พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อห้ามฟ้องคดีเด็กและเยาวชนพ้นกำหนดระยะเวลา แม้จำเลยพ้นอำนาจศาลแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยถูกจับในข้อหาชิงทรัพย์ ขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ15 ปีเศษอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวจำเลยไว้ 30 วันแล้วทำบันทึกส่งตัวจำเลยมายังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางและขอผัดฟ้องมีกำหนด 15 วัน ต่อจากนั้นไม่ได้ขอผัดฟ้องอีก จนศาลมีคำสั่งปล่อยจำเลย ดังนี้ เป็นการพ้นกำหนดระยะเวลาผัดฟ้องตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 ซึ่งมาตรา 24 จัตวา บัญญัติห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีดังกล่าวเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ ข้อห้ามฟ้องนี้ห้ามฟ้องต่อศาลทุกศาลและมีอยู่ตลอดไป เมื่อจำเลยมีอายุเกินกำหนดที่อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางแล้ว ข้อห้ามดังกล่าวยังคงไม่หมดไป จะนำคดีที่ถูกห้ามฟ้องนั้นมาฟ้องต่อศาลอาญาอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองประโยชน์โจทก์ระหว่างพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: ศาลมีอำนาจสั่งให้ส่งมอบเด็กได้ แม้ไม่ต้องรอรายงานเจ้าพนักงานคุมประพฤติ
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 69 วรรคแรกบัญญัติว่า "ก่อนที่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คดีแพ่ง ให้ศาลฟังความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจหรือคณะกรรมการพินิจและคุ้มครองเด็กที่ผู้เยาว์นั้น อยู่ในเขตอำนาจก่อน ฯลฯ" คำว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวหาได้หมายถึงคำสั่งที่ศาลสั่งในระหว่างการพิจารณาไม่ ศาลจึงมีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาโดยปราศจากรายงานของเจ้าพนักงานคุมประพฤติได้
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็กโดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบเด็กให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึงเกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดี โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกับคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็กโดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบเด็กให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึงเกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดี โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกับคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: ศาลมีอำนาจสั่งให้ส่งมอบเด็กได้ แม้ยังไม่มีคำพิพากษา
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา69 วรรคแรกบัญญัติว่า "ก่อนที่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีแพ่งให้ศาลฟังความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจหรือคณะกรรมการพินิจและคุ้มครองเด็กที่ผู้เยาว์นั้นอยู่ในเขตอำนาจก่อน ฯลฯ" คำว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวหาได้หมายถึงคำสั่งที่ศาลสั่งในระหว่างการพิจารณาไม่ ศาลจึงมีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาโดยปราศจากรายงานของเจ้าพนักงานคุมประพฤติได้
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็กโดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบเด็กให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึงเกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดี โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกับคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็กโดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบเด็กให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึงเกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดี โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกับคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถิ่นที่อยู่ปกติของเด็กและเยาวชนเพื่อการพิจารณาคดี: การพิจารณาจากที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ
จำเลยเป็นเยาวชนย้ายจากเขตจังหวัดธนบุรีมาอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีตั้งแต่ยังเล็ก แต่ไม่ได้แจ้งย้ายทะเบียนบ้าน ต่อมาจำเลยทำงานรับจ้างเป็นเด็กกระเป๋ารถยนต์สองแถวและกินอยู่หลับนอนกับนายจ้างที่จังหวัดนนทบุรี ดังนี้ถิ่นที่อยู่ปกติของจำเลยจึงอยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี แม้มารดาของจำเลยกับจำเลยแจ้งย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ถิ่นที่อยู่ปกติของจำเลยหาใช่เป็นแห่งเดียวกับภูมิลำเนาจำเลยไม่ โจทก์ฟ้องจำเลย ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี จึงชอบแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 28 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ2494.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถิ่นที่อยู่ปกติของเด็กและเยาวชนเพื่อการพิจารณาคดี: การพิจารณาจากที่อยู่อาศัยจริงและการประกอบอาชีพ
จำเลยเป็นเยาวชนย้ายจากเขตจังหวัดธนบุรีมาอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีตั้งแต่ยังเล็ก แต่ไม่ได้แจ้งย้ายทะเบียนบ้าน ต่อมาจำเลยทำงานรับจ้างเป็นเด็กกระเป๋ารถยนต์สองแถว และกินอยู่หลับนอนกับนายจ้างที่จังหวัดนนทบุรี ดังนี้ ถิ่นที่อยู่ปกติของจำเลยจึงอยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี แม้มารดาของจำเลยกับจำเลยแจ้งย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ถิ่นที่อยู่ปกติของจำเลยหาใช่เป็นแห่งเดียวกับภูมิลำเนาจำเลยไม่โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรีจึงชอบแล้วกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นสถานพินิจสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ตัดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วนั้น จะต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506 ก็แต่เฉพาะกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัย เป็นให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนบางประการเท่านั้น มิได้ห้ามคู่ความที่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน พ้นกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการยืนฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนจึงยืนคำร้องต่อศาลขอผัดฟ้องไว้ถึง 3 คราว โดยเฉพาะคราวที่ 3 ศาลอนุญาตให้ผิดฟ้องได้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2521 แต่พนักงานสอบสวนขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2521 อ้างว่าพนักงานสอบสวนสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต่อจากนั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ได้ขอผัดฟ้องคดีอีกต่อไป จนวันที่ 3 เมษายน 2521 พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องผู้ต้องหาเช่นนี้ ถือว่าพ้นระยะเวลายื่นฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ แล้ว โจทก์ยื่นฟ้องโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 จัตวาไม่ได้
ไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้
ไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลอนุญาตเลื่อนคดีเด็กและเยาวชน: เหตุผลสมควรและหน้าที่โจทก์ระบุพยาน
แม้ข้อความในตอนต้นของมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 จะได้บัญญัติไว้ว่า การพิจารณาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน ให้พยายามทำโดยไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดก็ตาม แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีไปได้หรือไม่ อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพึงสั่งตามพฤติการณ์ที่เห็นสมควรเป็นราย ๆ ไป เมื่อพฤติการณ์ที่โจทก์แสดงมาไม่มีเหตุสมควรที่จะให้เลื่อนคดีไป ศาลก็ชอบที่จะสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการอนุญาตเลื่อนคดีเด็กและเยาวชน: เหตุผลสมควรและความบกพร่องของโจทก์
แม้ข้อความในตอนต้นของมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 จะได้บัญญัติไว้ว่า การพิจารณาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนให้พยายามทำโดยไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดก็ตาม แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีไปได้หรือไม่ อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพึงสั่งตามพฤติการณ์ที่เห็นสมควรเป็นราย ๆ ไป เมื่อพฤติการณ์ที่โจทก์แสดงมาไม่มีเหตุสมควรที่จะให้เลื่อนคดีไป ศาลก็ชอบที่จะสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษเด็กและเยาวชน – ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลไม่ลงโทษจำคุกเกิน 1 ปี หรือปรับเกิน 1,000 บาท
ในกรณีที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 อันเป็นบทหนักโดยจำคุก 5 ปี แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกโดยให้ส่งตัวไปฝึกอบรมณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปีแต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ความผิดจำเลยปรับด้วยมาตรา 288 ประกอบมาตรา 81 และให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดา โดยวางข้อกำหนดให้ระวังจำเลยมิให้ก่อเหตุร้าย มิฉะนั้นต้องชำระเงินหนึ่งพันบาทต่อการที่จำเลยก่อเหตุร้ายแต่ละครั้ง และให้จำเลยมารายงานตัวต่อสถานพินิจและคุ้มครองเด็กทุก 6 เดือนนั้น การที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทลงโทษและวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่จำเลยเช่นนี้ ถือว่าเป็นการแก้ไขมาก แต่เนื่องจากศาลทั้งสองได้เปลี่ยนแปลงโทษจำคุกเป็นอย่างอื่น ซึ่งถือว่าศาลทั้งสองมิได้พิพากษาจำคุกเกิน 1 ปี หรือปรับเกินพันบาทกรณีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง