พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์สินโดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้โดยเสน่หาเนื่องจากผู้รับมีการประพฤติเนรคุณต่อผู้ให้
โจทก์ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ของจำเลยได้ยกที่ดินให้จำเลยโดยเสน่หา โจทก์จึงเป็นผู้มีบุญคุณต่อจำเลยที่จำเลยพึงต้องเคารพ เมื่อโจทก์ไปหาจำเลยเพื่อขอเงินมาใช้จ่ายส่วนตัวเพราะโจทก์ไม่มีเงิน จำเลยกลับขับไล่โจทก์ออกจากบ้านและพูดว่า "อีแก่อย่ามาหาอีก" การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ถือได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ โจทก์ถอนคืนการให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยเสน่หา vs. มีค่าภารติดพัน และการถอนคืนการให้เนื่องจากเนรคุณ
การที่โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นบุตรโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละ 10 ถังนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ทรัพย์สินโดยมีค่าภารติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 528 แต่เป็นการยกให้โดยเสน่หา เพราะค่าภารติดพันในที่ดินต้องเป็นภารติดพันเกี่ยวกับตัวที่ดินเองโดยตรง ไม่ใช่ภารติดพันนอกตัวทรัพย์ โจทก์ซึ่งมีตัวโจทก์เพียงคนเดียวมีที่ดิน 3 ไร่เศษ ได้ข้าวปีละกว่า 100 ถัง ย่อมมีฐานะไม่ถึงกับเป็นผู้ยากไร้ ตรงข้ามกับจำเลยซึ่งมีบุตรถึง 10 คน มีที่ดินที่พิพาทแปลงเดียวเนื้อที่เพียงประมาณ 5 ไร่ ได้ข้าวปีละ 140-150 ถัง และไม่มีรายได้อื่นซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ยากไร้ จำเลยย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะจุนเจือผู้อื่นได้อีก และไม่ปรากฏว่าจำเลยด่าโจทก์หรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง กรณีจึงไม่มีเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประพฤติเนรคุณอันจะถอนคืนการให้ได้ตามมาตรา 531(2)(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสกรณีคู่สมรสสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการโอนสินสมรสโดยเสน่หา
ในคดีฟ้องขอให้แยกสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้พอเข้าใจได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็มีสินเดิม ดังนี้หากจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสินเดิมประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในข้อมีสินเดิมหรือไม่จึงไม่เกิดขึ้น จำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบได้ แม้ศาลชั้นต้นให้จำเลยสืบก็เป็นการสืบนอกประเด็น และหากศาลรับวินิจฉัยก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกประเด็นและยังมีประเด็นข้ออื่นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยต่อไป แต่ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาและข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์จำเลยเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใหม่
โจทก์จำเลยที่ 1 สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 (เดิม) ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรส กฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ได้บัญญัติไว้ว่าให้มีการแยกสินสมรสโดยไม่ได้ฟ้องหย่า แต่ก็ไม่มีบังคับไว้ว่าถ้ายังไม่หย่าจะต้องบริคณห์ทรัพย์สินกันเสมอไปจะแยกมิได้ ฉะนั้นการที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 และ 1484 มาใช้แก่คู่สมรสซึ่งสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (เดิม)จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการสมรสหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4ได้ยกเว้นนั้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยเสน่หาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งสินสมรสดังกล่าวได้
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกประเด็นและยังมีประเด็นข้ออื่นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยต่อไป แต่ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาและข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์จำเลยเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใหม่
โจทก์จำเลยที่ 1 สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 (เดิม) ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรส กฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ได้บัญญัติไว้ว่าให้มีการแยกสินสมรสโดยไม่ได้ฟ้องหย่า แต่ก็ไม่มีบังคับไว้ว่าถ้ายังไม่หย่าจะต้องบริคณห์ทรัพย์สินกันเสมอไปจะแยกมิได้ ฉะนั้นการที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 และ 1484 มาใช้แก่คู่สมรสซึ่งสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (เดิม)จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการสมรสหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4ได้ยกเว้นนั้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยเสน่หาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งสินสมรสดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการยกให้โดยหน้าที่ vs. เสน่หา และการหมิ่นประมาทบุพการี ส่งผลต่อการเพิกถอนการให้ได้
จำเลยมิได้ให้การไว้ว่า กรณีเป็นการยกให้โดยหน้าที่ศีลธรรมไม่ใช่ยกให้โดยเสน่หาเช่นที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาของจำเลยคดีไม่มีประเด็นตามที่จำเลยฎีกา แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการนอกประเด็นข้อพิพาทถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยด่าโจทก์ว่า 'แม่เป็นหมา แม่ไม่มีศีลธรรม' นั้น เมื่อโจทก์เป็นบุพการีของจำเลย การที่จำเลยด่าโจทก์ว่าเป็นหมาเท่ากับด่าโจทก์ว่าเป็นสัตว์เดรัจฉานและเป็นคนไม่มีศีลธรรม ถือได้ว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ได้
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแล้วตามข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกา เป็นข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยด่าโจทก์ว่า 'แม่เป็นหมา แม่ไม่มีศีลธรรม' นั้น เมื่อโจทก์เป็นบุพการีของจำเลย การที่จำเลยด่าโจทก์ว่าเป็นหมาเท่ากับด่าโจทก์ว่าเป็นสัตว์เดรัจฉานและเป็นคนไม่มีศีลธรรม ถือได้ว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ได้
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแล้วตามข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกา เป็นข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทน ไม่ถือเป็นการให้โดยเสน่หา สิทธิในการฟ้องถอนคืนไม่มี
โจทก์ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยมีค่าตอบแทน โดยจำเลยต้องหาเงินมาให้โจทก์เพื่อใช้หนี้แก่เจ้าหนี้ของโจทก์ จึงมิใช่เป็นการให้โดยเสน่หา โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2942/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่เป็นการให้โดยเสน่หา สิทธิเรียกคืนการให้ไม่มี
การที่โจทก์ให้ที่พิพาทแก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นการให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับภริยาซึ่งเป็นมารดาของจำเลยและต่อมาเมื่อโจทก์ไม่โอนที่พิพาทอีกสองแปลงตามคำพิพากษาตามยอมศาลก็พิพากษาให้โจทก์โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของลักษณะการให้ของโจทก์ไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน เจ้าหนี้มีสิทธิขอเพิกถอนได้ แม้ผู้รับโอนไม่มีส่วนรู้เห็น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดิน 2 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2, ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรชายและบุตรสะใภ้ จำเลยให้การว่าที่ดินแปลงหนึ่งติดจำนอง อีกแปลงหนึ่งติดขายฝาก จำเลยที่ 2, ที่ 3 นำเงินไปไถ่ถอน จำเลยที่ 1 จึงโอนที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างให้เป็นการกระทำโดยสุจริต ที่จำเลยนำสืบว่าที่ดินแปลงหนึ่งพร้อมสิ่งปลูกสร้างเดิมเป็นของ พ. ยกให้จำเลยที่ 2 ในวันแต่งงาน แต่โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ก่อน ต่อมาจำเลยที่ 1 จึงทำนิติกรรมโอน ทรัพย์นั้นให้แก่จำเลยที่ 2, ที่ 3 เป็นการนำสืบนอกประเด็นศาลไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไปกู้เงินบุคคลอื่นเอามาให้จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงโอนทรัพย์นั้นให้หากจำเลยที่ 2 ทำเช่นนั้นจริง ก็เป็นการทำเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดาการโอนทรัพย์เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการโอนให้โดยมีค่าภารติดพันหาได้ไม่
ที่จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไปกู้เงินบุคคลอื่นเอามาให้จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงโอนทรัพย์นั้นให้หากจำเลยที่ 2 ทำเช่นนั้นจริง ก็เป็นการทำเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดาการโอนทรัพย์เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการโอนให้โดยมีค่าภารติดพันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแยกกันอยู่, และการโอนทรัพย์สินโดยเสน่หา
ที่ดินซึ่งภริยาก่อนบรรพ 5 มีอยู่ก่อนสมรสและอาจนำมาใช้ประโยชน์ด้วยกันได้ ไม่ต้องเอามาระคนปนกับสินเดิมของสามีก็ถือเป็นสินเดิมของภริยา
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 การขาดจากสมรสต้องบังคับตามบรรพ 5การยินยอมขาดกันเองต้องทำเป็นหนังสือมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
การที่สามีภริยาไม่ได้หลับนอนร่วมเพศกัน แต่อยู่คนละบ้านในบริเวณเดียวกัน ไม่เป็นการทิ้งร้างกัน
สามีมีภริยาใหม่แต่ไม่จดทะเบียน ทรัพย์ที่ได้มาใหม่จะมีส่วนได้ร่วมกับสามีหรือไม่. ก็ยังเป็นสินสมรสระหว่างสามีกับภริยาเดิม และใส่ชื่อภริยาในโฉนดร่วมด้วยได้ แต่จะระบุส่วนของภริยาว่าหนึ่งในสามโดยยังไม่ถึงเวลาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้
สามีโอนที่ดินสินสมรสให้โดยเสน่หาแก่ภริยาใหม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนโดยภริยามิได้ยินยอมเป็นหนังสือ การเพิกถอนต้องทำทั้งหมดมิใช่เฉพาะส่วนของภริยา
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 การขาดจากสมรสต้องบังคับตามบรรพ 5การยินยอมขาดกันเองต้องทำเป็นหนังสือมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
การที่สามีภริยาไม่ได้หลับนอนร่วมเพศกัน แต่อยู่คนละบ้านในบริเวณเดียวกัน ไม่เป็นการทิ้งร้างกัน
สามีมีภริยาใหม่แต่ไม่จดทะเบียน ทรัพย์ที่ได้มาใหม่จะมีส่วนได้ร่วมกับสามีหรือไม่. ก็ยังเป็นสินสมรสระหว่างสามีกับภริยาเดิม และใส่ชื่อภริยาในโฉนดร่วมด้วยได้ แต่จะระบุส่วนของภริยาว่าหนึ่งในสามโดยยังไม่ถึงเวลาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้
สามีโอนที่ดินสินสมรสให้โดยเสน่หาแก่ภริยาใหม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนโดยภริยามิได้ยินยอมเป็นหนังสือ การเพิกถอนต้องทำทั้งหมดมิใช่เฉพาะส่วนของภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514-1515/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้โดยเสน่หาจากเหตุเนรคุณและการฉ้อฉลในการโอนทรัพย์สิน
ผู้ให้ซึ่งเป็นมารดาผู้รับพูดกับผู้รับว่า อย่าขายที่นาพิพาทเลยผู้รับกลับเถียงว่านาของกู จะขาย จะทำไม มึงยกให้กูแล้วอีแม่หมาๆ อีดอกทอง เมื่อไหร่มึงจะตาย ดังนี้ถือได้ว่าผู้รับได้ประพฤติเนรคุณ โดยหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้ผู้ให้มีสิทธิเรียกถอนคืนการให้จากผู้รับได้แล้ว
การเพิกถอนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้น ผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการให้ได้นับแต่วันทราบเหตุเนรคุณ ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 533 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้รับได้โอนกรรมสิทธิ์ ที่นาพิพาทให้บุคคลอื่นซึ่งได้รับโอนโดยไม่สุจริต ผู้ให้มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 โดยถือว่าผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบจากการที่ผู้รับผู้เป็นลูกหนี้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่นาพิพาทนั้นไป
การเพิกถอนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้น ผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการให้ได้นับแต่วันทราบเหตุเนรคุณ ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 533 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้รับได้โอนกรรมสิทธิ์ ที่นาพิพาทให้บุคคลอื่นซึ่งได้รับโอนโดยไม่สุจริต ผู้ให้มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 โดยถือว่าผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบจากการที่ผู้รับผู้เป็นลูกหนี้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่นาพิพาทนั้นไป