พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำกัดเฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชย ไม่ครอบคลุมค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัส
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน 424,083 บาท แก่โจทก์ โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่จำเลย ความว่า "ตามที่ ชสท.(จำเลย)ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่ 46/2537 วันที่ 25 พฤศจิกายน2537 ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบ ชสท.ว่าด้วยการพนักงาน ชสท. พ.ศ. 2535 และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน424,083 บาท ถูกต้องแล้ว และจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น" ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น มิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใด ข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใด ซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้น ข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่น ๆ รวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่ บันทึกตามเอกสารหมาย จ.7 ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้ ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต้องชัดเจน การรับเงินชดเชยไม่ครอบคลุมค่าเสียหายอื่น
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่25พฤศจิกายน2537และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน424,083บาทแก่โจทก์โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมายจ.7ให้แก่จำเลยความว่า"ตามที่ชสท.(จำเลย)ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่46/2537วันที่25พฤศจิกายน2537ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบชสท.ว่าด้วยการพนักงานชสท.พ.ศ.2535และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน424,083บาทถูกต้องแล้วและจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น"ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้นมิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใดข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้นข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่นๆรวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่บันทึกตามเอกสารหมายจ.7ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้นกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้ ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใดและโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องมีเหตุสมควร แม้มีข้อตกลงบอกเลิกจ้างได้ การฟ้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่เคลือบคลุม
แม้ตามสัญญาจ้างระบุว่าการว่าจ้างอาจจะถูกบอกเลิกได้โดยการที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าหนึ่งเดือนหรือจ่ายค่าสินไหมทดแทนเท่ากับเงินเดือนหนึ่งเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ตามแต่การบอกเลิกจ้างดังกล่าวก็จะต้องมีเหตุอันสมควรมิฉะนั้นจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา49ได้จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์หนึ่งเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วแต่ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างการเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้โจทก์ฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะไม่ได้ระบุว่าเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างไว้โดยตรงก็ตามแต่เมื่ออ่านคำฟ้องที่บรรยายประกอบกันก็เข้าใจได้ว่าเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์ไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิในวันที่ยังเหลืออยู่14วันและโจทก์มาฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแทนในวันดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเข้าใจได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับปีที่เลิกจ้างโจทก์ซึ่งยังมีวันหยุดพักผ่อนประจำปีเหลืออยู่14วันนั่นเองฟ้องโจทก์ในส่วนที่เรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงไม่เคลือบคลุม อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานที่ไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัวและสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบเพราะจำเลยไม่นำพยานมาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6284/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การพิจารณาเหตุผลที่แท้จริงในการเลิกจ้างและการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
จำเลยอุทธรณ์ว่า เงินค่าน้ำมันที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนโดยพิจารณาจากการออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ของโจทก์เพียงอย่างเดียวซึ่งหน้าที่การทำงานปกติของโจทก์ต้องออกไปเยี่ยมเยียนลูกค้านอกสถานที่ และโดยส่วนใหญ่โจทก์จะได้รับเงินดังกล่าวเต็มจำนวนทุกเดือนเงินดังกล่าวจำเลยจ่ายให้โจทก์ตามผลของการปฏิบัติงานของโจทก์ ก็คือการจ่ายตามผลงานนั้นเอง และเงินดังกล่าวจำเลย ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน จึงเป็นค่าจ้างและจะต้องนำเงิน จำนวนดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยนั้น เป็นการ ยกข้อเท็จจริงขึ้นโต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ฟัง ข้อเท็จจริงว่า จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถให้ไม่แน่นอนแล้วแต่การออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ของโจทก์ตามส่วน เป็นเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถให้โจทก์ที่ต้องจ่ายจริง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างมีผลกระทบความรู้สึกของพนักงานส่วนหนึ่งที่ทราบเรื่องและไม่พอใจโจทก์ และการที่จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจเกิดปัญหาขึ้นภายหลังได้นั้นแม้จะเป็นการคาดเดาเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดจริงก็ตาม แต่เมื่อเป็นการคาดการณ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริงที่สืบเนื่องจาก ผลแห่งการกระทำของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นไปตามเหตุที่มีอยู่จริงและเพื่อผลในการป้องกันมิให้เกิดปัญหา หาได้มีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-542/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายจ้างต้องชอบด้วยกฎหมายและอยู่ในขอบเขตหน้าที่/กิจการของนายจ้าง การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามป.พ.พ.มาตรา575,583และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ต้องเป็นคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานในกิจการของนายจ้างการที่จำเลยให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานที่บริษัทอ. ซึ่งมิได้เป็นกิจการของจำเลยทั้งมิใช่งานตามหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดขัดหรือฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-542/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้นายจ้างส่งลูกจ้างไปทำงานนอกกิจการของตนเองไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างจึงไม่เป็นธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา575,583และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีหน้าที่ทำงานให้แก่นายจ้างโดยทำงานตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างดังนั้นคำสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างจักต้องปฏิบัติตามก็จะต้องเป็นคำสั่งที่ให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานในกิจการของนายจ้างนั้น จำเลยมีปัญหาในการผลิตเนื่องจากเกิดการผละงานในบริษัท อ.ที่จำเลยเป็นลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์พื้นยางรองเท้ามาผลิตเป็นรองเท้าจำเลยได้ชี้แจงให้ลูกจ้างทราบความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างจำเลยไปทำงานที่บริษัท อ. โจทก์ทั้งเจ็ดและลูกจ้างอื่นก็ไปทำงานให้ตามประสงค์ชอบด้วยกฎหมายและการแรงงานสัมพันธ์ที่ดีแต่ที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานที่บริษัท อ. หลังจากที่โจทก์ทั้งเจ็ดกลับไปที่บริษัทจำเลยและสั่งเช่นเดียวกันซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากได้ลงโทษโจทก์ทั้งเจ็ดที่ไม่ปฏิบัติคำสั่งครั้งแรกนั้นเมื่อบริษัทอ. มิได้เป็นกิจการของจำเลยทั้งงานที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำที่บริษัท อ. ก็มิใช่งานตามหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานนอกหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานของบุคคลอื่นเช่นนี้ย่อมมิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายการที่โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ไปทำงานดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดขัดหรือฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่1ที่2ที่4ถึงที่7จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งจำเลยจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่โจทก์ดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการหลีกเลี่ยงกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์และจำเลยมิได้มีการว่าจ้างทดลองงานกันใหม่ และฟังไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มีความสามารถในการทำงาน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องจ่ายค่าเสียหายและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แล้วจำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองงานเนื่องจากโจทก์หย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม และไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นการอุทธรณ์ในเรื่องที่ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ศาลได้รับฟังมาจึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม มาตรา 54แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างหลังกลับเข้าทำงาน
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์นำคดีไปสู่ศาลแรงงาน ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้างคำขออื่นให้ยก คำพิพากษาของศาลแรงงานดังกล่าวแม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลและรูปคดีที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานดังกล่าว ย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง การนับอายุงานจึงต้องนับต่อเนื่องจากอายุงานเดิม มิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่หลังจากที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เมื่อจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์อีกครั้งด้วยเหตุละทิ้งหน้าที่ตามรายงานลับของพนักงานของจำเลยคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวว่าโจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานแต่ปรากฏว่าเวลาส่วนใหญ่ที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานนั้นเป็นระหว่างเวลา 11 นาฬิกาเศษ และ 13 นาฬิกา และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่า "ให้พนักงานหยุดพักได้วันละ1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-13.30 น." การที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานจึงเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เมื่อพิจารณาประกอบกับวินัยพนักงานที่เกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งระบุว่า "พนักงานต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตน หรือขาดงานหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 วัน ทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร" แล้ว โจทก์มิได้กระทำผิดวินัยพนักงานตามข้อดังกล่าว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุเพียงเท่าที่ปรากฏในรายงานลับจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหากศาลเห็นว่าโจทก์ไม่อาจทำงานร่วมกับจำเลยได้ขอให้ศาลกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 68,312.24 บาท ด้วย ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับข้อหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับเงินสะสมแต่อย่างใด โจทก์มาฟ้องคดีใหม่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2534 โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและจ่ายเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 125,274.33 บาท ด้วยคำฟ้องในส่วนของเงินสะสมคดีหลังจึงอาศัยเหตุเลิกจ้างคนละคราวกับคดีก่อน และยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่อศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนใน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พนักงานรัฐวิสาหกิจมีอำนาจฟ้องรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานและนับอายุงานต่อเนื่อง กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายโดยมิได้กำหนดประเด็นว่ามีเหตุควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือไม่ แต่หากศาลแรงงานกลางเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในหน้าที่และค่าจ้างเดิมโดยไม่ได้ขอให้นับอายุงานต่อเนื่อง แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยบัญญัติให้ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับขณะเลิกจ้าง ซึ่งย่อมหมายความว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนถูกเลิกจ้างการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นับอายุงานของโจทก์ต่อเนื่องจากอายุงานเดิมก่อนถูกเลิกจ้าง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งบทกฎหมายดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้อง