คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลียนแบบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าเดิมจนอาจทำให้สับสนและหลงผิด
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมี ข้อจำกัดไม่ให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า"ใช้งานหนักอย่างมั่นใจ"และคำว่า"คือคุณภาพ"ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่รูปช้างยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมและคำว่า"ตราช้าง"เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายยกเข่าหน้าซ้ายงอเล็กน้อยลดงวงลงยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้างส่วนเครื่องหมายการค้ารูปช้างของจำเลยที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถังชูงวงขึ้นเหนือศีรษะอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมมีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่งของรูปหกเหลี่ยมเหมือนดาวรอบตัวช้างเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์และจำเลยจึงมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายในกรอบรูปหกเหลี่ยมเหมือนกันส่วนรูปช้างของจำเลยที่ยืนยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถังชูงวงขึ้นและเท้าทั้งสองคู่หน้าหลังยืนแยกออกจากกันเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดของลักษณะการยืนและการวางงวงของรูปช้างในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเล็กน้อยเท่านั้นแม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวก50ชนิดสินค้ากระบะถือปูนถังพลาสติกใส่ปูนเกรียงฉาบปูนต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์แต่ก็เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ในจำพวกที่17ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้และได้โฆษณาทางสื่อมวลชนจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่าตราช้างมาตั้งแต่พ.ศ.2517ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำว่าตราช้างดังกล่าวในพ.ศ.2529ถึง10ปีเศษเครื่องหมายการค้ารูปช้างและคำว่าตราช้างของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์จนอาจทำให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนจึงมีสิทธิตามมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2477ที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนและให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตทำให้เสียสิทธิ และการฟ้องเพื่อเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกัน การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้ากระดาษทรายเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของสินค้าด้วย จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศมาตั้งแต่ พ.ศ.2499 ตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย
แม้จำเลยจะครอบครองเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้วเป็นเวลานานประมาณ 28 ปีแล้ว ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และจำเลยได้จดทะเบียนกับใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยไม่สุจริตแล้ว จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว และโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนตามคำขอเลขที่ 187955 ดีกว่าจำเลยและห้ามจำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 41940ทะเบียนเลขที่ 25117 นั้น เป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมาย-การค้าตามมาตรา 16 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า, สิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่า, การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต, อายุความฟ้องร้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกัน การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วย จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศ ตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28 ปีแล้ว แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้ว จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 16 วรรคสอง แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เหนือกว่า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกันการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศ ญี่ปุ่นมาตั้งแต่พ.ศ.2499ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้วจำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา16วรรคสองแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า5ปีแล้วดังนั้นโจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าเหนือกว่า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกันการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศ ญี่ปุ่นมาตั้งแต่พ.ศ.2499ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้วจำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา16วรรคสองแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า5ปีแล้วดังนั้นโจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกันการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้ากระดาษทรายเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของสินค้าด้วยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศมาตั้งแต่พ.ศ.2499ตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะครอบครองเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้วเป็นเวลานานประมาณ28ปีแล้วก็ตามแต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและจำเลยได้จดทะเบียนกับใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยไม่สุจริตแล้วจำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนตามคำขอเลขที่187955ดีกว่าจำเลยและห้ามจำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่41940ทะเบียนเลขที่25117นั้นเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา16วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าจากการเลียนแบบและเจตนาไม่สุจริต แม้ยังมิได้รับการจดทะเบียน
รูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปคนในเรือ 2 คน อยู่ตรงกลาง คนหนึ่งเป็นผู้หญิงกำลังพายเรืออยู่กลางลำน้ำซึ่งอยู่ด้านขวาของรูป ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นเด็กผู้ชายถือถ่อช่วยอยู่ท้ายเรือลำเดียวกันที่ด้านซ้ายของรูป กลางลำเรือมีรูปดอกไม้ ที่ด้านหัวและท้ายเรือก็มีรูปดอกไม้ มีภาพทิวทัศน์ ภูเขา และเรือใบ 2 ลำ ภาพดังกล่าวอยู่ในกรอบวงรี ด้านบนกรอบวงรีมีอักษรภาษาจีนอ่านว่า ลีคุมกี และด้านล่างมีวงกลมอยู่ด้านซ้ายและขวาข้างละ 1 วงภายในวงกลมมีอักษรภาษาจีน ตรงกลางด้านล่างกรอบวงรีมีถ้อยคำว่า OYSTERFLAVORED SAUCE อยู่ในกรอบประดิษฐ์รูปสี่เหลี่ยม และที่มุมด้านในของกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรูปดอกไม้อยู่ทั้งสี่มุม ส่วนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเป็นรูปชายกับหญิงพายเรือสวนกันกลางน้ำซึ่งมีภาพภูเขา 3 ลูก และเมฆเป็นทิวทัศน์อยู่ภาย-ในวงกลม และมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมนั้นไว้อีกชั้นหนึ่ง ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอจดทะเบียนก็เป็นรูปคน 2 คน พายเรือสวนกันกลางน้ำ มีภูเขา3 ลูก เป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลม ด้านข้างซ้ายและขวาของวงกลมมีดอกไม้วางเรียงกันลงมาด้านละ 3 ดอก และมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมไว้อีกชั้นหนึ่ง ภาพเรือ 2 ลำแล่นสวนกันในเครื่องหมายการค้าของจำเลยซ้อนกัน หากไม่สังเกตให้ดีจะดูคล้ายคน2 คน นั่งอยู่ในเรือลำเดียวกัน ตำแหน่งของคนทั้งสองอยู่ในตำแหน่งเดียวกับคนทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมาใช้กับสินค้าซอสหอยนางรม จะเห็นได้ชัดเจนว่าฉลากเครื่องหมายการค้าที่ปิดข้างขวดคล้ายกับฉลากเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างมาก เครื่องหมายการค้าของจำเลยและสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ ภาพถ่ายสินค้า และสลากเครื่องหมายการค้า เมื่อโจทก์ได้ส่งซอสน้ำมันหอยมาจำหน่ายในประเทศไทย 40 ปีเศษแล้ว และโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศ การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อปี 2529 และได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้อย่างหนึ่ง แต่เวลานำไปใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์ จำเลยได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมรายละเอียดอื่นลงไปให้เหมือนและคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่จะเลียนเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย แม้โจทก์จะยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือ โจทก์ก็เป็นผู้มีสิทธิในเครื่อง-หมายการค้านั้นและในเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของจำเลย และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของโจทก์ยังไม่ได้รับการ-จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 รายการสินค้าซอสน้ำมันหอย โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. เดียวกันอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกกระทำละเมิดตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน: การเพิกถอนทะเบียนและการเลียนแบบเครื่องหมาย
รูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปคนในเรือ2คนอยู่ตรงกลางคนหนึ่งเป็นผู้หญิงกำลังพายเรืออยู่กลางลำน้ำซึ่งอยู่ด้านขวาของรูปส่วนอีกคนหนึ่งเป็นเด็กผู้ชายถือถ่อช่วยอยู่ท้ายเรือลำเดียวกันที่ด้านซ้ายของรูปกลางลำเรือมีรูปดอกไม้ที่ด้านหัวและท้ายเรือก็มีรูปดอกไม้มีภาพทิวทัศน์ภูเขาและเรือใบ2ลำภาพดังกล่าวอยู่ในกรอบวงรีด้านบนกรอบวงรีมีอักษรภาษาจีนอ่านว่า ลีคุมกี และด้านล่างมีวงกลมอยู่ด้านซ้ายและขวาข้างละ1วงภายในวงกลมมีอักษรภาษาจีนตรงกลางด้านล่างกรอบวงรีมีถ้อยคำว่าOYSTERFLAVOREDSAUCEอยู่ในกรอบประดิษฐ์รูปสี่เหลี่ยมและที่มุมด้านในของกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรูปดอกไม้อยู่ทั้งสี่มุมส่วนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเป็นรูปชายกับหญิงพายเรือสวนกันกลางน้ำซึ่งมีภาพภูเขา3ลูกและเมฆเป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลมและมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมนั้นไว้อีกชั้นหนึ่งส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอจดทะเบียนก็เป็นรูปคน2คนพายเรือสวนกันกลางน้ำมีภูเขา3ลูกเป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลมด้านข้างซ้ายและขวาของวงกลมมีดอกไม้วางเรียงกันลงมาด้านละ3ดอกและมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมไว้อีกชั้นหนึ่งภาพเรือ2ลำแล่นสวนกันในเครื่องหมายการค้าของจำเลยซ้อนกันหากไม่สังเกตให้ดีจะดูคล้ายคน2คนนั่งอยู่ในเรือลำเดียวกันตำแหน่งของคนทั้งสองอยู่ในตำแหน่งเดียวกับคนทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมาใช้กับสินค้าซอสหอยนางรมจะเห็นได้ชัดเจนว่าฉลากเครื่องหมายการค้าที่ปิดข้างขวดคล้ายกับฉลากเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างมากเครื่องหมายการค้าของจำเลยและสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ภาพถ่ายสินค้าและสลากเครื่องหมายการค้าเมื่อโจทก์ได้ส่งซอสน้ำมันหอยมาจำหน่ายในประเทศไทย40ปีเศษแล้วและโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศการที่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อปี2529และได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้อย่างหนึ่งแต่เวลานำไปใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์จำเลยได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมรายละเอียดอื่นลงไปให้เหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่จะเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยแม้โจทก์จะยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือโจทก์ก็เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นและในเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของโจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของจำเลยและให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่42รายการสินค้าซอสน้ำมันหอยโจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรกและโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฎว่าจำเลยทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามมาตรา29วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทโจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกกระทำละเมิดตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นและการใช้สิทธิก่อน
จำเลยใช้คำว่า byblos และ Bblos เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยวิธีเลียนแบบมาจากเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์แล้วนำไปยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เมื่อโจทก์ใช้ชื่อของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แม้โจทก์ยังไม่ได้ส่งสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาจำหน่ายในประเทศไทยหรือมีตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทยก็ตาม และเมื่อโจทก์ได้มายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในสินค้าจำพวกที่ 38 สำหรับสินค้าเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งกาย แต่ถูกนายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนโดยอ้างว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมาย-การค้าที่จำเลยนำมายื่นขอจดทะเบียนไว้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยได้ ตามมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนทำให้เกิดความสับสน และสิทธิของผู้ใช้เครื่องหมายการค้าก่อน
ฉลากกล่องบรรจุสินค้าของโจทก์และจำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันและอักษรไทยลักษณะประดิษฐ์อย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ใช้คำว่า Madame de Mai มาดาม ดีใหม่ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยใช้คำว่า Due tai Madame ดิวไท มาดามลวดลายการประดิษฐ์อักษรทั้งอักษรโรมันและอักษรไทยในฉลากทั้งสองต่างเป็นตัวเขียนรูปลักษณะและลีลาการเขียนอย่างเดียวกัน ขนาดตัวอักษรใกล้เคียงกัน การวางตัวอักษรในฉลากก็วางไว้ในตำแหน่งเดียวกันของกล่อง สีของตัวอักษรและส่วนประกอบอื่นก็มีสีคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงระนาบเอียง โดยของโจทก์ระนาบเอียงขึ้นไปทางขวา ของจำเลยระนาบเอียงลงมาทางขวา ลักษณะฉลากเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวรวมทั้งเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่าคลาสสิค มาดาม CLASSIC MADAME ของจำเลยต่างมุ่งเน้นถึงความสำคัญของอักษรโรมันคำว่า Madame และอักษรไทยคำว่า มาดาม เช่นเดียวกัน มีสำเนียงเรียกขานชื่อสินค้าน้ำยาย้อมผมว่า มาดาม อย่างเดียวกัน ของโจทก์ระบุว่าผลิตโดยกรุงเทพเคมีของจำเลยระบุว่า ผลิตโดยกรุงธนเคมี ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 48 น้ำยาย้อมผมเช่นเดียวกัน อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นสินค้าอย่างเดียวกัน ฉลากเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันและอักษรไทยในลักษณะลวดลายประดิษฐ์คำว่า Madame de Mai และมาดาม ดีใหม่ ของโจทก์จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้
สามีจำเลยเคยเป็นลูกจ้างโจทก์และออกจากงาน แล้วมาทำกิจการค้าน้ำยาย้อมผมซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนกับสินค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่สามีจำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่ โจทก์จึงเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย การที่เครื่องหมายการค้าจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด ดังนี้ เป็นการที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้ได้
ในข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เคยยื่นคำคัดค้านคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาแล้ว แต่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยยกคำคัดค้านของโจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์และมิได้ฟ้องคดีต่อศาล จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น เป็นฎีกาข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
of 15