อกันมาโดยมุ่งหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ขณะยื่นคำร้องผู้คัดค้านที่ 1 เกษียณอายุราชการแล้วก็ตาม ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 20 ที่บัญญัติให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาโดยมิชอบตกเป็นของแผ่นดินนั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอันเป็นวิธีการทางวินัยเท่านั้น มิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ ดังนั้น กฎหมายนี้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ในขณะที่กฎหมายนี้ใช้บังคับได้เพราะการได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบด้วยหน้าที่นั้นเป็นการผิดวินัยตั้งแต่ที่ได้รับมา
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 21 จัตวา เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลา มิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้ว
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน แม้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่ได้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2524 ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ แม้พ้นจากตำแหน่งแล้ว และผลย้อนหลังของกฎหมายป้องกันการทุจริต
การที่นายกรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ไม่เป็นการตัดอำนาจของคณะกรรมการป.ป.ป.ที่จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาผู้คัดค้านที่1ต่อคณะกรรมการป.ป.ป.ในระหว่างที่ผู้คัดค้านที่1เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้คัดค้านที่1ร่ำรวยผิดปกติคณะกรรมการป.ป.ป.จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนเรื่อยมาและได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลเป็นการกระทำเกี่ยวพันสืบต่อกันมาโดยมุ่งหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่1ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแม้ขณะยื่นคำร้องผู้คัดค้านที่1เกษียณอายุราชการแล้วก็ตามส่วนผู้คัดค้านที่2และที่3นั้นไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนผู้คัดค้านที่1ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่1ตกเป็นของแผ่นดินพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518มาตรา20ที่บัญญัติให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาโดยมิชอบตกเป็นของแผ่นดินนั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอันเป็นวิธีการทางวินัยเท่านั้นมิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ดังนั้นกฎหมายนี้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ในขณะที่กฎหมายนี้ใช้บังคับได้เพราะการได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบด้วยหน้าที่นั้นเป็นการผิดวินัยตั้งแต่ที่ได้รับมาพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518มาตรา21จัตวาเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลามิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนแม้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่ได้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.2524ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้บังคับบัญชาต่อความเสียหายจากละเลยหน้าที่
จำเลยที่2เป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่1มีหน้าที่ตรวจสอบรายงานเงินคงเหลือประจำทุกวันแต่กลับไม่ตรวจสอบไม่ลงลายมือชื่อเป็นกรรมการรักษาเงินในรายงานเงินคงเหลือประจำวันและไม่กวดขันให้กรรมการรักษาเงินคนอื่นตรวจสอบหลักฐานการรับเงินและตัวเงินสดและลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวันเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์ไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์เมื่อผลของการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่1ยักยอกเงินของโจทก์ไปการกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่2มีตำแหน่งเป็นเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานมีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบบังคับบัญชากิจการต่างๆของสำนักงานปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลรับผิดชอบบังคับบัญชาจำเลยที่1และที่3ให้ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์จำเลยที่2จึงต้องรับผิดมากกว่าจำเลยที่3 จำเลยที่3ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่1และที่2ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์อาจจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ขึ้นได้แต่จำเลยที่3ก็มิได้รายงานเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือจำเลยที่2ขึ้นไปทราบเสียในทันทีเพื่อจะได้สั่งการแก้ไขการที่จำเลยที่3ปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้นจำเลยที่3ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดโจทก์ลงนามรับทราบเรื่องในวันใดถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวอายุความละเมิดเริ่มนับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ, การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ, การตรวจรับงาน, ความรับผิดทางละเมิด
โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สินหนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯเป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดพ.ศ.2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัดถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่4และที่5ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754 ตามระเบียบของทางราชการคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งหากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น1ปีหลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงานณสถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้องสมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6205/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่ทุจริตจ่ายเงินทดแทนโดยมิชอบ และความผิดสนับสนุน
จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน แต่จำเลยที่ 3กับพวกก็คิดค่าทดแทนให้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตร่วมกันทำเอกสารมีข้อความเป็นเท็จ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,162(1)(4) ประกอบด้วยมาตรา 83 ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบทหนัก ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบและจ่ายเงินทดแทนทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน จากตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าว ย่อมจะต้องเห็นความสำคัญของงานที่ทำที่มีผู้ประสงค์จะแสวงหาประโยชน์อยู่มาก และความสำคัญของเอกสารที่ตนลงชื่อ การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่ามีงานอื่นที่สำคัญและต้องทำอีกมากไม่มีเวลาออกไปตรวจสอบที่ดินของราษฎรนั้น ไม่มีเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนากระทำความผิดกับจำเลยที่ 3และจำเลยอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,162(1)(2) ประกอบด้วยมาตรา 83 ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบทหนัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ: ความประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบทรัพย์สินและการรับผิดร่วม
จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้ร่วมเป็นอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน จึงมีหน้าที่ต้องไปดูบริเวณที่ดินและตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรเพื่อให้ทราบถึงจำนวนเงินที่แท้จริงที่โจทก์จะต้องจ่ายค่าทดแทนและค่ารื้อย้ายทรัพย์สินการที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่ตรวจดูรายงานของเจ้าหน้าที่คนอื่นแล้วร่วมลงชื่อ โดยมิได้ออกไปปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเอง จึงเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และเป็นสาเหตุให้โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนทรัพย์สินของราษฎรตามที่คณะอนุกรรมการเสนอเรื่องไป ความเสียหายที่โจทก์จ่ายเงินทดแทนเกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินตามความเป็นจริงจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ร่วมกับบุคคลอื่นกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 กับบุคคลอื่นดังกล่าวร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในความเสียหายทั้งหมดแต่เพียงคนเดียวก็ได้ คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในการกระทำละเมิดต่อโจทก์คดีนี้ได้สอบสวนมีความเห็นว่า จำเลยทั้งหกเป็นผู้กระทำละเมิด ควรลงโทษทางวินัยและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหก ได้เสนอเรื่องราวตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดีกรมโจทก์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2527 ในวันเดียวกันอธิบดีกรมโจทก์เห็นว่ายังไม่มีการเสนอเรื่องผ่านรองอธิบดีเป็นการผิดขั้นตอน จึงมีคำสั่งให้เสนอรองอธิบดีพิจารณาเรื่องก่อน รองอธิบดีเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมโจทก์เมื่อวันที่3 กุมภาพันธ์ 2527 และอธิบดีกรมโจทก์มีบันทึกเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2527 เมื่อปรากฏว่าในวันที่อธิบดีกรมโจทก์มีคำสั่งให้เสนอเรื่องต่อรองอธิบดีก่อนนั้นอธิบดีกรมโจทก์เพียงแต่อ่านหัวเรื่องและทราบว่ามีการสอบสวนเรื่องนี้เท่านั้น จึงยังฟังไม่ได้ว่า อธิบดีกรมโจทก์รู้การละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดต่อโจทก์ในวันที่ 27 มกราคม 2527 กรณีต้องถือว่ากรมโจทก์รู้การละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดในวันที่ 6 กุมภาพันธ์2527 ซึ่งเป็นวันที่อธิบดีกรมโจทก์พิจารณาเรื่องราวและความเห็นของเจ้าหน้าที่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28 มกราคม 2528ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการต่ออายุสัญญาจ้างโดยอ้างเหตุสุดวิสัยและการใช้ดุลพินิจ
การที่ผู้รับจ้างขอต่ออายุสัญญาโดยอ้างว่าเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน จำเลยดำเนินการให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างโดยก่อนที่จะทำความเห็นเสนอต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังสืบหาข้อเท็จจริง ตลอดจนตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเคยมีการต่ออายุสัญญา-จ้างเพราะการขาดแคลนน้ำมันให้แก่ผู้อื่นมาแล้ว จำเลยจึงมิได้ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ ที่จำเลยมีความเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องคืนเงินค่าปรับแก่ผู้รับจ้าง แต่เป็นความเห็นโดยสุจริตในข้อกฎหมายซึ่งอาจแตกต่างจากบุคคลอื่นได้ จะถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยร่ำรวยผิดปกติของ ป.ป.ป. เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีสิทธิฟ้องร้องก่อนถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาว่า ทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการใช้สิทธิทางศาล การที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าโจทก์ร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติย่อมมีผลเพียงว่าคณะกรรมการ ป.ป.ป. จะต้องแจ้งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินแล้วเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งหรือดำเนินการให้มีการสั่งลงโทษโจทก์ ซึ่งจะมีการดำเนินการดังกล่าวหรือไม่อยู่ที่การพิจารณาของพนักงานอัยการหรือนายกรัฐมนตรีแล้วแต่กรณีอีกชั้นหนึ่ง จึงเป็นเรื่องเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งโจทก์คาดคะเนเอาเองยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด, อำนาจฟ้อง, ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่รัฐ, การเก็บรักษาเงินและใบเสร็จรับเงิน
จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มี อำนาจฟ้องนั้นวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 จึงถือว่าจำเลยที่ 2 มิได้ยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร จึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามป.วิ.พ. มาตรา 142(5) คณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งสอบสวนเสร็จส่งเรื่องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา และผู้ว่าราชการจังหวัดได้ส่งเรื่องให้อธิบดีของโจทก์ดำเนินคดี ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ต้องรับผิดในวันที่อธิบดีของโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดี ภายใน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งโดยปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บรักษาใบเสร็จรับเงินสมุดทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงินเพียงคนเดียว จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวมาเป็นเวลานานก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมารับราชการที่สำนักงานนั้น ถือเป็นธรรมเนียม ปฏิบัติหาได้ไม่ และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยที่ 2 จะปัดความรับผิดไม่ได้.