พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคนต้องใช้เสียงข้างมาก และทายาทหมดสิทธิจัดการเมื่อศาลตั้งผู้จัดการแล้ว
เมื่อศาลตั้งผู้จัดการมรดกไว้หลายคน และมิได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ของแต่ละคนไว้โดยเฉพาะ การทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นจึงต้องถือเอาเสียงข้างมาก และนับแต่วันศาลตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว บรรดาทายาททั้งหลายย่อมหมดสิทธิที่จะเข้าจัดการมรดก เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการจัดการมรดกซ้อนอำนาจผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง
จำเลยเช่าที่ดินมรดกจากผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งคนหนึ่งโดยผู้จัดการมรดกร่วมคนอื่นมิได้รู้เห็นด้วย ดังนี้ถือว่าเป็นการเช่าจากบุคคลที่ไม่มีอำนาจให้เช่าได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงอ้างสิทธิการเช่านั้นไม่ได้
จำเลยเช่าที่ดินมรดกจากผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งคนหนึ่งโดยผู้จัดการมรดกร่วมคนอื่นมิได้รู้เห็นด้วย ดังนี้ถือว่าเป็นการเช่าจากบุคคลที่ไม่มีอำนาจให้เช่าได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงอ้างสิทธิการเช่านั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วน
การตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้น+เป็นไปตามเสียงข้างมาก+ผู้เป็นหุ้นส่วน+ศาลยุตติธรรม+อำนาจศาล+บังคับบุคคลภายนอก+ทำกิจโดยเขาไม่สมัคร+ได้ อำนาจเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์เสนอให้ตั้งเจ้าพนักงาน+ทรัพย์เป็นผู้ชำระ+ของห้างหุ้นส่วนนั้น+เจ้าพนักงานไม่ยอมรับ+มีกฎหมายบังคับเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21166/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหกรณ์: เสียงข้างมากของคณะกรรมการดำเนินการ แม้มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิก
ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สหกรณ์มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบสี่คนซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก มาตรา 51 และข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 65 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนโจทก์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกและเพื่อการนี้คณะกรรมการดำเนินการจะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้จัดการทำการแทนก็ได้ ประกอบกับ พ.ร.บ.สหกรณ์ฯ และข้อบังคับของโจทก์มิได้กำหนดไว้ว่าโจทก์จะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการดำเนินการทุกคน กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาบังคับใช้ ซึ่งตามมาตรา 71 กำหนดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากในหมู่ของคณะกรรมการดำเนินการ แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองขอนแก่นให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นที่ไม่ตัดสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์โจทก์ของ บ. อันมีผลทำให้การสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการของ บ. เป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลืออีก 14 คน ได้พ้นสภาพจากการเป็นคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ไปด้วย คณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลือจึงยังมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลือทั้ง 14 คน ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ บ. และหรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ จึงเป็นเสียงข้างมากตามมาตรา 71 การมอบอำนาจของโจทก์ย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 17 กรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์อนุมัติให้ไถ่ถอนจำนองที่ดินที่จำเลยที่ 1 จำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมไว้แก่โจทก์โดยจำเลยอื่นมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยนั้น ย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิในการบังคับจำนองซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้ยืมอีกฐานะหนึ่งผิดนัดชำระหนี้หรือไม่
โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 15 ธ.ค. 2547) เป็นต้นไป ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งยี่สิบรับผิดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2546 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
อนึ่ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีเพียงจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคำนวณถึงวันฟ้อง แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ตามคำฟ้อง จึงเสียค่าขึ้นศาลเกินมา ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์
การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 17 กรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์อนุมัติให้ไถ่ถอนจำนองที่ดินที่จำเลยที่ 1 จำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมไว้แก่โจทก์โดยจำเลยอื่นมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยนั้น ย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิในการบังคับจำนองซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้ยืมอีกฐานะหนึ่งผิดนัดชำระหนี้หรือไม่
โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 15 ธ.ค. 2547) เป็นต้นไป ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งยี่สิบรับผิดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2546 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
อนึ่ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีเพียงจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคำนวณถึงวันฟ้อง แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ตามคำฟ้อง จึงเสียค่าขึ้นศาลเกินมา ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกในการยื่นคำให้การและฟ้องแย้งต้องดำเนินการโดยเสียงข้างมาก หรือรอคำชี้ขาดจากศาล
การยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคสอง และในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 ที่ให้กระทำการโดยถือเอาเสียงข้างมากถ้าเสียงเท่ากันก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำให้การและฟ้องแย้งในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เพียงลำพัง จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างเหตุความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างจำเลยทั้งสองหรือความล่าช้าในการดำเนินการขอให้ศาลชี้ขาดหรือขอถอดถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ เพราะจำเลยที่ 2 สามารถยื่นคำร้องต่อศาลแสดงเหตุขัดข้องดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลชี้ขาดหรือขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การและฟ้องแย้ง หรือขอให้ศาลรอฟังคำสั่งเกี่ยวกับการขอถอดถอนการเป็นผู้จัดการมรดกร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการมรดกที่มีผู้จัดการมรดกจำนวนมากและขาดเสียงข้างมากในการตัดสินใจ
เมื่อผู้คัดค้านที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งของเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทำให้ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่ 6 คน ไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ โดยที่ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่ทั้ง 6 คน เป็นผู้จัดการมรดก เพราะจะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลที่ให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งหกร่วมกันจัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งกรณีไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 1715 วรรคสอง ที่กำหนดให้ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่จัดการมรดกต่อไปได้ แต่ไม่อาจจัดการมรดกโดยลำพังมาใช้บังคับกับกรณีการตั้งผู้จัดการมรดกในคดีนี้ได้ เพราะคดีนี้ไม่ใช่การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม การที่ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตายย่อมทำให้อำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกที่ถึงแก่ความตายสิ้นสุดลง โดยไม่จำต้องมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ถึงแก่ความตายออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก แต่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่ต่อไป
การที่ผู้คัดค้านที่ 5 ถึงแก่ความตาย ทำให้คงเหลือผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจในการจัดการมรดกเพียง 6 คน ซึ่งมิอาจหาเสียงชี้ขาดได้หากเกิดกรณีที่มีความเห็นแบ่งเป็นสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายมีคะแนนเสียงเท่ากันดังนั้น จึงต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 โดยจะต้องให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้เป็นผู้ชี้ขาดต่อไป ทั้งเมื่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง กำหนดให้การตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ซึ่งกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน การทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องถือตามเสียงข้างมากตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 เมื่อคำนึงถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก การตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยย่อมทำให้การจัดการมรดกมีเสียงข้างมากซึ่งน่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อกองมรดกของผู้ตาย
การที่ผู้คัดค้านที่ 5 ถึงแก่ความตาย ทำให้คงเหลือผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจในการจัดการมรดกเพียง 6 คน ซึ่งมิอาจหาเสียงชี้ขาดได้หากเกิดกรณีที่มีความเห็นแบ่งเป็นสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายมีคะแนนเสียงเท่ากันดังนั้น จึงต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 โดยจะต้องให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้เป็นผู้ชี้ขาดต่อไป ทั้งเมื่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง กำหนดให้การตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ซึ่งกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน การทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องถือตามเสียงข้างมากตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 เมื่อคำนึงถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก การตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยย่อมทำให้การจัดการมรดกมีเสียงข้างมากซึ่งน่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อกองมรดกของผู้ตาย