พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามเวลาที่ผิดพลาดเนื่องจากจดเวลาคลาดเคลื่อน ไม่ถือว่าโจทก์ไม่มีพยาน
วันนัดสืบพยานโจทก์ทั้งสองคราวโจทก์นำพยานมาศาล โดยครั้งแรกจำเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดี แต่วันนัดสืบพยานครั้งที่สองโจทก์นำพยานมาศาลผิดเวลาเพราะจดเวลานัดสืบพยานคลาดเคลื่อนไปเป็นข้ออ้างที่มีเหตุผลสมควร เพราะวันนัดสืบพยานครั้งแรกนัดสืบพยานเวลา 13.30 นาฬิกา ส่วนครั้งหลังนัดเวลา 9 นาฬิกา การที่โจทก์ไม่มาศาลตามเวลาในวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวยังไม่พอถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งศาลต้องทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้ศาลไม่ได้ให้โอกาสคัดค้านพยาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคดีของโจทก์ขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 และ 166 จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยวินิจฉัยว่าคำสั่งศาลชั้นต้น ที่สั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลชั้นเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้น มิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉํย
กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบคัดค้านคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ จำเลยจะต้องยกปัญหาข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวเสียภายในเวลาไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนสืบพยานโจทก์ 1 ปากเสร็จแล้ว สืบว่าคดีเสร็จการไต่สวน ให้นัดฟังคำสั่ง และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน2516 จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบรายการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียนนั้นแล้ว แต่จำเลยมายื่นอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2516 จึงล่วงเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้ว ศาลต้องยกคำร้องขอให้รับอุทธรณ์ของจำเลยนั้นเสีย
กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบคัดค้านคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ จำเลยจะต้องยกปัญหาข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวเสียภายในเวลาไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนสืบพยานโจทก์ 1 ปากเสร็จแล้ว สืบว่าคดีเสร็จการไต่สวน ให้นัดฟังคำสั่ง และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน2516 จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบรายการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียนนั้นแล้ว แต่จำเลยมายื่นอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2516 จึงล่วงเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้ว ศาลต้องยกคำร้องขอให้รับอุทธรณ์ของจำเลยนั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบกพร่องความสามารถในการฟ้องคดีทำได้ตลอดเวลาจนกว่าศาลมีคำพิพากษา
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติไว้ต่างหากจากบทบัญญัติเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามมาตรา 179ถึงมาตรา 181 โดยให้เป็นเรื่องที่คู่ความจะขอแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษา และเมื่อได้ปรากฏความบกพร่องในเรื่องความสามารถขึ้นแล้ว ห้ามมิให้ศาลพิพากษาในประเด็นแห่งคดีจนกว่าข้อบกพร่องนั้นได้แก้ไขโดยบริบูรณ์แล้ว ดังนั้น การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ จึงไม่อยู่ในบังคับว่าจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานเหมือนการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องและคำให้การ
โจทก์เป็นหญิงมีสามี ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมของสามี เมื่อโจทก์แสดงหลักฐานว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์โดยนำหนังสือยินยอมอนุญาตของสามีให้ดำเนินคดีมาแสดงต่อศาล แม้ภายหลังการชี้สองสถานแล้วก็ตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีได้โดยชอบ
โจทก์เป็นหญิงมีสามี ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมของสามี เมื่อโจทก์แสดงหลักฐานว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์โดยนำหนังสือยินยอมอนุญาตของสามีให้ดำเนินคดีมาแสดงต่อศาล แม้ภายหลังการชี้สองสถานแล้วก็ตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำพยานเอกสารที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและเวลาที่กฎหมายกำหนด ทำให้ศาลไม่รับฟังและไม่สามารถใช้เอกสารนั้นในการตัดสินคดีได้
บัญชีระบุพยานของจำเลยอ้างพินัยกรรมที่เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รักษา ซึ่งเป็นสำเนาพินัยกรรมที่จำเลยรับรองและยื่นไว้โดยมิได้ระบุอ้างต้นฉบับพินัยกรรมที่มีอยู่ที่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะส่งต้นฉบับพินัยกรรมเป็นพยานต่อศาล
วันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน จำเลยมิได้นำต้นฉบับพินัยกรรมมาส่งศาลเพิ่งมาส่งในวันสืบพยานโจทก์หลังจากที่สืบพยานจำเลยเสร็จไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีโอกาสซักค้านต้นฉบับพินัยกรรมนี้ซึ่งโจทก์ก็ได้คัดค้านว่าจำเลยมิได้ระบุพยานอ้างเอกสารนี้ไว้และว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาพินัยกรรมให้โจทก์ ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพยานไม่ได้
เมื่อต้นฉบับพินัยกรรมมีอยู่ สำเนาพินัยกรรมที่เรียกมาจากเจ้าพนักงานที่ดินย่อมรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93 และจะรับฟังพยานบุคคลว่ามีการทำพินัยกรรมก็ไม่ได้เพราะเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงและไม่ใช่กรณีที่หาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
วันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน จำเลยมิได้นำต้นฉบับพินัยกรรมมาส่งศาลเพิ่งมาส่งในวันสืบพยานโจทก์หลังจากที่สืบพยานจำเลยเสร็จไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีโอกาสซักค้านต้นฉบับพินัยกรรมนี้ซึ่งโจทก์ก็ได้คัดค้านว่าจำเลยมิได้ระบุพยานอ้างเอกสารนี้ไว้และว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาพินัยกรรมให้โจทก์ ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพยานไม่ได้
เมื่อต้นฉบับพินัยกรรมมีอยู่ สำเนาพินัยกรรมที่เรียกมาจากเจ้าพนักงานที่ดินย่อมรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93 และจะรับฟังพยานบุคคลว่ามีการทำพินัยกรรมก็ไม่ได้เพราะเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงและไม่ใช่กรณีที่หาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลจำหน่ายคดีตามกฎหมาย แม้เข้าใจผิดเรื่องเวลา
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องส่งมอบรถยนต์หรือชำระเงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล แต่ผู้ร้องไม่มีศาลตามวันเวลาที่ศาลนัดไต่สวนนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงต้องถือว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 197 วรรคสอง
เมื่อผู้ร้องขาดนัดพิจารณาและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งตามรูปคดี ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 นั้น แม้ผู้ร้องจะเข้าใจเวลานัดของศาลผิดไปโดยสุจริต ก็ไม่อาจดำเนินคดีต่อไปได้คงทำได้เพียงประการเดียว คือร้องเริ่มต้นคดีใหม่ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 74/2512)
กรณีผู้ร้องขาดนัดพิจารณาซึ่งศาลสั่งจำหน่ายคดี กฎหมายห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ย่อมไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่าจงใจขาดนัดหรือไม่
เมื่อผู้ร้องขาดนัดพิจารณาและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งตามรูปคดี ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 นั้น แม้ผู้ร้องจะเข้าใจเวลานัดของศาลผิดไปโดยสุจริต ก็ไม่อาจดำเนินคดีต่อไปได้คงทำได้เพียงประการเดียว คือร้องเริ่มต้นคดีใหม่ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 74/2512)
กรณีผู้ร้องขาดนัดพิจารณาซึ่งศาลสั่งจำหน่ายคดี กฎหมายห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ย่อมไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่าจงใจขาดนัดหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการระบุเวลาในคำฟ้องคดีภารจำยอม ไม่ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม หากบรรยายสภาพแห่งข้อหาชัดเจน
รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่จำเลยทำรั้วลวดหนามปิดกั้นทางเดินซึ่งเป็นภารจำยอมไม่ใช่ข้อสารสำคัญที่จะต้องกล่าวในคำฟ้องคดีแพ่งเป็นแต่เพียงข้อที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ความสำคัญอยู่ที่การรู้ว่าเป็นเอกสารปลอม ไม่ใช่เวลาที่ใช้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ใช้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยรู้ว่าเป็นเอกสารปลอม จำเลยรับว่าได้นำไปใช้จริง แต่ไม่รู้ว่าเป็นเอกสารปลอมสารสำคัญของคำฟ้องจึงอยู่ที่ว่า จำเลยรู้หรือไม่ว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอม ส่วนวันเวลาที่จำเลยนำไปใช้ไม่ใช่ข้อสารสำคัญ แม้วันเวลากระทำ ความผิดตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับที่กล่าวในฟ้องแต่จำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้นำไปใช้จริงศาลลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2499 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเมื่อทายาทโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีเกิน 1 ปีหลังมรณะ
คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล โจทก์ได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ทายาทของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีแทนเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์มรณะเช่นนี้ ศาลก็ต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 วรรค 2
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 วรรค 2 นั้น เป็นที่เห็นได้ชัดว่ากฎหมายประสงค์ให้ศาลจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความเท่านั้นมิได้ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่อนญาตอย่างใด (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2508)
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 วรรค 2 นั้น เป็นที่เห็นได้ชัดว่ากฎหมายประสงค์ให้ศาลจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความเท่านั้นมิได้ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่อนญาตอย่างใด (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคลาดเคลื่อนของเวลาในฟ้องอาญา ไม่เป็นเหตุให้ยกฟ้อง หากจำเลยไม่หลงสู้คดี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2503 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดในคืนเดียวกันนั้น แต่เป็นเวลา 3.00 น. ของวันรุ่งขึ้นแล้ว เวลาที่ผิดกันเพียงเท่านี้ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญในคดี และเมื่อจำเลยมิได้หลงสู้คดีด้วยแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุให้ต้องยกฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายที่ใช้บังคับกับมรดก: ใช้กฎหมาย ณ เวลาที่เจ้ามรดกเสียชีวิต
มรดกหรือการแบ่งมรดกจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย ฉะนั้น เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายในขณะใช้กฎหมายใด ก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5-6 แต่ตายจากกันภายหลังใช้ บรรพ 5-6 แล้วต้องแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6.
เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5-6 แต่ตายจากกันภายหลังใช้ บรรพ 5-6 แล้วต้องแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6.