พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลคดีละเมิดลิขสิทธิ์เยาวชน: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ หรือศาลจังหวัด เมื่อไม่มีศาลเยาวชนในพื้นที่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ จำเลยมีภูมิลำเนาอันเป็นถิ่นที่อยู่ปกติที่จังหวัดลพบุรีและกระทำความผิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีซึ่งยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวเปิดดำเนินการ คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3) ที่ว่า ในกรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ถ้าไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจพิจารณาคดี หมายถึง กรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดที่ไม่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องอำนาจศาลไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซึ่งมี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 7 (1) บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้คดีลักษณะนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเว้นแต่จะเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เมื่อคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
กรณีที่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี เท่านั้นแต่ให้บรรดาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวจะยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้ ซึ่งหมายความว่าหากมีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค โดยระบุเขตศาลและที่ตั้งศาลขึ้นตามมาตรา 6 แล้ว คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคที่จัดตั้งขึ้นแล้วนั้นสามารถยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะรับหรือไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้เมื่อคดีนี้เหตุเกิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีและยังไม่มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคใดขึ้นเลย จึงยังใช้บทบัญญัติในการยื่นฟ้องคดีตามมาตรา 5 วรรคสอง ดังกล่าวแล้วไม่ได้ก็ตาม แต่ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติเป็นบทเฉพาะกาลไว้ว่าในระหว่างที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตในท้องที่นั้นด้วย และในคดีอาญาโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นก็ได้ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนั้นไว้แล้วจะนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น หรือ ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร โจทก์จึงยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีและศาลดังกล่าวแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนี้ไว้และพิจารณาพิพากษา จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 47 ดังกล่าว และคดีนี้มิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดลพบุรีด้วย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3) ที่ว่า ในกรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ถ้าไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจพิจารณาคดี หมายถึง กรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดที่ไม่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องอำนาจศาลไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซึ่งมี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 7 (1) บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้คดีลักษณะนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเว้นแต่จะเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เมื่อคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
กรณีที่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี เท่านั้นแต่ให้บรรดาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวจะยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้ ซึ่งหมายความว่าหากมีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค โดยระบุเขตศาลและที่ตั้งศาลขึ้นตามมาตรา 6 แล้ว คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคที่จัดตั้งขึ้นแล้วนั้นสามารถยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะรับหรือไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้เมื่อคดีนี้เหตุเกิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีและยังไม่มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคใดขึ้นเลย จึงยังใช้บทบัญญัติในการยื่นฟ้องคดีตามมาตรา 5 วรรคสอง ดังกล่าวแล้วไม่ได้ก็ตาม แต่ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติเป็นบทเฉพาะกาลไว้ว่าในระหว่างที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตในท้องที่นั้นด้วย และในคดีอาญาโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นก็ได้ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนั้นไว้แล้วจะนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น หรือ ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร โจทก์จึงยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีและศาลดังกล่าวแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนี้ไว้และพิจารณาพิพากษา จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 47 ดังกล่าว และคดีนี้มิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดลพบุรีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีเยาวชนละเมิดลิขสิทธิ์: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีอำนาจพิจารณา แม้เยาวชนกระทำผิดในพื้นที่ไม่มีศาลเยาวชน
ขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ จำเลยมีภูมิลำเนาอันเป็นถิ่นที่อยู่ปกติที่จังหวัดลพบุรีและกระทำความผิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีซึ่งยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวเปิดดำเนินการคดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 58(3) ที่ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจพิจารณาคดีนั้นหมายถึง กรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดที่ไม่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องอำนาจศาลไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซึ่งมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7(1) บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้คดีลักษณะนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เว้นแต่จะเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเมื่อคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วก็ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าว ดังนั้น คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9041/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายสารระเหยให้เด็กและผู้ติดยาเสพติด เป็นภัยร้ายต่อเยาวชน มีโทษทางอาญา
จำเลยกระทำความผิดในข้อหาขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปีและบุคคลที่ตนรู้หรือควรจะรู้ว่าติดสารระเหย นับว่าเป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งผู้ติดสารระเหยและเป็นภัยแก่เด็กและเยาวชนของชาติก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงไม่สมควรรอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7802/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืนของเยาวชน: การพิจารณาโทษและการแก้ไขบทมาตราโดยศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลย (ขณะกระทำความผิดอายุ 17 ปีเศษ)มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 83, 288, 289 (4) พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7,8 ทวิ วรรคสอง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง เรียงกระทงลงโทษตามป.อ. มาตรา 91 รวมลงโทษจำคุกจำเลย 13 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจนครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำ 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนรวมกับการลงโทษจำคุกทางอาญาต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 83 และมีความผิดในฐานพาอาวุธปืน ฯ ตาม ป.อ.มาตรา 371 อีกบทหนึ่ง แต่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง,72 ทวิ วรรคสอง อันเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้เฉพาะบทมิได้พิพากษาแก้โทษด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลย ไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7430/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชน, การสอบสวน, และการใช้มาตรา 104 พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ในคดีอาญาของเยาวชน
ในชั้นพิจารณา ผู้เสียหายเบิกความบ่ายเบี่ยงเป็นทำนองช่วยเหลือจำเลย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังเท่าคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ซึ่งให้การในระยะกระชั้นชิดกับเวลาเกิดเหตุ เพราะผู้เสียหายยังไม่มีโอกาสไตร่ตรองบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น แม้เป็นพยานบอกเล่าแต่มีเหตุผลให้น่าเชื่อถือ
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการพ.ศ. 2532 มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป จึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่า ในกรณีที่ปรากฎในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13 ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรี แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ ไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญา หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชน ตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี6 เดือน การส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมจึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการพ.ศ. 2532 มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป จึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่า ในกรณีที่ปรากฎในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13 ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรี แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ ไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญา หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชน ตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี6 เดือน การส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมจึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7430/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีเยาวชน การลดโทษ และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในชั้นพิจารณา ผู้เสียหายเบิกความบ่ายเบี่ยงเป็นทำนองช่วยเหลือจำเลย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังเท่าคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ซึ่งให้การในระยะกระชั้นชิดกับเวลาเกิดเหตุ เพราะผู้เสียหายยังไม่มีโอกาสไตร่ตรองบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแม้เป็นพยานบอกเล่าแต่มีเหตุผลให้น่าเชื่อถือ
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2532มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไปจึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่าในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี 6 เดือนการส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม จึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2532มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไปจึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่าในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี 6 เดือนการส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม จึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง, อายุเยาวชน, โอนคดี, วิธีการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน, ลดโทษ
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้น แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว การที่ศาลชั้นต้นไม่โอนคดีไปพิจารณาในแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แสดงว่าศาลชั้นต้นเห็นแล้วว่าไม่สมควรโอนคดีไปการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นจึงชอบ และศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้ได้ตามมาตรา 136 ประกอบมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาควบคุมตัวเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ต้องไม่เกินอายุ 24 ปีบริบูรณ์
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) นั้น ต้องไม่เกินกว่าที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งตามวรรคสุดท้ายของมาตรา 104 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องระบุให้ชัดเจนในคำพิพากษาว่า เมื่อจำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนดด้วย
จำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 29 ธันวาคม 2540 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104(2) จึงครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นต่ำกำหนด 2 ปี ในวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นสูง4 ปี วันที่ 29 ธันวาคม 2544 ซึ่งเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงขัดต่อกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรมมีกำหนดขั้นสูงจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 104 ประกอบด้วยมาตรา 105
จำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 29 ธันวาคม 2540 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104(2) จึงครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นต่ำกำหนด 2 ปี ในวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นสูง4 ปี วันที่ 29 ธันวาคม 2544 ซึ่งเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงขัดต่อกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรมมีกำหนดขั้นสูงจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 104 ประกอบด้วยมาตรา 105
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาควบคุมและฝึกอบรมเยาวชน ต้องไม่เกินอายุ 24 ปีบริบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึก และอบรมยังสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและ วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) นั้น ต้องไม่เกินกว่าที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปี บริบูรณ์ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งตามวรรคสุดท้ายของมาตรา 104 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องระบุให้ชัดเจนใน คำพิพากษาว่า เมื่อจำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนดด้วย จำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา วันที่ 29 ธันวาคม 2540 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลย ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) จึงครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นต่ำกำหนด 2 ปี ในวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นสูง 4 ปี วันที่ 29 ธันวาคม 2544 ซึ่งเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบ ยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงขัดต่อกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้น วินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรม มีกำหนดขั้นสูงจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ ตามมาตรา 104 ประกอบด้วยมาตรา 105
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในคดีเยาวชน กรณีศาลกำหนดวิธีการตามมาตรา 104 พ.ร.บ.เยาวชน
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121 บัญญัติว่า คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่ในกรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ... (2) กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104 เว้นแต่ในกรณีที่ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนนั้นเป็นการพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปี และมาตรา 122 บัญญัติว่า ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัว เห็นว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค และอนุญาตให้อุทธรณ์ ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป ตามบทกฎหมายดังกล่าวคงมีความหมายว่า ในคดีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104 ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้วย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน และคู่ความจะอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อดังกล่าวได้เท่านั้น สำหรับการฎีกานั้น พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 บัญญัติว่า คดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 121 ซึ่งมีความหมายว่า คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้น ย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ด้วยเช่นกรณีอุทธรณ์
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 1 ปี 6 เดือน และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันพิพากษา คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 1 ปี 6 เดือน และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันพิพากษา คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน