พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนแบ่งทรัพย์ได้เสรีเมื่อเลิกห้าง ผู้ชำระบัญชีไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินส่วนแบ่ง
ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนย่อมตกลงกันให้แบ่งเงินของห้างหุ้นส่วนเมื่อใดก็ได้ทำนองเดียวกับเจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์กันนั่นเอง จำเลยรับเงินส่วนแบ่งจำนวนหนึ่งมาจากศาลตามที่ศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งเงินค่าสินค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ที่1กับจำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนโดยห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้วและอยู่ในระหว่างที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนอยู่เงินส่วนที่แบ่งให้จำเลยก็ตกเป็นของจำเลยผู้ชำระบัญชีหามีอำนาจที่จะเรียกร้องหรือเข้าเก็บรักษาเงินจำนวนนี้โดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1259ได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนและการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ศาลมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นที่ไม่ใช่หุ้นส่วนผู้จัดการได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 มิได้มุ่งหมายที่จะให้หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสมอไปเพราะความที่บัญญัติยกเว้นไว้ในวรรคสองนั้นเองมีความหมายว่า ถ้าหากหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ และไม่ปรากฏข้อสัญญาของห้างที่กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอศาลย่อมตั้งผู้ชำระบัญชีได้
เมื่อปรากฏว่าคู่ความตกลงยอมให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดและจำเลยให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีตามที่เห็นสมควร ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสละสิทธิในการเป็นผู้ชำระบัญชีแล้ว การที่ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าหน้าที่ในกรมบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251
เมื่อปรากฏว่าคู่ความตกลงยอมให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดและจำเลยให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีตามที่เห็นสมควร ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสละสิทธิในการเป็นผู้ชำระบัญชีแล้ว การที่ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าหน้าที่ในกรมบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวจากหุ้นส่วนและการไม่มีอำนาจฟ้องคดีเลิกห้าง
เมื่อโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนเพราะได้ตกลงถอนตัวจากการเป็นหุ้นส่วนในห้างพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและขอชำระบัญชีในห้างพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำฟ้อง: แม้ฟ้องระบุซื้อขายเช็ค แต่หากเนื้อหาเป็นจ้างทำของ ศาลถือเป็นคดีจ้างทำของได้ และการฟ้องดำเนินคดีหลังเลิกห้าง
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในฟ้องว่า ซื้อขาย เช็ค แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นเรื่องจ้างทำของ ก็ต้องถือว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องสัญญาจ้างทำของ เช็คที่โจทก์อ้างมาในฟ้องเป็นเพียงการอ้างถึงหลักฐานแห่งการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของจำเลยที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระเท่านั้น
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้แนบสัญญาจ้างทำของหรือบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คมาในฟ้อง หรือบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำตั้งแต่วันใด กี่คราวบ้าง ก็เป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่โดยมี ช. เป็นผู้จัดการ เมื่อจดทะเบียนเลิกห้างแล้ว ช. เป็นผู้ชำระบัญชีของโจทก์ต่อมาช. จึงมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์เพื่อชำระสะสางการงานของห้างโจทก์ให้เสร็จไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249,1250 และ 1252 โดยผู้ชำระบัญชีไม่จำต้องแต่งทนายความให้มาดำเนินคดีใหม่หรือยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้าดำเนินคดีแทนห้างโจทก์
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้แนบสัญญาจ้างทำของหรือบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คมาในฟ้อง หรือบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำตั้งแต่วันใด กี่คราวบ้าง ก็เป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่โดยมี ช. เป็นผู้จัดการ เมื่อจดทะเบียนเลิกห้างแล้ว ช. เป็นผู้ชำระบัญชีของโจทก์ต่อมาช. จึงมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์เพื่อชำระสะสางการงานของห้างโจทก์ให้เสร็จไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249,1250 และ 1252 โดยผู้ชำระบัญชีไม่จำต้องแต่งทนายความให้มาดำเนินคดีใหม่หรือยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้าดำเนินคดีแทนห้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338-339/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าของนิติบุคคล แม้หยุดประกอบกิจการ แต่ยังไม่จดทะเบียนเลิกห้าง ยังมีอำนาจฟ้องร้องได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เช่าตึกพิพาททำการค้าโจทก์อยู่ในตึกในฐานะบุคคลธรรมดาดูแลรักษาทรัพย์สินแทนห้าง เป็นบริวารของห้างแม้นานกว่า 10 ปี ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเป็นสัญญาเช่าขึ้นได้ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ทำการค้ามากว่า 10 ปี แต่ไม่ได้ชำระบัญชีจดทะเบียนเลิกห้างยังมีสภาพนิติบุคคลและฟ้องขับไล่ผู้โต้แย้งสิทธิการเช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้ว ต้องชำระบัญชีให้เสร็จก่อน จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินจากห้างได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเลิกกัน ต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 วรรคแรก เพื่อให้ทราบว่ากิจการมีกำไรหรือขาดทุน หุ้นส่วนแต่ละคนมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเท่าใดหรือจะต้องชดใช้ให้ห้างหุ้นส่วนเพียงใด แล้วจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินหรือทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนนั้นได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนสามัญที่เลิกกันนำคดีมาฟ้องเรียกเงินปันผล และเงินค่าหุ้นจากผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นอื่นที่วายขนม์ไปแล้ว ทั้งๆ ที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใด นั้น เป็นการยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม และอำนาจฟ้องของผู้ชำระบัญชีเกี่ยวกับหนี้ภาษีของห้าง
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม ห้างน.ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1055(5),1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1259(1)
เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้เป็นผู้จัดการมรดกของช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้างน.สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช.ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น.ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่มดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น.เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช.ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น.ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้เป็นผู้จัดการมรดกของช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้างน.สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช.ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น.ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่มดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น.เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช.ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น.ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อหุ้นส่วนสามัญถึงแก่กรรม
ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญคนหนึ่งตาย ห้างเลิกกันโดยผลของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันเช็คหลังการพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วน: เช็คยังผูกพันจนกว่าจะบอกเลิก
ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ผู้ชำระบัญชียังไม่ได้บอกทะเบียนเลิกห้าง ห้างยังไม่สิ้นสภาพบุคคลเช็คที่ห้างเป็นผู้ออกยังผูกพันห้างอยู่ ผู้ทรงเช็คยังมิได้ยื่นเช็คต่อธนาคาร ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอากับผู้เป็นหุ้นส่วนในคดีล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับที่ดินเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน ทำให้มีอำนาจขายได้หลังเลิกห้าง
จำเลยทั้งสามให้การร่วมกันว่า ที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำผิดข้อบังคับของห้างหุ้นส่วน. เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ถอนเอาที่ดินคืนออกจากห้างหุ้นส่วนเลย. โจทก์ก็ทราบแล้วและไม่คัดค้าน. ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยทั้ง 3 เป็นการยอมรับว่าที่ดินนั้นยังคงเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่. แม้จะมีชื่อจำเลยที่ 2,3 ถือกรรมสิทธิ์.จำเลยก็หาได้โต้แย้งไม่ว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลยไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วน. จำเลยจะมาโต้เถียงภายหลังว่าที่ดินไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วนย่อมไม่ได้.
ที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชีกัน. ผู้ชำระบัญชีก็มีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้.
จำเลยให้การรับว่า ที่ดินยังเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่.เมื่อคู่ความตกลงกันให้ตั้งผู้ชำระบัญชี. และให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน.ดังนี้ แสดงว่าจำเลยตกลงยอมให้ขายที่ดินซึ่งเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วย. จำเลยจะมาอ้างภายหลังว่าขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ชำระบัญชีจะเอาที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วยหรือไม่. ย่อมฟังไม่ขึ้น.และเมื่อจำเลยตกลงยอมให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแล้ว. ก็ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธิที่จะถอนหุ้นเอาที่ดินของตนคืน.
ที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชีกัน. ผู้ชำระบัญชีก็มีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้.
จำเลยให้การรับว่า ที่ดินยังเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่.เมื่อคู่ความตกลงกันให้ตั้งผู้ชำระบัญชี. และให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน.ดังนี้ แสดงว่าจำเลยตกลงยอมให้ขายที่ดินซึ่งเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วย. จำเลยจะมาอ้างภายหลังว่าขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ชำระบัญชีจะเอาที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วยหรือไม่. ย่อมฟังไม่ขึ้น.และเมื่อจำเลยตกลงยอมให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแล้ว. ก็ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธิที่จะถอนหุ้นเอาที่ดินของตนคืน.