คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 353 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเช่าและสิทธิครอบครอง: การยึดคืนทรัพย์สินหลังผิดสัญญา
โจทก์เป็นผู้เช่าตึกแถวที่เกิดเหตุจากเจ้าของเดิมเมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ออกไปจากตึกแถวและไม่ชำระค่าเช่า แก่เจ้าของเดิม บุตรสาวโจทก์ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชำระ ค่าเช่าที่ค้างชำระนั้น และจะชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนต่อ ๆ ไป ถ้าผิดข้อตกลงยอมให้เจ้าของเดิมเข้าครอบครองตึกแถว ที่เกิดเหตุได้ ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์คัดค้านโต้แย้งข้อตกลงนี้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์โดยมิพักต้องคำนึงว่ามี หนังสือมอบอำนาจจากโจทก์ให้บุตรสาวโจทก์ทำบันทึกข้อตกลงนั้น หรือไม่ และข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชนจึงใช้บังคับได้ ต่อมาบุตรสาวโจทก์และโจทก์ ผิดข้อตกลง จำเลยทั้งสองยังให้โอกาสแก่ฝ่ายโจทก์ ขอเวลาขนย้ายทรัพย์สินโดยไม่ติดใจเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างชำระแต่อย่างใด แต่โจทก์และครอบครัวก็มิได้ขนย้ายออกไป การที่ จำเลยทั้งสองเปิดกุญแจตึกแถวที่เกิดเหตุ หลังจากนั้นจึงใช้ กุญแจของจำเลยปิดตึกแถวที่เกิดเหตุไว้ย่อมเป็นอำนาจของ จำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้และถือว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้สิทธิ เข้ายึดถือครอบครองตึกแถวที่เกิดเหตุแล้วโดยชอบตามที่ได้ ตกลงกันไว้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงหาเป็นความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์หรือฐานบุกรุกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าทำประโยชน์ที่ดินหลวงสุจริต & ค่าเสียหายจากการเช่าละเมิด
จำเลยเข้าทำประโยชน์บนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หลวงโดยสุจริตและโดยผู้บังคับบัญชาซึ่งครอบครองดูแลที่ดินพิพาทเป็นผู้อนุญาต มิได้จงใจบุกรุกที่ดินพิพาทของโจทก์ การเข้าทำประโยชน์บนที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นละเมิด
จำเลยนำที่ดินพิพาทของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยละเมิดเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการให้เช่าที่ดินพิพาท ดังนั้นค่าเช่าที่ดินจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการกระทำละเมิด ส่วนค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่ามิใช่ค่าเสียหายโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9480/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและจองอาคาร สิทธิขับไล่เมื่อสัญญาหมดอายุ
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเรื่องหรือข้อหาไว้ว่า ขับไล่เรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในเนื้อหาของคำฟ้องก็ระบุว่า โจทก์ได้รับการเช่าช่วงที่ดินมาจาก ป. เพื่อปลูกสร้างอาคาพาณิชย์ให้เช่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 จำเลยทำสัญญาจองอาคารกับโจทก์ตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้อง โดยจองห้องเลขที่ 145 และตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องตามสัญญาข้อ 3 ระบุไว้ว่า จะจัดการทำสัญญาเช่ากับผู้จองให้เรียบร้อยภายหลังจากที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราแล้ว และสัญญาข้อ 4 ระบุว่าสัญญาเช่าที่จะทำตามข้อ 3 มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา ทั้งได้มีการกำหนดค่าเช่ากันไว้ตามสัญญาข้อ 5 ด้วย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องที่เช่าดังกล่าว พร้อมเรียกค่าเช่าและค่าเสียหาย จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับสัญญาจองอาคารและเกี่ยวกับเรื่องการเช่าอาคารพิพาทตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ส่วนประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารพิพาทกับโจทก์หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าสัญญาจองอาคารตามเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์อ้าง นอกจากจะมีลักษณะเป็นสัญญาจองแล้ว ยังมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าอยู่ในตัวด้วย กล่าวคือ เป็นสัญญาซึ่งโจทก์ตกลงให้จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งในที่นี้คืออาคารพิพาทที่โจทก์ได้จัดสร้างขึ้นในระยะเวลาอันมีจำกัดคือ 20 ปี และจำเลยตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้นดังนี้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่า และจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 แล้ว ส่วนที่สัญญาจองอาคารข้อ 3 ระบุให้ไปทำสัญญาเช่ากันภายหลังจากการที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองแล้วนั้น เป็นเพียงเพื่อที่จะให้ไปทำสัญญาเช่าเพื่อจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา 20 ปีตามสัญญาข้อ 4 ให้เป็นที่เรียบร้อยเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงเรื่องการเช่า การบอกเลิกการเช่า และอายุสัญญาเช่าสิ้นไปตามกำหนดในสัญญาเช่าโดยมิได้กล่าวถึงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารไว้ ก็ถือได้ว่าได้วินิจฉัยตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้แล้ว เมื่อสัญญาเช่ากำหนดระยะเวลาการเช่าไว้จึงย่อมระงับสิ้นไปโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน และเมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทจึงเป็นการผิดสัญญาเช่าหรือสัญญาจองอาคารที่ได้กระทำกันไว้ กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญาเช่าทำกันเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 และตามสัญญาเช่าระบุไว้ว่า ให้มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงต้องถือว่าให้นับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่ 15มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันทำสัญญาเป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 20 ปี ตามสัญญาในวันที่ 14 มีนาคม 2535 อันเป็นวันสิ้นสุดอายุสัญญาเช่าที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าพิเศษ: การปรับปรุงอาคารและกรรมสิทธิ์ที่ตกเป็นของผู้ให้เช่า
โจทก์เช่าอาคารเฉพาะชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 6 จากจำเลยในอัตราค่าเช่าเดือนละ 200,000 บาท ต่อมาโจทก์ได้ปรับปรุงอาคารที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นห้องพักและสำนักงาน สิ้นค่าใช้จ่ายไป 6,000,000 บาทและจะต้องชำระค่าเช่าให้จำเลยอีกเดือนละ 200,000 บาท ทั้งตามข้อสัญญาระบุว่าบรรดาสิ่งที่ผู้เช่าได้นำมาตกแต่งในสถานที่เช่า ถ้ามีลักษณะติดตรึงตรากับตัวอาคารแล้ว ผู้เช่าจะรื้อถอนไปไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่า การปลูกสร้างหรือดัดแปลงต่อเติมที่ผู้เช่าได้กระทำขึ้นนั้น ต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น ในการลงทุนปรับปรุงอาคารพิพาทประกอบกับข้อสัญญาดังกล่าวบ่งชี้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเช่าที่ถูกจำกัดสิทธิ - ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยกำหนดเวลาเช่าเป็นดุลพินิจข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งให้เช่าเดือนละสองร้อยบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากห้องพิพาทนับแต่วันทำสัญญาจอง กำหนดเวลาเช่าจึงเริ่มนับแต่วันทำสัญญาจอง การที่ศาลชั้นต้นฟังพยานบุคคลและพยานเอกสารแล้ววินิจฉัยถึงกำหนดเวลาเช่าว่ามีเพียงใดเป็นการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นข้อเท็จจริง กรณีไม่ใช่เป็นการตีความสัญญาจอง จึงไม่ใช่ข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10227/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าระหว่างผู้เช่าเดิมกับผู้เช่าช่วง: วันจดทะเบียนสำคัญกว่าการครอบครอง
โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นผู้เช่าตึกพิพาทโดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกัน แม้จำเลยจะเป็นผู้เช่าช่วงตึกพิพาทมาจากบริษัท ล.ผู้เช่าที่ดินที่ปลูกสร้างตึกพิพาทจาก ส. แต่เมื่อ ส.มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านการให้เช่าช่วงดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า ส.ได้ยินยอมให้จำเลยเช่าช่วงตึกพิพาทจากบริษัท ล.ได้โดยปริยาย เมื่อการเช่าของโจทก์และการเช่าช่วงของจำเลยเป็นประเภทซึ่งบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องจดทะเบียน จึงต้องถือว่าโจทก์ผู้เช่าซึ่งได้จดทะเบียนสิทธิของตนก่อนนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕๔๓(๒) กล่าวคือต้องถือวันจดทะเบียนเป็นสำคัญการที่จำเลยได้ครอบครองตึกพิพาทก่อนโจทก์จึงหามีความสำคัญในเรื่องนี้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการไม่ยอมออกจากที่เช่าควรเป็นค่าเช่าที่แท้จริง ไม่ควรเป็นค่าเสียโอกาสจากธุรกรรมอื่น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทของโจทก์และเรียกค่าเสียหายโดยกล่าวในคำฟ้องว่าโจทก์ได้กู้ยืมเงินจากธนาคารมาเพื่อชำระราคาที่ดินและตึกแถวพิพาทและโจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่ผู้ซื้อหากผิดนัดจดทะเบียนโอนแก่ผู้ซื้อไม่ได้จะต้องถูกปรับเป็นรายวันจำเลยทั้งสองไม่ยอมออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์จดทะเบียนโอนให้ผู้ซื้อไม่ได้โจทก์จึงไม่มีเงินชำระหนี้ได้รับความเสียหายต้องชำระค่าดอกเบี้ยแก่ธนาคารและค่าปรับแก่ผู้ซื้อดังนี้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุการที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกจากที่ดินและตึกแถวที่เช่าค่าเสียหายควรเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดถือใช้สอยและการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แม้ที่ดินถูกเวนคืน สิทธิของผู้เช่ายังคงมีอยู่
แม้ที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทถูกเวนคืนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎรแต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันโจทก์มีสิทธิยึดถือและใช้สอยบ้านพิพาทกับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้ใดเกี่ยวข้องในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของเมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาผู้เช่าบ้านพิพาทยอมรับสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าและได้รับประโยชน์ในบ้านพิพาทที่เช่าจำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่เมื่อการเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซึ่งโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระได้และการที่จำเลยอยู่ต่อมาได้ชื่อว่าอยู่โดยละเมิดสิทธิโจทก์จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย คดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตามที่ฟ้องปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยแต่เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็นำสืบจนคดีเสร็จสำนวนแล้วศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5371/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่รุกล้ำที่ดิน: ศาลยืนตามประเด็นเดิม ไม่ถือเป็นการกำหนดประเด็นเพิ่ม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทจำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่พิพาทโดยไม่ชอบขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยไม่สุจริตภรรยาจำเลยเป็นผู้เช่าที่พิพาทสิทธิการเช่าไม่ระงับไปเพราะโจทก์ผู้รับโอนต้องรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนจำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทถือว่าจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสอง ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทหรือไม่และจำเลยปลูกบ้านพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทและจำเลยปลูกบ้านพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ก็ย่อมพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้เพราะเป็นการวินิจฉัยเพื่อจะนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดไว้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกำหนดประเด็นเพิ่มในคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีรวมทุนทรัพย์ และเจตนาการเช่าจากสัญญาจองอาคาร
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่พร้อมกับเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่ง กับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมา ดังนี้จะอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกจากกัน ถ้าหากอุทธรณ์ประเด็นเรื่องขับไล่ต้องพิจารณาว่า ค่าเช่าเกินเดือนละ 4,000 บาท หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย มีอัตราค่าเช่าห้องละ 200 บาท ต่อเดือน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองส่วนที่ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระนั้น ต้องพิจารณาว่าเกิน 50,000 บาท หรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าเป็นเงิน 28,320 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องเป็นจำนวนเงิน 51,600 บาท จึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนเงิน 23,280 บาท เท่านั้น ดังนั้น คงเหลือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมาในชั้นอุทธรณ์มีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
สัญญาจองอาคารข้อ 5 ระบุว่า เมื่อผู้รับจองทำการก่อสร้างอาคารที่จองแล้วเสร็จ ผู้จองต้องเสียค่าอาคารและค่าบำรุงให้แก่ผู้รับจองตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป ดังนี้ เจตนาของผู้จองและผู้รับจองหรือผู้เช่ากับผู้ให้เช่ามีเจตนาให้ผู้ที่จองอาคารได้อยู่ในอาคารเมื่อทำการก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว และนับแต่อาคารที่ให้จองสร้างเสร็จ โจทก์ในฐานะผู้รับจองหรือผู้ให้เช่าก็จะเรียกเก็บค่าเช่ากับค่าบำรุงจากผู้จองอาคารหรือผู้เช่าในทันที จำเลยทำสัญญาจองอาคารแล้วให้ ส.เข้าอยู่ในอาคารที่จองทันที หากจะนับระยะเวลาการเช่าโดยเริ่มนับตั้งแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันตามสัญญาข้อ 4 ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะทำสัญญากันได้เมื่อใด เพราะเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าที่ดินพิพาทแปลงนี้จากกรมธนารักษ์ซึ่งต่อมาเกิดมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สิน-ส่วนพระมหากษัตริย์ ต้องรอผลชี้ขาดถึงที่สุดก่อนจึงจะสามารถทำสัญญาเช่าต่อกันได้ เมื่อจำเลยให้ ส. เข้าอยู่ในอาคารที่จองและเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์ตลอดมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จนกระทั่งโจทก์มาฟ้องขับไล่ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะทำสัญญาเช่าต่อกันหรือไม่ข้อสำคัญน่าจะถือการเข้าอยู่ในอาคารที่จองด้วยเจตนาที่จะให้มีอายุการเช่า20 ปี การทำสัญญาจองอาคารไว้โดยยังไม่ทำสัญญาเช่าต่อกัน แต่ผู้จองและผู้รับจองก็ได้ปฏิบัติเสมือนหนึ่งมีการเช่าทรัพย์แล้ว จึงต้องถือเจตนาของคู่สัญญาเป็นข้อสำคัญ อายุการเช่าจึงสมควรเริ่มนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารพิพาทเป็นต้นไป
of 36