คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างหลังเลิกกิจการ: ผู้ชำระบัญชียังมีหน้าที่ชำระหนี้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
แม้ร้านสหกรณ์โรงงานกระดาษบางปะอิน จำกัด จำเลยที่ 1 จะได้เลิกกิจการไปแล้วก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511มาตรา 89 ให้ถือว่ายังคงดำรงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีของผู้ชำระบัญชีสภาพการเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่1 ยังไม่สิ้นสุดลง การเป็นนายจ้างลูกจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่สิ้นสุดลงโดยการเลิกกิจการของจำเลยที่ 1 และเมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยยังมิได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยที่ 3ในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงมีหน้าที่จัดการชำระหนี้แก่โจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา90 และ 94 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีชำระหนี้ดังกล่าวจึงหาเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกิจการหลังจัดสรรที่ดินขาย
ห้างหุ้นส่วนสามัญมีวัตถุประสงค์จัดสรรที่ดินขายอย่างเดียวเมื่อเสร็จการนั้นแล้ว ห้างเลิกกันและชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่เลิกกิจการ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องแทน
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช. ถึงแก่กรรม ห้าง น. ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 (5), 1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1257 (1)
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินสาธารณะ สัญญาประนีประนอมยอมความ และความรับผิดของผู้ลงชื่อสัญญา แม้บริษัทเลิกกิจการ
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของสวนลุมพินีซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกให้เป็นวนะสาธารณ์สำหรับประชาชน อยู่ในความดูแลรักษาของกรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย เทศบาลนครกรุงเทพ โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนพักผ่อนหย่อนใจดังนั้นเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ย่อมมีสิทธิเอาที่พิพาทให้เช่าเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายปรับปรุงสวนลุมพินีให้อยู่ในสภาพเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่ขัดพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญาเช่ากับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1จดทะเบียนเลิกห้างฯ โดยไม่มีการชำระบัญชีแต่ในการต่อสัญญาปีต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วก็ยังใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในฐานะผู้จัดการและดำเนินกิจการค้าและใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เดิมตลอดมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในปี 2513จำเลยที่ 2 ก็ได้ติดต่อกับโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และอาศัยชื่อจำเลยที่ 1เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และจำเลย ที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1 อยู่เช่นเดิม หาได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วไม่พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาปิดบังแอบอ้างอาศัยใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์เพื่อกิจการค้าของจำเลยที่ 2 หรือเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เองดังนั้นแม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯ แล้ว ก็ตามแต่สัญญานั้นก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ลงชื่อในสัญญานั้นจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับค้าที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาต และการระงับความรับผิดทางอาญาหลังเลิกกิจการ
ความผิดฐานค้าที่ดินโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นจะดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด เอกชนมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องร้องในความผิดส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีค้าที่ดินผิดกฎหมาย: ผู้เสียหายต้องเป็นรัฐเท่านั้น การระงับคดีเมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกิจการ
ความผิดฐานค้าที่ดินโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นจะดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดเอกชนมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องร้องในความผิดส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ของตัวแทนบริษัทที่เลิกกิจการและการให้สัตยาบันโดยผู้ชำระบัญชี
บริษัทจำกัดที่ฮ่องกงมีมติให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 8 เม.ย.2495 ส่วนสาขาในประเทศไทยได้จดทะเบียนเลิกกิจการเมื่อ พ.ศ.2496 ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวต้องถือว่า สาขาในประเทศไทยยังคงดำเนินกิจการในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทจำกัดที่ฮ่องกงนั้นอยู่ ถ้าเป็นเวลาก่อนที่สาขาในประเทศไทยได้ไปจดทะเบียนเลิกกิจการ นายจูกงซี ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากบริษัทที่ฮ่องกงให้เป็นผู้จัดการสาขาในประเทศไทย ก่อนบริษัทเลิกและให้ชำระบัญชี ย่อมมีอำนาจโดยสมบูรณ์ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในฐานะยังเป็นตัวแทนของบริษัทจำกัดที่ฮ่องกงนั้นอยู่
แต่ถึงแม้ว่าในขณะที่นายจูกงซียื่นคำขอรับชำระหนี้ภายหลังที่สาขาในประเทศไทยได้เลิกกิจการไปแล้ว อันเป็นผลให้การยื่นคำขอรับชำระหนี้ของนายจูกงซีเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ เพราะเหตุที่บริษัทจำกัดที่ฮ่องกงได้เลิกกิจการและตั้งผู้ชำระบัญชีขึ้นแล้วด้วยก็ดี แต่ผู้ชำระบัญชีก็ได้มีหนังสือแต่งตั้งให้นายจูกงซีมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทซ้ำมาอีก เป็นการให้สัตยาบันแก่การที่นายจูกงซียื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลแพ่งจะได้มีคำสั่งในเรื่องนี้ คำขอรับชำระหนี้ของนายจูกงซีย่อมไม่เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยเลิกกิจการก่อนบังคับคดี: สัญญาค้ำประกันสิ้นผล
จำเลยเป็นสาขาของบริษัทจำกัดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ ทนายของจำเลยยื่นอุทธรณ์ ในระหว่างอุทธรณ์จำเลยเลิกกิจการแต่ไม่มีผู้ใดคัดค้านให้ศาลอุทธรณ์ทราบต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเช่นนี้ถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้นใช้บังคับได้ คดีหาได้ถึงที่สุดไปในวันที่จำเลยเลิกกิจการไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดความจำเป็นในการพิจารณาคดีหลังจำเลยเลิกกิจการ ศาลฎีกายกฟ้อง
เมื่อเหตุที่มีการโต้แย้งในอันที่จะขอให้ศาลบังคับได้หมดไปแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยคดีต่อไป ศาลฎีกาย่อมยกฎีกาเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกกิจการจำหน่ายสุราและการไม่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำสุรา
จำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายน้ำสุราขายสุราหมดแล้วจึงไปอยู่ที่อื่นเสียชั่วคราว ระหว่างนี้ผู้ที่อยู่ในร้านจำเลยได้เอาน้ำสุราเข้ามาใหม่แล้วเจือปนน้ำสุราออกจำหน่ายดังนี้จำเลยหามีผิดฐานเปลี่ยแปลงน้ำสุราไม่ ผู้ขายน้ำสุรานั้นตามกฎหมายจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายน้ำสุราผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายน้ำสุราเอาน้ำสุรามาเจือปนจำหนายขอายหามีผิดฐาน เปลี่ยนแปลงน้ำสุราไม่
of 4