คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอนคำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องโดยอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ น. ทนายโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง แม้ในคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ส. ดำเนินคดีแทน แต่เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งนาย น. เป็นทนายความ พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยตนเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์ จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่เพิกถอน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไป หาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคท้ายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเพิกถอนคำสั่งอนุญาตชำระหนี้ที่ศาลสั่งโดยผิดหลงในคดีล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 108 บัญญัติว่า "คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งศาลสั่งอนุญาตแล้วนั้น ถ้าต่อมาปรากฏว่าศาลได้สั่งไปโดยผิดหลง เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้" จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติมาตรานี้ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ แม้คำสั่งศาลดังกล่าวจะถึงที่สุดก็ตาม ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้โดยผิดหลงว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งใหม่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีนี้เห็นว่ามูลหนี้ที่ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้มีข้อพิรุธสงสัยน่าเชื่อว่าจะไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง ที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้น่าจะเป็นการสั่งไปโดยผิดหลง ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคำขอรับชำระหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้
อย่างไรก็ดี เมื่อศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในสำนวนแล้วพบว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้คัดค้านจริง ที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นไม่ได้สั่งโดยผิดหลง ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกา การเพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกับที่โจทก์ยื่นฎีกาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายใน15 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ไม่ติดใจฎีกาประกอบกับ มีข้อความท้ายฎีกาของโจทก์ปรากฏชัดว่าโจทก์รอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วโดยทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาโดยโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาโดยระบุในใบมอบฉันทะว่า นอกจากโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกา ต่อศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ยังมอบฉันทะในเรื่องอื่น ๆที่เกี่ยวข้องจนเสร็จการโดยโจทก์ยอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบฉันทะได้กระทำไปทุกประการ ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นฎีกานั้นเอง โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากทนายโจทก์อยู่กรุงเทพมหานคร และแบบพิมพ์ท้ายฎีกา ที่มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่า ทราบแล้วเป็นเพียงแบบฟอร์มที่ใช้ในศาลเท่านั้น โดยตัวโจทก์มิได้ลงชื่อรับทราบหาได้ไม่ การที่โจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่ขาดมาชำระต่อศาลชั้นต้น ในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนกระทั่งล่วงเลยเวลา มาเป็นเวลานานถึง 1 เดือน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่ง ไม่รับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 แล้ว เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์โดยผิดหลงหรือเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ส่งไปรับฎีกานั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นตรวจฎีกาของโจทก์และมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232ประกอบมาตรา 247 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามมาตรา 252 เท่านั้น และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีย่อมไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งฎีกาอีกต่อไป ดังนี้แม้โจทก์จะนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ยังขาดมาวางศาลโดยอ้างในคำร้องว่าเพิ่งทราบคำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกา ก็เป็นการนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวาง ศาลภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว 5 วัน และหลังจากครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ นำเงินมาวางศาลเป็นเวลานานถึง 21 วัน ก็โดยปราศจาก เหตุผลอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่ง ที่ไม่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4682/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล: เหตุแห่งการคัดค้าน, ความชอบด้วยกฎหมาย, การไต่สวนพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศ.เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ผู้คัดค้านทั้งสามร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ. เนื่องจากคำร้องของผู้ร้องที่ขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคำร้องขอเป็นผู้อนุบาลของ ศ.เป็นความเท็จ และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตปิดบังข้อเท็จจริง และปิดบังพินัยกรรมของบิดาผู้ร้องที่ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของนางสาวศรีสกุล ทั้งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ.อยู่ก่อนที่ผู้ร้องจะขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ประกอบกับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ได้ขอถอนการเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1598/8 เนื่องจากมาตรา 28 วรรคสอง บัญญัติให้การแต่งตั้งผู้อนุบาลอำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล และการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.นี้และมาตรา 1598/18 วรรคสอง บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาลให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น การแต่งตั้งผู้อนุบาลจึงต้องอนุโลมตามการแต่งตั้งผู้ปกครองด้วย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล เป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อนุบาลตามมาตรา 1587 อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล โดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลนั้นเสียอันเป็นกรณีร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมตามมาตรา1588 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่ยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จะยื่นคำคัดค้านแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีที่ขอถอนผู้อนุบาลตามมาตรา 1598/8ผู้คัดค้านจึงยื่นคำคัดค้านได้
ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามมีข้อพิพาทกันอยู่แล้ว แต่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ ศ.โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์โดยไม่ชอบนั้น ผู้ร้องยอมรับอยู่ว่า คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 ตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ครั้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเพราะยื่นล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และมีคำสั่งไปตามรูปคดี ต่อมาศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และในวันที่ 29 มกราคม 2539มีคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ร้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 14 มกราคม 2540 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของผู้ร้องและคดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ ก็เพื่อให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลนางสาวศรีสกุลจึงไม่ใช่กรณีร้องซ้อน
ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุแห่งการคัดค้านหลายประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยว่ามีเหตุควรเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ.หรือไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนและให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตามบทบัญญัติมาตรา 18 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ ตามคำฟ้องของโจทก์ได้โต้แย้งว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่นายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า สั่งและวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง คดีนี้ต่อศาลได้ คำว่า "CONCERT" ซึ่งมีความหมายว่าการแสดงดนตรีสากลโดยใช้เครื่องดนตรีวงใหญ่และอาจมีนักร้องประสานเสียงด้วยหรือมโหรีสังคีตและการประสานเสียงเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกวิทยุ ตู้ลำโพง โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอและเครื่องขยายเสียง คำว่า "CONCERT" หาใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรงไม่เพราะสินค้าวิทยุและตู้ลำโพงมิใช่สินค้าที่ใช้รับฟังได้เฉพาะเสียงการแสดงดนตรี มโหรีสังคีตหรือการประสานเสียงเท่านั้น หากแต่ใช้รับฟังเสียงอื่นได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงคนหรือสัตว์เดินหรือวิ่งเสียงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่นทะเล ฟ้าร้องเสียงการทำและปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม และเสียงอื่น ๆอีกมากมาย เสียงดนตรีจึงเป็นเพียงเสียงอย่างหนึ่งในบรรดาเสียงอื่นอีกมากมายที่รับฟังได้จากวิทยุและตู้ลำโพงส่วนโทรทัศน์และเครื่องเล่นวีดีโอก็ใช้ได้ทั้งชมภาพและฟังเสียงทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรี เครื่องขยายเสียงก็สามารถขยายเสียงได้ทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรีเช่นกันความหมายของคำว่า "CONCERT" เน้นไปที่การแสดงดนตรีวงใหญ่ที่ทำให้เกิดเสียงดนตรีขึ้นมา แต่เสียงอื่นที่มิได้เกิดจากการแสดงมีได้มากมายหลายกรณี คำว่า "CONCERT"จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าวิทยุตู้ลำโพง โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอ และเครื่องขยายเสียง โดยตรงย่อมมีลักษณะบ่งเฉพาะเมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติมาตรา 7 วรรคสอง(2)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534เครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์จึงมีลักษณะพึงรับการจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากรกระทรวงศึกษาธิการไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือของเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์พ.ศ. 2535 มาตรา 3 กำหนดให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น และมาตรา 5 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า กองทะเบียนและหนังสือสำคัญ กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการ เกี่ยวกับการประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา จัดเก็บเอกสารทางทะเบียนรวมทั้งออกหนังสือรับรองและต่ออายุ ทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไข เปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และกองบริการ และเผยแพร่มีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษา แนะนำ และบริการ เกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจัดทำสารบบ และกำกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นไปตามกฎหมาย จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเห็นได้ว่า การดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 ที่เป็นปัญหาข้อพิพาทกันในคดีนี้อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งหมดจำเลยจึงไม่อาจอ้างว่า ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวข้องการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและอธิบดีกรมจำเลยมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้นในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้แม้โจทก์มิได้ฟ้องข้าราชการในกรมจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ผู้อื่นเป็นจำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยในคดีนี้ เพื่อให้รับผิดได้ เมื่อคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบที่ศาลจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าว และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์ต่อไปเท่านั้นศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทันทีได้ เพราะจำเลยต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนของโจทก์ตามขั้นตอนตามกฎหมายคือพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 อันได้แก่การที่นายทะเบียนต้องมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบและให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาต่อไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และการที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏ ในคำฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ที่ขัดต่อกฎกระทรวงผังเมืองรวม แม้กฎหมายเดิมหมดอายุ แต่กฎหมายใหม่มาใช้บังคับ
แม้ในระหว่างที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ตามคำขอเอกสารหมายจ.5 และ จ.6 และจำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างปรากฏว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 24(พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมืองพ.ศ. 2518 ไม่มีผลใช้บังคับแล้ว ดังนี้กรณีตามคำขอของโจทก์จึงไม่ต้องต้องตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 จึงไม่อาจยกข้อห้ามตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพื่อมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ทำให้คำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและไม่มีเหตุผลสมควรในขณะนั้นก็ตาม แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ. 2538) ฯ ใช้บังคับเป็นผลให้กรณีคำขอของโจทก์ต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวงฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้ หากจะถือว่าขณะที่จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้จำเลยสั่งเช่นนั้นได้และจะต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ต้องไปรื้อร้องขอให้จำเลยมีคำสั่งอนุญาตใหม่ แต่ขณะจะมีคำสั่งใหม่ก็ปรากฏว่ากรณีของโจทก์ต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ. 2538)ฯ อีก เช่นนี้เห็นได้ว่าการมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 ซึ่งต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ. 2538) ฯ ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายที่ฝืนต่อสภาพการณ์ทางสังคมและหลักการทางปกครองคำขอของโจทก์จึงต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง จำเลยชอบที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ ศาลอนุญาตได้โดยไม่ต้องฟังจำเลย และการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่ามีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การและการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่ามีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ ศาลอนุญาตได้โดยไม่ต้องฟังจำเลย และการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้อง
วันที่ 12 มิถุนายน 2538 โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย วันที่ 14 มิถุนายน 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้จำหน่ายคดีจากสารบบความต่อมาวันที่ 26มิถุนายน 2538 จำเลยยื่นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถอนฟ้องไปแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ สำเนาให้โจทก์และนัดชี้สองสถาน เป็นกรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อนศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 วรรคหนึ่ง และมาตรา 183 วรรคสอง ศาลจะทำการชี้สองสถานได้ต่อเมื่อมีคำฟ้องและคำให้การ แต่เมื่อโจทก์ถอนคำฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ก็เท่ากับไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานอันเป็นการสั่งโดยผิดหลงเป็นไม่รับคำให้การและยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีเลิกจ้าง: เหตุเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างต้องอาศัยเหตุเดียวกัน หากศาลตัดสินแล้วว่าชอบ ฟ้องใหม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างของจำเลย ซึ่งศาลแรงงานกลางจะพิพากษาตามคำขอได้ก็ต่อเมื่อได้ความว่าคำสั่งเลิกจ้างเป็นคำสั่งที่มิชอบอันถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างฉบับเดียวกันนั้น โดยอาศัยเหตุจำเลยผิดสัญญา แต่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาเพิกถอนได้ก็ต่อเมื่อได้ความว่าคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยเป็นคำสั่งที่มิชอบอันเป็นการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบจึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
of 14