พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่เปิดเผยข้อมูลรายได้ที่แท้จริงในสัญญาประกันภัย ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ
โจทก์เอาประกันภัยกับจำเลยสำหรับค่าทดแทนลูกจ้างของโจทก์ในระดับผู้จัดการร้านสาขา ถ้าโจทก์มีความรับผิดต้องจ่ายค่าทดแทนจำเลยจะต้องชดใช้เงินทุกจำนวนที่โจทก์จะต้องรับผิดนั้นกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทข้อ 5 ระบุว่า"ค่าเบี้ยประกันภัยจะต้องคิดตามจำนวนค่าแรงและเงินเดือนตลอดทั้งรายได้อื่นๆที่ผู้เอาประกันจ่ายให้แก่ลูกจ้างในระหว่างระยะเวลาประกันภัยระยะหนึ่ง ๆ ........." ดังนั้นการแจ้งจำนวนรายได้ที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายให้ลูกจ้างจึงเป็นข้อสารสำคัญ เมื่อโจทก์แจ้งจำนวนเงินผิดไปถึง 10 เท่าตัวเศษเป็นผลทำให้จำเลยไม่อาจเรียกเบี้ยประกันภัยซึ่งตนมีสิทธิเรียกร้องได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยถึง 200,000 บาทเศษ ถือได้ว่าเป็นการไม่เปิดเผยข้อความจริงที่ควรต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบในเวลาทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยฉบับพิพาทจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
ในสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงทุกข้ออันอาจจะทำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุให้จำเลยมีสิทธิตรวจดูสมุดบัญชีก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงนี้เองไม่ และจะถือว่าจำเลยควรจะทราบข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่ได้ดุจกัน
เมื่อผู้จัดการร้านสาขาคนหนึ่งของโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ โจทก์ได้แจ้งรายได้อื่น ๆ ของผู้ตายนอกจากเงินเดือนให้จำเลยทราบด้วยแล้ว จำเลยไม่ได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายใน 1 เดือนนับแต่นั้น แต่การที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมรายนี้ได้ จำเลยจะต้องรู้ข้อเท็จจริงมากกว่านั้นคือต้องคำนวณจากรายได้ที่แท้จริงทั้งหมดของผู้จัดการร้านสาขาของโจทก์ทั้งหมด เพื่อจะได้ความว่าโจทก์ปกปิดข้อความจริงใดอันจะทำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะหรือไม่ เมื่อจำเลยสอบถามไปโจทก์ก็ไม่ตอบให้จำเลยทราบจนกระทั่งฟ้องจำเลยแล้วและจำเลยก็ได้บอกล้างไปภายใน 1 เดือนนับแต่จำเลยได้สอบถามไปกรณีจึงไม่ต้องด้วยวรรคสอง ของมาตรา 865
ในสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงทุกข้ออันอาจจะทำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุให้จำเลยมีสิทธิตรวจดูสมุดบัญชีก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงนี้เองไม่ และจะถือว่าจำเลยควรจะทราบข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่ได้ดุจกัน
เมื่อผู้จัดการร้านสาขาคนหนึ่งของโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ โจทก์ได้แจ้งรายได้อื่น ๆ ของผู้ตายนอกจากเงินเดือนให้จำเลยทราบด้วยแล้ว จำเลยไม่ได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายใน 1 เดือนนับแต่นั้น แต่การที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมรายนี้ได้ จำเลยจะต้องรู้ข้อเท็จจริงมากกว่านั้นคือต้องคำนวณจากรายได้ที่แท้จริงทั้งหมดของผู้จัดการร้านสาขาของโจทก์ทั้งหมด เพื่อจะได้ความว่าโจทก์ปกปิดข้อความจริงใดอันจะทำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะหรือไม่ เมื่อจำเลยสอบถามไปโจทก์ก็ไม่ตอบให้จำเลยทราบจนกระทั่งฟ้องจำเลยแล้วและจำเลยก็ได้บอกล้างไปภายใน 1 เดือนนับแต่จำเลยได้สอบถามไปกรณีจึงไม่ต้องด้วยวรรคสอง ของมาตรา 865
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อมูลการรักษาพยาบาลก่อนทำสัญญาประกันชีวิต: ผลต่อโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865
ข้อความจริงอย่างไรจะถือว่าอาจจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 นั้น ต้องถือตามความเห็นของวิญญูชนทั่วไปเป็นหลัก จะถือว่าถ้ามีการปกปิดความจริงไม่ว่าประการใดๆ แล้ว จะทำให้สัญญาเป็นโมฆียะไปเสียทั้งหมดหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 715/2513)
ขณะที่ ถ.ขอเอาประกันชีวิตกับจำเลยถ.มีสุขภาพดี แพทย์ผู้ตรวจไม่พบโรคไต แสดงว่าโรคไตของ ถ.อาจหายแล้วหรือไม่อยู่ในขั้นร้ายแรง ถ.ถึงแก่กรรมเพราะเส้นโลหิตแตกในสมอง มิใช่โรคไต ฉะนั้น ที่ ถ.มิได้เปิดเผยเรื่องที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาก่อนขอเอาประกันภัยให้จำเลยทราบนั้น จึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยข้อความจริงเช่นนั้น จะจูงใจจำเลยให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญาอันจะทำให้สัญญาเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
ขณะที่ ถ.ขอเอาประกันชีวิตกับจำเลยถ.มีสุขภาพดี แพทย์ผู้ตรวจไม่พบโรคไต แสดงว่าโรคไตของ ถ.อาจหายแล้วหรือไม่อยู่ในขั้นร้ายแรง ถ.ถึงแก่กรรมเพราะเส้นโลหิตแตกในสมอง มิใช่โรคไต ฉะนั้น ที่ ถ.มิได้เปิดเผยเรื่องที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาก่อนขอเอาประกันภัยให้จำเลยทราบนั้น จึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยข้อความจริงเช่นนั้น จะจูงใจจำเลยให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญาอันจะทำให้สัญญาเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อมูลสุขภาพของผู้เอาประกันภัย สัญญาประกันชีวิตไม่เป็นโมฆียะหากข้อมูลที่ไม่เปิดเผยไม่กระทบต่อการรับประกัน
การละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 จะต้องพิจารณาถึงความสำคัญของข้อความที่ละเว้นไม่เปิดเผยด้วยมิใช่ว่าถ้ามีการปกปิดความจริงแล้วจะทำให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะไปเสียทั้งหมด
โรคไส้เลื่อนมิใช่เป็นโรคอันตรายร้ายแรง เมื่อผ่าตัดแล้วอาจหายไปได้การที่ผู้เอาประกันมิได้แจ้งเรื่องเคยเป็นโรคนี้ และได้รับการผ่าตัดมาก่อนให้ทราบ ยังไม่ถึงขนาดที่จะอนุมานเอาได้ว่าถ้าได้แจ้งเช่นนั้นผู้รับประกันภัยจะบอกปัดไม่รับประกัน หรือเรียกเบี้ยประกันให้สูงขึ้น จึงไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
โรคไส้เลื่อนมิใช่เป็นโรคอันตรายร้ายแรง เมื่อผ่าตัดแล้วอาจหายไปได้การที่ผู้เอาประกันมิได้แจ้งเรื่องเคยเป็นโรคนี้ และได้รับการผ่าตัดมาก่อนให้ทราบ ยังไม่ถึงขนาดที่จะอนุมานเอาได้ว่าถ้าได้แจ้งเช่นนั้นผู้รับประกันภัยจะบอกปัดไม่รับประกัน หรือเรียกเบี้ยประกันให้สูงขึ้น จึงไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อมูลสุขภาพในการทำประกันชีวิต: การปกปิดโรคไส้เลื่อนไม่ถึงขนาดทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ
การละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 จะต้องพิจารณาถึงความสำคัญของข้อความที่ละเว้นไม่เปิดเผยด้วยมิใช่ว่าถ้ามีการปกปิดความจริงแล้วจะทำให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะไปเสียทั้งหมด
โรคไส้เลื่อนมิใช่เป็นโรคอันตรายร้ายแรง เมื่อผ่าตัดแล้วอาจหายไปได้การที่ผู้เอาประกันมิได้แจ้งเรื่องเคยเป็นโรคนี้ และได้รับการผ่าตัดมาก่อนให้ทราบ ยังไม่ถึงขนาดที่จะอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้แจ้งเช่นนั้นผู้รับประกันภัยจะบอกปัดไม่รับประกันหรือเรียกเบี้ยประกันให้สูงขึ้น จึงไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
โรคไส้เลื่อนมิใช่เป็นโรคอันตรายร้ายแรง เมื่อผ่าตัดแล้วอาจหายไปได้การที่ผู้เอาประกันมิได้แจ้งเรื่องเคยเป็นโรคนี้ และได้รับการผ่าตัดมาก่อนให้ทราบ ยังไม่ถึงขนาดที่จะอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้แจ้งเช่นนั้นผู้รับประกันภัยจะบอกปัดไม่รับประกันหรือเรียกเบี้ยประกันให้สูงขึ้น จึงไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความลับทางการค้าของลูกจ้าง: การเปิดเผยข้อมูลไม่มีความผิดตามกฎหมาย
เปิดเผยความลับที่รู้มาเป็นลูกจ้างเขายังไม่มีผิดตามกฎหมายข้างบน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19969/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเปิดเผยข้อมูลข่าวสารลับของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหัวหน้าหน่วยงานในสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินอันเป็นหน่วยงานของรัฐตามบทบัญญัติมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ที่ระบุให้ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบการบริหารทั่วไปซึ่งงานตรวจเงินแผ่นดิน จึงเป็นหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารลับได้ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ข้อ 49 ซึ่งออกตามความในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยความลับทางการค้าต้องทำให้ข้อมูลนั้นหมดสภาพความเป็นความลับ จึงจะเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า
การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 ต่อเมื่อจำเลยเปิดเผยความลับทางการค้าให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้าสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ตามฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 นำข้อมูลที่โจทก์อ้างว่าเป็นความลับทางการค้าไปเปิดเผยแก่จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นบริษัทที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันจัดตั้งขึ้น แม้ตามกฎหมายจำเลยที่ 6 ถือเป็นบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 แต่ตามฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 นำข้อมูลที่อ้างว่าเป็นความลับทางการค้าไปใช้เองโดยวิธีจัดตั้งจำเลยที่ 6 ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ข้อมูลความลับทางการค้าดังกล่าวยังคงอยู่ในความรู้ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 หรือจำเลยที่ 6 เท่านั้น มิใช่การเปิดเผยข้อมูลให้เป็นที่ล่วงรู้แก่บุคคลอื่นโดยทั่วไป ส่วนฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยทั้งหกขายเครื่องจักรบรรจุสินค้าลงซองอัตโนมัติให้แก่ลูกค้าของโจทก์หลายราย ก็มิใช่การเปิดเผยข้อมูลความลับทางการค้าเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเครื่องจักรดังกล่าวแก่ลูกค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งหกตามที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงไม่เป็นการร่วมกันเปิดเผยความลับทางการค้าของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิด จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งหกตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในทางแพ่งและมี คำขออื่นรวมมาด้วย โดยมีมูลมาจากความรับผิดในทางอาญา พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 เมื่อตามฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งหกตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกหรือขอให้บังคับตามคำขอท้ายฟ้องในส่วนแพ่ง
คดีนี้มีคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญารวมอยู่ด้วย แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำสั่งเรื่องความรับผิดของคู่ความในค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในทางแพ่งและมี คำขออื่นรวมมาด้วย โดยมีมูลมาจากความรับผิดในทางอาญา พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 เมื่อตามฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งหกตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกหรือขอให้บังคับตามคำขอท้ายฟ้องในส่วนแพ่ง
คดีนี้มีคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญารวมอยู่ด้วย แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำสั่งเรื่องความรับผิดของคู่ความในค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7309/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องเปิดเผยข้อมูลครบถ้วน เพื่อให้ผู้สนใจเข้าสู้ราคาได้อย่างถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามถือว่าการขายไม่ชอบ
ผู้ซื้อทรัพย์อุทธรณ์เป็นใจความสำคัญว่า การขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศนัดขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดจันทบุรีรวม 5 ครั้ง และมีหมายแจ้งวันนัดให้โจทก์และจำเลยที่ 2 ทราบกำหนดนัดแล้วทุกครั้ง วันนัดขายทอดตลาดวันที่ 10 กรกฎาคม 2545 ผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 2 เดินทางไปที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดจันทบุรีตามกำหนด แต่ไม่เข้าไปติดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 2 คำฟ้องอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วว่า โจทก์และจำเลยที่ 2 ทราบกำหนดนัดขายทอดตลาดโดยชอบและเดินทางไปที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดจันทบุรีตามกำหนดนัดแล้ว แต่ผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่สอบถามเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 อันเป็นความบกพร่องของผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 2 เอง โจทก์และจำเลยที่ 2 จะอ้างความเข้าใจผิดคิดว่าไม่มีการขายทอดตลาดดังที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยไม่ได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์จึงเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
การดำเนินการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องประกาศขายอย่างเปิดเผย โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจเข้าสู้ราคา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความให้ได้ราคาสูงสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 ไม่ใช่ขายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปิดประกาศแจ้งการขายไว้ที่หน้าสำนักงานบังคับคดีจังหวัดจังหวัดจันทบุรีต่างไปจากการขายทอดตลาดในคดีอื่น ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นที่เปิดเผยตามวิถีทางที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบถึงการตัดสินใจเข้าสู้ราคาและจำนวนผู้เข้าสู้ราคาซึ่งอาจต้องถูกจำกัดให้น้อยลงขัดต่อเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดที่ต้องเปิดโอกาสให้มีการเข้าสู้ราคากันโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 308 แม้การขายทอดตลาดนัดนี้จะเป็นการขายครั้งที่ 4 ซึ่งตามคำสั่งกรมบังคับคดีกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือเอาราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอสูงสุดซึ่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของราคาประเมินหรือราคาของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนดราคาทรัพย์แล้วแต่กรณี เป็นราคาที่สมควรขาย แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำสั่งหรือคำพิพากษา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
การดำเนินการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องประกาศขายอย่างเปิดเผย โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจเข้าสู้ราคา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความให้ได้ราคาสูงสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 ไม่ใช่ขายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปิดประกาศแจ้งการขายไว้ที่หน้าสำนักงานบังคับคดีจังหวัดจังหวัดจันทบุรีต่างไปจากการขายทอดตลาดในคดีอื่น ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นที่เปิดเผยตามวิถีทางที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบถึงการตัดสินใจเข้าสู้ราคาและจำนวนผู้เข้าสู้ราคาซึ่งอาจต้องถูกจำกัดให้น้อยลงขัดต่อเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดที่ต้องเปิดโอกาสให้มีการเข้าสู้ราคากันโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 308 แม้การขายทอดตลาดนัดนี้จะเป็นการขายครั้งที่ 4 ซึ่งตามคำสั่งกรมบังคับคดีกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือเอาราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอสูงสุดซึ่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของราคาประเมินหรือราคาของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนดราคาทรัพย์แล้วแต่กรณี เป็นราคาที่สมควรขาย แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำสั่งหรือคำพิพากษา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7309/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องเปิดเผยข้อมูลครบถ้วนเพื่อให้ผู้สนใจเข้าสู้ราคาได้อย่างเป็นธรรม หากไม่เป็นไปตามหลักการ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปิดประกาศแจ้งการขายไว้ที่หน้าสำนักงานบังคับคดีจังหวัดจันทบุรีต่างไปจากการขายทอดตลาดในคดีอื่น ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายทอดตลาดไม่เป็นที่เปิดเผยตามวิถีทางที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบถึงการตัดสินใจเข้าสู้ราคาและจำนวนผู้เข้าสู้ราคาซึ่งอาจต้องถูกจำกัดให้น้อยลง ขัดต่อเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดที่ต้องเปิดโอกาสให้มีการสู้ราคากันโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 308 แม้จะเป็นการขายครั้งที่ 4 ซึ่งตามคำสั่งกรมบังคับคดีกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือเอาราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอสูงสุดซึ่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของราคาประเมินหรือราคาของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนดราคาทรัพย์แล้วแต่กรณีเป็นราคาที่สมควรขาย ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้ตามมาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4632/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดทางการแพทย์-การเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วย: การเปิดเผยข้อมูลให้ฝ่ายกฎหมายเพื่อแก้ไขข้อพิพาทไม่ถือเป็นการละเมิด
ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 แสดงให้เห็นว่า แม้กฎหมายบัญญัติยืนยันสถานะข้อมูลด้านสุขภาพเป็นความลับส่วนบุคคล ซึ่งผู้ที่รู้ข้อมูลหรือปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าวต้องให้ความสำคัญต่อการรักษาข้อมูลดังกล่าวให้เป็นความลับและห้ามเปิดเผย เว้นแต่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการตรวจรักษาตามความประสงค์ของเจ้าของข้อมูล หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย ทั้งยังไม่ให้อ้างบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอข้อมูลก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า ภายหลังจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลเข้ารับการรักษากับจำเลยที่ 1 ที่โรงพยาบาลของจำเลยที่ 4 แล้ว โจทก์ได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลอื่น และการมาขอข้อมูลการรักษาของโจทก์จากจำเลยที่ 4 ได้มีการเรียกร้องค่าเสียหายเข้ามาด้วย ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการไกล่เกลี่ยกัน อันเป็นการแสดงว่ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ตรวจรักษาโจทก์ บันทึกและล่วงรู้ข้อมูลด้านสุขภาพของโจทก์ และจำเลยที่ 4 ผู้มีหน้าที่เก็บรักษาสิ่งที่บันทึกข้อมูลด้านสุขภาพของโจทก์ ได้นำข้อมูลด้านสุขภาพ คือ เวชระเบียนและคลิปวีดีโอการผ่าตัดเข้าหารือโดยเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในการประชุมกับพนักงานฝ่ายกฎหมายของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นบุคลากรภายในที่เกี่ยวข้องเพื่อจะให้ฝ่ายกฎหมายทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและกลั่นกรองงานภายในโรงพยาบาลของจำเลยที่ 4 ตามปกติ เพื่อแก้ไขปัญหา เมื่อฝ่ายกฎหมายของจำเลยที่ 4 เป็นบุคลากรภายในที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นบุคคลภายนอก แต่เป็นการเปิดเผยเพื่อให้พนักงานฝ่ายกฎหมายทราบข้อเท็จจริงตามปกติเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น จึงไม่ใช่เป็นการเปิดเผยข้อมูลตามความหมายของบทบัญญัติตามมาตรา 7 จึงไม่เป็นการกระทำโดยละเมิดต่อโจทก์