พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนในการประกันตัว: ขอบเขตความรับผิดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาประกัน
โจทก์ทำสัญญาประกันตัว ป. ต่อศาลในการปล่อยชั่วคราว ป. ในระหว่างสอบสวนโดยมีจำเลยทำสัญญาต่อโจทก์ว่า หากศาลสั่งปรับโจทก์ จำเลยจะยอมใช้เงินค่าปรับตามคำสั่งศาลแทนโจทก์ ดังนี้สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนมิใช่สัญญาค้ำประกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 11.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงราคาและเงื่อนไขการชำระค่าธรรมเนียมต้องห้ามตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อปรากฏว่าในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระบุราคาซื้อขายไว้ชัดแจ้งว่า เป็นเงิน 240,000 บาท และมิได้กำหนดเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการโอน ค่าภาษีเงินได้และค่าอากรรับเงินแต่ฝ่ายเดียวเช่นนี้ จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่าราคาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเงิน 600,000 บาท และมีข้อตกลงดังกล่าวหาได้ไม่เพราะเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อขาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 และไม่ใช่เป็นกรณีที่นำสืบถึงความไม่สมบูรณ์ของเอกสารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุประสงค์บริษัทจำกัด, สัญญาค้ำประกัน, การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา, ความรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 3 เป็นบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งเมื่อบริษัทจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้า และเพื่อทำการกู้ยืมเงินค้ำประกันและรับรองทั้งบุคคลหรือนิติบุคคลเพื่อกิจการค้าของบริษัทดังนั้นการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยมิได้กระทำเพื่อกิจการค้าของบริษัทเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิด แม้ตามสัญญาชักส่วนลดเช็คข้อ 1 จะระบุว่า เช็คที่จำเลยที่ 1เสนอให้โจทก์ชักส่วนลดต้องเป็นเช็คของธนาคารในประเทศไทยสั่งจ่ายให้จำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้สินค้าที่จำเลยที่ 1 ขายให้แก่ผู้สั่งจ่ายก็ตามแต่ตามสัญญาข้อ 7 ให้สิทธิโจทก์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาและไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1หลุดพ้นหรือลดน้อยลง เมื่อจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาชักส่วนลดเช็คของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและตามสัญญาค้ำประกันยินยอมให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดใด ๆของสัญญาชักส่วนลดเช็ค โดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 4ทราบ และให้ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วย ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากข้อผูกพันและความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังนั้นแม้โจทก์จะรับเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายนำมาชักส่วนลดก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วยจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาชักส่วนลดเช็คกับโจทก์รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือสัญญาชักส่วนลดเช็คท้ายฟ้องและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้กับโจทก์ รายละเอียด ปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือค้ำประกันท้ายฟ้อง ดังนั้นสัญญาชักส่วนลดเช็คและสัญญาค้ำประกันถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง การที่ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าว จึงหาเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขาย: การตกลงกันใหม่เรื่องสถานที่ชำระเงินไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า การชำระเงินค่าที่ดินแต่ละงวด โจทก์จะต้องนำไปชำระที่บ้านของจำเลยทุกครั้ง ถ้าไม่ปฏิบัติตามถือว่าโจทก์ผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ทุกงวด งวดประจำเดือนกันยายน 2524 จำเลยไม่ไปเก็บเงินจากโจทก์ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ และได้ปฏิบัติกันตลอดมาเช่นนี้ แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอาข้อกำหนดเรื่องสถานที่ชำระเงินค่าที่ดินว่าจะต้องให้โจทก์นำไปชำระที่บ้านของจำเลยโดยเคร่งครัดดังที่ระบุไว้ในสัญญา ดังนั้นในข้อที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยไปเก็บเงินค่าที่ดินจากโจทก์นี้ โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงปฏิบัติต่อกันใหม่แตกต่างจากข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าเดิมเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ และการงดสืบพยานหลักฐาน
คำฟ้องแย้งของจำเลยเพียงแต่ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าตึก พิพาทกับจำเลยอีก 13 ปี นับแต่วันครบกำหนดสัญญาเช่าเดิม ตามที่จำเลยอ้างว่ามีข้อตกลงกันเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนด 12 ปี จำเลยจะนำสืบว่ามีข้อตกลงกับผู้ให้เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นการขอสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในประเด็นข้อนี้ แล้วศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในตึก พิพาทเช่นนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ทำให้คดีเสร็จไปเฉพาะ แต่ประเด็นบางข้อ เป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา228(3) หาใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย และต่อสู้ว่าการเช่า ตึก พิพาทมีข้อตกลงให้จำเลยออกค่าก่อสร้างโดยผู้ให้เช่าจะให้จำเลยเช่า ตึก พิพาทมีกำหนดไม่น้อยกว่า25 ปี เพียงแต่ทำสัญญาเช่าไว้มีกำหนด 12 ปีก่อน จำเลยชอบที่จะนำสืบถึงเหตุที่จำเลยมีสิทธิเช่า ต่ออีกเพราะได้ออกเงินค่าก่อสร้างเป็นการตอบ แทนเท่ากับเป็นการนำสืบหักล้างสัญญานั้นว่าไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญญาเดิมด้วยข้อตกลงใหม่ และการนำหลักฐานนอกฟ้องมาใช้ในการวินิจฉัย
ปัญหาที่ว่าสัญญาเลิกกันแล้วหรือไม่กับการนำเอาสัญญาที่เลิกกันแล้วกลับมาใช้ใหม่ตามข้อตกลงในสัญญาใหม่นั้นหาเหมือนกันไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ตั้งเรื่องการมีข้อตกลงในสัญญาใหม่ให้นำสัญญาที่จำเลยต่อสู้ว่าเลิกกันแล้วกลับมาใช้ใหม่แต่กลับปรากฏว่ามีสัญญาใหม่ดังกล่าวในขั้นสืบพยานจึงย่อมถือได้ว่าโจทก์นำสืบถึงสัญญาใหม่ดังกล่าวนอกฟ้องนอกประเด็นจะรับฟังนำมาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่อท้ายสัญญาเดิม และข้อจำกัดการสืบพยานเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเดิม
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าระบุไว้ว่า ผู้เช่าเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านเรือนอาศัยมีกำหนดหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ายอมให้ถือว่าสัญญาเช่าระงับสิ้นสุดลง ครั้นสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้วผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีกหนึ่งปีโดยให้ถือสัญญาเดิม จากนั้นก็ไม่ได้ทำสัญญาเช่าต่อกันอีก การที่ผู้เช่ายังคงครองที่ดินต่อมาโดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ถือว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งข้อตกลงอื่นของสัญญาใหม่ย่อมต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม การที่จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่าผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าอยู่ในที่ดินที่ เช่าไปจนตลอดชีวิตอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จึงเป็นการขอสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเดิมมีผลผูกพันสัญญาใหม่ที่ไม่มีกำหนดเวลา การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาต้องห้ามตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าระบุไว้ว่า ผู้เช่าเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านเรือนอาศัยมีกำหนดหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ายอมให้ถือว่าสัญญาเช่าระงับสิ้นสุดลง ครั้นสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้วผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีกหนึ่งปีโดยให้ถือสัญญาเดิม จากนั้นก็ไม่ได้ทำสัญญาเช่าต่อกันอีก การที่ผู้เช่ายังคงครองที่ดินต่อมาโดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ถือว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งข้อตกลงอื่นของสัญญาใหม่ย่อมต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม การที่จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่าผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าอยู่ในที่ดินที่ เช่าไปจนตลอดชีวิตอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จึงเป็นการขอสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การเปลี่ยนแปลงความยาวรั้วและสิทธิในการหักเงินค่าจ้าง
เมื่อสัญญาที่จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างรั้วรอบบริเวณเป็นสัญญาจ้างเหมา มิใช่คิดเป็นหน่วยดังนั้น แม้ความยาวของรั้วจะน้อยกว่าในสัญญาโจทก์ก็ได้ก่อสร้างตามสัญญาเรียบร้อยแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะหักเงินค่าจ้างตามที่ตกลงไว้ในสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงนอกสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสัญญาเดิมได้ แม้มีพยานบุคคล
สัญญาจะซื้อขายที่ดินกำหนดเวลาการชำระราคาที่ดินไว้แน่นอนแล้ว จะขอนำสืบว่ามีข้อตกลงให้ผ่อนชำระราคาที่ดินนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาไม่ได้ เพราะเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94