พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4640/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการดำเนินคดีล้มละลาย ถือเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2537ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของผู้ร้องในวันรุ่งขึ้นว่า ให้รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 5 วัน ไม่มีผู้รับให้ปิด โดยเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตรายางกำหนดให้ผู้ร้องมาทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 ซึ่งผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบไว้แล้ว กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 แต่ผู้ร้องมิได้มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ จนกระทั่งวันที่ 17 สิงหาคม 2537 อันล่วงเลยกำหนดเวลา5 วัน ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีได้รายงานต่อศาลชั้นต้นว่า พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้ว ผู้ร้องไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ศาลชั้นต้นจึงให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 246 ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) บัญญัติว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า "หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) บัญญัติว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า "หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4096/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ขอเฉลี่ยทรัพย์และการสวมสิทธิบังคับคดีเมื่อเจ้าหนี้เดิมเพิกเฉยต่อการบังคับคดี
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ ถอนการบังคับคดี เพราะเหตุที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดมีผลโดยตรงเฉพาะโจทก์เท่านั้นไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์โดยชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหมายนัดถึงผู้ร้องทั้งสองแจ้งว่าถ้าหากประสงค์จะ สวมสิทธิบังคับคดีแทนโจทก์ให้แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน7วันผู้ร้องทั้งสองได้แถลงแจ้งความประสงค์ในวันดังกล่าวแม้จะกระทำในเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งให้ถอนการบังคับคดีก็ย่อมมีผลให้ผู้ร้องทั้งสองสามารถดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคแปดโดยไม่จำต้องให้ศาลมีคำสั่งอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4096/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์หลังเจ้าหนี้เพิกเฉยบังคับคดี: ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ยังคงมีสิทธิบังคับคดีได้
กรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดทรัพย์สินสละสิทธิในการบังคับคดีหรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา295ทวิบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดีนั้นเสียส่วนมาตรา290วรรคแปดบัญญัติให้ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ตามวรรคแรกมีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไปเมื่อใจความทั้งสองมาตราหาได้กำหนดไว้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีกับผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์จะต้องร้องขอภายในกำหนดเวลาหรือเงื่อนไขอย่างไรศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่2กุมภาพันธ์2536ให้ถอนการบังคับคดีจึงย่อมมีผลโดยตรงเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอให้ศาลบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271โดยไม่อาจบังคับคดีต่อไปได้เท่านั้นแต่ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่4และ5สิงหาคม2524ตามลำดับโดยชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งจำต้องร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เพราะไม่อาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินซ้ำตามมาตรา290วรรคแรกได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหมายนัดเมื่อวันที่25มีนาคม2536ถึงผู้ร้องทั้งสองแจ้งว่าถ้าหากประสงค์จะสวมสิทธิบังคับคดีแทนโจทก์ให้แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน7วันผู้ร้องทั้งสองได้แถลงแจ้งความประสงค์ในวันดังกล่าวแล้วแม้จะกระทำในเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งให้ถอนการบังคับคดีก็ย่อมมีผลให้ผู้ร้องทั้งสองสามารถดำเนินการบังคับคดีต่อไปโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา290วรรคแปดโดยไม่จำต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทิ้งอุทธรณ์จากความประมาทเลล่า: การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและการเพิกเฉยต่อการดำเนินคดี
จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับสำเนาให้โจทก์แก้ให้จำเลยนำส่งภายใน5วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน15วันนับแต่วันส่งไม่ได้จำเลยทั้งสองทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วเมื่อส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ไม่ได้จำเลยทั้งสองยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอยู่เช่นเดิมเมื่อจำเลยทั้งสองไม่แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดว่าจะจัดการอย่างไรต่อไปแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบว่าส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ก็ตามแต่การที่จำเลยทั้งสองมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นคงปล่อยระยะเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาประมาณ2เดือนถือว่าจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เป็นการทิ้งอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7975/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจจำหน่ายคดี
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ในรูปคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง แต่อุทธรณ์ของผู้ร้องเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีและยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคหนึ่งและตาราง 1(2)(ก) ในอัตรา 200 บาท แต่ผู้ร้องเสียเป็นค่าคำร้อง 40 บาท เท่านั้นจึงไม่ถึงต้อง ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากผู้ร้องเพิ่มเติม ผู้ร้องทราบคำสั่งแล้วไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระภายในระยะเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ ถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีอันเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม มาตรา 132(1) แต่ศาลอุทธรณ์กลับวินิจฉัยว่าการที่ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มเติมจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องเช่นนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ การเพิกเฉยของศาลที่ไม่แจ้งคำสั่งและกำหนดเวลาให้โจทก์ดำเนินการ อาจไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
โจทก์ยื่นฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารับคำฟ้องหมายเรียกและสำเนาให้จำเลยแบบคดีมโนสาเร่ให้โจทก์นำส่งภายใน7วันถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน7วันนับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่งเมื่อโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองในครั้งแรกไม่ได้โจทก์ได้ยื่นคำแถลงภายในกำหนดขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองอีกครั้งหนึ่งอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้วส่วนในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งที่สองนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ทั้งไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่งและเมื่อศาลแขวงตลิ่งชันมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่2เมื่อวันที่30มกราคม2537แต่ส่งไม่ได้ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งว่า"รอโจทก์แถลง"ทั้งเมื่อพนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งที่สองให้แก่จำเลยที่1ไม่ได้เมื่อวันที่6กุมภาพันธ์2537ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งเช่นเดิมว่า"รอโจทก์แถลง"โดยศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำสั่งที่สั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทั้งสองฉบับให้โจทก์ทราบดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นรายงานเมื่อวันที่4มีนาคม2537ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่1และที่2ไม่ได้ถึง25วันและ32วันตามลำดับแล้วก็ตามก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลให้ชำระค่าขึ้นศาลฎีกา ถือเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา
จำเลยที่ 1 เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาไม่ถูกต้อง เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่จากจำเลยให้ครบถ้วน และศาลชั้นต้นได้มีหมายแจ้งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ยังขาดอยู่แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระ กรณีถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลเสียค่าขึ้นศาลฎีกา ทำให้การฟ้องคดีถูกทิ้งฟ้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วถอนชื่อจำเลยจากโฉนดที่ดินและให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินคืนโจทก์หรือกองมรดกเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ยอมเสียภายในเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ยอมเสียภายในเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากความไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลง ถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "รอจำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จำเลยในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลของการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งศาล
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่ง สำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้อง จัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมาย รายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่ง ในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลงถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควรเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลจะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "จำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง6 เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)