พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกหุ้นส่วนแล้วไม่คืนเงินทุนกำไร: ผิดสัญญาหุ้นส่วน ไม่ใช่ยักยอก
เข้าหุ้นกันค้าขายโดยคนหนึ่งลงทุน คนหนึ่งลงแรงเลิกหุ้นกันแล้วคนลงแรงไม่คืนเงินทุนและกำไรให้ดังนี้เป็นเรื่องผิดสัญญาหุ้นส่วน ไม่ใช่ยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอสละหุ้นส่วนและการไม่สนองของหุ้นส่วนอื่น ทำให้สิทธิในหุ้นส่วนยังคงอยู่
พวกหุ้นส่วนเสนอยอมให้ริบหุ้น แต่หุ้นส่วนอื่นยังไม่ได้สนอง จะริบไม่ได้
วิธีพิจารณาแพ่ง
ฎีกาอุทธรณ์ คนบังคับอังกฤษเป็นคู่ความฎีกาได้แต่ในปัญหากฎหมาย
วิธีพิจารณาแพ่ง
ฎีกาอุทธรณ์ คนบังคับอังกฤษเป็นคู่ความฎีกาได้แต่ในปัญหากฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญายอมความมีเงื่อนไข: การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อเงื่อนไขไม่เป็นไปตามที่ตกลง
วิธีพิจารณาแพ่ง สัญญายอมความเงื่อนไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14968/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน: การลงทุนด้วยแรงงานและการแบ่งผลกำไร, การเลิกหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
เอกสารตามที่โจทก์อ้างมีข้อความที่แสดงว่าเป็นการสรุปรายได้ของตลาดนัดและแบ่งปันผลกำไรในแต่ละช่วงของปี ทั้งมีลายมือชื่อโจทก์และจำเลยลงไว้ ซึ่งหากจำเลยดำเนินกิจการดังกล่าวเพียงลำพังคนเดียวแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องทำสรุปรายได้และส่วนแบ่งหุ้นส่วนเพื่อแบ่งปันผลกำไรแต่อย่างใดเพราะย่อมเป็นรายได้ของจำเลยแต่ผู้เดียว อีกทั้งเอกสารที่มีลายมือชื่อของจำเลยลงไว้ก็มีข้อความระบุชัดแจ้งว่าเป็นเอกสารสรุปส่วนแบ่งหุ้นในแต่ละเดือน โดยมียอดรายรับของตลาดนัดทุกตลาดที่มีการดำเนินกิจการอยู่ สอดคล้องกับทางนำสืบของโจทก์ที่อ้างว่า มีการลงทุนร่วมกันระหว่างโจทก์กับจำเลย และจะแบ่งปันผลกำไรกันภายหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ทั้งโจทก์ยังมีเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ โดยหมายเลขเช็คและจำนวนเงินตรงตามที่ระบุไว้ในสรุปบัญชีรับจ่ายสนับสนุนว่าเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อแบ่งผลกำไรจากการดำเนินกิจการตลาดนัดให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ของโจทก์ที่มีส่วนเข้ามาดูแลในกิจการตลาดนัดและยังได้รับส่วนแบ่งผลกำไรภายหลังหักรายรับรายจ่ายของกิจการดังกล่าวมาข้างต้นเช่นนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยต่างตกลงเข้าหุ้นส่วนกันทำกิจการตลาดนัด แม้ไม่ปรากฏว่ามีการจัดทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ มาลงหุ้น แต่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จัดล็อกพื้นที่ในตลาดเพื่อให้ผู้ค้าเช่าแผงขายสินค้าและจัดทำบัญชีเพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการค้านั้น ดังนี้ ย่อมเท่ากับว่าโจทก์ได้ร่วมลงทุนหรือลงหุ้นเป็นแรงงานแล้วเข้าลักษณะเป็นสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 และ 1025 ที่บัญญัติว่า สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนคือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น ซึ่งสิ่งที่นำมาลงหุ้นนั้นจะเป็นเงิน หรือทรัพย์สินสิ่งอื่น หรือแรงงานก็ได้ตามมาตรา 1026 วรรคสอง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยตกลงเป็นหุ้นส่วนในการประกอบกิจการเช่าพื้นที่มาจัดทำเป็นตลาดนัดให้ผู้ค้าเช่าขายสินค้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยในการประกอบกิจการค้าตลาดนัด แต่จำเลยไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ทั้งมีพฤติการณ์กีดกันไม่ให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องในกิจการที่เข้าหุ้นกัน โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาหุ้นส่วน และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ระบุขอให้ศาลพิพากษาให้เลิกหุ้นส่วนสามัญและให้มีการชำระบัญชี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างเลิกกัน โดยระบุวันที่เลิกอันเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ได้ความว่าห้างดังกล่าวเลิกกันเมื่อใด จึงยังอยู่ในขอบเขตแห่งคำขอเพียงแต่ระบุวันที่ห้างเลิกให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการชำระบัญชีเท่านั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยในการประกอบกิจการค้าตลาดนัด แต่จำเลยไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ทั้งมีพฤติการณ์กีดกันไม่ให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องในกิจการที่เข้าหุ้นกัน โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาหุ้นส่วน และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ระบุขอให้ศาลพิพากษาให้เลิกหุ้นส่วนสามัญและให้มีการชำระบัญชี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างเลิกกัน โดยระบุวันที่เลิกอันเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ได้ความว่าห้างดังกล่าวเลิกกันเมื่อใด จึงยังอยู่ในขอบเขตแห่งคำขอเพียงแต่ระบุวันที่ห้างเลิกให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการชำระบัญชีเท่านั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดหุ้นส่วน เลิกหุ้นส่วน ชำระบัญชี การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์ก่อนชำระบัญชีไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์แบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1012 อันมีลักษณะเป็นหุ้นส่วน เมื่อโจทก์ทั้งสองเห็นว่าผลกำไรที่ได้รับจากจำเลยทั้งสองน้อยกว่าที่ควรจะเป็นทำให้โจทก์ทั้งสองขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดิน โจทก์ทั้งสองก็ชอบที่จะต้องจัดการขอให้มีการเลิกหุ้นส่วนเพื่อชำระบัญชีดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1055 ถึง 1063 ก่อน เมื่อการชำระบัญชีไม่ถูกต้องอย่างใด โจทก์ทั้งสองจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีได้ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยยังไม่มีการชำระบัญชีไม่อาจกระทำได้ และโจทก์ทั้งสองยังไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสองไม่แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เช่นกัน ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ มาตรา 246
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพิ่ม เป็นคำสั่งที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกา โจทก์ทั้งสองชอบที่จะคัดค้านต่อศาลฎีกาได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมจำเลยทั้งสองให้การกล่าวแก้อธิบายถึงเหตุขัดข้องไม่อาจแบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพิ่ม เป็นคำสั่งที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกา โจทก์ทั้งสองชอบที่จะคัดค้านต่อศาลฎีกาได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมจำเลยทั้งสองให้การกล่าวแก้อธิบายถึงเหตุขัดข้องไม่อาจแบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการอายัดที่ดินเพื่อฟ้องเลิกหุ้นส่วน-ชำระบัญชี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องมีเหตุสมควรและสุจริต
ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคหนึ่ง หมายถึงผู้ที่จะได้ประโยชน์ตามสิทธิใดๆ ของตนในที่ดินนั้น และอาจจะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินได้ตามสิทธิใดๆ ที่ตนมีอยู่และอาจจะเสียประโยชน์ในที่ดินหากมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งอย่างใดในที่ดินนั้นก่อนที่จะไปฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามสิทธิของตน ผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิขออายัดที่ดินตาม ป.ที่ดินดังกล่าวจึงไม่จำต้องเป็นผู้มีสิทธิเสมือนหนึ่งผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่จำต้องมีส่วนได้เสียผูกพันกับที่ดินโดยตรง ทั้งไม่จำต้องฟ้องร้องเอาที่ดินเป็นของตนเองหรือฟ้องร้องให้ศาลบังคับให้ทำการจดทะเบียน หรือให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง และคำพิพากษาก็ไม่จำต้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรงตามที่โจทก์ฎีกา หากคำขอและผลของคำพิพากษานั้นบังคับให้กระทำการใดอันจะนำไปสู่การจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในที่ดินที่ขออายัดแล้ว ก็ย่อมอยู่ในบังคับบทบัญญัติตามมาตรา 83 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.ที่ดิน ที่ว่า "อันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน" ในกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1026 ส่วนกำไรก็ดีส่วนขาดทุนก็ดีของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1044 เมื่อหุ้นส่วนเลิกกันและมีการชำระบัญชีจะต้องนำสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมาชำระหนี้ค้างชำระแก่บุคคลภายนอก ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง และคืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้นถ้ายังมีทรัพย์สินอยู่อีกเท่าไรก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ดังนั้น การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาที่ให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีจึงอาจมีผลให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษานั้นเองผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญมีสิทธิขออายัดทรัพย์สินเพื่อฟ้องเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคหนึ่ง ไม่จำต้องเป็นผู้มีสิทธิเสมือนหนึ่งผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่จำต้องมีส่วนได้เสียผูกพันกับที่ดินโดยตรงทั้งไม่จำต้องฟ้องร้องเอาที่ดินเป็นของตนเอง หรือฟ้องร้องให้ศาลบังคับให้ทำการจดทะเบียน หรือให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง และคำพิพากษาก็ไม่จำต้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง หากคำขอและผลของคำพิพากษานั้นบังคับให้กระทำการใดอันจะนำไปสู่การจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในที่ดินที่ขออายัดแล้ว ก็อยู่ในบังคับมาตรา 83 วรรคหนึ่ง
การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาอาจทำให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
โจทก์ทำสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยที่ 1 และ ส. ภริยาของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ยินยอมให้ ส. ดูแลวางระบบและตรวจสอบบัญชีโดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้ โจทก์เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินโรงเรียนไปขายให้แก่บุคคลภายนอกโดยระบุในหนังสือมอบอำนาจว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วน และโจทก์เคยทำหนังสือให้ ส. ตรวจสอบบัญชีโรงเรียนโดยระบุว่า ส. เป็นหุ้นส่วนทั้ง ส. ก็ได้แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่ครูคนหนึ่งในโรงเรียนที่มีหลักฐานว่าทุจริตในฐานะเป็นหุ้นส่วน จำเลยที่ 1 ย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งและมีสิทธิต่างๆ ในฐานะเป็นหุ้นส่วน แม้ว่าผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ไปขออายัดที่ดินพิพาทอันเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนไว้ก่อนเพื่อไปฟ้องร้องให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนโดยสุจริตและมีเหตุสมควร ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่อตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาอาจทำให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
โจทก์ทำสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยที่ 1 และ ส. ภริยาของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ยินยอมให้ ส. ดูแลวางระบบและตรวจสอบบัญชีโดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้ โจทก์เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินโรงเรียนไปขายให้แก่บุคคลภายนอกโดยระบุในหนังสือมอบอำนาจว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วน และโจทก์เคยทำหนังสือให้ ส. ตรวจสอบบัญชีโรงเรียนโดยระบุว่า ส. เป็นหุ้นส่วนทั้ง ส. ก็ได้แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่ครูคนหนึ่งในโรงเรียนที่มีหลักฐานว่าทุจริตในฐานะเป็นหุ้นส่วน จำเลยที่ 1 ย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งและมีสิทธิต่างๆ ในฐานะเป็นหุ้นส่วน แม้ว่าผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ไปขออายัดที่ดินพิพาทอันเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนไว้ก่อนเพื่อไปฟ้องร้องให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนโดยสุจริตและมีเหตุสมควร ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่อตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์