พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องจำเลยใหม่ในคดีอาญา: ข้อหาและการกระทำผิดต้องเกี่ยวเนื่องกัน
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คนเดียวในข้อหาฐานทำให้เสียทรัพย์แล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องโดยขอให้มารดาจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยอีกคนหนึ่งในข้อหาฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นข้อหาและการกระทำผิดที่มิได้เกี่ยวข้องเป็นคดีเดียวกันคำร้องของโจทก์ที่ยื่นขอเพิ่มเติมนี้ถือได้ว่าเป็นการฟ้องจำเลยคนใหม่เป็นคดีใหม่เข้ามาอีกเรื่องหนึ่ง โจทก์จะมาขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ไม่ได้ ไม่มีเหตุอันควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องจำเลยใหม่ในคดีอาญา ต้องเป็นคดีเดียวกัน โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องฐานฉ้อโกงซึ่งต่างจากฐานทำให้เสียทรัพย์เดิมไม่ได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คนเดียวในข้อหาฐานทำให้เสียทรัพย์. แล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องโดยขอให้มารดาจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยอีกคนหนึ่งในข้อหาฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นข้อหาและการกระทำผิดที่มิได้เกี่ยวข้องเป็นคดีเดียวกัน. คำร้องของโจทก์ที่ยื่นขอเพิ่มเติมนี้ถือได้ว่าเป็นการฟ้องจำเลยคนใหม่เป็นคดีใหม่เข้ามาอีกเรื่องหนึ่ง. โจทก์จะมาขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ไม่ได้. ไม่มีเหตุอันควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องหลังศาลนัดสืบพยาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ขัดต่อกฎหมาย หากยังไม่ถือว่าเป็นการชี้สองสถานและมีการเลื่อนการสืบพยาน
ในวันนัดพร้อม ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า 'ประเด็นตกโจทก์นำสืบก่อนให้นัดสืบพยานโจทก์ 12 ก.พ. 06 เวลา 8.30 น. ' ดังนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นการชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183
ศาลนัดสืบพยานโจทก์ไว้ แต่เพราะโจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องในวันนั้นศาลจึงสั่งนัดพิจารณาคำร้องและคู่ความขอเลื่อนการสืบพยานไปก่อนดังนี้ไม่ถือว่าวันนั้นเป็นวันสืบพยานโจทก์คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องที่ยื่นในวันนั้นจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
ศาลนัดสืบพยานโจทก์ไว้ แต่เพราะโจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องในวันนั้นศาลจึงสั่งนัดพิจารณาคำร้องและคู่ความขอเลื่อนการสืบพยานไปก่อนดังนี้ไม่ถือว่าวันนั้นเป็นวันสืบพยานโจทก์คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องที่ยื่นในวันนั้นจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นศาลและผู้พิพากษา, การใส่ความหมิ่นประมาท, และการเพิ่มเติมฟ้องในคดีอาญา
ขณะที่ ก. ผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีอยู่ จำเลยกำลังนั่งฟังอยู่ข้างนอก ได้พูดกับผู้อื่นว่า " ไม่นึกเลยว่าสำนวนนี้จะมาตกอยู่แก่คนๆ นี้" รูปการณ์เช่นนี้บ่งชัดว่าหมายถึงสำนวนเรื่องนั้นตกแก่ ก. ซึ่งกำลังนั่งพิจารณาอยู่นั้น และศาลจะต้องพิจารณาพฤติการณ์ตามที่โจทก์นำสืบประกอบคำกล่าวของจำเลยต่อไป จึงจะชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยได้ (แม้คำฟ้องจะมิได้บรรยายถึงพฤติการณ์ต่างๆเหล่านั้นก็ตาม) เมื่อเห็นเจตนาว่า ที่จำเลยกล่าวข้อความนั้นเพราะไม่พอใจที่เห็นสำนวนความเรื่องนั้นตกแก่ ก. ผู้ซึ่งจำเลยเห็นว่าเป็นผู้พิพากษาที่พิจารณาความด้วยอคติไม่ให้ความยุติธรรม จึงได้กล่าวตำหนิ ก. เป็นนัยเช่นนั้น อันมีความหมายไปในทางไม่ดี เป็นที่ระคายเคืองแก่ศักดิ์ศรีของ ก. การกระทำของจำเลยก็เป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีตามมาตรา 198 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยทำโทรเลขและหนังสือกล่าวโทษ ก. ผู้พิพากษาไปยังอธิบดีฯภาค อันเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท (ผิดตามมาตรา 326) นั้น ต้องถือว่าเป็นการดูหมิ่น ก. ผู้พิพากษาไปในขณะเดียวกันด้วยว่า พิจารณาคดีไม่เที่ยงธรรม แม้จะมิได้ทำในขณะที่ ก. ทำการพิจารณาคดีอยู่ก็ดีก็นับได้ว่าได้หมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี ต้องตามมาตรา 198ด้วย เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 198 แล้ว ก็ไม่เป็นผิดตามมาตรา 136 อีก เพราะกฎหมายบัญญัติแยกความผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษากับดูหมิ่นเจ้าพนักงานอื่นทั่วๆ ไปไว้ต่างหากจากกัน จึงต้องปรับบทแยกกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506เฉพาะข้อกฎหมายข้างต้นนี้)
การที่จำเลยกล่าวโทษ ก. ไปนั้น ถือว่าเป็นกรรมเดียวเป็นผิดต่อกฎหมายหลายบทโทษตามมาตรา 198 หนักกว่ามาตรา 326 จึงลงโทษตามมาตรา 198 เพียงบทเดียว
การยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งในระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์เมื่อมีคำพิพากษาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ไม่มีกำหนดเวลาว่าต้องยื่นภายหลังทราบคำสั่งแล้วเพียงใดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้อย่างใด ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ศาลสั่งไม่อนุญาตโจทก์ก็ยังไม่ยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์ยังยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นเดียวกับฉบับแรกอีกแล้วจึงยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก ดังนี้ โจทก์ก็ชอบที่จะทำได้ ศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องได้
แม้เมื่อได้สืบพยานโจทก์ไปมากแล้ว ก็ยังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะขอเพิ่มฟ้อง การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมความในฟ้องว่า "ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวแล้ว"และเพิ่มมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญาลงในคำขอท้ายฟ้อง โดยอ้างว่าเป็นรายละเอียดที่ยังบกพร่องไม่ครบถ้วนเนื่องจากผู้พิมพ์ฟ้องพิมพ์ตกไป ดังนี้ เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดและอ้างบทขอให้ลงโทษตามฐานความผิดที่ได้บรรยายไว้ในฟ้องมาแต่ต้นแล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้คดี ชอบที่จะอนุญาตให้เพิ่มเติมได้
จำเลยทำโทรเลขและหนังสือกล่าวโทษ ก. ผู้พิพากษาไปยังอธิบดีฯภาค อันเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท (ผิดตามมาตรา 326) นั้น ต้องถือว่าเป็นการดูหมิ่น ก. ผู้พิพากษาไปในขณะเดียวกันด้วยว่า พิจารณาคดีไม่เที่ยงธรรม แม้จะมิได้ทำในขณะที่ ก. ทำการพิจารณาคดีอยู่ก็ดีก็นับได้ว่าได้หมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี ต้องตามมาตรา 198ด้วย เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 198 แล้ว ก็ไม่เป็นผิดตามมาตรา 136 อีก เพราะกฎหมายบัญญัติแยกความผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษากับดูหมิ่นเจ้าพนักงานอื่นทั่วๆ ไปไว้ต่างหากจากกัน จึงต้องปรับบทแยกกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506เฉพาะข้อกฎหมายข้างต้นนี้)
การที่จำเลยกล่าวโทษ ก. ไปนั้น ถือว่าเป็นกรรมเดียวเป็นผิดต่อกฎหมายหลายบทโทษตามมาตรา 198 หนักกว่ามาตรา 326 จึงลงโทษตามมาตรา 198 เพียงบทเดียว
การยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งในระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์เมื่อมีคำพิพากษาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ไม่มีกำหนดเวลาว่าต้องยื่นภายหลังทราบคำสั่งแล้วเพียงใดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้อย่างใด ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ศาลสั่งไม่อนุญาตโจทก์ก็ยังไม่ยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์ยังยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นเดียวกับฉบับแรกอีกแล้วจึงยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก ดังนี้ โจทก์ก็ชอบที่จะทำได้ ศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องได้
แม้เมื่อได้สืบพยานโจทก์ไปมากแล้ว ก็ยังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะขอเพิ่มฟ้อง การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมความในฟ้องว่า "ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวแล้ว"และเพิ่มมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญาลงในคำขอท้ายฟ้อง โดยอ้างว่าเป็นรายละเอียดที่ยังบกพร่องไม่ครบถ้วนเนื่องจากผู้พิมพ์ฟ้องพิมพ์ตกไป ดังนี้ เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดและอ้างบทขอให้ลงโทษตามฐานความผิดที่ได้บรรยายไว้ในฟ้องมาแต่ต้นแล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้คดี ชอบที่จะอนุญาตให้เพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951-953/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคล และการเพิ่มเติมฟ้องต้องมีเหตุผลสมควร
บุคคลที่จะจัดการแทนผู้เสียหายซึ่งเป็นนิติบุคคล คือผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลผู้แทนดังกล่าวจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้ฟ้องคดีอาญาแทนนิติบุคคลนั้นไม่ได้
การขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญานั้น โจทก์จะต้องอ้างถึงเหตุอันควรในการขอแก้หรือเพิ่มเติมด้วย
(หมายเหตุ มาตรา 5(3) เทียบ ฎีกาที่ 229/2490,618/2490,2028/2499
มาตรา 163 เทียบฎีกาที่ 533/2496)
การขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญานั้น โจทก์จะต้องอ้างถึงเหตุอันควรในการขอแก้หรือเพิ่มเติมด้วย
(หมายเหตุ มาตรา 5(3) เทียบ ฎีกาที่ 229/2490,618/2490,2028/2499
มาตรา 163 เทียบฎีกาที่ 533/2496)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951-953/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคล และการเพิ่มเติมฟ้องต้องมีเหตุอันควร
บุคคลที่จะจัดการแทนผู้เสียหายซึ่งเป็นนิติบุคคล คือผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของนิติบุคคล ผู้แทนดังกล่าวจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้ฟ้องคดีอาญาแทนนิติบุคคลนั้นไม่ได้
การขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญานั้น โจทก์จะต้องอ้างถึงเหตุอันควรในการขอแก้หรือเพิ่มเติมด้วย (หมายเหตุ มาตรา 5(3) เทียบฎีกาที่ 229/2490,618/2490,2028/2499มาตรา 163 เทียบฎีกาที่ 533/2496)
การขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญานั้น โจทก์จะต้องอ้างถึงเหตุอันควรในการขอแก้หรือเพิ่มเติมด้วย (หมายเหตุ มาตรา 5(3) เทียบฎีกาที่ 229/2490,618/2490,2028/2499มาตรา 163 เทียบฎีกาที่ 533/2496)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมวันเวลาทำผิดในฟ้องอาญา: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การขอเพิ่มเติมฟ้องอ้างเหตุความพลั้งเผลอ ถือว่ามีเหตุสมควรตาม วิ.อาญา มาตรา 163 วรรคแรก
การขอเพิ่มเติมวัน เวลาทำผิดในฟ้องเดิม เป็นการขอเพิ่มเติมรายละเอียดตามวิ.อาญา ม.158(5) ซึ่งตาม วิ.อาญา ม.164 การขอเพิ่มเติมรายละเอียดที่มิได้กล่าวไว้เช่นนี้ ไม่ว่าทำในระยะใด ในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น มิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ในข้อนั้น ก็ให้รับคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์.
การขอเพิ่มเติมวัน เวลาทำผิดในฟ้องเดิม เป็นการขอเพิ่มเติมรายละเอียดตามวิ.อาญา ม.158(5) ซึ่งตาม วิ.อาญา ม.164 การขอเพิ่มเติมรายละเอียดที่มิได้กล่าวไว้เช่นนี้ ไม่ว่าทำในระยะใด ในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น มิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ในข้อนั้น ก็ให้รับคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมวันเวลาทำผิดในฟ้องอาญา: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การขอเพิ่มเติมฟ้องอ้างเหตุความพลั้งเผลอถือว่ามีเหตุสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคแรก
การขอเพิ่มเติมวัน เวลาทำผิดในฟ้องเดิมเป็นการขอเพิ่มเติมรายละเอียดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5) ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา164 การขอเพิ่มเติมรายละเอียดที่มิได้กล่าวไว้เช่นนี้ ไม่ว่าทำในระยะใดในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น มิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ในข้อนั้น ก็ให้รับคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์
การขอเพิ่มเติมวัน เวลาทำผิดในฟ้องเดิมเป็นการขอเพิ่มเติมรายละเอียดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5) ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา164 การขอเพิ่มเติมรายละเอียดที่มิได้กล่าวไว้เช่นนี้ ไม่ว่าทำในระยะใดในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น มิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ในข้อนั้น ก็ให้รับคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาข่มขืน การเพิ่มเติมฟ้อง และการที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนก่อนการร้องทุกข์
โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานเอาคดีขึ้นว่ากล่าว แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนความผิดของจำเลยคดีมีมูลไว้ชั้นหนึ่งแล้วนั้น ถือว่าเป็นฟ้องที่ชอบแล้ว
การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 5 ปาก เพื่อเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ในฟ้องให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้น ตามรูปเรื่องแห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ในข้อที่มิได้กล่าวไว้นั้นศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้.
การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 5 ปาก เพื่อเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ในฟ้องให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้น ตามรูปเรื่องแห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ในข้อที่มิได้กล่าวไว้นั้นศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาโดยไม่ระบุการร้องทุกข์ และการเพิ่มเติมฟ้องภายหลัง ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานและเจตนาของจำเลย
โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานเอาคดีขึ้นว่ากล่าว แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนความผิดของจำเลยคดีมีมูลไว้ชั้นหนึ่งแล้วนั้น ถือว่าเป็นฟ้องที่ชอบแล้ว
การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 5 ปากเมื่อเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ในฟ้องให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้นตามรูปเรื่องแห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ในข้อที่มิได้กล่าวไว้นั้นศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้
การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 5 ปากเมื่อเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ในฟ้องให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้นตามรูปเรื่องแห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ในข้อที่มิได้กล่าวไว้นั้นศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้