พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายเงินบำรุงการศึกษาและการสั่งซื้ออาหารเพิ่มเติม ครูใหญ่ไม่ผิดฐานทุจริตหากไม่มีเจตนาเบียดบัง
จำเลยเป็นครูใหญ่โรงเรียนอนุบาล กรอกรายการเพิ่มขึ้นในใบสำคัญคู่จ่ายค่าอาหารเลี้ยงนักเรียน มีจำนวนสูงกว่าหลักฐานการเบิกเงินของแม่ครัว เนื่องจากการที่จำเลยสั่งซื้ออาหารเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอรับประทาน เป็นการกรอกเพิ่มขึ้นเพื่อให้จำนวนเงินตรงกับที่จ่ายไปจริงหาได้มีเจตนาทุจริตคิดเบียดบังเอาเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นไม่ และไม่เป็นการทำเอกสารเท็จหรือรับรองข้อความอันเป็นเท็จอันจะเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,162
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาเดินทางไปราชการเพื่อเบิกค่าใช้จ่าย ต้องนับจากวันออกจากสถานที่ปฏิบัติราชการจนกลับถึงสถานที่เดิม ไม่เกิน 1 ปี
โจทก์ได้รับคำสั่งจากจำเลยให้เดินทางไปปฏิบัติงานรวม 4ครั้ง แต่ละครั้งเมื่อครบกำหนดก็เดินทางกลับ การนับเวลาการเดินทางไปราชการว่าเกินปีหนึ่งหรือไม่ต้องถือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการฯ คือนับแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่ดังกล่าว ดังนี้เมื่อโจทก์ออกจากสถานที่ปฏิบัติราชการครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2523 กลับวันที่ 5กุมภาพันธ์ 2524 จึงไม่เกินหนึ่งปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการปลอมเอกสารเบิกจ่ายเงินค่าแรงและเบียดบังน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อชำระหนี้
จำเลยเป็นข้าราชการ ตำแหน่งนายช่างควบคุมหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง สังกัดกรมชลประทาน มีหน้าที่ควบคุมดูแลการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง จัดซื้อดูแลรักษาพัสดุ และน้ำมันเชื้อเพลิงและควบคุมการใช้จ่ายเงินตลอดทั้งเบิกเงินและจ่ายเงินให้แก่คนงาน จำเลยร่วมกับ ค.พนักงานบัญชีปลอมเอกสารบัญชีรายชื่อคนงาน และลายมือชื่อคนงาน และใช้เอกสารปลอมดังกล่วไปเบิกเงินค่าแรง เมื่อได้รังเงินที่เบิกตามเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ลงชื่อเป็นผู้จ่ายเงิน และค.ลงชื่อเป็นพยานในเอกสาร โดยไม่ได้มีการจ่ายเงินค่าแรงนั้นให้แก่บุคคลที่มีชื่อในเอกสาร แต่จำเลยเบียดบังเอาไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ดังนี้ การที่จำเลยปลอม ใช้เอกสารปลอมและรับรองข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารดังกล่าวข้างต้น ก็โดยมีเจตนาเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินค่าแรงที่เบิกมาเป็นประโยชน์ส่วนตัว การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่โดยทางราชการได้ขอยืมวัสดุและสิ่งของมาเพื่อประโยชน์ ต่อมาจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เพื่อใช้ราชการในหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง แต่ไม่ได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อไป คงฝากไว้ที่ห้างฯ เพราะที่หน่วยก่อสร้างไม่มีที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อต้องการใช้ก็จะไปรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างฯ ดังกล่าวเป็นคราวๆ ตามหลักฐานใบนำส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของห้างฯ ปรากฏว่าได้ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อให้หน่วยก่อสร้างครบถ้วนแล้ว แต่ความจริงหน่วยก่อสร้างได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ครบ เพราะมีการหักชำระหนี้ซึ่งห้างฯ เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่การที่จำเลยไม่ตั้งงบประมาณและเบิกเงินจากงบประมาณมาชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กลับเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง ไปชำระหนี้ให้แก่ห้างฯ ดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงปฏิบัติผิดระเบียบของทางราชการเท่านั้น ไม่เป็นการเบียดบังน้ำมันเชื้อเพลิงอันจะเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เบียดบังยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่โดยทางราชการได้ขอยืมวัสดุและสิ่งของมาเพื่อประโยชน์ ต่อมาจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เพื่อใช้ราชการในหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง แต่ไม่ได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อไป คงฝากไว้ที่ห้างฯ เพราะที่หน่วยก่อสร้างไม่มีที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อต้องการใช้ก็จะไปรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างฯ ดังกล่าวเป็นคราวๆ ตามหลักฐานใบนำส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของห้างฯ ปรากฏว่าได้ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อให้หน่วยก่อสร้างครบถ้วนแล้ว แต่ความจริงหน่วยก่อสร้างได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ครบ เพราะมีการหักชำระหนี้ซึ่งห้างฯ เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่การที่จำเลยไม่ตั้งงบประมาณและเบิกเงินจากงบประมาณมาชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กลับเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง ไปชำระหนี้ให้แก่ห้างฯ ดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงปฏิบัติผิดระเบียบของทางราชการเท่านั้น ไม่เป็นการเบียดบังน้ำมันเชื้อเพลิงอันจะเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เบียดบังยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสารเบิกจ่ายเงินและยักยอกทรัพย์โดยการหักชำระหนี้
จำเลยเป็นข้าราชการ ตำแหน่งนายช่างควบคุมหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกงสังกัดกรมชลประทานมีหน้าที่ควบคุมดูแลการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง จัดซื้อดูแลรักษาพัสดุและน้ำมันเชื้อเพลิงและควบคุมการใช้จ่ายเงินตลอดทั้งเบิกเงินและจ่ายเงินให้แก่คนงาน จำเลยร่วมกับค. พนักงานบัญชีปลอมเอกสารบัญชีรายชื่อคนงาน และลายมือชื่อคนงาน และใช้เอกสารปลอมดังกล่าวไปเบิกเงินค่าแรง เมื่อได้รับเงินที่เบิกตามเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ลงชื่อเป็นผู้จ่ายเงิน และ ค. ลงชื่อเป็นพยานในเอกสาร โดยไม่ได้มีการจ่ายเงินค่าแรงนั้นให้แก่บุคคลที่มีชื่อในเอกสาร แต่จำเลยเบียดบังเอาไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ดังนี้ การที่จำเลยปลอม ใช้เอกสารปลอมและรับรองข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารดังกล่าวข้างต้น ก็โดยมีเจตนาเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินค่าแรงที่เบิกมาเป็นประโยชน์ส่วนตัว การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่โดยทางราชการได้ขอยืมวัสดุและสิ่งของมาเพื่อใช้ประโยชน์ ต่อมาจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เพื่อใช้ราชการในหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง แต่ไม่ได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อไป คงฝากไว้ที่ห้างฯ เพราะที่หน่วยก่อสร้างไม่มีที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อต้องการใช้ก็จะไปรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างฯ ดังกล่าวเป็นคราว ๆ ตามหลักฐานใบนำส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของห้างฯ ปรากฏว่าได้ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อให้หน่วยก่อสร้างครบถ้วนแล้ว แต่ความจริงหน่วยก่อสร้างได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ครบ เพราะมีการหักชำระหนี้ซึ่งห้างฯ เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่ การที่จำเลยไม่ตั้งงบประมาณและเบิกเงินจากจากงบประมาณมาชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กลับเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกงไปชำระหนี้ให้แก่ห้างฯ ดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงปฏิบัติผิดระเบียบของทางราชการเท่านั้น ไม่เป็นการเบียดบังน้ำมันเชื้อเพลิง อันจะเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เบียดบังยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่โดยทางราชการได้ขอยืมวัสดุและสิ่งของมาเพื่อใช้ประโยชน์ ต่อมาจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เพื่อใช้ราชการในหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกง แต่ไม่ได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อไป คงฝากไว้ที่ห้างฯ เพราะที่หน่วยก่อสร้างไม่มีที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อต้องการใช้ก็จะไปรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้างฯ ดังกล่าวเป็นคราว ๆ ตามหลักฐานใบนำส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของห้างฯ ปรากฏว่าได้ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อให้หน่วยก่อสร้างครบถ้วนแล้ว แต่ความจริงหน่วยก่อสร้างได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ครบ เพราะมีการหักชำระหนี้ซึ่งห้างฯ เป็นเจ้าหนี้ทางราชการอยู่ การที่จำเลยไม่ตั้งงบประมาณและเบิกเงินจากจากงบประมาณมาชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กลับเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของหน่วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแกงไปชำระหนี้ให้แก่ห้างฯ ดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงปฏิบัติผิดระเบียบของทางราชการเท่านั้น ไม่เป็นการเบียดบังน้ำมันเชื้อเพลิง อันจะเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เบียดบังยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินคืนจากข้าราชการ กรณีเบิกจ่ายไม่ชอบด้วยระเบียบ เริ่มนับเมื่อมีเหตุให้ชดใช้คืน
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ดูแลนักเรียนไทยประจำสถานฑูตในต่างประเทศ มีหน้าที่ควบคุมฝ่ายการเงินและการบัญชีเสมือนเป็นหัวหน้ากองคลังเมื่อทางราชการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเงิน แล้วแจ้งให้จำเลยทราบว่าจำเลยเบิกจ่ายใช้เงินไม่ชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยได้แสดงหลักฐานการเบิกจ่ายใช้เงินดังกล่าวให้ทางราชการตรวจสอบ โดยอ้างว่าได้เบิกจ่ายใช้ไปโดยสุจริตและชอบด้วยระเบียบแล้ว แม้เงินนั้นจำเลยจะได้ถอนจากธนาคารไปในระหว่าง พ.ศ.2501 ถึง 2505 แต่ใน พ.ศ.2506 จำเลยก็ได้นำเงินเข้าฝากธนาคารบางส่วนจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้เอาเงินของทางราชการไปเป็นส่วนตัวตั้งแต่วันที่ถอนเงิน เพราะจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษาเงินดังกล่าวแทนทางราชการอยู่ จะถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดนับแต่วันที่จำเลยได้ถอนเงินจากธนาคารหาได้ไม่ และเมื่อทางราชการได้ตรวจสอบใบสำคัญในการใช้จ่ายเงินที่จำเลยเบิกมาจากธนาคารแล้วเห็นว่ามีบางรายการจำเลยใช้จ่ายไปโดยไม่ชอบได้สั่งให้จำเลยใช้เงินคืน จึงต้องถือว่าเงินที่สั่งให้ใช้คืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ จำเลยจะต้องคืนตามที่ทางราชการกำหนดให้ เมื่อนับแต่นั้นถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหาย จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบิกจ่ายเงินศาสนสมบัติยักยอกเงินเข้าตนเอง มีความผิดตามมาตรา 147
จำเลยมีตำแหน่งเป็นครูประชาบาลเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นจัตวา นายอำเภอซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่ช่วยราชการแผนกศึกษาธิการ ให้ทำหน้าที่จัดการศาสนสมบัติอันเป็นราชการได้ เมื่อจำเลยเบิกเงินศาสนสมบัติมาแล้วเบียดบังเอาไปเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต จึงมีความผิดตามมาตรา 147 แม้เงินศาสนสมบัติที่ยักยอกไปเป็นเงินนอกงบประมาณแผ่นดิน ก็หาใช่ข้อสำคัญแห่งคดีไม่ เพราะฟังได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยเบิกมาตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินทดรองราชการโดยใช้เอกสารปลอม และการหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์ตนเอง
จำเลยทำบันทึกว่าถูกผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปราชการต่างจังหวัด ซึ่งไม่เป็นความจริง และขอยืนเงินทดรองราชการ ได้เขียนเตรียมไว้ให้ผู้บังคับบัญชาเซ็น และมีลายเซ็นปลอมของผู้บังคับบัญชาจนจำเลยสามารถเบิกเงินของกรมตำรวจไปได้ เป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและโดยทุจริต ไม่ใช่เป็นการกู้ยืนเงินตามธรรมดา
การที่จำเลยอ้างว่าผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปราชการต่างจังหวัด และทำหนังสือขอยืมเงินทดรองราชการ ได้ทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อสั่งอนุมัติ ผู้บังคับบัญชาลำดับสูงและเจ้าหน้าที่การเงินก็ได้สั่งอนุมัติ และจ่ายเงินทดรองราชการให้ตามที่จำเลยเสนอมา เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารราชการ เมื่อจำเลยทำบันทึกเสนอให้ยืมเงินทดรองราชการ ข้อความที่เขียนไว้ให้ผู้บังคับบัญชาเซ็น และมีลายเซ็นของผู้บังคับบัญชาจึงเป็นเอกสารราชการปลอม เมื่อจำเลยนำไปใช้โดยรู้ว่าเป็นเอกสารปลอม ย่อมมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
การที่จำเลยอ้างว่าผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปราชการต่างจังหวัด และทำหนังสือขอยืมเงินทดรองราชการ ได้ทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อสั่งอนุมัติ ผู้บังคับบัญชาลำดับสูงและเจ้าหน้าที่การเงินก็ได้สั่งอนุมัติ และจ่ายเงินทดรองราชการให้ตามที่จำเลยเสนอมา เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารราชการ เมื่อจำเลยทำบันทึกเสนอให้ยืมเงินทดรองราชการ ข้อความที่เขียนไว้ให้ผู้บังคับบัญชาเซ็น และมีลายเซ็นของผู้บังคับบัญชาจึงเป็นเอกสารราชการปลอม เมื่อจำเลยนำไปใช้โดยรู้ว่าเป็นเอกสารปลอม ย่อมมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คโดยตกลงเงื่อนไขเวลาการเบิกจ่าย การเบิกก่อนกำหนดไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยออกเช็คเงินสดให้แก่ ส. โดยส. ก็ทราบว่าขณะนั้นจำเลยไม่มีเงินในธนาคารเลย และมีข้อตกลงกันว่าภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นั้น จำเลยจะต้องนำเงินไปเข้าบัญชีธนาคารเพื่อให้ ส. ไปเบิกเงิน แต่ ส. กลับนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารเสียก่อนพ้นกำหนดเวลา 1 เดือน ดังนี้ เป็นการว่ากล่าวเอากับเช็คซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่คู่กรณีไม่มีเจตนาจะให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น (แม้ธนาคารจะไม่จ่ายเงินเพราะจำเลยไม่มีเงินในธนาคาร หรือมีไม่พอจ่าย) จำเลยก็ยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยยักยอกเงินเบิกจ่ายของราชการ ไม่ถือเป็นตัวแทนของผู้บังคับบัญชา
จำเลยที่ 1 รับราชการแขวงการทางจังหวัด เบิกเงินจากจำเลยที่ 2 ผู้กำกับแขวงการทางซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 เพื่อชำระค่าสิ่งของที่จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อจากโจทก์มาใช้ในราชการแขวงการทางซึ่งอยู่ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินนั้นเสียดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 ก็เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบการจำเลยที่ 1 หาใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ไม่ จะนำกฎหมายเรื่องตัวการตัวแทนมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439-440/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการจากการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจากเอกสารปลอม: ไม่ถือว่าประมาทเลินเล่อหากไม่มีหน้าที่ต้องตรวจสอบสัญญา
จำเลยทั้งสองรับราชการกรมไปรษณีย์ฯ คนหนึ่งเป็นหัวหน้าแผนกตรวจจ่าย กองบัญชี อีกคนหนึ่งรักษาราชการแทนหัวหน้าแผนกเดียวกันนี้เสมียนในแผนกนี้ได้เซ็นรับรองในใบสำคัญเอกสารขอเบิกเงินค่าเสาโทรเลขจากกรมไปรษณีย์ฯ ซึ่งเป็นเอกสารปลอม ที่เกิดการทุจริตรายนี้ก็เพราะมีการปลอมลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน ซึ่งยากที่จำเลยจะทราบได้ เมื่อมีลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน ทั้งมีตราประทับมาด้วยจำเลยก็น่าจะเชื่อว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงจำเลยจึงได้เซ็นรับรองในใบสำคัญนั้นในช่องที่มีตัวพิมพ์ไว้ว่า ตรวจถูกต้อง ทั้งนี้ โดยจำเลยเชื่อว่าลายเซ็นปลอมนั้นเป็นลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน จึงมิได้เรียกสัญญามาตรวจสอบและไม่มีระเบียบให้เรียกสัญญามาตรวจสอบ แล้วส่งใบสำคัญเหล่านี้ไปยังกองคลังๆ อนุมัติให้จ่ายเงินได้ เป็นเหตุให้กรมไปรษณีย์ฯ เสียหาย ดังนี้ ยังไม่ถือว่าจำเลยได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยไม่ต้องรับผิด
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2503)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2503)