คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลือกตั้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4137/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลชั้นต้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ได้
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 มาตรา 58วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลเมื่อได้รับคำร้องคัดค้านแล้วให้ดำเนินการพิจารณาตาม ป.วิ.พ.โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้น เมื่อศาลสั่งอย่างใด ให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้สาระสำคัญในการไต่สวนคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 อยู่ที่คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482มาตรา 58 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวให้เป็นที่สุด คู่ความทุกฝ่ายจึงไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4137/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นที่สุด ห้ามอุทธรณ์ฎีกา แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องกระบวนการ
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482มาตรา 58 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลชั้นต้นเมื่อได้รับคำร้องคัดค้านแล้วให้ดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้น เมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้ สาระสำคัญในการไต่สวนคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 อยู่ที่คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 58 วรรคหนึ่งบัญญัติให้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวให้เป็นที่สุดคู่ความทุกฝ่ายจึงไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้ง ส.ส. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่อาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้เนื่องจากข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 1786/2541) ตามคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและตามทางไต่สวนของผู้ร้องกับการเปิดหีบบัตรเลือกตั้งและนับบัตรเลือกตั้งใหม่ของหน่วยเลือกตั้งบางหน่วยในเขตเลือกตั้งที่ 1 ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดบัตรเลือกตั้งที่กาบัตรลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ ณ หน่วยเลือกตั้งที่ 4 ของหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ตำบลท้ายบ้านใหม่ จำนวน 199 บัตรและ 300 บัตรตามลำดับ และผลการตรวจนับบัตรเลือกตั้งปรากฏว่าได้จำนวนบัตรเลือกตั้งมากกว่าผู้เลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจริงอันส่อแสดงว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งกรรมการตรวจคะแนนหรือเจ้าหน้าที่คะแนนอาจเป็นผู้กาบัตรเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามจนเป็นเหตุให้จำนวนบัตรเลือกตั้งมีมากกว่าจำนวนผู้เลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบและศาลฎีกาอาจมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 79(1)อันเป็นผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่งตามมาตรา 80 วรรคสอง แต่ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน มาตรา 315 วรรคสองบัญญัติให้ความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่า (1) ครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือ(2) เมื่อมีการยุบสภา หรือ (3) เมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลงเนื่องจากรัฐสภาไม่อาจดำเนินการพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบรัฐธรรมนูญสำคัญ 3 ฉบับให้เสร็จสิ้นลงได้ภายในกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 323 และ จนกระทั่งปัจจุบันอายุของสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบกำหนดไม่มีการยุบสภา และยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่รัฐสภาจะพิจารณา และให้ความเห็นชอบร่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าวได้อยู่ ความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามจึงยังมีอยู่ต่อไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันมาตรา 315 วรรคสอง ก็บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่เท่านั้น จึงไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างลงได้แม้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการในเขตการเลือกตั้งที่ 1 อาจเป็นไปโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาก็ไม่อาจ มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามคำขอของผู้ร้องทั้งสาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตรา 79 ได้ ศาลฎีกาจึงต้องยกคำร้องของผู้ร้องเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษอาญาต้องมีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษไว้ชัดเจน แม้มีการกระทำผิดเลือกตั้ง แต่ไม่มีกฎหมายกำหนดโทษ จึงไม่สามารถลงโทษได้
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดนั้น ไม่มีมาตราใดบัญญัติกำหนดโทษผู้กระทำผิดไว้และไม่ว่าตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 มาตรา 3 ได้ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ. 2495 และให้ใช้ข้อความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา 7 ว่า "การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน (4) ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม" ก็ตาม แต่ก็มีเจตนารมณ์เพียงว่า ในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา 7(4) นั้นให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นทั้งนี้เพราะตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลไว้ มิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้ทั้งหมด การอนุโลมต้องแปลความโดยเคร่งครัด ดังนั้น จะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 72 ซึ่งอยู่ในหมวด 9 อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วยหาไม่ได้ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ กรณีเช่นนี้ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุบพรรคการเมืองเนื่องจากไม่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป
พรรค ส. จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองเมื่อวันที่17 ตุลาคม 2538 แต่ในคราวทีมีพระราชกฤษฎีกาประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ปรากฏว่าพรรคการเมืองดังกล่าวไม่มีสมาชิกของพรรคได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลย และหัวหน้าพรรคได้แจ้งต่อผู้ร้องขอยุบเลิกพรรคโดยในวันนัดไต่สวนคำร้อง ของ ศาลแพ่งพรรค ส.ก็มิได้คัดค้านดังนี้พรรคส. จึงต้องเลิกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46(4) แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมืองพ.ศ. 2524 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพรรคการเมือง(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 การร้องขอให้ศาล มีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 มาตรา 13 วรรคสี่ประกอบมาตรา 46 วรรคสี่ได้รับการยกเว้นการเสียค่าธรรมเนียมศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บทกำหนดโทษโดยอนุโลมจากกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในคดีเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์โดยไม่มีสิทธิมิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใดและตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา7แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495และให้ใช้ความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา7ว่าการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน(4)ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมนั่นก็คือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมซึ่งต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3มีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา7(4)ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นมิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมดดังนั้นจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482มาตรา72ซึ่งอยู่ในหมวด9อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับโดยอนุโลมหาได้ไม่ฉะนั้นเมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยไม่ได้ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9136/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งการของนายกเทศมนตรีเรื่องการถอนการสมัครรับเลือกตั้งสภาเทศบาล ต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงและกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีของเทศบาลโจทก์ถ้าสั่งไปตามข้อเท็จจริงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ย่อมไม่ใช่การกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสภาเทศบาลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาล
เมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบ เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลวารินชำราบเป็นเทศบาลเมืองวารินชำราบเทศบาลตำบลวารินชำราบ จึงพ้นจากสภาพแห่งเทศบาลเดิมประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ โดยกำหนดวันรับสมัครตั้งแต่วันวันเดียวกันนั้นเป็นอันสิ้นผลไปในตัว และการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ จึงเป็นอันสิ้นผลไปด้วยไม่มีทางที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ ได้ ไม่ว่าจะมีกฎหมายให้อำนาจจำเลยทั้งสามที่จะวินิจฉัยสั่งการยกเลิกหรือถอนการสมัครรับเลือกตั้งของ โจทก์ทั้งสองไว้โดยตรงหรือไม่ก็ตาม ความเสียหายของโจทก์ทั้งสองที่อ้างว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งเพิ่มขึ้นโจทก์ทั้งสองอยู่ในฐานะจะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ โดยไม่ต้องลงคะแนน ต้องขาดประโยชน์ที่จะพึงได้รับเดือนละ 3,100 บาท เป็นเวลา 5 ปี หาเป็นผลมาจากการวินิจฉัยสั่งการของจำเลยทั้งสามไม่การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกพรรคการเมืองเนื่องจากไม่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้ง
การที่พรรคดำรงไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองได้ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไป แต่ไม่มีสมาชิกของพรรคดำรงไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปดังกล่าวนั้นเลย พรรคดำรงไทยจึงต้องเลิกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 (4) แห่งพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุบพรรคการเมืองเนื่องจากไม่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป
การที่พรรคดำรงไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองได้ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแต่ไม่มีสมาชิกของพรรคดำรงไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปดังกล่าวนั้นเลยพรรคดำรงไทยจึงต้องเลิกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา46(4)แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมืองพ.ศ.2524แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา7
of 11