พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อทำเป็นหนังสือตามกฎหมาย ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ศาลไม่รับฟังพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
สัญญาเช่าซื้อกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ. ผู้เช่าซื้อซึ่งทำสัญญาในนามตนเองจะนำสืบพยานบุคคลว่า ทำสัญญาในฐานะผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทจำกัดมิได้. เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ซึ่งกฎหมายห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจำนอง ห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญา หากไม่ได้อ้างเหตุสัญญาไม่สมบูรณ์
ตามสัญญาจำนองมีข้อความปรากฏชัดแจ้งว่า โจทก์จำนองไว้เป็นเงิน 5,750 บาท และผู้จำนอง(โจทก์) ได้รับเงินไปแล้ว ทั้งจำเลยก็ให้การยืนยันว่า โจทก์ได้รับเงินไป 5,750 บาท เช่นนี้ หากโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าสัญญาจำนองไม่สมบูรณ์ด้วยเหตุใดแล้ว โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่า โจทก์ได้จำนองไว้เพียง 5,000 บาทเท่านั้น ย่อมไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ใช่นำสืบหักล้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจำนอง ห้ามนำสืบเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้ที่ระบุในสัญญา
ตามสัญญาจำนองมีข้อความปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์จำนองไว้เป็นเงิน 5,750 บาท และผู้จำนอง (โจทก์) ได้รับเงินไปแล้วทั้งจำเลยก็ให้การยืนยันว่า โจทก์ได้รับเงินไป 5,750 บาท เช่นนี้ หากโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าสัญญาจำนองไม่สมบูรณ์ด้วยเหตุใดแล้วโจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่า โจทก์ได้จำนองไว้เพียง 5,000 บาทเท่านั้นย่อมไม่ได้เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ใช่นำสืบหักล้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนอง: สัญญาจำนองเป็นหลัก สารบัญญัติในสัญญาสำคัญกว่าพยานหลักฐานอื่น แม้มีการตกลงนอกสัญญา
สัญญาจำนองเป็นการทำหนังสือจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตราทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันการชำระหนี้ สาระสำคัญแห่งการจำนองจึงอยู่ที่ข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่จดทะเบียนไว้ สิ่งที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงก็คือ สัญญาจำนองที่ได้จดทะเบียนไว้นั้น เมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยจำนองที่ดินเต็มทั้งโฉนด และสิ่งปลูกสร้างจำนองด้วยทั้งสิ้น จำเลยจะนำสืบว่าได้ตกลงจำนองกันเพียงที่ดินและห้องแถวเพียง 16 ห้องในจำนวน 22 ห้องที่มีอยู่ในเวลาทำสัญญานั้นหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
แม้เอาสารสัญญากู้ที่ลูหนี้ได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนหน้าที่จำเลยทำสัญญาจำนองจะได้กล่าวถึงตึกแถวว่าจำนวน 16 คูหาก็ดี ก็เป็นความตกลงคนละเรื่องคนละรายกับสัญญาจำนองรายนี้
แม้ในสัญญาจำนองจำได้กล่าวไว้ว่า ข้อสัญญาอื่น ๆ เป็ฯไปตามสัญญากู้ที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ และตามสัญญากู้กล่าวว่าจำนอง 16 ห้อง แต่เมื่องสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำนองที่ดินทั้งโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างมากน้องเพียงใดจึงไม่ใช่ข้อสัญญาอื่น ๆ นอกสัญญาจำนอง ดังนั้นจะตีความว่าจำนองเพียง 16 ห้องตามที่กล่าวในสัญญากู้หาได้ไม่
แม้จะถือว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลย+ถอนทรัพย์จำนองบางส่วนออกไปเมื่อยังมิได้จัดการแก้ทะเบียนที่ได้ตราไว้ ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาจำนองที่มีอยู่
ธนาคารอุตสาหกรรมร้องของให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองของผู้จำนองหลายรายซึ่งตราไว้เป็ฯประกันหนี้รายเดียวกัน ในวงเงินต่าง ๆ กัน ผู้จำนองร่วมกันทำคำแถลงต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลยกคำร้องดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินคดีร่วมกัน มิได้เสนอ-ต่อศาลขอแยกพิพาทเรียงรายตัวบุคคล ดังนั้น เมื่อผู้จำนองแพ้คดี ศาลย่อมพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายที่ชนะคดีได้ ไม่จำต้องแบ่งส่วนตามจำนวนเงินที่แต่ละคนจำนอง.
แม้เอาสารสัญญากู้ที่ลูหนี้ได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนหน้าที่จำเลยทำสัญญาจำนองจะได้กล่าวถึงตึกแถวว่าจำนวน 16 คูหาก็ดี ก็เป็นความตกลงคนละเรื่องคนละรายกับสัญญาจำนองรายนี้
แม้ในสัญญาจำนองจำได้กล่าวไว้ว่า ข้อสัญญาอื่น ๆ เป็ฯไปตามสัญญากู้ที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ และตามสัญญากู้กล่าวว่าจำนอง 16 ห้อง แต่เมื่องสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำนองที่ดินทั้งโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างมากน้องเพียงใดจึงไม่ใช่ข้อสัญญาอื่น ๆ นอกสัญญาจำนอง ดังนั้นจะตีความว่าจำนองเพียง 16 ห้องตามที่กล่าวในสัญญากู้หาได้ไม่
แม้จะถือว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลย+ถอนทรัพย์จำนองบางส่วนออกไปเมื่อยังมิได้จัดการแก้ทะเบียนที่ได้ตราไว้ ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาจำนองที่มีอยู่
ธนาคารอุตสาหกรรมร้องของให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองของผู้จำนองหลายรายซึ่งตราไว้เป็ฯประกันหนี้รายเดียวกัน ในวงเงินต่าง ๆ กัน ผู้จำนองร่วมกันทำคำแถลงต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลยกคำร้องดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินคดีร่วมกัน มิได้เสนอ-ต่อศาลขอแยกพิพาทเรียงรายตัวบุคคล ดังนั้น เมื่อผู้จำนองแพ้คดี ศาลย่อมพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายที่ชนะคดีได้ ไม่จำต้องแบ่งส่วนตามจำนวนเงินที่แต่ละคนจำนอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองรวมทั้งโฉนดและสิ่งปลูกสร้าง สัญญาจำนองเป็นหลักสำคัญ ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
สัญญาจำนองเป็นการทำหนังสือจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตราทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันการชำระหนี้สาระสำคัญแห่งการจำนองจึงอยู่ที่ข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่จดทะเบียนไว้สิ่งที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงก็คือ สัญญาจำนองที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นเมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่า จำเลยจำนองที่ดินเต็มทั้งโฉนด และสิ่งปลูกสร้างจำนองด้วยทั้งสิ้นจำเลยจะนำสืบว่าได้ตกลงจำนองกันเพียงที่ดินและห้องแถวเพียง16 ห้องในจำนวน 22 ห้องที่มีอยู่ในเวลาทำสัญญานั้นหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
แม้เอกสารสัญญาก้ที่ลูกหนี้ได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนหน้าที่จำเลยทำสัญญาจำนองจะได้กล่าวถึงตึกแถวว่าจำนวน 16 คูหาก็ดี ก็เป็นความตกลงคนละเรื่องคนละรายกับสัญญาจำนองรายนี้
แม้ในสัญญาจำนองจะได้กล่าวไว้ว่า ข้อสัญญาอื่นๆเป็นไปตามสัญญากู้ที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์และตามสัญญากู้กล่าวว่าจำนอง 16 ห้องแต่เมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำนองที่ดินทั้งโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างด้วยทั้งสิ้น (22 ห้อง) ข้อที่ว่าจะจำนองสิ่งปลูกสร้างมากน้อยเพียงใดจึงไม่ใช่ข้อสัญญาอื่นๆนอกสัญญาจำนองดังนั้นจะตีความว่าจำนองเพียง 16 ห้องตามที่กล่าวในสัญญากู้หาได้ไม่
แม้จะถือว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยชักถอนทรัพย์จำนองบางส่วนออกไปเมื่อยังมิได้จัดการแก้ทะเบียนที่ได้ตราไว้ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาจำนองที่มีอยู่
ธนาคารอุตสาหกรรมร้องขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองของผู้จำนองหลายรายซึ่งตราไว้เป็นประกันหนี้รายเดียวกัน ในวงเงินต่างๆ กันผู้จำนองร่วมกันทำคำแถลงต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลยกคำร้องดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินคดีร่วมกัน มิได้เสนอต่อศาลขอแบ่งแยกพิพาทเรียงรายตัวบุคคลดังนั้น เมื่อผู้จำนองแพ้คดีศาลย่อมพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายที่ชนะคดีได้ ไม่จำต้องแบ่งส่วนตามจำนวนเงินที่แต่ละคนจำนอง
แม้เอกสารสัญญาก้ที่ลูกหนี้ได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนหน้าที่จำเลยทำสัญญาจำนองจะได้กล่าวถึงตึกแถวว่าจำนวน 16 คูหาก็ดี ก็เป็นความตกลงคนละเรื่องคนละรายกับสัญญาจำนองรายนี้
แม้ในสัญญาจำนองจะได้กล่าวไว้ว่า ข้อสัญญาอื่นๆเป็นไปตามสัญญากู้ที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์และตามสัญญากู้กล่าวว่าจำนอง 16 ห้องแต่เมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำนองที่ดินทั้งโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างด้วยทั้งสิ้น (22 ห้อง) ข้อที่ว่าจะจำนองสิ่งปลูกสร้างมากน้อยเพียงใดจึงไม่ใช่ข้อสัญญาอื่นๆนอกสัญญาจำนองดังนั้นจะตีความว่าจำนองเพียง 16 ห้องตามที่กล่าวในสัญญากู้หาได้ไม่
แม้จะถือว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยชักถอนทรัพย์จำนองบางส่วนออกไปเมื่อยังมิได้จัดการแก้ทะเบียนที่ได้ตราไว้ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาจำนองที่มีอยู่
ธนาคารอุตสาหกรรมร้องขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองของผู้จำนองหลายรายซึ่งตราไว้เป็นประกันหนี้รายเดียวกัน ในวงเงินต่างๆ กันผู้จำนองร่วมกันทำคำแถลงต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลยกคำร้องดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินคดีร่วมกัน มิได้เสนอต่อศาลขอแบ่งแยกพิพาทเรียงรายตัวบุคคลดังนั้น เมื่อผู้จำนองแพ้คดีศาลย่อมพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายที่ชนะคดีได้ ไม่จำต้องแบ่งส่วนตามจำนวนเงินที่แต่ละคนจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019-1021/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาที่เปลี่ยนแปลงแก้ไข และหลักการใช้กฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้กระทำผิด
จำเลยปลอมหนังสือในหน้าที่ตนมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 229 มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิด แต่เมื่อประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้มาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นบทลงโทษและในบทความผิดที่จะใช้แก่จำเลยนี้ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974-1975/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: หลักฐานเป็นหนังสือ, การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา, และการพิสูจน์ความถูกต้องของสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เช่าที่ดิน 112 ตารางวาจากเจ้าของที่ดิน จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกบ้านในที่ดินบางส่วน จำเลยให้การว่าไม่ได้บุกรุก ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านนี้จำเลยขอเช่าจากเจ้าของ ๆ ให้จำเลยเข้าอยู่แล้ว จำเลยขอให้เรียกเจ้าของที่ดินเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วย เจ้าของที่ดินเข้ามาเป็นจำเลยร่วมและขอถือเอาคำให้การของจำเลยกับขอให้การเพิ่มเติมว่าโจทก์เช่าเพียง 51 ตารางวาเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเช่าที่โจทก์ทำไว้กับจำเลยร่วมเช่นนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ มิฉะนั้น จะต้องฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เอกสารการเช่ารายนี้ คือ สัญญาหมาย 8 โจทก์ว่า ไม่ใช่สัญญาเช่าที่โจทก์ทำไว้กับจำเลยร่วม ซึ่งจำเลยและจำเลยร่วมยืนยันว่าใช่ ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่าสัญญาเช่าหมาย 8 นี้เป็นสัญญาที่แท้จริง และใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าโจทก์ทำไว้จริงและใช้ได้แล้ว ก็ต้องฟังว่าโจทก์เช่า 51 ตารางวา ตามที่ปรากฏในสัญญา โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารว่าความจริงโจทก์เช่า 112 ตารางวาย่อมไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธินำสืบได้ว่า สัญญานี้ปลอมหรือไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการบังคับตามสัญญาประนีประนอมหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด การเปลี่ยนแปลงแก้ไขต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
ทำสัญญาประนีประนอมแบ่งที่ดินมรดกแปลงหนึ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามที่ตกลงปักหลักเขตแบ่งกันไว้ (ซึ่งได้จำนวนเนื้อที่ไม่เท่ากัน) แล้ว ต่อมาจำเลยไม่ยินยอมตามที่ตกลงกัน โจทก์จึงฟ้องจำเลยขอให้แบ่งตามสัญญา ศาลพิพากษาให้แบ่งเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน คดีถึงที่สุดดังนี้ต่อมาศาลจะสั่งเปลี่ยนแก้ให้แบ่งตามที่ตกลงปักหลักกันตามสัญญาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนหนี้ในสัญญาจำนองเกินข้อตกลงเดิม เป็นการขัดต่อหลักการนำสืบพยาน
จำเลยจะขอนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความจำนวนหนี้ในเอกสารสัญญาจำนองหาได้ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: เอกสารสิทธิชี้ขาด การนำสืบแก้ข้อความในเอกสารต้องห้าม
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก เป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง เมื่อหนังสือสัญญาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระบุว่า โจทก์ทั้งสองได้ชำระราคาและจำเลยทั้งสองได้รับเงินค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องฟังยุติตามนั้น การที่จำเลยทั้งสองนำพยานบุคคลมาสืบว่า ยังไม่ได้รับชำระค่าที่ดินครบถ้วน เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)