คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เทศบาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3271/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเลือกตั้งประธานสภาเทศบาล หลังมีการเลือกตั้งใหม่และหมดวาระเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมสภาเทศบาลและมติแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาเทศบาล และมีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นประธานและรองประธานสภาเทศบาลตามลำดับ ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นสภาเทศบาลได้ลงมติเลือกประธานและรองประธานสภาเทศบาลใหม่แล้ว การดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภาเทศบาลเดิมย่อมหมดวาระในการดำรงตำแหน่งต่อไป จึงไม่อาจจะพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามคำขอของโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของ ผวจ. และความรับผิดของคณะเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 71 ในการควบคุมดูแลเทศบาลโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 หรือมีอำนาจฟ้องผู้ที่ทำละเมิดแก่โจทก์ที่ 1 ได้ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 เพียงกำหนดให้คณะเทศมนตรีรับผิดชอบบริหารกิจการของเทศบาลโจทก์เท่านั้นมิได้บัญญัติให้คณะเทศมนตรีร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ยักยอกเงินของโจทก์ คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อได้ปล่อยปละละเลย หรือประมาทเลินเล่ออันวิญญูชนที่กระทำในหน้าที่และฐานะเช่นนั้นทำให้เกิดการยักยอกเงินดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ว่าฯ กับเทศบาล และความรับผิดของคณะเทศมนตรีต่อการทุจริตของเจ้าหน้าที่
โจทก์ที่2เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา71ในการควบคุมดูแลเทศบาลโจทก์ที่1เท่านั้นโจทก์ที่2ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่1หรือมีอำนาจฟ้องผู้ที่ทำละเมิดแก่โจทก์ที่1ได้ ศาลอุทธรณ์เทศบาลพ.ศ.2496มาตรา39เพียงกำหนดให้คณะเทศมนตรีรับผิดชอบบริหารกิจการของเทศบาลโจทก์เท่านั้นมิได้บัญญัติให้คณะเทศมนตรีร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ยักยอกเงินของโจทก์คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อได้ปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันวิญญูชนที่กระทำในหน้าที่และฐานะเช่นนั้นทำให้เกิดการยักยอกเงินดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องเพิกถอนมติสภาเทศบาล: ต้องมีกฎหมายบัญญัติอำนาจไว้ชัดเจน
การที่บุคคลจะใช้สิทธิทางศาลได้จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ แต่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มิได้บัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลในเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนการประชุมสภาเทศบาลและมติของที่ประชุมสภาเทศบาลไว้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำคดีมาสู่ศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 เมื่อพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้บัญญัติเกี่ยวกับสภาเทศบาลไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำบทบัญญัติ มาตรา 1195 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรณีเทศบาลสั่งรื้ออาคารและงดจ่ายน้ำประปาจากการกระทำที่ผิดข้อบังคับ ผู้กระทำไม่ถึงขั้นเป็นความผิดตาม ม.157
แม้โจทก์จะเคยยื่นฎีกาและคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไป เพื่อรอเสนอคำรับรองให้ฎีกาของอัยการสูงสุดในกระทงความผิดที่ต้องห้ามฎีกามาก่อน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งฎีกาของโจทก์ไปให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีนี้อนุญาตให้ฎีกาอีกทางหนึ่งได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรี จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเทศมนตรี และจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นปลัดเทศบาลได้ร่วมกันประชุมคณะเทศมนตรีแล้ว มีมติให้แก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อนำไปใช้ในการจัดเก็บรายได้ของจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นเทศบาล แม้แผนที่นี้จะมีการแสดงเส้นประว่าที่ดินบางส่วนของโจทก์พังลงน้ำไปแล้ว หรือไม่ถูกต้องตรงกับรูปแผนที่ระวางในโฉนดที่ดินของโจทก์ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์และไม่ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 ลงมติดังกล่าวการที่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีมติให้แก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของจำเลยที่ 6 จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คณะทำงานเพื่อดำเนินการพิจารณาข้อร้องเรียนของราษฎรที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งขึ้น มีความเห็นว่าอาคารของโจทก์ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามแบบอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัย และที่ดินที่ทำการก่อสร้างอาคารมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน เพราะโจทก์ถมดินเลยตลิ่งลงไปในลำน้ำเจ้าพระยา จนจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5มีมติแก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของจำเลยที่ 6 ไปแล้วการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ออกคำสั่งห้ามโจทก์ใช้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร และออกคำสั่งยกเลิกใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์เสียหาย อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คณะทำงานที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งขึ้นทำรายงานว่าที่ดินที่จำเลยที่ 6 อนุญาตให้โจทก์สร้างรั้วคอนกรีตนั้น โจทก์ถมดินเลยตลิ่งลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นกรณีที่จำเลยที่ 6 ไม่มีอำนาจอนุญาตให้สร้างรั้วดังกล่าวได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อนการที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งรื้อรั้วคอนกรีตตามรายงานของคณะทำงานจึงเป็นผลต่อเนื่องจากมติที่ประชุมของคณะเทศมนตรีของจำเลยที่ 6ซึ่งเป็นมติที่มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายจำเลยทั้งหกจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เดิม ม.ซึ่งเป็นมารดาของ ป. เป็นผู้ยื่นคำขอให้น้ำประปาของจำเลยที่ 6 ในที่ดินของ ป. ต่อมา ม. ถึงแก่กรรมแล้วป. และโจทก์ซึ่งซื้อที่ดินจาก ป. ในเวลาต่อมาได้ใช้น้ำประปาของจำเลยที่ 6 ต่อไปโดยปริยายต่อมาโจทก์เปลี่ยนท่อน้ำประปาเข้าที่ดินของโจทก์จากเดิมขนาด 6 หุน ให้ใหญ่ขึ้นเป็นขนาด2 นิ้ว และเปลี่ยนที่ตั้งมาตราวัดน้ำนั้นได้กระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งตรวจการจ่ายน้ำประปาให้โจทก์ตามข้อบังคับ จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: เทศบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,119,120 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(1) และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1)เอกชนจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์เป็นเทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50(2),53 และกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาล ทั้งอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบอำนาจเจ้าท่าตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้โจทก์ดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาล ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อรัฐ: เทศบาลไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,120 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(1)และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1) เอกชนจะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์จะเป็นเทศบาลและมีหน้าที่บำรุงทางบกทางน้ำ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 50(2),53 มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษา คุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาลตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย และดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาลตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมาย ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางสาธารณประโยชน์: การอุทิศที่ดินโดยปริยายและการมีอำนาจฟ้องของเทศบาล
ทางพิพาทเกิดจากประชาชนใช้เดินเพื่อไปตักน้ำจากบ่อสาธารณะและใช้เดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานหลายสิบปีก่อนที่โจทก์จะสร้างถนนคอนกรีตบนที่ดินทางพิพาท โดยเจ้าของที่ดินขณะนั้นไม่มีการหวงห้ามสงวนสิทธิใด ๆ แม้จะไม่ได้ความว่าผู้ใดอุทิศที่ดินทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยตรงคือโดยพิธีการก็ต้องถือว่าเจ้าของที่ดินเดิมที่ทางพิพาทนี้ผ่านได้อุทิศที่ดินนั้นให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย ทางพิพาทจึงตกเป็นทางสาธารณะแล้วจำเลยรับโอนที่พิพาทภายหลังจากที่เจ้าของเดิมได้อุทิศทางพิพาทไปแล้วแม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดถือเอาเป็นของตนได้ เมื่อทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์และอยู่ในเขตปกครองของเทศบาลตำบลศรีราชาโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เข้าขัดขวางปิดกั้นทางพิพาทนั้นได้ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 50(2) ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2496) ออกตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ข้อ (2) และพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 40

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านผลเลือกตั้งเทศบาลต้องยื่นภายใน 15 วัน หากพ้นกำหนด สิทธิคัดค้านสิ้นสุด
ตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช2482 มาตรา 57 ผู้สมัครจะคัดค้านการประกาศผลของการเลือกตั้งจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับตั้งแต่เทศบาลประกาศผลของการเลือกตั้ง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดคัดค้านการประกาศผลการเลือกตั้งเข้ามาในคดีเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เทศบาลประกาศผลการเลือกตั้งแล้วผู้ร้องสอดย่อมไม่มีสิทธิที่จะคัดค้านการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ และสัญญาต่างตอบแทนไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ.มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้ ในเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย
โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์ แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา
of 13