พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว: สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อค้างชำระเป็นเบี้ยปรับได้
เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบเงินที่ผู้เช่าซื้อส่งใช้มาแล้วและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคหนึ่งหาได้มีบทบัญญัติให้เรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ยังค้างได้อีก ดังนั้น โจทก์จะเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเช่าซื้อที่ยังค้างอยู่อีกไม่ได้ เพราะสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วคู่สัญญาไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์คงเรียกได้แต่เฉพาะค่าเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น การที่สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้นั้น จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งมีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสั่งจองรถ: การคืนรถยนต์และเงินมัดจำเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมตามกฎหมาย
โจทก์สั่งจองรถยนต์จากจำเลยโดยได้วางเงินมัดจำเป็นเช็คจำนวน 300,000 บาท กับได้มอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิวของโจทก์ซึ่งได้ตีราคาไว้ 400,000 บาท ให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ยกเลิกการสั่งจองและจำเลยได้คืนเงินมัดจำที่ได้รับไว้ตามเช็คให้แก่โจทก์แล้ว แสดงว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมเลิกสัญญาการจองรถที่มีอยู่ต่อกันนั้นโดยปริยาย กรณีเช่นนี้ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์สั่งจองรถยนต์จากจำเลยโดยวางเงินมัดจำเป็นจำนวน 300,000 บาท กับได้มอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิวของโจทก์ซึ่งตีราคาไว้ 400,000 บาท ให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ยกเลิกการสั่งจอง จำเลยคืนเงินให้ 300,000 บาท ส่วนเงินอีก 400,000 บาท จำเลยไม่คืนให้ ขอให้บังคับจำเลยคืนเงิน 400,000 บาทแก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายมาโดยชัดแจ้งว่าโจทก์นำรถไปแลกเปลี่ยนเพื่อให้จำเลยตีราคามูลค่าเป็นเงิน และในใบสั่งจองรถก็ระบุให้รถยนต์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่โจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยครั้งแรกเมื่อออกรถ แสดงให้เห็นว่าการที่โจทก์จำเลยตีราคารถยนต์บีเอ็มดับบลิวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย การที่จำเลยรับรถยนต์ของโจทก์ไว้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์สละการครอบครองให้รถตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยเด็ดขาดในทันทีไม่ เมื่อผลของการเลิกสัญญาทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม และรถยนต์ที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยอันเป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์ต้องชำระให้แก่จำเลยยังอยู่ที่จำเลยและอยู่ในวิสัยที่จะส่งมอบคืนแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องรับรถยนต์ดังกล่าวคืน แม้โจทก์มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ ศาลก็ชอบพิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ได้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 391 ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์สั่งจองรถยนต์จากจำเลยโดยวางเงินมัดจำเป็นจำนวน 300,000 บาท กับได้มอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิวของโจทก์ซึ่งตีราคาไว้ 400,000 บาท ให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ยกเลิกการสั่งจอง จำเลยคืนเงินให้ 300,000 บาท ส่วนเงินอีก 400,000 บาท จำเลยไม่คืนให้ ขอให้บังคับจำเลยคืนเงิน 400,000 บาทแก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายมาโดยชัดแจ้งว่าโจทก์นำรถไปแลกเปลี่ยนเพื่อให้จำเลยตีราคามูลค่าเป็นเงิน และในใบสั่งจองรถก็ระบุให้รถยนต์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่โจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยครั้งแรกเมื่อออกรถ แสดงให้เห็นว่าการที่โจทก์จำเลยตีราคารถยนต์บีเอ็มดับบลิวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย การที่จำเลยรับรถยนต์ของโจทก์ไว้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์สละการครอบครองให้รถตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยเด็ดขาดในทันทีไม่ เมื่อผลของการเลิกสัญญาทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม และรถยนต์ที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยอันเป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์ต้องชำระให้แก่จำเลยยังอยู่ที่จำเลยและอยู่ในวิสัยที่จะส่งมอบคืนแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องรับรถยนต์ดังกล่าวคืน แม้โจทก์มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ ศาลก็ชอบพิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ได้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 391 ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การรังวัดที่ดินใหม่, เนื้อที่ต่างกัน, สิทธิเลิกสัญญา, ฝ่ายผิดสัญญา
แม้สัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.8 จะระบุเนื้อที่ดินที่จะซื้อจะขายกันจำนวน 31 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา แต่ได้มีการบันทึกเพิ่มเติมในหมายเหตุว่า ผู้จะขายจะต้องทำการรังวัดสอบเขตใหม่ ได้เนื้อที่จริงเท่าใดให้คิดกันตามเนื้อที่ที่รังวัดได้ใหม่ ถ้าได้เนื้อที่มากหรือน้อยกว่าในโฉนดให้คิดในราคาไร่ละ 350,000 บาท ซึ่งเป็นการจะซื้อจะขายที่ดินคิดราคาตามเนื้อที่ที่รังวัดได้จริง มิใช่การจะซื้อจะขายที่ดินที่ระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 แม้รังวัดที่ดินพิพาทจะมีเนื้อที่น้อยกว่าเกินร้อยละห้าของเนื้อที่ดินในโฉนด ก็ไม่อาจใช้สิทธิเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 466
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล และผู้ซื้อไม่สามารถเลิกสัญญาซื้อขายได้หากการโอนกรรมสิทธิ์ล่าช้าจากกระบวนการทางกฎหมาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ รวมทั้งกระทำการต่างๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด ซึ่งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน และประกาศขายทอดตลาด ไม่ได้กำหนดเวลาไว้โดยแจ้งชัดว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหกแปลงให้ผู้ร้องเมื่อใด แม้ผู้ร้องมีความประสงค์จะนำที่ดินทั้งหกแปลงไปพัตนาทำธุรกิจก็เป็นเหตุผลเฉพาะตัวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตกลงด้วย จึงไม่อาจนำมาผูกมัดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ อีกทั้งผู้ร้องได้เข้าเป็นคู่ความในการร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เป็นการยอมรับถึงเหตุที่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องล่าช้าโดยเฉพาะเหตุแห่งความล่าช้านี้เป็นการที่จะต้องดำเนินตามกระบวนพิจารณาที่ ป.วิ.พ. ได้บัญญัติไว้ ยังฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผิดสัญญา จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาใช้ได้ และเมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุดแล้ว โดยศาลยกคำร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องได้ การชำระหนี้หาได้ตกเป็นพ้นวิสัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องเลิกสัญญาและขอเงินคืนได้ไม่
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด ซึ่งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน และประกาศขายทอดตลาด ไม่ได้กำหนดเวลาไว้โดยแจ้งชัดว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหกแปลงให้ผู้ร้องเมื่อใด แม้ผู้ร้องมีความประสงค์จะนำที่ดินทั้งหกแปลงไปพัตนาทำธุรกิจก็เป็นเหตุผลเฉพาะตัวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตกลงด้วย จึงไม่อาจนำมาผูกมัดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ อีกทั้งผู้ร้องได้เข้าเป็นคู่ความในการร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เป็นการยอมรับถึงเหตุที่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องล่าช้าโดยเฉพาะเหตุแห่งความล่าช้านี้เป็นการที่จะต้องดำเนินตามกระบวนพิจารณาที่ ป.วิ.พ. ได้บัญญัติไว้ ยังฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผิดสัญญา จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาใช้ได้ และเมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุดแล้ว โดยศาลยกคำร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องได้ การชำระหนี้หาได้ตกเป็นพ้นวิสัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องเลิกสัญญาและขอเงินคืนได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11993/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน: เริ่มนับแต่วันได้รับเงินแต่ละครั้ง
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและผู้บริโภคทั้งสิบสามรายได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่ผู้บริโภคทั้งสิบสามรายพร้อมดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยได้รับเงินจากผู้บริโภคแต่ละรายหลายครั้งหลายจำนวนจึงต้องเสียดอกเบี้ยของต้นเงินแต่ละจำนวนนับแต่เวลาที่ได้รับเงินแต่ละจำนวนไว้แต่โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่จำเลยได้รับเงินครั้งสุดท้ายจากผู้บริโภคแต่ละราย จึงกำหนดให้ตามคำขอของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้บริโภคทั้งสิบสามรายนับแต่เวลาที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินคืนแก่ผู้บริโภคแต่ละรายนั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9307/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ การเลิกสัญญาโดยปริยาย การคิดค่าจ้างตามผลงาน และสิทธิในการรับค่าจ้าง
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยขุดร่องและทำคันดินรอบที่ดินของโจทก์ กำหนดค่าจ้างคิดเหมาจากจำนวนดินที่นำมาถมทำเป็นคันดินในราคาคิวละ 14 บาท ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 เมษายน 2540 จำเลยได้ถมดินให้โจทก์ 157,324 คิว เป็นเงิน 2,202,536 บาทโจทก์ได้จ่ายเงินให้จำเลยไปรวม 1,300,000 บาท หลังจากวันที่ 15 เมษายน 2540 โจทก์ยังยินยอมให้จำเลยเบิกเงินอีก 50,000 บาท ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2540 แสดงว่า โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาในสัญญาเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่จำเลยไปพบโจทก์เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2540 อ้างว่างานเรียบร้อยแล้วขอให้โจทก์ลงชื่อรับมอบงานแต่โจทก์โต้เถียงว่างานยังไม่เรียบร้อย ซึ่งหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญา โจทก์จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการภายในกำหนดโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาได้ แต่โจทก์มิได้บอกกล่าวเลิกสัญญา อย่างไรก็ตามการที่โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 บอกเลิกสัญญาและเรียกร้องเอาเงินค่าปรับจากจำเลย และไปว่าจ้างผู้อื่นให้มาไถและปรับแต่งที่ดินจนแล้วเสร็จเป็นเงิน 80,000 บาทจำเลยทราบเรื่องจึงไปแจ้งความไว้ถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยายแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โจทก์จึงต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานของจำเลยให้จำเลยตามมาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ส่งคืนที่ดินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหลังเลิกสัญญาเช่า สิทธิในการรื้อถอนเสาเข็ม
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่ถูกต้องบางส่วน แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ไม่ถูกต้องมาด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้บังคับคดีแก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามคำฟ้องโจทก์ได้ และจำเลยจะยกเอาความไม่ถูกต้องในคำวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาอ้างเพื่อลบล้างคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ถูกต้องหาได้ไม่
เมื่อสัญญาเช่าเลิกกัน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์ในสภาพที่ได้รับมา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 561 และต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด รวมทั้งเสาเข็มของจำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าด้วย เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างในที่ดินที่เช่าโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งระบุว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินที่เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยยืนยันไม่ประสงค์จะใช้สิทธิรื้อถอนเสาเข็ม โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยได้และพิพากษาว่าจำเลยไม่ต้องรื้อถอนเสาเข็มใต้ดินนั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้บังคับคดีแก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามคำฟ้องโจทก์ได้
เมื่อสัญญาเช่าเลิกกัน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์ในสภาพที่ได้รับมา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 561 และต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด รวมทั้งเสาเข็มของจำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าด้วย เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างในที่ดินที่เช่าโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งระบุว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินที่เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยยืนยันไม่ประสงค์จะใช้สิทธิรื้อถอนเสาเข็ม โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยได้และพิพากษาว่าจำเลยไม่ต้องรื้อถอนเสาเข็มใต้ดินนั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้บังคับคดีแก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามคำฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่าเลิกสัญญา ค่าเสียหาย และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์เพื่อก่อสร้างโครงเหล็กติดตั้งป้ายโฆษณา เมื่อสัญญาเช่าที่ดินเลิกกันแล้วจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนที่ดินให้แก่โจทก์ในสภาพที่ได้รับมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 คือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดซึ่งรวมถึงเสาเข็มของจำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าด้วย เพราะจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินตามมาตรา 146
เมื่อสัญญาเช่าเลิกกันแล้วการที่จำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยออกจากที่ดินเช่าและส่งมอบที่ดินเช่าคืนโจทก์ในสภาพที่จำเลยได้รับมา ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เช่าได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาขอให้ยกฟ้องในเรื่องค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2541 ถึงวันฟ้องวันที่ 12 มกราคม 2542 เป็นเงินรวม 71,999.98 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ส่วนค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์นับแต่วันหลังจากวันฟ้องต่อไปอีกเดือนละ 10,000 บาท แต่รวมค่าเสียหายทั้งหมดแล้วไม่ให้เกิน20 เดือนนั้น เป็นค่าเสียหายในอนาคตจึงนำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ในอุทธรณ์และชั้นฎีกาไม่ได้ ดังนั้นจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นเงินแต่ละชั้นศาลจำนวน 1,800 บาท
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหายมาด้วยจึงเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราชั้นสูงกว่าตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก เมื่อปรากฏว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 71,999.98 บาท เกินกว่า 25,000 บาท ซึ่งมีค่าทนายความอัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์เป็นเงินร้อยละ 3 ของทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์คือเป็นเงินไม่เกิน 2,159.97บาท แต่สำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์กำหนดค่าทนายความในอัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไม่เกิน 1,500 บาท จึงต้องถือเอาอัตราค่าทนายความในคดีที่มีทุนทรัพย์ซึ่งมีอัตราสูงกว่าใช้บังคับ
เมื่อสัญญาเช่าเลิกกันแล้วการที่จำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยออกจากที่ดินเช่าและส่งมอบที่ดินเช่าคืนโจทก์ในสภาพที่จำเลยได้รับมา ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เช่าได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาขอให้ยกฟ้องในเรื่องค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2541 ถึงวันฟ้องวันที่ 12 มกราคม 2542 เป็นเงินรวม 71,999.98 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ส่วนค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์นับแต่วันหลังจากวันฟ้องต่อไปอีกเดือนละ 10,000 บาท แต่รวมค่าเสียหายทั้งหมดแล้วไม่ให้เกิน20 เดือนนั้น เป็นค่าเสียหายในอนาคตจึงนำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ในอุทธรณ์และชั้นฎีกาไม่ได้ ดังนั้นจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นเงินแต่ละชั้นศาลจำนวน 1,800 บาท
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหายมาด้วยจึงเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราชั้นสูงกว่าตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก เมื่อปรากฏว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 71,999.98 บาท เกินกว่า 25,000 บาท ซึ่งมีค่าทนายความอัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์เป็นเงินร้อยละ 3 ของทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์คือเป็นเงินไม่เกิน 2,159.97บาท แต่สำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์กำหนดค่าทนายความในอัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไม่เกิน 1,500 บาท จึงต้องถือเอาอัตราค่าทนายความในคดีที่มีทุนทรัพย์ซึ่งมีอัตราสูงกว่าใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4962/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อและการเรียกค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันแล้วผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันเกินกว่า 2 งวด โจทก์จึงยึดรถที่เช่าซื้อคืน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า ความรับผิดของจำเลยทั้งสองมีไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเพียงใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและปัญหานี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นอ้างได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ส่วนนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3885/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันหลังงานเสร็จ การชำระบัญชีต้องทำก่อนฟ้องเรียกค่าเสียหาย
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนในวิทยาลัยสารพัดช่าง เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวเสร็จและได้รับเงินค่าจ้างครบถ้วนแล้ว ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันเพราะเสร็จการนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(3) แม้หลังจากจำเลยได้รับเงินค่าจ้างงวดแรกจำเลยยินยอมคืนเงินลงทุนให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันเรื่องจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน จำนวนเงินที่โจทก์ลงทุนไป จำนวนหนี้ที่ค้างชำระแก่บุคคลภายนอก ค่าตอบแทนและค่าผลประโยชน์ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ และผลกำไร ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แม้คดีนี้โจทก์จะมิได้ฟ้องแบ่งปันกำไรแต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าแทนและค่าผลประโยชน์จากจำเลยอันเกี่ยวเนื่องกับสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 วรรคหนึ่ง เพื่อให้ทราบว่าห้างหุ้นส่วนสามัญมีหนี้สินเพียงใด โดยโจทก์จะต้องร้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนเมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง